Pet Breeds
- Home
- Pet Breeds
สฟิงซ์ (Sphynx) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ สฟิงซ์ มีต้นกำเนิดในช่วงประมาณต้นปี 1960 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการพัฒนาพันธุ์แมวขึ้นในประเทศแถบยุโรป แต่ แมวสฟิงซ์ ในปัจจุบันเป็นที่รู้จักว่า มีการพัฒนามาจากโตรอนโต้ ประเทศแคนนาดา ตั้งแต่ปี 1970 และในปัจจุบันนักเพาะพันธุ์แบ่งต้นกำเนิดการพัฒนาของแมวสฟิงซ์ออกเป็น 2 สาย คือ มาจากฝั่งมิเนสโซต้า และจากประเทศแคนนาดา ลักษณะทางกายภาพ นอกจากลักษณะพิเศษที่ แมวสฟิงซ์ ไม่มีขนแล้วยังมีลักษณะอื่น ๆ ที่แตกต่างจากแมวทั่วไป เช่น สฟิงซ์มีหุ่นที่ผอมเพรียว และมีความแข็งแรงร่วมด้วย เนื่องจากสฟิงซ์ชอบวิ่งเล่นและทุ่มสุดตัวกับเจ้าของหากมีโอกาศได้เล่น นอกจากนี้แมวสฟิงซ์ยังมีขนาดตัวที่ใหญ่ หูยาวแหลม ซึ่งหูของสฟิงซ์ในขณะที่ยังเป็นลูกแมว ทำให้แมวหน้าตาคล้ายกับเอลฟ์ (Elf) และนั้นเป็นเหตุผลที่ทำให้แมวสฟิงซ์เป็นที่รักและชื่นชอบของผู้คนทั่วมุมโลก ถึงแม้ว่าสหฟิงซ์จะดูเหมือนไม่มีขน แต่ที่จริงแล้วสฟิงซ์มีขนขนาดที่เล็กมากอยู่บนผิวหนังคล้ายกับขนของมนุษย์ และสามารถมีหนวดได้เหมือนกับแมวชนิดอื่น จึงทำให้สฟิงซ์สามารถมีผิวหนังได้หลากหลายสี โดยสฟิงซ์จะมีรุปแบบของสีผิวที่แตกต่างกัน เช่น มีสีเดียวทั้งตัว มี 2 สี, 3 สี หรือมากกว่านั้น อายุขัย สฟิงซ์มีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 15-20 ปี ลักษณะนิสัย ลูกแมวสฟิงซ์มีลักษณะนิสัยต่างจากที่เห็น คือ มีลักษณะเฉพาะตัวที่เด่น […]
อ่านต่อพุดเดิ้ล (Poodle) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ มีแนวคิดว่าสุนัขสายพันธุ์ พุดเดิ้ล (Poodle) มาจากทวีปเอเชีย และหลังจากนั้นหลายศตวรรษต่อมาก็ได้มีการตั้งรกรากในประเทศเยอรมนี โดยในศตวรรษที่ 15 พุดเดิ้ลกลายเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในฝรั่งเศส ซึ่งมักมีเพียงราชวงศ์และขุนนางเท่านั้นที่เป็นเจ้าของสุนัขพันธุ์นี้ ในขณะนั้นสุนัขสายพันธุ์พุดเดิ้ลถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท (ทั้งหมดเป็นสายพันธุ์แท้ ซึ่งหมายความว่าพวกมันไม่ได้ผสมพันธุ์กับสุนัขสายพันธุ์อื่น เพื่อสร้างความแตกต่าง) ได้แก่ พุดเดิ้ล สแตนดาร์ด (Standard Poodle), พุดเดิ้ลขนาดกลาง (Mid-Sized Poodle) และพุดเดิ้ล มินิเจอร์ (Miniture Poodle) ปัจจุบันพุดเดิ้ล สแตนดาร์ดและพุดเดิ้ล มินิเจอร์สามารถพบได้บ่อยที่สุดแต่พุดเดิ้ล สแตนดาร์ดจะมีขนาดตัวที่ใหญ่กว่า หลายปีผ่านไปพุดเดิ้ล สแตนดาร์ดเริ่มถูกใช้เพื่อการล่าเป็ด พวกมันเป็นสุนัขล่าสัตว์ที่ยอดเยี่ยม เนื่องจากมีความฉลาดและมีความแข็งแรง ด้วยความฉลาดนี้จึงทำให้พวกมันแตกต่างจากสุนัขสายพันธุ์อื่น ๆ ทำให้คณะละครสัตว์เริ่มฝึกพวกมันให้แสดงโชว์ ชนชั้นสูงของประเทศฝรั่งเศสเริ่มนำพวกมันมาอยู่ในชีวิตประจำวันมากขึ้น