Pet Breeds

เบลเยียน มาลินอยส์, มาลินอย, Malinois, สุนัขตำรวจ, สุนัขทหาร, สุนัข K-9

เบลเยียน มาลินอยส์ – ลักษณะสายพันธุ์ และการดูแล

เบลเยียน มาลินอยส์ หรือบางครั้งก็ถูกเรียกสั้น ๆ ว่า มาลินอยส์ เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่สง่างาม ฉลาดปราดเปรื่อง และสมบุกสมบัน สุนัขสายพันธุ์นี้สามารถแสดงความสามารถได้อย่างน่าทึ่ง หากได้รับการฝึกฝนที่ดีและถูกต้อง เบลเยียน มาลินอยส์ เป็นชื่อที่ตั้งตามเมืองมาลีนส์ (Malines) ประเทศเบลเยียม ซึ่งเป็นสถานที่ที่ให้กำเนิดสายพันธุ์นี้ เริ่มแรก ผู้คนพัฒนาสายพันธุ์นี้ขึ้นมาเพื่อช่วยงานเลี้ยงสัตว์ในทุ่งเกษตรกรรม แต่ด้วยความฉลาดล้ำของมาลินอยส์ได้ผลักดันให้สุนัขสายพันธุ์นี้ก้าวเข้าสู่งานวงการอื่น ทั้งงานรักษาความปลอดภัย สำรวจตรวจค้นวัตถุต้องสงสัย และงานค้นหาผู้ประสบภัย เมื่อมาลินอยส์โตเต็มที่ ตัวผู้มีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 27 – 36 กิโลกรัม ความสูงจากอุ้งเท้าหน้าถึงหัวไหล่ 24 – 26 นิ้ว ส่วนตัวเมียหนัก 18 – 27 กิโลกรัม สูง 22 – 24 นิ้ว ประวัติของเบลเยียน มาลินอยส์ สุนัขสายพันธุ์เบลเยียน มาลินอยส์ – Belgian malinois สำเนียงท้องถิ่นออกเสียงว่า มาลินัวส์ (MAL-in-wah) ตั้งชื่อตามแหล่งกำเนิดที่เมืองมาลีนส์ […]

อ่านต่อ

แมวบริติชช็อตแฮร์: ลักษณะสายพันธุ์ และการดูแล

แมวบริติชช็อตแฮร์ จัดเป็นแมวขนาดกลางถึงใหญ่ ที่มีขนสั้นแน่น มีลักษณะโดดเด่นที่ใบหน้ากลม จึงมองดูคล้ายกับตุ๊กตาหมี แมวหน้ากลมสายพันธุ์นี้ มีแนวโน้มที่จะมีลักษณะนิสัยอ่อนหวานและน่ารัก โดยไม่ติดคนมากนัก แมวบริติชช็อตแฮร์ มีต้นกำเนิดในสหราชอาณาจักร อ้างอิงตามบันทึกประวัติศาสตร์ โดยก่อนหน้าที่จะพัฒนาเข้ามาเป็นแมวบ้าน พวกเขาเป็นแมวขนสั้นที่พบได้ทั่วไปในภูมิภาคนี้ ในอดีต แมวบริติชช็อตแฮร์มีขนหลายสี แต่ปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นสีฟ้าอมเทา หรือสี Blue ข้อมูลโดยรวมของแมวบริติชช็อตแฮร์ชื่ออื่น ๆ : บริติชบลู (British blue)นิสัยที่โดดเด่น : น่ารัก พาออกไปนอกบ้านได้ และรักสงบน้ำหนักเมื่อโตเต็มวัย : ประมาณ 3.1 – 7.7 กิโลกรัม (ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย)ความยาวจากปลายจมูกถึงก้น : 22 – 25 นิ้วลักษณะขน : ขนสั้น แน่น พบได้หลากหลายสี ได้แก่ สีขาว สีบลู สีดำ สีครีม และสีเทา มีลวดลายทั้งสีเดียวทั้งตัว ลายเปรอะ และสองสีสีดวงตา : […]

