สุนัข

สุนัขชอบฉี่ใส่ที่นอน ของเรา เพราะอะไรกันนะ

ปัญหา สุนัขชอบฉี่ใส่ที่นอน เป็นปัญหาที่สร้างความหงุดหงิดแก่ผู้ปกครองเป็นอย่างมากแน่ ๆ เพราะเราจะต้องหมดแรงไปกับการทำความสะอาดที่เครื่องนอนทั้งชุด และต้องกำจัดกลิ่นฉี่ของสุนัขให้หมดไปจากฟูก ซึ่งไม่ใช่เรื่องสนุกอย่างแน่นอน ทำไม สุนัขชอบฉี่ใส่ที่นอน ของเรา ผู้ปกครองบางท่านเล่าให้เราฟังว่า แม้ว่าสุนัขจะถูกฝึกให้ฉี่ในที่ที่จัดไว้โดยเฉพาะแล้ว แต่บางครั้งคุณพ่อคุณแม่ก็พบว่า สุนัขชอบฉี่ใส่ที่นอน และจากข้อมูลที่หลายท่านเคยรับรู้มาคือ เตียงมีลักษณะบางอย่างที่ดึงดูดสุนัขให้มาฉี่ เช่น นุ่ม ปลอดภัย และมีกลิ่นตัวเจ้าของติดอยู่ ซึ่งสุนัขต้องการใช้เวลาอยู่บนเตียงเป็นเวลานาน คำถามที่ตามมาคือ… “พวกเขาทำไปเพราะอะไร?” “โกรธเราหรือไม่?” “กำลังป่วยใช่ไหม?” “หรือเป็นเพราะเราทำอะไรผิด?” ความจริงคือ — ไม่มีคำตอบเดียวที่ใช้ได้กับทุกตัว เพราะเบื้องหลังของการปัสสาวะที่ไม่พึงประสงค์มีทั้งร่างกาย พฤติกรรม อารมณ์ และช่วงอายุ เข้ามาเกี่ยวข้อง สัตวแพทย์พบว่า สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดปัญหาพฤติกรรมสุนัขฉี่ใส่ที่นอนของเรา มีดังนี้ สาเหตุทางร่างกาย (Physical Causes) ถ้าหากเจ้าของสังเกตพบว่า สุนัขฉี่ใส่ที่นอนของเราแบบกระทันหัน หรือเกิดขึ้นซ้ำบ่อย ๆ โดยไม่มีสัญญาณเตือน อาจเกิดจากปัญหาเรื่องสุขภาพ เพราะหลายครั้ง… สิ่งที่เราคิดว่าเป็น “พฤติกรรมไม่ดี” แท้จริงแล้วคือ “สัญญาณเตือนของร่างกาย” โดยโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิกปกติในการขับปัสสาวะได้แก่ โรคระบบทางเดินปัสสาวะ โรคระบบทางเดินปัสสาวะที่พบได้บ่อยคือ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ […]

อ่านต่อ

สุนัขรับฟังสิ่งที่เราพูด อยู่ตลอดเวลา

การศึกษาเกี่ยวกับการรับรู้ภาษามนุษย์ของสุนัข พบว่า สุนัขรับฟังสิ่งที่เราพูด อยู่ตลอดเวลา พวกเขาเข้าใจคำพูดที่เรามักพูดซ้ำ ๆ แม้ว่าจะเป็นคำพูดที่ไม่ได้สื่อสารกับสุนัขก็ตาม การศึกษาวิจัยครั้งนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่าง ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมสัตว์เลี้ยง และ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการรับรู้ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยลินคอล์นและซัสเซกซ์ และมหาวิทยาลัยฌองมอนเนต์ เพื่อสังเกตพฤติกรรมของเพื่อนต่างสายพันธุ์ และเป็นการหาหลักฐานยืนยันเพิ่มเติมว่า สุนัขรับฟังสิ่งที่เราพูด ทีมนักวิจัยได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า สุนัขที่เป็นสัตว์เลี้ยงของเรา อาจเข้าใจการสื่อสารของมนุษย์ได้ลึกซึ้งกว่าที่เราเคยศึกษามาก่อนหน้านี้ โดยการศึกษานี้ในสุนัขบ้าน (Canis familiaris) ทีมนักวิจัยสังเกตพบว่า สุนัขสามารถจดจำความหมายคำพูดซ้ำ ๆ ของมนุษย์ได้ และพวกเขาได้รายงานผลการศึกษานี้ในวารสาร Animal Cognition โดยใจความสำคัญของผลการศึกษา ระบุว่า “สุนัขรับฟังเราพูดตลอดเวลา แม้ว่าคำพูดนั้นไม่ได้สื่อสารไปที่สุนัขก็ตาม โดยสุนัขมีความสามารถในการกรองข้อมูลของคำพูดทั่วไป และคำสั่งที่มนุษย์สื่อสารกับสุนัข แม้ว่าเราจะใช้นำเสียงราบเรียบปกติ” ความสามารถของสุนัขเรื่องการรับรู้ความหมายของภาษามนุษย์อาจเกิดขึ้นตลอดระยะเวลา 14,000 ปี ที่สุนัขได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในสังคมมนุษย์ และอาจเกี่ยวกับการพัฒนาสายพันธุ์สุนัข ที่มนุษย์มีบทบาทอย่างมากต่อการกำหนดพฤติกรรมสุนัข ในการศึกษาครั้งนี้ ทีมนักวิจัยได้สังเกตพฤติกรรมของสุนัขหลากหลายสายพันธุ์ โดยในการทดสอบสุนัขแต่ละตัวฟังคำพูดของมนุษย์ ที่ประกอบด้วย คำสั่งสุนัขพื้นฐาน และคำพูดที่ไม่เกี่ยวข้องกับสุนัข และเป็นการเปลี่ยงเสียงออกมาด้วยน้ำเสียงราบเรียบ ผลลัพธ์ที่นักวิจัยสังเกตได้ คือ สุนัขตอบสนองต่อคำสั่งได้อย่างสม่ำเสมอ […]

อ่านต่อ

QUIZ: Which Dog is? สุนัขพันธุ์ไหนเหมาะกับคุณ

สุนัขพันธุ์ไหนเหมาะกับคุณ ? เป็นคำถามที่หลาย ๆ ท่านเคยหาคำตอบกับตัวเอง ก่อนที่จะเลี้ยงสุนัขสักหนึ่งตัว วันนี้ เราลองมาทำ guideline quiz กันนะครับ เพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นสำหรับการเลือกสายพันธุ์สุนัขที่เหมาะกับเรา ถ้าจะถามผมว่า “สุนัขพันธุ์ไหนเหมาะกับคุณ” ผมอาจจะขอย้อนกลับไปในช่วงวัยเด็ก ที่อากงกับผมต้องพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์ เพราะในคลินิกจะมีโปสเตอร์รูปสุนัขหลากหลายสายพันธุ์ติดแขวนอยู่บนผนัง ผมมักจะไปยืนดู แล้วก็คอยจิ้มว่าตัวไหนบ้านเรามี ตัวไหนเรายังไม่มี จวบจนวันนี้ก็ผ่านมาหลายปี ครอบครัวผมก็มีสุนัขเยอะแล้ว ก็เลยเกิดไอเดียที่จะทำ guideline quiz เรื่องการเลือกสุนัข ว่าสายพันธุ์ไหนเหมาะกับเราขึ้นมา ในรูปแบบของครอบครัวบ้านส่ายหาง เพื่อเป็นบทความลงในบ้านและสวน PETS อยากฝากให้ทุกคนลองทำกันดูครับ วัตถุประสงค์ในการทำแบบทดสอบนี้ ไม่ได้เป็นการชี้ช่องหรือตัดสินว่า ใครเหมาะกับหมาพันธุ์ไหน แต่เป็นการรวบรวมข้อเท็จจริงเพื่อทดสอบว่า น้องหมาสายพันธุ์ที่ชอบ เหมาะสมกับรูปแบบหรือไลฟ์สไตล์ของเราจริง ๆ ง่ายต่อการดูแลหรือไม่ และเรามีทางเลือกอย่างไรบ้าง เพื่อไม่เป็นการดันทุรังทำสิ่งที่ไม่ใช่ตัวเอง ในขณะเดียวกัน ถ้าคำตอบของสายพันธุ์ไม่เป็นไปตาม ที่ผู้ทำแบบทดสอบอยากเลี้ยงหรือเลี้ยงอยู่แล้ว ก็ต้องนำมาคิดทบทวนว่า หากต้องการจะเลี้ยงจริง ๆ แต่น้องหมาสายพันธุ์นั้น ๆ ไม่ได้อยู่ในคำแนะนำ คุณจะสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับสัญชาตญาณของสุนัขได้มากน้อยแค่ไหน “การปรับเปลี่ยนตัวเอง” ให้ตรงกับสุนัขสายพันธุ์ที่เลือกถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะมันคือการเปลี่ยนตารางชีวิตเราไปจากปัจจุบัน จึงต้องคิดให้รอบคอบ […]

อ่านต่อ

9 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ “อิงลิชบูลด็อก”

อิงลิชบูลด็อก เป็นหนึ่งในสายพันธุ์สุนัขที่มีเอกลักษณ์ และเสน่ห์ไม่เหมือนใคร ด้วยรูปร่างล่ำสั้น ใบหน้ามีรอยย่น และท่าทางที่ดูดุดันแต่กลับมีนิสัยอ่อนโยน ใครที่เคยสัมผัสพวกเขาจริง ๆ จะรู้ว่าภายใต้หน้าบึ้งนั้นคือ สุนัขที่รักเจ้าของสุดหัวใจ ขี้อ้อน และมีอารมณ์ขันในแบบของตัวเอง 1. ประวัติความเป็นมาและข้อเท็จจริงที่น่าสนใจของ อิงลิชบูลด็อก อิงลิชบูลด็อก มีต้นกำเนิดจากอังกฤษ ย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 13 พวกเขาเคยถูกใช้ในกีฬาต่อสู้กับวัว (Bull-baiting) ซึ่งเป็นกีฬาที่โหดร้าย แต่เมื่อกีฬานี้ถูกยกเลิกในปี 1835 ผู้เพาะพันธุ์ได้พัฒนาบูลด็อกให้มีนิสัยอ่อนโยน และกลายเป็นสุนัขเลี้ยงในบ้านที่เป็นมิตรและรักสงบ แม้ว่าภาพลักษณ์ของพวกขาจะดูแข็งแกร่งและดุดัน แต่ในความเป็นจริง อิงลิชบูลด็อกเป็นสุนัขที่รักสงบ ไม่ก้าวร้าว และเข้ากับครอบครัวได้ดี พวกเขาชอบอยู่ใกล้ชิดเจ้าของ และบางตัวก็มีนิสัยขี้เกียจ ชอบนอนมากกว่าการวิ่งเล่นเสียอีก 2. คำจำกัดความของ “บูลด็อก” อิงลิชบูลด็อกมักเป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแกร่ง ความกล้าหาญ และความภักดี เนื่องจากลักษณะหน้าตาที่ดูจริงจังและมุ่งมั่น พวกเขาถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของหลายองค์กร เช่น 3. การดูแลอิงลิช บูลด็อกให้มีความสุข 4. อิงลิชบูลด็อกเหมาะกับใคร อิงลิชบูลด็อกเป็นสุนัขที่มีนิสัยน่ารักและขี้เล่น แต่ก็มีความต้องการพิเศษในการดูแล ดังนั้น ไม่ใช่ทุกคนที่จะเหมาะกับการเลี้ยงสุนัขสายพันธุ์นี้ คนที่เหมาะสมที่สุดควรมีลักษณะดังนี้: 5. ข้อควรระวังเป็นพิเศษในการเลี้ยงบูลด็อก […]