จนในที่สุดพวกมันก็ได้รับการพัฒนาจนมีชื่อเสียง หลังจากนั้นสุนัขพันธุ์พุดเดิ้ลก็ได้กลายมาเป็นสุนัขประจำชาติของประเทศฝรั่งเศสจนถึงทุกวันนี้ ต่อมาพุดเดิ้ลได้อพยพไปพร้อมกับชาวอาณานิคมเริ่มแรกและได้รับการยอมรับจาก AKC ในปีค. ศ. 1887 (รวมกันเป็นสายพันธุ์เดียวถึงแม้ว่าจะมีพุดเดิ้ล สแตนดาร์ดและพุดเดิ้ล มินิเจอร์รวมอยู่ด้วยก็ตาม) นอกจากนี้พุดเดิ้ลยังเป็น 1 ใน 10 อันดับแรกของสุนัขที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกอีกด้วย […]
อ่านต่อเชทแลนด์ ชีพด็อก (Shetland Sheepdog) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ เชทแลนด์ ชีพด็อก (Shetland Sheepdog) มีต้นกำเนิดมาจากเกาะเกาะเชทแลนด์ (Shetland Islands) ของประเทศสกอตแลนด์ โดยมีลักษณะที่สามารถทำงานหนักได้ มีความฉลาดและซื่อสัตย์ แต่ก่อนเชทแลนด์ ชีพด็อกถูกใช้เพื่อต้อนและปกป้องฝูงแกะ พวกมันจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับเกษตรกรและคนเลี้ยงสัตว์ ต่อมาเชื่อกันว่าเชทแลนด์ ชีพด็อกเป็นลูกผสมระหว่าง สุนัขพันธุ์คอลลี่ กับ สุนัขขนาดเล็กบางชนิด เนื่องจากมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันหลายอย่าง ในช่วงปี 1800 เชทแลนด์ ชีพด็อกได้เดินทางไปยังประเทศสกอตแลนด์และประเทศอังกฤษ โดยพวกมันยังคงทำหน้าที่ในการเป็นสุนัขต้อนสัตว์เช่นเคย ในช่วงเวลาเหล่านี้ พวกมันได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีขนาดเล็กกระทัดรัดและมีความชำนาญในการต้อนสัตว์ ถึงแม้ว่าสุนัขสายพันธุ์นี้จะเป็นที่รักของใครหลาย ๆ คนแต่สุนัขสายพันธุ์นี้ ทำให้เกิดข้อโต้เถียงกันอย่างมากทั้งในอังกฤษและอเมริกา ผู้เพาะพันธุ์หลายคนและเจ้าของไม่สามารถตกลงกันได้ว่าเชทแลนด์ ชีพด็อกควรจะมีลักษณะเป็นอย่างไร สิ่งเหล่านี้ทำให้สโมสรและองค์กรที่แสดงความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับสายพันธุ์นี้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งในปี 1930 กลุ่มเหล่านี้ก็สามารถตกลงร่วมกันเกี่ยวกับลักษณะของเชทแลนด์ ชีพด็อกตามที่ต้องการได้ ช่วงต้นในปี 1970 เชทแลนด์ ชีพด็อกได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พวกมันติดอันดับ 1 ใน 10 ของสายพันธุ์สุนัขที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในอเมริกา จนกระทั่งทุกวันนี้เชทแลนด์ ชีพด็อกก็ยังคงเป็นที่ชื่นชอบของคนในครอบครัว เนื่องจากพวกมันมีความซื่อสัตย์และความแข็งแรง ลักษณะทางกายภาพ ขนและสีขน เชทแลนด์ ชีพด็อก […]