อ่านต่อ
แมวโคราช

แมวสีสวาด หรือแมวโคราช: ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

แมวสีสวาด หรือแมวโคราช ในอดีตผู้คนนิยมให้เป็นของขวัญแก่กัน เพราะเชื่อกันว่า จะนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรือง เงินทองไหลมาเทมา ประวัติสายพันธุ์ แมวสีสวาด แมวสีสวาด หรือแมวโคราช ถือเป็นแมวอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่มีมายาวนาน มีต้นกำเนิดมาจากประเทศไทย โดยชื่อของ “แมวโคราช” มาจากชื่อจังหวัดที่เป็นสถานที่กำเนิดของแมว ซึ่งในประเทศไทยยังรู้จักแมวโคราชในชื่ออื่น ๆ อย่าง แมวสีสวาด แมวมาเลศ หรือแมวดอกเลา ที่มีหมายถึง “ความรัก” และความโชคดี อีกทั้งยังเชื่อว่า แมวโคราชเป็นหนึ่งในแมวมงคลโบราณให้คุณ หากเลี้ยงไว้จะนำมาซึ่งความสุขสวัสดิ์ เป็นมงคลแก่เจ้าของ แมวโคราชได้รับการยกย่องชื่นชมจากผู้คนทั้งในและต่างประเทศ โดยแมวโคราชถูกนำไปโชว์ในงานแสดงแมวที่ประเทศอังกฤษในช่วงศตวรรษที่ 19 ในชื่อ Blue Siamese และนำเข้าไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาครั้งแรกในปี 1950 ซึ่งแมวโคราชถือเป็นแมวไม่กี่สายพันธุ์ ที่มีสีขนเดียวตลอดทั่งตัว คือ สีเทาน้ำเงิน (silvery blue) ลักษณะทางกายภาพ แมวโคราชจัดอยู่ในกลุ่มแมวขนาดกลาง เป็นแมวที่มีกล้ามเนื้อแน่นและแข็งแรง ลักษณะภายนอกคล้ายกับแมวสายพันธุ์จากประเทศรัสเซีย (Russian Blue) แต่มีขนชั้นเดียวมากกว่าขน 2 ชั้น และเพศเมียมักมีความสง่างามมากกว่าเพศผู้ แมวโคราชเป็นแมวที่มีขนสั้น มีความมันวาว และละเอียด […]

อ่านต่อ

แมวบ้าน ผสมข้ามสายพันธุ์กับ แมวป่า เพิ่มความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

การศึกษาประชากรแมวป่าในสกอตแลนด์ พบว่า จำนวนประชากรกำลังลดลงจนใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากการเข้ามาผสมกับ แมวบ้าน และน่าสนใจว่า แมวป่าสกอตแลนด์เข้ามาป้วนเปี้ยนอยู่ใกล้กับแมวบ้านเป็นเวลาเกือบ 2,000 ปี แต่เริ่มผสมพันธุ์กันเมื่อ 60 ปีที่ผ่านมา แมวป่ายุโรป เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่พบตามธรรมชาติได้ยากที่สุด เนื่องจากในช่วงร้อยปีที่ผ่านมา พวกเขามีจำนวนประชากรตามธรรมชาติลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยสูญพันธุ์ไปจากอังกฤษและเวลส์ ด้วยการแทนที่ของประชากรลูกผสมของ แมวบ้าน และปัจจุบัน แมวป่ายุโรปพบได้เฉพาะที่ราบสูงสกอตแลนด์เท่านั้น สาเหตุคุกคามจำนวนประชากรแมวป่ายุโรป เกิดจากพื้นที่อาศัยตามธรรมชาติลดลง และหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือ การผสมข้ามสายพันธุ์กับแมวบ้าน ซึ่งปัจจุบันกำลังเป็นภัยคุกคามแมวป่าที่ยังหลงเหลืออยู่ในสกอตแลนด์ การผสมข้ามสายพันธุ์ทำให้พันธุกรรมดั้งเดิมของสายพันธุ์ค่อย ๆ ลดลง กรณีของแมวป่ายุโรปที่ข้ามมาผสมพพันธุ์กับแมวบ้าน ส่งผลให้ยีนของแมวบ้านถ่ายเทปะปนเข้าไปในประชากรแมวป่า จนในที่สุด ไม่เหลือยีนแมวป่าที่เป็นสายพันธุ์ดั้งเดิม ประวัติศาสตร์แมวป่าและแมวบ้านในยุโรป นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่พบว่า แมวบ้านในยุโรปสืบเชื้อสายจากแมวป่าตะวันออก ที่เริ่มเข้ามาป้วนเปี้ยนอยู่ในทุ่งเกษตรกรรมอันอุดมสมบูรณ์แถบตะวันออกกลาง และเข้ามาในดินแดนอังกฤษ ซึ่งเป็นถิ่นอาศัยเดิมของแมวป่ายุโรป ในช่วงประมาณ 2,200 ปี ที่ผ่านมา ส่วนแมวป่ายุโรปในสกอตแลนด์เป็นสายพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้ตั้งแต่ยุคน้ำแข็ง หรือประมาณ 10,000 ปีที่แล้ว การศึกษาทางพันธุกรรมพบว่า พวกเขาเป็นประชากรที่อยู่มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ของอังกฤษ และอาศัยอยู่ในแถบนี้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยทั้งแมวป่าและแมวบ้าน แทบไม่เคยผสมข้ามพันธุ์กันเลย จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ การวิจัยที่เผยแพร่ในวารสาร Current […]