อ่านต่อ

จุฬาฯ จัดโครงการ วันโรคอ้วนสัตว์เลี้ยง

โรคอ้วนสัตว์เลี้ยง เป็นหนึ่งในปัญหาด้านสุขภาพของสัตว์เลี้ยง ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต และสวัสดิภาพ ของสัตว์เลี้ยง ภาวะน้ำหนักตัวเกินและ โรคอ้วนสัตว์เลี้ยง คือสภาวะที่ร่างกายของสัตว์เลี้ยงมีน้ำหนักเกินค่ามาตรฐาน เนื่องจากไขมันสะสมใต้ผิวหนังมากเกินไป จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งในสัตว์เลี้ยงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน โรคกระดูกและข้อ โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคอื่น ๆ ตามมา เป็นผลทำให้สัตว์เลี้ยงมีอายุขัยลดลง เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2568 คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้จัดโครงการวันโรคอ้วนสัตว์เลี้ยง (Pet Obesity Day) เนื่องจาก เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยง และต้องการสร้างความตระหนักรู้ให้กับเจ้าของสัตว์เลี้ยง เกี่ยวกับการป้องกันภาวะโรคอ้วนสัตว์เลี้ยง เพื่อให้สัตว์เลี้ยงมีสุขภาพแข็งแรงและมีอายุยืนยาว ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดี จุฬาฯ ได้กล่าวถึงความสำคัญของปัญหาโรคอ้วนในสัตว์เลี้ยง ซึ่งเป็นปัญหาที่อาจถูกมองข้าม แต่มีผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของสัตว์ในระยะยาว โดยโรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อโรคร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ โรคข้อเสื่อม และโรคเบาหวาน ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อสัตว์เลี้ยงแล้ว ยังเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาให้กับเจ้าของอีกด้วย โครงการวันโรคอ้วนสัตว์เลี้ยง จัดขึ้นโดยโรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ภายในงาน มีการบรรยายให้ความรู้จากคณาจารย์ และสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ในหัวข้อเกี่ยวกับการดูแล […]

อ่านต่อ

ลูกสุนัข 1 เดือน กินอะไรได้บ้าง ต้องดูแลอย่างไร

การเลี้ยงลูกสุนัขในช่วงแรกเกิด เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดูแลเรื่องโภชนาการ ที่เจ้าของหลาย ๆ ท่าน มักจะเกิดคำถามว่า ลูกสุนัข 1 เดือน กินอะไรได้บ้าง สำหรับ ลูกสุนัข 1 เดือน ส่วนใหญ่ ปฏิสัมพันธ์หลัก ๆ ของพวกเขา คือการอยู่ร่วมกับแม่สุนัข และพี่น้องในคอกเดียวกัน ในขณะเดียวกัน ยังเป็นช่วงเวลาที่ลูกสุนัขจะเริ่มเรียนรู้วิธีเข้าสังคม และพัฒนาการทางร่างกาย ดังนั้น อาหาร และโภชนาการ จึงเป็นส่วนสำคัญสำหรับพัฒนาการที่สมบูรณ์ วันนี้ เราจะไปเรียนรู้พร้อมกันค่ะว่า ลูกสุนัข 1 เดือน กินอะไรได้บ้าง การดูแล ลูกสุนัข 1 เดือน ต้องเข้าใจพัฒนาการของลูกสุนัข ในการเจริญเติบโตของสุนัข สัตวแพทย์มักจะนับอายุของลูกสุนัขเป็นสัปดาห์ ซึ่งสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาการทางร่างกายของลูกสุนัข ดังนั้น การดูแลลูกสุนัข ในช่วงแรกเกิดถึง 4 สัปดาห์ หรือในช่วง 1 เดือนแรก เจ้าของควรทำความเข้าใจพัฒนาการของสุนัขด้วย แม้ว่าลูกสุนัขจะมีรูปแบบพัฒนาการทางร่างกายเหมือนกันที่เหมือนกัน แต่สุนัขแต่ละสายพันธุ์จะเข้าสู่ช่วงอายุโตเต็มวัยที่แตกต่างกัน […]

อ่านต่อ

การศึกษาพบว่า สุนัขฉลาด มักมีสมองขนาดเล็ก

การศึกษาของนักวิจัยเกี่ยวกับ อัตราส่วนของขนาดสมองต่อขนาดตัวของสุนัข พบว่า สุนัขฉลาด ไม่ได้มีสมองขนาดใหญ่เสมอไป การศึกษาเกี่ยวกับ ความฉลาดของสุนัข ที่เผยแพร่เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2024 รายงานว่า แม้ว่าสุนัขที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อร่วมทำงานกับมนุษย์ หรือใช้งานทุ่นแรง จะแสดงความสามารถที่ซับซ้อนกว่าเมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่น หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็น สุนัขฉลาด กว่าสายพันธุ์อื่นๆ จากการศึกษาสมองของสุนัขกลุ่มนี้กลับพบว่า สมองของสุนัขที่มีความสามารถหลากหลาย มีขนาดสมองที่หดกระชับมากขึ้น ซึ่งแตกต่างจากประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่กล่าวว่า ถ้าอัตราส่วนระหว่างสมองและขนาดตัวเพิ่มขึ้น ก็จะส่งผลให้ทักษะการใช้ปัญญาซับซ้อนมากขึ้นตามไปด้วย “จากการศึกษาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ๆ อัตราส่วนขนาดสมองต่อขนาดตัว บ่งบอกถึงความสามารถทางปัญญา แต่ในกรณีของสุนัข ผลลัพธ์กลับแสดงออกในทางตรงกันข้าม” Ana Balcarcel หัวหน้าทีมวิจัยที่ศึกษาเรื่องนี้ และนักชีววิทยาวิวัฒนาการ จากสถาบัน Montpellier Institute of Evolutionary Sciences ประเทศฝรั่งเศส กล่าว ศึกษา สุนัขฉลาด จากอัตราส่วนระหว่างสมองและขนาดตัวของสุนัข ทีมของ Balcarcel เริ่มต้นศึกษาเรื่องนี้ด้วยการเปรียบเทียบอัตราส่วนระหว่างขนาดสมองกับขนาดตัวของสุนัข โดยวัดขนาดกะโหลกของสุนัขโตเต็มวัย จำนวน 1,682 ตัว จาก 172 สายพันธุ์ ซึ่งทั้งหมดเป็นตัวอย่างที่เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเบิร์น […]