อ่านต่อบาเซนจิ (Basenji) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ บาเซนจิ (Basenji) ได้รับชื่อเล่นว่า สุนัขที่ไม่ค่อยเห่า (the barkless dog) เนื่องจากโดยธรรมชาติของ บาเซนจิ เป็นสุนัขที่ค่อนข้างเงียบ ไม่ค่อยส่งเสียง และถือเป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุดจนถึงปัจจุบัน โดยมีความเกี่ยวข้องทั้งในประเทศแอฟริกาและอียิปต์ ซึ่งสุนัขพันธุ์บาเซนจิตัวแรกที่ถูกนำไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาครั้งแรก ในฐานะของขวัญจากสมเด็จฟาร์โรแห่งแม่น้ำไนล์ ในปี 1940 บาเซนจิ นิยมใช้ในการฝึกทักษะในการล่า สุนัขสามารถใช้ทักษะสัญชาตญาณในการตามล่าหาชนเผ่าและพลเมืองยุคแรก ๆ เนื่องจากความถนัดในด้านการล่าทำให้สุนัขพันธุ์นี้ จัดอยู่ในกลุ่มสุนัขล่าเนื้อ และในปัจจุบันสุนัขพันธุ์นี้เป็นที่จดจำ เนื่องจากมีลักษณะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากพันธุ์อื่น คือ หน้าผากเหี่ยวย่น, หางม้วนงอ, และมีดวงตาคล้ายกับเมล็ดแอลม่อน นอกจากนี้สุนัขบาเซนจิยังเป็นสุนัขที่มีความเป็นมิตรและฉลาดอีกด้วย ลักษณะทางกายภาพ สุนัข บาเซนจิ จัดอยู่ในกลุ่มสุนัขขนาดเล็ก แต่มีความสง่างาม มีขนสั้น, หูตั้ง, หางม้วนงอขนาดเล็ก และมีคอที่สวยงาม บางคนมองว่าลักษณะของสุนัขบาเซนจิคล้ายกับกวางขนาดเล็ก นอกจากนี้ สุนัขพันธุ์นี้ยังมีบริเวณหน้าผากที่เหี่ยวย่นโดยเฉพาะในตอนเด็กและ ตอนที่แก่มาก ๆ และมีรูปทรงตาคล้ายกับเมล็ดแอลม่อน ทำให้สุนัขมีลักษณะดูเคร่งครึม น้ำหนักเฉลี่ยของสุนัขบาเซนจิ ประมาณ 11 กิโลกรัม และสูงประมาณ 40.6 เซนติเมตร […]
อ่านต่อเชาเชา (Chow Chow) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ เชาเชา หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเชา ถือเป็นสุนัขอีกหนึ่งพันธุ์ที่มีเชื้อสายยาวนาน เชื่อว่ามีต้นกำเนิดมาจากประเทศมองโกเลีย และถือเป็นสุนัขประจำเผ่าสำหรับใช้งานการล่าสัตว์ โดยสุนัขพันธุ์เชาเชาถูกพูดถึงตั้งแต่ในช่วง 206 ปีก่อนคริสตศักราช ในช่วงราชวงศ์ฮั่น สายพันธุ์นี้ยังถือเป็นตำนานของประเทศจีน คือ ลิ้นของเชาเชาจะมีสีเทาดำ เชื่อว่าเกิดจากการเลียชิ้นส่วนของท้องฟ้าเมื่อโลกถูกสร้างขึ้นครั้งแรก อย่างไรก็ตามสุนัขพันธุ์เชาเชายังไม่ได้ถูกตั้งชื่อนี้ จนกระทั่งมีพ่อค้าชาวอังกฤษนำสุนัขรูปร่างหมีบางตัวเข้าไปในตู้สินค้าในช่วงศตวรรษที่ 18 ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีการนำสุนัขออกนอกประเทศ ทำให้ชื่อเชาเชา (Chow chow) ที่เป็นคำแสลงของการขนส่งสินค้าแบบสุ่ม และจากการที่สุนัขเป็นสินค้าเบ็ดเตล็ดเชาเชา จึงถูกเรียกด้วยชื่อนี้เรื่อยมา ในช่วงปลายศตรรษที่ 19 ได้มีการก่อตั้งสมาคมสุนัขพันธุ์เชาเชาขึ้นในประเทศอังกฤษ ซึ่งสายพันธุ์นี้ได้ถูกกล่าวขานว่ามีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยจากบรรพบุรุษ และในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการนำเข้าสุนัขพันธุ์เชาเชาเข้ามาในประเทศ และได้รับการจดทะเบียนจากสาคม AKC ในปี 1903 เนื่องจากความมีเสน่ห์ และลักษณะที่น่าจดจำ ทำให้สุนัขพันธุ์นี้ได้รับความนิยมในกลุ่มคนทั่วไปและกลุ่มคนดัง