อ่านต่อ

แมวไทย โบราณ 5 สายพันธุ์ ที่ยังคงอยู่

แมวไทย โบราณเป็นที่รักทั้งในและต่างประเทศ ด้วยลักษณะและมีนิสัยที่เป็นเอกลักษณ์ แต่ในปัจจุบันมีเพียง ๕ สายพันธุ์จากแมวให้คุณทั้งสิ้น ๑๗ สายพันธุ์ เท่านั้น

อ่านต่อ

แมวไทยขนสั้น (Domestic Shorthair) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ แมวไทยขนสั้น (Domestic Shorthair : DSH) นั้น ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มต้นเมื่อใด และไม่สามารถระบุได้ว่ามีกี่สายพันธุ์ แต่ได้ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากมาย เนื่องจากเนื่องจากเป็นสัตว์เลี้ยงยอดนิยมตั้งแต่โบราณ และยังมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อที่ยังคงมีในปัจจุบัน ทั้งยังปรากฏแมวในสำนวนหรือสุภาษิตต่าง ๆ เป็นต้นว่า ‘ย้อมแมวขาย’ หรือ ‘ยื่นหมูยื่นแมว’ และ ‘ปิดประตูตีแมว’ เป็นต้น แสดงให้เห็นว่าแมวไทยมีประวัติความเป็นมายาวนาน ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเริ่มมีการแยกลักษณะแมว ถือว่าเป็น “ตำราดูลักษณะแมว” เล่มแรกที่ได้ทำการแยกแมวไทยตามลักษณะนิสัย หรือบุคลิกของแมว ตำราดังกล่าวเป็นสมุดข่อย โดยแบ่งเป็นแมวมงคลและแมวให้โทษทั้งหมด 23 สายพันธุ์ (เป็นแมวมงคล 17 สายพันธุ์ และแมวให้โทษ 6 สายพันธุ์) เหตุที่แบ่งเป็นแมวให้คุณกับแมวให้โทษนั้น เป็นความเชื่อของคนในสมัยโบราณโดยดูว่าเลี้ยงแล้วจะนำสิ่งที่ดี ๆ หรือสิ่งชั่วร้ายมาสู่ผู้เป็นเจ้าของหรือไม่ ทั้งนี้แมวไทยส่วนใหญ่มีนิสัยดี ไม่ดุร้าย ฉลาด รู้จักประจบประแจง และรักเจ้าของเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังสามารถปรับตัวกับสภาพแวดล้อมในประเทศได้เป็นอย่างดี จึงเป็นเหตุให้แมวไทยยังได้รับนิยมเลี้ยงมาจนถึงปัจจุบัน ลักษณะทางกายภาพ แมวไทยขนสั้น เป็นแมวขนาดกลาง โดยหัวมีลักษณะโครงสร้างยาวสมส่วนปราดเปรียว มีลำตัวขนาดเล็ก น้ำหนักเบา บวกกับการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วและคล่องตัวของพวกมัน […]