อ่านต่อ

การเลือกใช้ “สายจูง” และ “ปลอกคอสุนัข”

เมื่อเราต้องการพาสุนัขออกจากบ้านไปในที่สาธารณะ หนึ่งในอุปกรณ์ที่จำเป็น และมีความสำคัญเป็นอย่างมากคือ “สายจูง” และ “ปลอกคอสุนัข” ในปัจจุบัน สายจูง และ ปลอกคอสุนัข มีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นปลอกคอแบบปกติที่เราสามรถนำสายจูงมาเกี่ยวได้ ปลอกคอและสายจูงแบบ choke chain แบบ slip leash ปลอกคอไฟฟ้า ปลอกคอที่มีแท่งโลหะทิ่มเข้าบริเวณคอของสุนัข หรือสายรัดอก เป็นต้น ปลอกคอและสายจูงแต่ละชนิดต่างก็มีข้อดี และข้อควรระวังเรื่องการใช้งาน ที่แตกต่างกันไป โดยเจ้าของควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการทำงาน และเลือกชนิดของอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับสุนัขของเรา วันนี้เรามาทำความรู้จักสายจูงและปลอกคอสุนัขแต่ละชนิด ไปพร้อมกันนะครับ ปลอกคอสุนัข แบบปกติ ปลอกคอแบบปกติ ที่สามารถนำสายจูงมาเกี่ยวได้ เป็นปลอกคอที่สามารถใช้ได้ในสุนัขทั่วไป แต่อาจไม่เหมาะสำหรับสุนัขที่มีพฤติกรรมการดึงสายจูงมาก ๆ เนื่องจาก เมื่อสุนัขพยายามดึงสายจูงปลอกคอ จะเกิดแรงรั้งที่บริเวณลำคอของสุนัข ซึ่งบริเวณดังกล่าว เป็นบริเวณที่ประกอบไปด้วยหลอดอาหาร หลอดลม เส้นเลือด และเส้นประสาท การดึงสายจูงของสุนัขที่ใช้ปลอกคอในลักษณะดังกล่าว จึงอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อโครงสร้างของร่างกาย ที่อยู่บริเวณลำคอได้ นอกจากนี้ ยังมีรายงานด้วยว่า แรงกดที่เกิดขึ้นบริเวณลำคอจากการดึงสายจูงของสุนัขที่ใส่ปลอกคอธรรมดา ส่งผลให้ความดันภายในลูกตา (Intraocular pressure) เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับการใส่สายรัดอก […]

อ่านต่อ

เมื่อเจ้าของเครียด สุนัขก็เครียดตามไปด้วย

การศึกษาของมหาวิทยาลัยควีนส์ เบลฟาสต์ ประเทศไอร์แลนด์ พบว่า ระกับความเครียดในเจ้าของ ส่งผลต่อระดับ ความเครียดในสุนัข ได้ ก่อนหน้านี้ การศึกษาเกี่ยวกับการรับรู้ความเครียดของมนุษย์ พบว่า สุนัขสามารถรับรู้ความเครียดของมนุษย์ ผ่านการดมกลิ่นได้ แต่ยังไม่มีการศึกษาว่า ความเครียดของเจ้าของส่งผลกระทบต่อ ความเครียดในสุนัข หรือไม่ ทีมวิจัยจึงต้องการทราบว่า การเปลี่ยนแปลงระดับความเครียดของเจ้าของสุนัข ส่งผลต่อความเครียดที่เกิดขึ้นในสุนัข หรือไม่ เช่น เมื่อพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์ หรือเมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย เป็นต้น อย่างที่เราทราบกันโดยทั่วไปว่า การไปพบสัตวแพทย์เป็นส่วนสำคัญในการดูแลสุขภาพของสุนัข แต่จากผลการศึกษาก่อนหน้านี้ ได้รายงานว่า การพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์อาจทำให้สุนัขเกิดความเครียดแบบเฉียบพลันได้ เนื่องจากสาเหตุที่ถูกจำกัดพื้นที่ ความไม่แน่นอน ความเจ้ฐปวด และการสูญเสียความเป็นอิสระของสุนัข ทีมนักวิจัยได้รวบรวมเจ้าของและสุนัข จำนวน 28 ตัว เพื่อเข้าร่วมการศึกษาในครั้งนี้ โดยดำเนินการศึกษาที่คลิกนิกสัตวแพทย์แห่งหนึ่งในเมืองดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ ในจำนวนสุนัขทั้งหมดที่เข้าร่วมการศึกษา แบ่งเป็นสุนัขเพศผู้ 10 ตัว และตัวเมีย 18 ตัว โดยมีช่วงอายุตั้งแต่ 1 ถึง 17 ปี การทดสอบความเครียดของเจ้าของต่อ ความเครียดในสุนัข […]

อ่านต่อ

กรูมมิ่งสุนัข และเลือกของแต่งบ้านที่ AMBER HOME & PET BOUTIQUE

AMBER HOME & PET BOUTIQUE ไอเดียของแต่งบ้านมีสไตล์ พร้อม ไอเทมสัตว์เลี้ยง และบริการ กรูมมิ่งสุนัข โดยช่างชื่อดัง AMBER HOME & PET BOUTIQUE สวรรค์ของคนรักบ้าน ที่ชื่นชอบการเลือกสรรข้าวของเครื่องใช้ที่มีคุณภาพ พร้อมพาสุนัขเข้ารับการ กรูมมิ่งสุนัข กับช่างฝีมือระดับนานาชาติ โชว์รูม AMBER HOME & PET BOUTIQUE ตั้งอยู่ที่ชั้น G โครงการ Eight Thonglor สุขุมวิท 55 เป็นร้านที่มีความตั้งใจให้ตอบโจทย์ทุกความต้องการเพื่อคนรักบ้าน รวมไปถึงบ้านที่มีสัตว์เลี้ยง ซึ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้นในปัจจุบัน ที่นี่ ทีมงานได้เลือกสรรสินค้ามาเป็นอย่างดี มีสินค้าหลากหลายหมวดหมู่ และเน้นไปที่สินค้าแบรนด์ดังจากทั่วโลก ที่มีคุณภาพสูง รวมไปถึงร้านอาบน้ำตัดขนสุนัขที่เปิดให้บริการอยู่ภายในพื้นที่ร้าน โดยเจ้าของสามาถนำน้อง ๆ มาใช้บริการระหว่างเลือกซื้อของใช้ภายในบ้านได้ ‘คุณติ๊ก’ บังอรสิริ วีระพงษ์ หนึ่งในผู้ก่อตั้งร้าน ที่เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มเพื่อนสนิท เล่าว่า “ร้านนี้เริ่มต้นจากกลุ่มเพื่อน ๆ ที่ชอบในการแต่งบ้านเหมือนกัน […]