และยังคงได้รับความนิยมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ลักษณะทางกายภาพ สุนัขพันธุ์เชาเชามีลำตัวเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีกระโหลกขนาดเล็ก มีหูขนาดเล็กรูปสามเหลี่ยมที่ส่วนปลายโค้งมน และสายพันธุ์นี้มีขน 2 ชั้นซึ่งประกอบด้วยทั้งขนเรียบและขนหยาบ โดยขนจะหนาเป็นพิเศษบริเวณคอ ทำให้มีลักษณะที่โดดเด่นคล้ายกับแผงคอ ซึ่งสีของขนมีทั้งหมด 5 สี ไม่ว่าจะเป็น […]
อ่านต่ออิงลิช บูลล์ด็อก (English Bulldog) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ บูลล์ด็อก (English Bulldog) เป็นชื่อสามัญของสุนัขสายพันธุ์ที่เรียกว่า อิงลิช บูลล์ด็อก หรือ บริติช บูลล์ด็อก โดยบูลล์ด็อกสายพันธุ์อื่น ๆ ได้แก่ อเมริกัน บูลล์ด็อก และเฟรนช์ บูลล์ด็อก โดยต้นกำเนิดของสายพันธุ์บูลล์ด็อกนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่หลายคนเชื่อว่า บูลล์ด็อกมาจากเกาะอังกฤษ โดยคำว่า “บูล (bull)” ในชื่อนั้นมาจากการที่พวกมันตกเป็นเหยื่อของกีฬาที่โหดร้ายอย่างกีฬาการต่อสู้กับวัว ตั้งแต่กีฬาถูกห้ามในปี 1835 บูลล์ด็อกได้กลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้านที่เป็นที่ชื่นชอบ เนื่องจากมีความซื่อสัตย์และมีอารมณ์สงบนิ่ง ภายในช่วงเวลาสิบปีที่ผ่านมาสายพันธุ์บูลล์ด็อกได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากบูลล์ด็อกมีลักษณะเฉพาะตัวโดยเป็นสุนัขที่รูปร่างตันขาสั้นมีกล้ามเนื้อแข็งแรง มีใบหน้าเหี่ยวย่นและมีลักษณะเด่นของจมูกที่หุบเข้าไปในใบหน้า โดยมี The American Kennel Club (AKC), The Kennel Club (UK) และ United Kennel Club (UKC) คอยทำหน้าที่ในการดูแลมาตรฐานการปรับปรุงพันธุ์ ลักษณะทางกายภาพ บูลล์ด็อก (English Bulldog) เป็นสุนัขสายพันธุ์ที่มีลักษณะไหล่หนาและหัวที่เข้าคู่กัน โดยทั่วไปจะมีผิวหนังที่หนาบริเวณคิ้ว ตามด้วยตาที่กลมโตสีดำ ปากสั้นและจมูกมีลักษณะคล้ายเชือกพับซ้อนกันเป็นชั้นอยู่เหนือจมูก […]
อ่านต่อเวสต์ ไฮแลนด์ ไวท์ เทอร์เรีย (West Highland White Terrier) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ เวสต์ ไฮแลนด์ ไวท์ เทอร์เรีย หรือมีชื่อที่รู้จักกันว่าเวสตี้ (Westie) มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศสกอตแลนด์ (Scotland) มักนำมาเป็นสุนัขนักล่าสัตว์เล็ก เช่น กบ (Foxes), แบดเจอร์ (Badgers), และศัตรูพืช (Vermin) ในปี ค.