อ่านต่อ

ฟิล่า บราซิเลียโร (Fila brasileiro) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ ฟิล่า บราซิเลียโร (Fila brasileiro) หรือที่รู้จักในชื่อ Brazilian Mastiff เป็นสุนัขในกลุ่ม Mastiffs ซึ่งเป็นสุนัขพันธุ์ใหญ่ ที่ขึ้นชื่อในด้านทักษะการติดตาม ไล่ล่า และความก้าวร้าว จึงนิยมฝึกให้กลายเป็นสุนัขใช้งาน อย่าง สุนัขเฝ้ายาม สุนัขเฝ้าบ้าน และสุนัขเลี้ยงแกะ แต่ถึงแม้ว่าสุนัขพันธุ์นี้จะเก่งในการทำงาน ด้วยอารมณ์และขนาดของมัน อาจจะไม่ใช่สายพันธุ์ที่เหมาะสำหรับทุกคน สุนัขพันธุ์ Fila Brasileiro ถูกพัฒนามาจากสุนัขใช้งานพันธุ์ใหญ่ในประเทศบราซิล ซึ่งใช้สำหรับการติดตามและไล่ล่านักล่าขนาดใหญ่ ในช่วงที่แรงงานทาศถูกกฎหมายในประเทศบราซิล สุนัขพันธุ์นี้ถูกใช้ในการติดตามทาสที่หลบหนีและช่วยรั้งไว้จนกว่าหัวหน้าจะมา โดยสายพันธุ์นี้ถูกพัฒนาในช่วงศตวรรษที่ 15 จากสายพันธุ์ที่ลักษณะเหมือน English mastiff, bulldog, และ bloodhound ทำให้สุนัขพันธุ์นี้มีลักษณะบางอย่างเหมือนสุนัขพันธุ์ Bloodhound แม้ว่ามันจะมีความคล่องแคล่วว่องไวมากกว่าอย่างมาก สายพันธุ์ Fila Brasileiro ถูกจดทะเบียนครั้งแรกเมื่อปี 1946 แต่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนจากสมาคม American Kennel Club หรือ United Kennel Club อีกทั้งสุนัขพันธุ์ […]

อ่านต่อ

แมวพันธุ์ไทยท็องกินีส (Thai Tonkinese) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ แมวพันธุ์ ไทยท็องกินีส เป็นแมวที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างแมวพันธุ์วิเชียรมาศ (Siamese cat) กับแมวพันธุ์เบอร์มีส (Burmese cat) ที่มีต้นกำเนิดมาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia) ในปี ค.ศ. 1950 ‘Milan Greer’ มีความสนใจเรื่องลักษณะเฉพาะของสายพันธุ์ โดยเฉพาะลักษณะสีขนสีน้ำตาลเข้ม (Dark Brown cat) จากแมวพันธุ์เบอร์มีส กับแต้มคล้ายแมวพันธุ์วิเชียรมาศ จึงได้นำแมวทั้ง 2 สายพันธุ์มาผสมพันธุ์ ทำให้ได้ลูกออกมามีลักษณะเสียงแหลมกว่าแมวพันธุ์วิเชียรมาศ และมีนิสัยดี รวมถึงฉลาดมากกว่าแมวพันธุ์วิเชียรมาศ และแมวพันธุ์เบอร์มีส ซึ่งในตอนแรกถูกเรียกว่าแมวพันธุ์วิเชียรมาศสีทอง (Golden Siamese) แต่ต่อมาได้ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็นแมวพันธุ์ท็องกานีส (Tonkanese) ซึ่งมาจากละครเพลง The musical South Pacific ในปี ค.ศ. 1967 สมาคม The Canadian Cat Association ได้มีการขึ้นทะเบียนแมวที่เกิดจากผสมระหว่าง 2 สายพันธุ์ เป็นแมวพันธุ์ท็องกานีส (Thai Tonkinese […]

