แมวกินน้อย

แมวชอบกินสิ่งแปลกปลอม ที่ไม่ใช่อาหาร หรือ PICA

แมวชอบกินสิ่งแปลกปลอม ที่ไม่ใช่อาหาร หรือที่เรียกว่า PICA เป็นข้อควรระวังอย่างหนึ่งสำหรับการเลี้ยงแมว ที่ผู้ปกครองควรคอยสังเกต และเฝ้าระวังไม่ให้น้องกินสิ่งแปลกปลอมเข้าไป เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตของน้องได้ แมวชอบกินสิ่งแปลกปลอม ที่ไม่ใช่อาหาร เป็นพฤติกรรมที่พบได้บ่อยในแมวบางสายพันธุ์ เช่น แมวไทย แมวเบอร์มีส และแมวตองกีนีส เป็นต้น ซึ่งสันนิษฐานว่า สาเหตุอาจเกิดจากความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมในแมว อย่างไรก็ตาม แมวสายพันธุ์อื่น ๆ นอกเหนือจากที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น ก็อาจแสดงพฤติกรรม PICA หรือชอบกินสิ่งของที่ไม่ใช่อาหารได้เช่นกัน สิ่งแปลกปลอมอะไรบ้าง ที่น้องแมวชอบกิน จากกรณีน้องแมวส่วนใหญ่ที่กินสิ่งแปลกปลอม แล้วคุณพ่อคุณแม่นำน้องมาหาสัตวแพทย์ พบว่า วัสดุแปลกปลอมส่วนใหญ่ที่ตรวจพบ ได้แก่ พลาสติก เศษผ้า วัตถุที่ผลิตจากยางหรือไม้ กระดาษแก้ว กระดาษแข็ง ทรายแมว โลหะ และก้อนขนของตัวเอง โดย ช่วงอายุที่พบได้บ่อย คือ ลูกแมวที่อายุน้อยกว่า 3 เดือน จากการสังเกตพฤติกรรมพบว่า ลูกแมวจะเริ่มกัดแทะสิ่งของใกล้ตัว อย่างที่นอนของตัวเอง และพฤติกรรมนี้จะหายไปเมื่อโตขึ้นสู่ช่วงโตเต็มวัย แต่ในแมวบางตัว จะยังคงพฤติกรรมนี้จนกลายเป็นปัญหาทางพฤติกรรม แล้วเราจะสังเกตได้อย่างไรว่า แมวของเรามีพฤติกรรมกินสิ่งของที่ไม่ใช่อาหาร ปกติแล้วแมวจะมีการล่าเหยื่อ […]

อ่านต่อ

โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ หรือ โรคไทรอยด์ฮอร์โมนสูงในแมว (Feline Hyperthyroidism)

โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ ในแมว (Feline Hyperthyroidism) เป็นความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อในแมว โดยต่อมไทรอยด์จะหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากกว่าปกติ โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ เกิดมาจาก ต่อมไทรอยด์ที่เป็นอวัยวะที่อยู่บริเวณลำคอ มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ที่มีบทบาทสำคัญ ต่อการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย รวมไปถึงมีหน้าที่ในการควบคุมพลังงาน และ มีผลต่อการทำงานในอวัยวะต่าง ๆ ที่สำคัญในร่างกายของแมว เช่น หัวใจ สมอง ระบบทางเดินอาหาร ระบบกล้ามเนื้อ เป็นต้น โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ มักพบในแมววัยกลางจนถึงแมวสูงอายุ ช่วงอายุที่มีรายงานในการตรวจพบคือ ตั้งแต่ 4 -22 ปี แต่โดยส่วนมากค่าเฉลี่ยมักจะพบที่อายุมากกว่า 10 ปี โดยโรคนี้สามารถเกิดได้กับแมวทุกเพศ และ ทุกสายพันธุ์ อาการของโรคไฮเปอร์ไทรอยด์ อาการที่เราสามารถสังเกตได้จากภายนอก เช่น น้ำหนักลดลง ถึงแม้จะมีความอยากอาหารอยู่ หรือ สามารถยังกินอาหารได้ปกติ มีการกินจุมากขึ้น ปัสสาวะบ่อย กินน้ำบ่อย ขนหยาบกร้าน มีการเคลื่อนไหวมาก (Hyperactivity) อาเจียน ถ่ายเหลว เป็นต้น ส่วนอาการอื่น ๆ ที่พบตามมาได้ เช่น เบื่ออาหาร […]