ศ. 1600 กษัตริย์ประเทศฝรั่งเศส ได้นำสุนัขพันธุ์นี้เข้ามาในประเทศฝรั่งเศส และได้ขนานนามว่าเป็นสุนัขทำงาน (Earthdog) ในต่อมาได้มีการเลิกนำสุนัขพันธุ์เวสต์ ไฮแลนด์ ไวท์ เทอร์เรีย มาเป็นสุนัขนักล่า เพราะสุนัขมีสีขนค่อนข้างคล้ายกับสุนัขจิ้งจอก จึงทำให้นายพรานยิงพลาดบ่อย ๆ สุนัขพันธุ์นี้ จึงไม่เหมาะที่จะใช้ในการล่าสัตว์ ดังนั้นลูกสุนัขที่เกิดขึ้นจะถูกเก็บไว้ เพื่อหลีกเลี่ยงการยิงพลาดไปโดนสุนัขโดยไม่ตั้งใจ จึงนิยมนำสุนัขมาใช้เพื่อควบคุมสัตว์ศัตรูพืช หรือสัตว์ตัวเล็กเช่น กระต่ายป่า ในช่วงแรกของศตวรรษที่ 20 ประเทศอังกฤษ ได้มีการขึ้นทะเบียนสุนัขสายพันธุ์นี้เป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1908 สหรัฐอเมริกา และสมาคม The American Kennel Club (AKC) ได้จดทะเบียนสายพันธุ์จัดอยู่ในกลุ่มสายพันธุ์เทอร์เรีย […]
อ่านต่อมินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ (Miniature Schnauzer) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ มินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ เป็นสุนัขพันธุ์เล็ก พบครั้งแรกในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 19 ที่ประเทศเยอรมนี (Germany) เป็นสุนัขที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างสุนัขพันธุ์สแตนดาร์ดชเนาเซอร์ (Standard Schnauzer) กับสุนัขพันธุ์แอฟเฟนพินเชอร์ (Affenpinscher) ถูกนำมาใช้เป็นสุนัขล่าหนู (Rat hunter) ในฟาร์มเยอรมัน รวมถึงนำมาใช้คุมฝูงสัตว์ในฟาร์ม มักใช้งานคู่กับสุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่น สุนัขพันธุ์เยอรมัน เชพเพิร์ด (German shepherd) และสุนัขพันธุ์นี้มีความสามารถในการได้ยินเสียงในระยะไกล สามารถระบุตำแหน่งของเสียงที่ได้ยินได้ ในปี ค.ศ. 1899 สุนัขพันธุ์มินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ ได้ถูกแยกออกจากกลุ่มสุนัขพันธุ์สแตนดาร์ดชเนาเซอร์ เนื่องจากสุนัขพันธุ์มินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ มีหน้าตาที่เคร่งขรึม ดูไม่เป็นมิตรแตกต่างจากสายพันธุ์อื่นอย่างชัดเจน ในปี ค.ศ. 1933 สมาคม The American Kennel Club (AKC) ได้ขึ้นทะเบียนทั้ง 2 สายพันธุ์ คือพันธุ์สุนัขมินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเทอร์เรีย (Terrier group) และสุนัขพันธุ์พันธุ์สแตนดาร์ดชเนาเซอร์ […]
อ่านต่อเยอรมันเชพเพิร์ด (German Shepherd) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ เยอรมันเชพเพิร์ด (German Shepherd) หรือที่รู้จักกันในชื่ออัลเซเชี่ยน (เยอรมัน : Deutscher Schäferhund) เป็นสุนัขสายพันธุ์ขนาดใหญ่ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศเยอรมนี เยอรมันเชพเพิร์ดเป็นสุนัขสายพันธุ์ที่ค่อนข้างใหม่ มีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1899 โดยจัดอยู่ในกลุ่มของสุนัขต้อนสัตว์และถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อต้อนแกะ เนื่องจากมีความแข็งแรง, ฉลาดและถูกฝึกให้เชื่อฟังตามคำสั่ง จึงมักจะถูกฝึกให้ช่วยงานตำรวจและทหารทั่วโลก เนื่องจากความจงรักภักดีและมีสัญชาตญาณในการปกป้อง จึงทำให้ เยอรมันเชพพิร์ด เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่ได้รับการจดทะเบียนมากที่สุด ลักษณะทางกายภาพ เยอรมันเชพเพิร์ด เป็นสุนัขขนาดใหญ่ ซึ่งขนาดโดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 55 – 65 เซนติเมตร (22 – 26 นิ้ว) วัดจากส่วนที่สูงที่สุดของหลัง และมีน้ำหนักระหว่าง 22 – 40 กิโลกรัม (49 – 88 ปอนด์) ความสูงในอุดมคติคือ 63 เซนติเมตร (25 นิ้ว) ตามมาตรฐานของ Kennel Club เยอรมันเชพเพิร์ดจะมีหน้าผากที่เป็นรูปโดม, จมูกและปากส่วนบนเป็นทรงสี่เหลี่ยมยาวและมีจมูกสีดำ ขากรรไกรมีความแข็งแรงร่วมกับฟันที่คมเหมือนกรรไกร […]
อ่านต่อมอลทีส (Maltese) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ มอลทีส จัดเป็นสุนัขพันธุ์เล็ก อยู่ในกลุ่มสุนัขพันธุ์ทอย มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่แถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Central Mediterranean Area) โดยชื่อพันธุ์ของสุนัขมีความเชื่อว่าเป็นสุนัขที่มาจากเกาะเล็ก ๆ ทางตอนใต้ของประเทศมอลต้า (Malta) นอกจากนั้นบางครั้งก็ถูกกล่าวว่ามาจากเกาะเอเดรียติก (Adriatic island) ของประเทศโครเอเชีย (Mljet) หรือมาจากเขตชุมชนซิซิเลีย (Sicilian) ในเมืองเมลิต้า (Melita) สุนัขพันธุ์ มอลทีส ได้รับการยอมรับจากองค์กร The Fédération cynologique internationale (FCI) เฉพาะในประเทศอิตาลี (Italy) ในปี ค.ศ.1954 หลังจากนั้นได้ถูกนำมาเลี้ยงในเมืองอินเตอร์ลาเคน (Interlaken) ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในต่อมาองค์กร FCI จึงได้ขึ้นทะเบียนให้เป็นพันธุ์สุนัขที่ได้รับการยอมรับทั่วไป วันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ.1989 และได้ถูกนำข้อมูลสุนัขพันธุ์มอลทีสมาแปลภาษาจากภาษาอิตาลีเป็นภาษาอังกฤษ วันที่ 6 เมษายน ค.ศ.1998 สมาคม The American Kennel Club (AKC) ได้รับการขึ้นทะเบียนพันธุ์สุนัขมอลทีส […]
อ่านต่อชิสุ (Shih Tzu) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ ชิสุ จัดเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีถิ่นกำเนิดมาจากทิเบต และเป็นพันธุ์ที่นิยมในประเทศจีน โดยการตั้งชื่อสายพันธุ์ชิสุ มีความหมายว่าเป็นสิงโตน้อย (Little lion) หรือสุนัขตัวเล็ก (Little dog) ในประเทศจีน สุนัขพันธุ์ชิสุ มีลักษณะคล้ายสุนัขพันธุ์ปักกิ่ง (Pekingese) เนื่องจากได้รับการผสมพันธุ์กับสุนัขพันธุ์ปักกิ่ง ถูกจัดอยู่ในสายพันธุ์ชนชั้นสูง พวกเดียวกับปักกิ่งและปั๊ก เป็นสุนัขที่หรูหราที่สุดจากจักรพรรดิจีน โดยกล่าวว่าพระทิเบตมอบสุนัขพันธุ์ชิสุให้จักรพรรดิจีนเป็นของกำนัล สุนัขพันธุ์นี้เป็นที่รู้จักนอกอาณาจักรจีนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1903 ในต่อมาได้ถูกนำมาเลี้ยงในแถบทวีปยุโรป ได้แก่ ประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศส ทำให้ได้ความนิยมมากยิ่งขึ้น โดยสมาคม English kennel clubs ได้ขึ้นทะเบียนพันธุ์สุนัขชิสุ เป็นสุนัขพันธุ์ลาซา แอปโซ (Lhasa Apso) และในปี ค.