อ่านต่อ
ไทยบางแก้ว

ไทยบางแก้ว (Thai Bangkaew) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ малоизвестные новые займы круглосуточно без отказаไทยบางแก้ว สุนัขพันธุ์ ไทยบางแก้ว มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศไทย เมื่อ 100 ปีที่แล้ว มีพระสงฆ์จำวัดที่วัดบางแก้ว (Bangkaew temple) ใกล้กับแม่น้ำยม (Yom river) เลี้ยงสุนัขเพศเมียกำลังตั้งท้องอยู่ภายในวัด แต่ไม่มีสุนัขเพศผู้อยู่ด้วย จึงทำให้ไม่สามารถระบุสายพันธุ์สัตว์ได้ จึงสันนิษฐานว่ามีการผสมกับหมาใน (Asiatic Wild Dog) หรือ สุนัขจิ้งจอก (Jackal) ซึ่งในต่อมาได้มีการตรวจสายพันธุกรรม (DNA) จึงสรุปได้ว่าเป็นการผสมพันธุ์ระหว่างสุนัขพันธุ์ไทย (Domestic dog) กับ สุนัขจิ้งจอกทอง (Golden Jackal) หลังจากนั้นไม่นาน สุนัขตัวนี้ได้ไปผสมพันธุ์กับสุนัขท้องถิ่นที่ไว้ใช้ต้อนแกะ (Local shepherding dog) โดยลักษณะทางกายภาพภายนอกคล้ายสุนัขพันธุ์พื้นบ้านของไทย ในปีค.ศ. 1980 หรือ พ.ศ.2523 มีสัตวแพทย์ชื่อ Nisit Tangtrakarnpong เป็นสัตวแพทย์ที่ค้นพบสายพันธุกรรมของสุนัขพันธุ์บางแก้วโดยเฉพาะแตกต่างกับสายพันธุ์อื่น องค์กร The Fédération […]

อ่านต่อ

แมวเปอร์เซีย (Persian) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ แมวเปอร์เซีย มีต้นกำเนิดในเถบเปอร์เซีย (เป็นที่ตั้งประเทศตุรกี และอิหร่านในปัจจุบัน) นักประวัติศาสตร์ได้ค้นพบหลักฐานเกี่ยวกับพวกมันในปีค.ศ. 1684 โดยพ่อค้าชาวเปอร์เซียนมักบรรทุกสินค้ามากมาย และได้ปรากฏแมวพันธุ์ขนยาวติดมากับกองคาราวานสินค้าด้วย อีกหลักฐานหนึ่งได้กล่าวบรรพบุรุษของแมวเปอร์เซียได้ถูกนำเข้ามายังยุโรปตั้งแต่ช่วง ปีค.ศ. 1620 แล้วได้รับความนิยมในยุโรปอย่างมาก และแพร่กระจายไปทั่วยุโรป จากนั้นในช่วงปลายปีศตวรรษที่ 19 นักพัฒนาสายพันธุ์แมวชาวอังกฤษได้นำแมวเปอร์เซียสมกับสายพันธุ์อื่น เพื่อต้องการให้พวกมันมนขนที่ยาวและหนากว่าเดิม ซึ่งเป็นจุดเด่นของสายพันธุ์ในปัจจุบัน จึงได้มีการนำไปขยายพันธุ์ในสหรัฐฯ ในช่วงต้นปี ค.ศ.1900 นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาแมวพันธุ์นี้ก็ได้รับการยอมรับในวงกว้างอย่างรวดเร็ว และเป็นหนึ่งในแมวที่มีคนนิยมเลี้ยงมากที่สุดในโลกอีกด้วย ลักษณะทางกายภาพ แมวเปอร์เซีย เป็นแมวขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ มีโครงสร้างกระดูกที่ใหญ่และแข็งแรง โดยเพศเมียมีน้ำหนักอยู่ราว 3-5 กิโลกรัม ในขณะที่เพศผู้มีน้ำหนักได้ถึง 4-6 กิโลกรัม หัวและหน้ากลม หน้าผากโหนก แก้มมีโหนกเต็ม ดวงตากลมโต และอยู่ในตำแหน่งที่ห่างกัน มีจมูกที่หักที่เป็นจุดเด่นบนใบหน้า จากคำอธิบายของ The Cat Fanciers Association (CFA) ได้ระบุลักษณะสายพันธุ์ไว้ว่า โครงสร้างลำตัวสั้นและกลม หัวกลมมน คอสั้น ขาสั้นเตี้ย หูเล็กมีปลายหูที่กลมมน และอยู่ในตำแหน่งที่ห่างกัน หางสั้นตรงและฟูคล้ายกับหางกระรอก จมูกเป็นสั้นและหัก […]