อ่านต่อ
หวัดแมว

โรคหวัดแมว หรือ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนต้นในแมว (Cat flu)

โรคหวัดแมว เมื่อได้ยินแล้วหลายคนอาจคิดว่า เป็นโรคธรรมดาที่ไม่น่ากลัว คล้ายกับคนที่เป็นหวัด ไม่นานก็หาย แต่!! จริงๆแล้ว โรคหวัดแมวนั้นมีความอันตรายต่อชีวิตของน้องแมวมากกว่าที่ทุกคนคิด โรคหวัดแมว เป็นโรคที่พบได้บ่อยในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นไวรัสจำเพาะในแมว ได้แก่ Feline Herpesvirus (FHV) , Feline Calicivirus (FCV) นอกจากนั้นยังมีเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย เช่น Bordetella bronchiseptica  , Chlamydia spp. , Mycoplasma spp. เป็นต้น การติดต่อ เกิดจากแมวที่ติดเชื้อ จะแพร่เชื้อผ่านทางสิ่งคัดหลั่งจากตา จมูก และปาก การแพร่กระจายของเชื้อเกิดได้จากการสัมผัสสิ่งคัดหลั่งของแมวที่ป่วยโดยตรง ซึ่งมักจะเป็นทางหลักในการติดต่อของโรค ส่วนการหายใจเอาเชื้อไวรัสจากสิ่งคัดหลั่ง หรือละอองหายใจเข้าไป ก็สามารถพบได้ โรคหวัดแมวพบได้บ่อยในบริเวณที่มีการเลี้ยงแมวจำนวนมาก หรืออยู่กันอย่างหนาแน่น ในกรณีที่แมวป่วย และหายจากโรคแล้วนั้น ยังสามารถเป็นพาหะนำโรคได้ต่อไป อาการของโรคหวัดแมว  ระยะฟักตัวของโรคหวัดแมว จะประมาณ 2 – 10 วัน แต่อาจจะนานได้ถึง 14 […]

อ่านต่อ
โรคตับอ่อนอักเสบ

โรคตับอ่อนอักเสบ ในแมว (Pancreatitis)

โรคตับอ่อนอักเสบ เป็นภาวะหนึ่งที่ฟังดูน่ากังวล และอาจจะเข้าใจได้ยาก วันนี้ บ้านและสวน Pets จะพามาความรู้จักกับโรคตับอ่อนอักเสบกันในบทความนี้ ตับอ่อน เป็นอวัยวะหนึ่งในช่องท้อง ที่มีบทบาทสำคัญ ในร่างกายหลายประการ ตำแหน่งของตับอ่อน จะอยู่ติดกับกระเพาะ และ ลำไส้เล็ก ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับ การสร้างเอ็นไซม์สำหรับการย่อยอาหาร และยังทำหน้าที่ผลิตอินซูลิน สำหรับควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โรคตับอ่อนอักเสบ เป็นโรคที่พบได้บ่อยในแมว นอกจากนั้น ยังพบได้ในคน และ สุนัขอีกด้วย โรคตับอ่อนอักเสบคืออะไร ? โรคตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis) เกิดจากตับอ่อนของแมว มีกระบวนการอักเสบเกิดขึ้น โดยในแมวส่วนใหญ่ ภาวะนี้มักเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่เรามักจะพบว่ามีความเกี่ยวข้องกับ การอักเสบของตับ และ ลำไส้ร่วมกัน (เรียกว่า Triaditis) พบได้บ่อยในแมววัยกลางคน ถึงแมวสูงอายุ เนื่องจาก ตับอ่อนสร้างเอ็นไซม์สำหรับย่อยอาหาร และ เมื่อตับอ่อนเกิดการอักเสบ เอ็นไซม์เหล่านี้ก็จะถูกปล่อยออกสู่ตับอ่อน และ เนื้อเยื่อรอบๆข้าง ซึ่งทำให้เกิดความเสียหาย และ ความเจ็บปวด ทำให้แมวมีอาการปวดเกร็งท้อง ในรายที่รุนแรง อาจทำให้เสียชีวิตได้ เนื่องจาก […]