ศ.1935 สุนัขพันธุ์ชิสุได้มีการพัฒนาลักษณะประจำสายพันธุ์มากขึ้น ทำให้ถูกขึ้นทะเบียนอีกครั้งเป็นสุนัขพันธุ์ชิสุ แยกออกจากสุนัขพันธุ์ยุโรปอย่างชัดเจน และถูกนำต่อมายังอเมริกา โดยทหารอเมริกาที่กลับมาจากทวีปยุโรป ทำให้เป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก ลักษณะทางกายภาพ สุนัขพันธุ์ชิสุ เป็นสุนัขพันธุ์เล็ก ปากสั้น ตาลึกดำสนิท จมูกเล็กแบน หลังจากกินอาหาร หรือกินน้ำควรทำความสะอาดให้แห้งทุกครั้ง […]
อ่านต่อปาปิยอง (Papillon) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ ปาปิยอง (Papillon) เป็นสุนัขขนยาวในกลุ่มทอย (Toy Group) เนื่องจากขนาดตัวที่เล็ก พวกมันสืบเชื้อสายมาจากสแปเนียลพันธุ์แคระที่ได้รับความนิยมในยุโรปช่วงศตวรรษที่ 16 สุนัขสายพันธุ์ปาปิยองได้รับการตั้งชื่อตามรูปลักษณ์ที่โดดเด่นของพวกมัน โดยหูของปาปิยองมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ คือตั้งตรง มีขนยาว และแผ่ออกคล้ายกับผีเสื้อจึงถูกนำมาตั้งเป็นชื่อของสายพันธุ์ โดยคำว่า “Papillon” ในภาษาฝรั่งเศส แปลว่าว่า “ผีเสื้อ” พวกมันได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากชนชั้นสูงในยุโรปตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 และโดยทั่วไปจะถูกนำมาเป็นของขวัญสำหรับการมาเยือนของขุนนางจากประเทศต่าง ๆ ถึงแม้ว่าปาปิยองในยุคแรก ๆ จะมีลักษณะหูที่ตั้งขึ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปลูกในครอกของพวกมันสามารถพบได้ทั้งแบบหูตั้งและหูตกแตกต่างกันไป โดยปาปิยองหูตกเป็นที่รู้จักกันในชื่อฟาแลน (Phalene) หรือ “moth” ในภาษาฝรั่งเศส ชื่อเหล่านี้ยังคงใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เพื่อจำแนกลักษณะหูของปาปิยอง ปาปิยอง ถูกขยายพันธุ์ขึ้นมาเพื่อให้เป็นสุนัขตัวเล็ก ๆ ที่สามารถพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวกและถูกเลี้ยงไว้เพื่อเป็นเพื่อน ถึงแม้ว่าพวกมันจะมีความฉลาดในการทำงานในด้านอื่น ๆ ก็ตาม ปาปิยองเป็นสุนัขตัวเล็กที่มีน้ำหนักเฉลี่ยเพียง 4-9 ปอนด์และมีความสูง 8-11 นิ้วและเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ของสุนัขกลุ่มทอยที่เก่าแก่ที่สุด ความนิยมอย่างต่อเนื่องของพวกมันได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความเหมาะสมในการทำหน้าที่ในฐานะเพื่อนคู่หูของมนุษย์ ถึงแม้ว่าที่มาของสายพันธุ์จะยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดแต่เชื่อกันว่าสายพันธุ์นี้ถูกพัฒนาขึ้นมาจากสุนัขสายพันธุ์คอนทิเนนทัล ทอย สแปเนียล (Continental Toy Spaniel) ในประเทศฝรั่งเศสช่วงกลางศตวรรษที่ 16 […]
อ่านต่อ