อ่านต่อ

เสียงสุนัขหอน – เข้าใจ 5 เหตุผลเบื้องเสียงเห่าหอนของสุนัข

เสียงสุนัขหอน เป็นเสียงที่ไม่ใช่เฉพาะเจ้าของสุนัขเท่านั้นที่คุ้นเคยกับเสียงอันเป็นเอกลักษณ์นี้ แต่คนทั่วไปต่างก็เคยได้ยินเช่นกัน และยังเชื่อมโยงกับความเชื่อในสิ่งลี้ลับของสังคมไทยอีกด้วย สุนัขได้เข้ามาเป็นสัตว์เลี้ยงในสังคมมนุษย์มาอย่างยาวนาน พวกเขาปรับตัวและอยู่ร่วมกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในแทบทุกพื้นที่บนโลก ในฐานะมนุษย์เราต่างคุ้นเคยกับพฤติกรรมต่าง ๆ ของเพื่อนรักสี่ขา และหนึ่งในสิ่งที่เราคุ้นเคยจนกลายเป็นเรื่องเล่าต่าง ๆ ตามพื้นที่ทางวัฒนธรรม คือ เสียงสุนัขหอน สัตวแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมสุนัข กล่าวว่า สุนัขส่งเสียงหอนด้วยเหตุผลหลายประการ การทำความเข้าใจว่า ทำไมสุนัขจึงเห่าหอน อาจให้เจ้าของเข้าใจของสิ่งที่สุนัขกำลังอยากจะสื่อสารกับเราได้ดีขึ้น และเราอาจจะจำเป็นต้องเข้าไปช่วยดูแลพวกเขาด้วยในบางกรณี จุดกำเนิดของ เสียงสุนัขหอน สุน้ขบ้านในปัจจุบันสืบเชื้อสายมาจากหมาป่าเมื่อ 15,000 ปีก่อน แม้ว่าในยุคปัจจุบันพฤติกรรมของสุนัขบ้านจะแตกต่างจากสุนัขป่าอย่างชัดเจนแล้ว แต่พฤติกรรมตามธรรมชาติ อย่างการหอน ก็ยังคงหลงเหลืออยู่ในพฤติกรรมของสุนัขบ้าน หากย้อนกลับไปถึงเหตุผลที่สุนัขป่าหอน อาจเป็นไปได้ทั้ง สื่อสารกับหมาป่าตัวอื่น ใช้รวมฝูง กิจกรรมการล่าของฝูง สร้างอาณาเขต หรือเตือนสุนัขฝูงอื่นให้ถอยออกจากอาณาเขต กลับมาที่สุนัขบ้าน เหล่านี้คือเหตุผลที่สุนัขบ้านส่งเสียงหอน 5 เหตุผล สุนัขหอน เพราะอะไร 1. เพื่อการสื่อสารข้อความบางอย่าง สุนัขบ้านก็ยังคงพฤติกรรมบางอย่างเหมือนบรรพบุรุษที่เป็นสุนัขป่า ดังนั้น การเห่าหอนจึงเป็นหนึ่งในวิธีการสื่อสารระหว่างสุนัขด้วยกันเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อต้องการสื่อสารกับสุนัข ที่อยู่ห่างไกลออกไป ในเสียงหอนของสุนัข อาจหมายถึง สันัขกำลังบอกสมาชิกตัวอื่น […]

อ่านต่อ

สุนัขดุร้าย เพราะสายพันธุ์ จริงหรือ ?

ปัญหา สุนัขดุร้าย และความก้าวร้าว ถือเป็นปัญหาที่สามารถพบได้บ่อย และเรามักจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับสุนัขกัด หรือทำร้ายผู้คนอยู่อย่างต่อเนื่อง วันนี้ เราจามาคุยกันถึงเรื่องปัจจัยความดุร้ายในสุนัข และไขข้อสงสัยเรื่องนี้ ไปพร้อมกันครับ ในเนื้อหาข่าวส่วนใหญ่ที่นำเสนอผ่านสื่อต่าง ๆ เรามักจะพบการเสนอคำว่า สุนัขดุร้าย โดยพุ่งเป้าไปยังสายพันธุ์ที่สังคมมีความเข้าใจว่าเป็นสุนัขดุร้าย เช่น ร็อตไวเลอร์ หรือสุนัขในกลุ่มพิทบูล ซึ่งรวมถึง อเมริกันพิทบูลเทอร์เรีย อเมริกันสแตฟฟอร์ดเชียร์เทอร์เรีย และอเมริกันบูลลี่ เป็นต้น ในความเป็นจริงแล้ว สายพันธุ์ของสุนัขเป็นเพียงหนึ่งในหลาย ๆ ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความก้าวร้าวได้ แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่สามารถกระตุ้นให้สุนัขดุร้าย และแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวออกมา โดยแบ่งปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของสุนัข ได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ 1. ปัจจัยทางชีววิทยาของสุนัข ซึ่งรวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่มาจากตัวของสุนัขเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพันธุกรรม สายพันธุ์ พื้นอารมณ์ (temperament) บุคลิกภาพ ระดับของสารเคมีในสมอง ตลอดจนการทำงานของฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย เป็นต้น 2. ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม โดยสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบตัวสัตว์ ณ ช่วงเวลาใด เวลาหนึ่ง […]