อ่านต่อ

มดลูกอักเสบ (pyometra) ความผิดปกติของสุนัขและแมวเพศเมีย

สำหรับผู้เลี้ยงสุนัขและแมวเพศเมีย สิ่งที่ต้องเข้าใจเขาอีกส่วนคือเรื่องของระบบสืบพันธุ์เพศเมีย ตั้งแต่เรื่องวงรอบการเป็นสัด การตั้งท้อง การเลี้ยงลูก โดยทาง บ้านและสวน Pets ได้มีบทความบอกเล่าไปบ้างแล้ว วันนี้เรามาเพิ่มเติมส่วนของความผิดปกติของเพศเมีย อย่าง มดลูกอักเสบ แบบผู้หญิง ๆ กันค่ะ มดลูก (uterus) ก่อนเข้าสู่เรื่องความผิดปกติของ มดลูกอักเสบ หมอต้องขออธิบายโครงสร้างของมดลูกให้เห็นภาพคร่าว ๆ กันก่อนค่ะ โดยมดลูกนั้นเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศเมีย ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ปีกมดลูก (uterine horn) ตัวมดลูก (uterine body) และปากมดลูก (uterine cervix) ปีกมดลูกมี 2 ข้าง ข้างซ้ายและข้างขวาต่อจากรังไข่และท่อนำไข่ เชื่อมรวมกันที่ตัวมดลูก และมีปากมดลูกเป็นส่วนเชื่อมต่อสู่ช่องคลอด สาเหตุ มดลูกอักเสบ (pyometra) ทุกอวัยวะของร่างกายมีความผิดปกติเกิดขึ้นได้เสมอ…มดลูกก็เช่นกันค่ะปัญหาส่วนมากที่พบ คือ โรคมดลูกอักเสบแบบมีหนอง บางครั้งอาจถูกเรียกสั้นลงว่า “มดลูกอักเสบ” หรือ ภาษาทางการแพทย์เรียกว่า “pyometra” เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ทั้งในสุนัขและแมว สาเหตุการเกิดนั้นมักประกอบด้วยหลายปัจจัยดังนี้ […]

อ่านต่อ

โรคไข้หัดแมว หรือ โรคลำไส้อักเสบติดต่อในแมว (Feline Distemper)

“โรคไข้หัดแมว” คือโรคอะไร ?? มีความเกี่ยวข้องกับโรคไข้หัดสุนัขหรือไม่ ?? ติดต่ออย่างไร ?? ก่อโรคในมนุษย์ได้หรือไม่ ?? แล้วจะมีวิธีการที่จะป้องกันแมวสุดที่รักของเราจากโรคนี้ได้หรือไม่ อย่างไร ??? ในโอกาสนี้ หมอก็จะขออนุญาตนำข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ “โรคไข้หัดแมว” มาสรุปสั้นๆ ให้ทุกท่านได้รู้จักกันครับ โรคไข้หัดแมว คืออะไร ?? “โรคไข้หัดแมว” หรือ “feline distemper” นั้น มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการในวงการสัตวแพทย์อยู่หลายชื่อ โดยคุณหมอสัตวแพทย์บางท่านอาจจะเรียกว่า “โรคลำไส้อักเสบติดต่อในแมว (feline infectious enteritis)” หรือ “โรคติดเชื้อพาร์โวไวรัสในแมว (feline parvovirus infection)” หรือบางท่านก็อาจจะขนานโรคนี้ว่า “โรคแพนลิวโคพีเนียในแมว (feline panleukopenia)” ซึ่งคำว่า “แพนลิวโคพีเนีย” นี้ เป็นศัพท์ทางการแพทย์ที่แปลว่าเม็ดเลือดขาวต่ำ ทั้งนี้เนื่องจากแมวที่ติดโรคดังกล่าวนี้ มักมีจำนวนเม็ดเลือดขาวทุกชนิดลดต่ำลงอย่างมาก (ซึ่งจะได้มีการกล่าวถึงรายละเอียดของภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำต่อไปหลังจากนี้) “โรคไข้หัดแมว” เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่ม “Carnivore protoparvovirus 1” โดยพบว่าร้อยละ 95 ของแมวที่ป่วยด้วยโรคนี้เกิดจากการติดเชื้อพาร์โวไวรัสในแมว […]

อ่านต่อ

ความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมกับภาวะซึมเศร้าในสัตว์เลี้ยง

สุนัขและแมวก็มีโรคทางจิตเวช อย่าง ภาวะซึมเศร้าที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งในคนและสัตว์ เพียงแต่เราอาจจะเพิกเฉยหรือไม่คิดว่ามันคือปัญหาที่แก้ไขได้

อ่านต่อ