อ่านต่อ

เจแปนนิส สปิตซ์ (Japanese Spitz) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ เจแปนนิส สปิตซ์ (Japanese Spitz) เป็นสุนัขขนยาวขนาดเล็ก คาดว่าพวกมันสืบเชื้อสายมาจากเยอรมัน สปิตซ์ (German Spitz) ซึ่งถูกนำเข้าในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าพวกมันมีที่อย่างไร เนื่องจากบันทึกส่วนใหญ่ถูกทำลายในช่วงสงครามครั้งที่สอง เจแปนนิส สปิตซ์ปรากฏเป็นครั้งแรกในดินแดนญี่ปุ่นในปีค.ศ. 1921 ในงานแสดงที่จัดขึ้นที่เมืองโตเกียว จากนั้นนักเพาะพันธุ์สุนัขได้มีการพัฒนาสายพันธุ์มาเรื่อย ๆ จากนั้นช่วงปีค.ศ. 1925 ถึง 1936 มีการนำเข้าสุนัขสายพันธุ์สปิตซ์ (White Klein Wolfsspitz) จากทั้งประเทศแคนาดา สหรัฐฯ และออสเตรเลีย เพื่อพัฒนาผสมข้ามสายพันธุ์จนเป็นเจแปนนิส สปิตซ์อย่างที่รู้จักกันในปัจจุบัน พวกมันได้รับความนิยมมากขึ้นจากความน่ารัก ขนฟูสีขาวทั้งตัว ซึ่งลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้คนทั่วโลกจดจำ จึงไม่แปลกใจเลยที่พวกมันได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องและเป็นที่รู้จักนอกประเทศญี่ปุ่น หลังจากที่มีการนำเข้ามาในประเทศสวีเดนและจากที่นั่นก็กระจายไปยังประเทศอื่น ๆ ในยุโรป ลักษณะทางกายภาพ สุนัขพันธุ์เจแปนนิส สปิตซ์มีขนสีขาวทั่วทั้งตัว มีขนาดของหัวไม่ใหญ่มาก และมีปากที่สีดำสนิท จมูกและดวงตามีสีดำ เป็นรูปทรงเมล็ดอัลมอนด์ (Almond shaped) ส่วนหูมีขนาดเล็กเป็นลักษณะสามเหลี่ยมตั้งตรง หางพวกมันจะมีลักษณะเป็นพวงสีขาวม้วนขึ้นคล้ายกับขนนก และรูปร่างที่กะทัดรัด โดยมีส่วนลำตัวจะมีขนาดที่พอดีถึงแม้จะค่อนข้างบางเล็กน้อย และมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม ขนาดของเจแปนนิส สปิตซ์ […]

อ่านต่อ
มันช์กิ้น

มันช์กิ้น (Munchkin) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ แมวพันธุ์ มันช์กิ้น (Munchkin) หลายท่านคงคิดว่า พวกมันเป็นแมวสายพันธุ์ใหม่ด้วยรูปร่างที่แปลกตา แต่ในความเป็นจริงแล้วพวกมันมีประวัติที่ยาวนานกว่านั้นมาก นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1944 ในประเทศอังกฤษ ปรากฏหลักฐานว่า สัตวแพทย์ชาวอังกฤษคนหนึ่งมีความสนใจพันธุกรรมของพวกมัน จึงหาว่าเหตุใดพวกมันถึงมีขาสั้น แต่การศึกษาก็ต้องยุติลงเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมาในปี ค.ศ. 1980 นักพัฒนาสายพันธุ์แมวจากรัฐหลุยซ์เซียน่า (Louisiana) ประเทศสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า Sandra Hockenedel ได้ตั้งชื่อให้มันใหม่ว่า มันช์กิ้น โดยตั้งตามชื่อของตัวละครในเรื่องวรรณกรรมคลาสสิค อย่าง เรื่อง The Wizard of Oz แมวมันช์กิ้น ได้รับการยอมรับเป็นแมวพันธุ์แท้ โดยสมาคม The International Cat Association หรือ TICA แต่ยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับทางสมาคม Cat Fancier Association หรือ CFA เนื่องจากทางสมาคม CFA ถือว่าแมวขาสั้น หรือ แมวมันช์กิ้นมีความผิดปกติทางพันธุกรรม หรือพิการอย่างหนึ่ง […]

อ่านต่อ