อ่านต่อ

ความผูกพันระหว่างสุนัขและเจ้าของ มีรูปแบบใดบ้าง

ความผูกพันระหว่างสุนัขและเจ้าของ เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากสุนัขถือเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีวิวัฒนาการร่วมกับมนุษย์มาอย่างใกล้ชิด เป็นระยะเวลาอันยาวนาน ทุกวันนี้ นักวิทยาศาสตร์เริ่มศึกษาถึงรูปแบบ ความผูกพันระหว่างสุนัขและเจ้าของ ในลักษณะต่าง ๆ ตลอดจนผลที่เกิดขึ้นจากลักษณะความผูกพันเหล่านั้น ในเชิงของความสัมพันธ์กับปัญหาพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับน้องหมาเพิ่มมากขึ้น การศึกษาเรื่องความผูกพันธ์ระหว่างคนและสัตว์เลี้ยง เป็นการประยุกต์มาจากการศึกษาความผูกพันระหว่างเด็กและพ่อแม่ โดยความผูกพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างสุนัขและมนุษย์ มีทั้งหมด 4 รูปแบบหลัก ๆ ได้แก่ ความผูกพันที่มั่นคง ความผูกพันแบบหลีกเลี่ยง ความผูกพันแบบสับสน ความผูกพันแบบไม่เป็นระเบียบ และความผูกพันที่ไม่สามารถระบุลักษณะได้ เราสามารถสังเกตจากพฤติกรรมของน้องหมาที่แสดงออกก่อนการแยกจากเจ้าของ ขณะแยกจากเจ้าของ และหลังจากกลับมาเจอกับเจ้าของ เป็นตัวที่บ่งบอกถึงรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างเรากับสุนัขของเรา มาดูรายละเอียดกันครับ 1. ความผูกพันที่มั่นคง (Secure attachment) สุนัขที่มีรูปแบบความผูกพันในลักษณะนี้จะแสดงความต้องการเข้าหา และอยู่ใกล้ชิดกับเจ้าของ โดยจะเข้าหาและอยู่ใกล้ชิดกับเจ้าของเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 10 วินาที หลังจากที่เจ้าของกลับมาบ้าน สุนัขแทบจะไม่หลบสายตาไปทางอื่น หรือพยายามหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับเจ้าของเลย และไม่มีการต่อต้านต่อปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นกับเจ้าของในช่วงเวลาดังกล่าว สุนัขที่มีรูปแบบความสัมพันธ์ที่มั่นคง ก่อนจะแยกจากเจ้าของ สุนัขอาจจะมีการเล่นหรือสำรวจสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง และเมื่อทักทายกับเจ้าของเสร็จแล้ว สุนัขอาจจะไปนอนพักผ่อน ส่วนช่วงที่แยกจากเจ้าของ สามารถพบพฤติกรรมการเดินตามหาเจ้าของได้ แต่เป็นการตามหาที่ไม่ได้มีภาษากายของความเครียดแสดงให้เห็น 2. ความผูกพันแบบหลีกเลี่ยง […]

อ่านต่อ

สุนัขพันธุ์ออสเตรเลียนเชพเพิร์ด ลักษณะสายพันธุ์ และการเลี้ยงดู

สุนัขพันธุ์ออสเตรเลียนเชพเพิร์ด สุนัขพันธุ์พื้นเมืองของสหรัฐอเมริกา เป็นสุนัขขี้เล่น กระตือรือร้น กล้าหาญ ร่าเริง คล่องแคล่ว เป็นมิตร ไม่ก้าวร้าว และมีนิสัยคล้ายคน ประวัติ สุนัขพันธุ์ออสเตรเลียนเชพเพิร์ด (Australian Shepherd) สุนัขพันธุ์ออสเตรเลียนเชพเพิร์ดมีถิ่นกำเนิดมาจากสหรัฐอเมริกา เป็นสุนัขพันธุ์พื้นเมือง ที่ในอดีตถูกนำเข้ามาใช้เป็นสุนัขต้อนฝูงแกะเมริโนที่เมืองบาสก์ ในประเทศสเปน โดยต้นกำเนิดของสุนัขพันธุ์นี้มีความเกี่ยวข้องกับสุนัขพันธุ์บาสก์เชพเพิร์ด (Basque Shepherd) ที่อยู่ในประเทศออสเตรเลีย และถูกนำเข้ามาในสหรัฐอเมริกา จากบันทึกคาดว่าในระหว่างนั้นได้มีการผสมพันธุ์กับสุนัขพันธุ์หนึ่ง (ที่คาดว่ามีสายพันธุ์คอลลี่ผสมอยู่) ในสหรัฐอเมริกา จึงเป็นเหตุผลที่สุนัขสายพันธุ์นี้ถูกตั้งชื่อเป็น ออสเตรเลียน เชพเพิร์ด ในปี 1950 สุนัขพันธุ์นี้ได้เป็นที่รู้จักและเริ่มเป็นที่นิยมเลี้ยงมากขึ้นในสหรัฐอเมริกา ทำให้สุนัขสายพันธุ์นี้แพร่กระจายไปอย่างกว้างขวางจนถึงปัจจุบัน ต่อมาในปี ค.ศ. 1977 ได้มีการจัดตั้งองค์กร The Australian Shepherd Club of America (ASCA) เป็นองค์กรหลักในการจดทะเบียนสายพันธุ์สุนัขพันธุ์นี้ ก่อนที่จะมีการจดทะเบียนของสมาคม The American Kennel Club (AKC) ในเวลาต่อมา ในปี 1979 สมาคม […]

อ่านต่อ

สุนัขตัวผู้มีฤดูผสมพันธุ์ หรือไม่ อย่างไร

เราอาจจะเคยได้ยินมาว่า สุนัขตัวเมียมีวงรอบการผสมพันธุ์ หรือติดสัด แล้วสุนัขตัวผู้ล่ะ พวกเขามีช่วงติดสัด หรือไม่ ถ้ามี ฤดูผสมพันธุ์สุนัขตัวผู้ คือช่วงไหน ใช้ระยะเวลายาวนานแค่ไหน เรามาหาคำตอบไปพร้อมกันค่ะ ฤดูผสมพันธุ์สุนัขตัวผู้ คือช่วงไหน คำตอบคือ “สุนัขตัวผู้ไม่มีช่วงเวลาติดสัด” ที่ชัดเจนเหมือนสุนัขตัวเมีย ดังนั้น วงจรการสืบพันธุ์ที่เป็นรอบอย่างชัดเจน จะเกิดขึ้นในสุนัขตัวเมีย และข้อมูลจาก American Kennel Club รายงานว่า สุนัขตัวผู้จะไม่เข้าสู่ช่วงเป็นสัด แต่สามารถผสมพันธุ์กับตัวเมียได้ตลอดทั้งปี เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ซึ่งโดยเฉลี่ยสุนัขตัวผู้จะพร้อมผสมพันธุ์เมื่ออายุประมาณ 6 เดือนขึ้นไป โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้สุนัขตัวผู้เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ไม่พร้อมกันคือ ขนาดตัว และสายพันธุ์ กล่าวคือ สุนัขพันธุ์เล็กจะเข้าสู่ช่วงเจริญพันธุ์เร็วกว่าสุนัขสายพันธุ์ใหญ่ สำหรับสุนัขคตัวเมียก็จะเข้าสู่ช่วงติดสัดครั้งแรก เมื่ออายุประมาณ 6 – 8 เดือน และกินเวลาประมาณ 3 สัปดาห์ ในช่วงเป็นสัด สุนัขตัวเมียจะดึงดูดสุนัขตัวผู้เป็นพิเศษ เนื่องจากในช่วงนี้ สุนัขตัวเมียจะมีฟีโรโมนที่ไปกระตุ้นพฤติกรรมการผสมพันธุ์ของสุนัขตจัวผู้ ร่วมกับอาการช่องคลอดบวม มีเลือดออกทางช่องคลอด และปัสสาวะบ่อยขึ้น การดูแลสุนัขตัวผู้ เมื่ออยู่ใกล้สุนัขตัวเมียที่กำลังเป็นสัด แม้ว่าสุนัขตัวผู้จะไม่เป็นสัด แต่เมื่อได้อยู่ใกล้สุนัขตัวเมียที่เป็นสัด […]

อ่านต่อ
รับเลี้ยงสุนัขและแมวจรจัด

เรื่องต้องรู้ก่อนรับเลี้ยง สุนัขและแมวจรจัด

ปัญหา สุนัขและแมวจรจัด เป็นปัญหาที่สำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งทุกภาคส่วนกำลังพยายามหาทางแก้ไขอย่างยั่งยืนร่วมกัน แน่นอนว่า ทางแก้ปัญหาที่ง่ายทางหนึ่งคือการลดจำนวน สุนัขและแมวจรจัด เหล่านี้ การลดจำนวนประชากรทำได้หลายวิธีและหนึ่งในวิธีที่ดีก็คือการเปลี่ยนจากสุนัขและแมวที่ไม่มีเจ้าของให้มีเจ้าของ หรือพูดให้ง่ายก็คือการหาบ้านให้สัตว์เหล่านี้นั่นเองค่ะ หลายท่านที่อยากจะเลี้ยงสุนัขหรือแมวสักตัวคงมีตัวเลือกของการรับอุปการะสัตว์เหล่านี้อยู่ในใจ เพราะนอกจากเราจะได้เพื่อนซี้สี่ขาเพิ่ม หมาแมวเหล่านี้ได้บ้านใหม่แล้ว ยังมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสุนัขและแมวจรจัดในสังคมอีกด้วย แต่การจะรับสุนัขหรือแมวสักตัวมาเลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นสัตว์จรจัดมาก่อนหรือไม่สิ่งที่เราควรจะคิดก่อนเป็นอันดับแรกคือ ตัวเรามีความพร้อมจะเลี้ยงพวกเขาเหล่านี้แล้วหรือยัง เพราะถ้าตัวเราไม่มีความพร้อมที่จะเลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลด้านสถานที่ เหตุผลของเวลา หรือเหตุผลจากปัจจัยที่สำคัญอย่างเงินก็ดีแล้วล่ะก็ เราอาจจะกำลังเป็นสาเหตุของปัญหาสุนัขและแมวจรจัดแทนที่จะเป็นคนช่วยแก้ปัญหานี้ก็ได้ การเตรียมความพร้อมก่อนจะ รับเลี้ยงสุนัขและแมวจรจัด ซึ่งจริง ๆ ก็มีพื้นฐานเหมือนการเตรียมตัว เพื่อจะเลี้ยงสุนัขและแมวทั่วไป แต่อาจจะมีรายละเอียด ข้อจำกัด หรือเงื่อนไขบ้างอย่างที่เราควรต้องรู้ก่อนรับสัตว์เหล่านี้มาเลี้ยง เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นบ้านของสุนัขและแมวจรจัดเหล่านี้ได้อย่างถาวร การเตรียมตัวรับ สุนัขและแมวจรจัด เข้ามาเป็นสมาชิกใหม่    1. เตรียมความรู้และความเข้าใจ ความรู้และความเข้าใจเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญมากสำหรับการรับสัตว์สักตัวเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ในบ้าน ความเข้าใจนี้ครอบคลุมทั้งความเข้าใจ ”เขา” และความเข้าใจ ”เรา” ซึ่ง “เขา” ที่ว่าคือน้องหมาหรือน้องแมวที่เรากำลังจะรับมาเลี้ยง หากเป็นไปได้เราควรจะเล็งไว้บ้างว่า น้องหมาหรือน้องแมวตัวไหนที่เราจะรับเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ เพื่อจะได้รู้ข้อมูลพื้นฐานของเขา เช่น เป็นสุนัขหรือเป็นแมว สายพันธุ์อะไร ตัวใหญ่แค่ไหน ขนสั้นหรือขนยาว ตัวเมียหรือตัวผู้ […]

อ่านต่อ
สุนัขแลบลิ้น และหายใจหอบ,

สุนัขแลบลิ้น และหายใจหอบ ทั้ง ๆ ที่นอนอยู่เฉย ๆ

สุนัขแลบลิ้น และหายใจหอบ เป็นอาหารปกติหลังจากที่สุนัขวิ่งเล่น หรือออกกำลังกายจนเหนื่อย ซึ่งเป็นกลไกการระบายความร้อนออกจากร่างกายของสุนัข อย่างไรก็ตาม ในบางครั้ง เรากลับพบว่า สุนัขแลบลิ้น และหายใจหอบ ทั้ง ๆ ที่สุนัขไม่ได้ทำกิจกรรมหนักจนเหนื่อย อาการเหล่านี้อาจหมายถึงร่างกายของสุนัขกำลังเกิดความผิดปกติบางอย่าง ที่เราต้องรีบหาสาเหตุที่แท้จริง สาเหตุที่สุนัขหายใจหอบและถี่ อาการแลบลิ้น และหายใจหอบเหนื่อย เป็นกระบวนการระบายความร้อนตามธรรมชาติของสุนัข ซึ่งเป็นจังหวะการหายใจที่มีลักษณะเร็วและตื้น ร่วมกับการแลบลิ้น โดยปกติแล้ว อัตราการหายใจปกติของสุนัขคือ 30-40 ครั้งต่อนาที แต่เมื่อสุนัขมีอาการหอบอัตราการหายใจอาจเพิ่มขึ้นได้เป็น 10 เท่าหรือ 300-400 ครั้งต่อนาที แต่ถ้าเป็นการหายใจหอบแบบผิดปกติ สุนัขจะแสดงอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยเสมอ เช่น ลิ้นห้อย น้ำลายยืด อ้าปากค้าง เหงือกเปลี่ยนเป็นสีซีด หรือมีอาการส่งเสียงร้องครางผ่านทางจมูก ดังนั้น เจ้าของจึงต้องคอยสังเกตอาการหอบปกติของสุนัขและเปรียบเทียบกับอาการหอบที่เกิดขึ้นว่าแตกต่างไปจากปกติหรือไม่ เหล่านี้คือ สาเหตุที่เป็นไปได้ของอาการหายใจหอบผิดปกติ 1. ฮีตสโตรกอากาศร้อนในประเทศไทยเป็นปัจจัยที่ทำให้สุนัขเกิดภาวะฮีตสโตรก หรือลมแดด ได้ง่าย โดยมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่สุนัขอยู่ภายใต้อุณหภูมิสูง และร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ทันและเมื่อความร้อนสะสมเป็นเวลานานฃ ก็จะทำให้สุนัขลิ้นห้อย หอบหายใจแรง น้ำลายไหล เหงือกเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม และอาจอาเจียนออกมาได้ […]

อ่านต่อ
สุนัขพันธุ์อาคิตะ, อาคิตะ,

สุนัขพันธุ์อาคิตะ : ลักษณะสายพันธุ์ และการดูแล

สุนัขพันธุ์อาคิตะ เข้ามาสู่ดินแดนญี่ปุ่นในฐานะสุนัขตระกูลสปิตซ์ที่เก่าแก่ ซึ่งในขณะนั้น เป็นตระกูลสายพันธุ์ของสายพันธุ์ที่เดินท่องไปตามละติจูดทางเหนือของโลก ประวัติ สุนัขพันธุ์อาคิตะ อาคิตะ คือชื่อของจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นสถานที่ให้กำเนิดสุนัขสายพันธุ์นี้ในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 โดยมีเรื่องเล่าว่า จักพรรดิญี่ปุ่นได้ส่งขุนนางผู้มีนิสัยเอาแต่ใจ ไปทำหน้าที่ปกครองจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะฮอนชู ด้วยนิสัยที่รักสุนัขของขุนนางผู้นี้ โดยเฉพาะสายพันธุ์ขนาดใหญ่ที่มีนิสัยกระตือรือร้น เขาจึงสนับสนุนให้ประชาชนประกวดประชันกันในการผสมพันธุ์สุนัขนักล่าขนาดใหญ่ ที่สามารถใช้งานได้อย่างหลากหลาย กิจกรรมที่จัดขึ้นทำให้เกิดการคัดเลือกสายพันธุ์สุนัขจากรุ่นสู่รุ่น จนได้สุนัจอาคิตะ นักล่าที่ทรงพลังผู้มีความซื่อสัตย์ในการทำงาน และมีร่างกายรวมถึงหัวใจที่แข็งแกร่ง รวมไปถึงยังสามารถทำงานเป็นฝูงได้ดีในการล่าสัตว์ป่า ในช่วงแรก สุนัขอาคิตะได้รับอนุญาตให้ครอบครองได้เฉพาะสมาชิกราชวงศ์ และเลี้ยงไว้ในราชสำนักเท่านั้น หลังจากนั้นจึงได้แพร่พันธุ์ไปสู่สังคมชั้นสูงในยุคนั้น โดยเชื่อว่า อาคิตะคือสัตว์เลี้ยงที่เป็นตัวแทนของผู้พิทักษ์ประจำตระกูล อาคิตะเป็นสุนัขที่ปรากฏอยู่ในตำนานของญี่ปุ่นมาหลายศตวรรษ และยังยึดโยงถึงวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นด้วย หากบ้านหลังใดที่เพิ่งให้กำเนิดทารก พ่อแม่จะหาตุ๊กตาสุนัขอาคิตะมาไว้ในบ้าน เพื่อสื่อถึงความสุข และอายุยืนยาว การเดินทางผ่านช่วงเวลาประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น อาคิตะเกือบจะสิ้นชื่อจากแผ่นดินนี้ และเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า สุนัขที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนญี่ปุ่นจะอยู่รอดต่อไป จึงเกิดการตั้งสโมสรสายพันธุ์สุนัขประจำชาติขึ้นในปี 1927 จากนั้น สุนัขอาคิตะก็ได้เป็นตัวแทนของประเทศญี่ปุ่น ในฐานะของขวัญเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาหลังจบสงครามโลกครั้งที่ 2 ลักษณะประจำสายพันธุ์ อาคิตะเป็นสุนัขที่มีร่างกายกำยำล่ำสัน มีขน 2 ชั้น เมื่อโตเต็มวัยสูงประมาณ 24 – 28 นิ้ว ขนแน่นมีหลายสี […]

อ่านต่อ