Cat Zone
- Home
- Cat Zone
โรคไตวายในแมว กับ 6 คำถามยอดฮิต
โรคไตวายในแมว หลายคนคงเคยได้ยิน และอาจมีความกังวลว่าจะเกิดขึ้นกับเจ้าเหมียวสุดรักของตนหรือไม่ จะต้องระวัง หรือ มีวิธีป้องกันอย่างไร วันนี้ บ้านและสวน Pets มี 6 คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับโรคไตวายในเจ้าเหมียวมาฝากกัน คำถามที่ 1 : โรคไตวายในแมวส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุใด และ สถิติการเกิดโรค โรคไตวายในแมว หมายถึง ความผิดปกติของการทำหน้าที่ของไต ซึ่งโรคไตวายในแมว สามารถแบ่งได้ตามระยะการเกิดโรคเป็น 2 ประเภท คือ ไตวายเฉียบพลัน ซึ่งเกิดจากการทำหน้าที่ของไตลดลงอย่างทันทีทันใด เกิดได้หลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อในร่างกาย การได้รับสารพิษ การอุดตันในระบบทางเดินปัสสาวะ การขาดเลือดไปเลี้ยงไตอย่างเฉียบพลัน เป็นต้น ส่วนไตวายเรื้อรัง คือพบการทำหน้าที่ของไตลดลงทีละน้อย เป็นระยะเวลานาน สาเหตุเกิดได้จาก โรคทางกรรมพันธุ์ , ความเสื่อมของไตตามอายุ , การได้รับโภชนาการที่ไม่เหมาะสม , ความดันโลหิตสูง เป็นต้น โรคไตวายเป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในแมวสูงอายุ ที่อายุมากกว่า 10 ปี อุบัติการณ์ของโรคสูงถึง 7.5% จากในบางรายงานภาวะไตวายในสัตว์เลี้ยง (Kidney […]
อ่านต่อสิวใต้คางแมว และโคนหางเหนียว เกิดจากอะไร (Feline chin acne and stud tail)
สิวใต้คางแมว และ โคนหางเหนียว ๆ เป็นปัญหาผิวหนังที่พบได้บ่อยในน้องแมว ซึ่งเกิดจากการทำงานมากไปของต่อมไขมัน ทำให้ที่บริเวณนั้นมีคราบมันเยิ้ม หรือมีเศษสีดำเยิ้มออกมา สิวใต้คางแมว จะทำให้บริเวณคางของแมวมีคราบมันเยิ้ม หรืออาจจะเป็นเศษสีดำเยิ้ม ๆ ซึ่งจะมักจะถูกเรียกว่าสิวใต้คาง (Chin acne) ส่วนบริเวณโคนหางนั้น ก็เกิดจากการทำงานมากไปของต่อมไขมันบริเวณหางเช่นกัน จึงเกิดเป็นคราบเยิ้ม ๆ สีน้ำตาล ไปจนถึงสีดำ มีชื่อเรียกว่า Stud tail (หางสตั๊ด หรือ หางเหนียว) ในแมวเพศผู้ที่ยังไม่ได้ทำหมัน จะพบปัญหานี้ค่อนข้างมาก เนื่องจากการผลิตสารของต่อมไขมัน มีความสัมพันธ์กับอิทธิพลของฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรนในแมวเพศผู้ แต่ในส่วนของแมวเพศผู้ที่ทำหมันแล้ว และแมวเพศเมียก็สามารถพบ Stud tail ได้เช่นกัน ข้อดีและข้อเสียของ การทำหมันสุนัขและแมว มาทำความรู้จักกับต่อมไขมันในผิวหนังของแมว (Sebaceous glands) ในชั้นผิวหนังของแมว จะมีต่อมอยู่ 2 ชนิด คือ ต่อมไขมัน และ ต่อมเหงื่อ ต่อมไขมันมีความเกี่ยวข้องกับบริเวณรูขุมขน จะผลิตสารคัดหลั่งที่สำคัญ คือ ซีบัม (Sebum) ซึ่งช่วยกันน้ำให้กับเส้นขน และ […]
อ่านต่อก้อนขน (Hairball) เกิดจากอะไร ปัญหาที่ทาสแมวต้องรู้
พฤติกรรมการเลียขนของแมวทำให้แมวกลืนกินขนเข้าไปในทางเดินอาหาร และเกิดการสะสมของขนในกระเพาะ และลำไส้ เนื่องจากขนไม่สามารถย่อยได้ ในแมวจึงจะพบการอาเจียน หรือ ขย้อน ก้อนขน ออกมา และขนยังสามารถถูกขับออกมากับอุจจาระได้อีกด้วย แมวเป็นสัตว์ที่มีพฤติกรรมการเลียขนเพื่อการแต่งตัว ทำความสะอาดขนของตัวเอง รวมถึงกำจัดขนที่หลุดอยู่บนตัวออก และหากบ้านไหนเลี้ยงน้องแมวมากกว่า 1 ตัว นอกจากจะเลียแต่งตัวเองแล้ว ยังมีการเลียขนให้แมวตัวอื่น ๆ ในบ้านด้วย ซึ่งเป็นพฤติกรรมการสื่อสารแสดงความรัก และความผูกพันระหว่างแมวด้วยกัน ซึ่งการอาเจียนหรือขย้อนเป็นการขับ ก้อนขน ที่สามารถพบได้เป็นครั้งคราวได้ แต่ถ้าหากอาเจียนเป็นก้อนขน บ่อยขึ้น เช่น ทุกวัน หรือวันละหลายครั้ง หรือทำท่าพยายามจะขย้อนแต่ไม่มีอะไรออกมา ร่วมกับแมวมีอาการซึม เบื่ออาหาร อาจเป็นสัญญาณที่บ่งความผิดปกติ และถ้าก้อนขนนั้นไม่สามารถถูกกำจัดโดยการอาเจียน หรือออกมากับอุจจาระ มันจะสามารถทำให้เกิดการอุดตันทั้งแบบสมบูรณ์ และไม่สมบูรณ์ในลำไส้ได้ สามารถติดอยู่ในหลอดอาหาร หรืออาจจะเข้าสู่บริเวณคอหอยร่วมจมูกได้ด้วย ในแมวบางรายอาจจะมีสาเหตุอื่นร่วมที่ทำให้เกิดการเลียขนที่มากเกินกว่าปกติ เช่น มีปัญหาโรคผิวหนัง มีความเครียดวิตกกังวล มีปัญหาเกี่ยวกับสภาวะทางจิตใจทำให้เกิดการเลียขนมากกว่าปกติ มีปัญหาการเลียขนที่มากเกินไปจากภาวะความเจ็บปวด เป็นต้น หรือในแมวบางตัวการเลียขนอยู่ในระดับปกติแต่มีความผิดปกติของการบีบตัวการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร โรคอักเสบเรื้อรังของกระเพาะและลำไส้ เช่น Inflammatory bowel disease อาจจะมีผลต่อการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารที่ผิดปกติ และเกิดการสะสมของขนในระบบทางเดินอาหารได้ […]
อ่านต่อโรคเชื้อราสปอโรทริโคซิส ในแมว(Sporothricosis)
ในช่วงนี้เราอาจจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับโรคเชื้อราผิวหนังชนิดหนึ่งในแมว ที่สามารถติดต่อสู่คนได้ นั่นก็คือ โรคเชื้อราสปอโรทริโคซิส เกิดจากเชื้อราที่ชื่อว่า Sporothrix schenkii Sporothrix schenkii เป็นเชื้อราที่พบอาศัยในตามธรรมชาติ เช่น ดิน พืช เปลือกไม้ ซึ่งพบการกระจายอยู่ในทั่วโลก เชื้อราชนิดนี้หากติดเชื้อเข้าสู่ผิวหนังของแมวจะติดสู่ผิวหนังชั้นลึก ลักษณะรอยโรคของ โรคเชื้อราสปอโรทริโคซิส มีก้อนตามผิวหนัง และปะทุแตกออกเป็นแผลหลุม ความสำคัญในด้านระบาดวิทยา เชื้อรากลุ่มนี้เป็นเชื้อราที่สามารถติดต่อจากแมวสู่แมว และติดต่อจากแมวสู่คนได้ ซึ่งมีรายงานการพบการระบาดในต่างประเทศมาก่อน เช่น มาเลเซียมีรายงานพบการระบาดจากแมวสู่คน สำหรับข้อมูลการระบาดของเชื้อรานี้ในสัตว์ในประเทศไทยยังมีข้อมูลรายงานไม่มาก โดยในปี พศ.2561 มีงานวิจัยรายงานการพบโรคเชื้อราสปอโรทริโคซิสในแมวที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย แมวติดเชื้อราสปอโรทริโคซิสจากที่ไหนและอาการที่พบจะเป็นอย่างไร? การติดเชื้อเกิดจากแมวได้รับเชื้อรา Sporothrix ผ่านทางผิวหนังที่มีบาดแผล จากในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติที่มีเชื้อรานี้อาศัยอยู่ เช่น ในดิน หรือ หนามไม้ ทิ่มแทงที่ผิวหนังจนเกิดบาดแผล การติดเชื้อราเข้าสู่ชั้นผิวหนังก่อให้เกิดลักษณะรอยโรคเป็นตุ่ม หรือ ก้อนกระจายตามผิวหนัง สามารถพบได้ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า หัว และขาของแมว มักจะเป็นตำแหน่งที่พบบ่อยสุด รอยโรคที่เป็นก้อนจะพบการอักเสบและเกิดการประทุแตกออกเป็นแผลหลุมและอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยได้ เชื้อราชนิดนี้สามารถพบการติดเชื้อไปยังระบบอื่น ๆ ในร่างกาย เช่น ต่อมน้ำเหลือง ระบบทางเดินหายใจ […]
อ่านต่อโรคไฮเปอร์ไทรอยด์ หรือ โรคไทรอยด์ฮอร์โมนสูงในแมว (Feline Hyperthyroidism)
โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ ในแมว (Feline Hyperthyroidism) เป็นความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อในแมว โดยต่อมไทรอยด์จะหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากกว่าปกติ โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ เกิดมาจาก ต่อมไทรอยด์ที่เป็นอวัยวะที่อยู่บริเวณลำคอ มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ที่มีบทบาทสำคัญ ต่อการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย รวมไปถึงมีหน้าที่ในการควบคุมพลังงาน และ มีผลต่อการทำงานในอวัยวะต่าง ๆ ที่สำคัญในร่างกายของแมว เช่น หัวใจ สมอง ระบบทางเดินอาหาร ระบบกล้ามเนื้อ เป็นต้น โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ มักพบในแมววัยกลางจนถึงแมวสูงอายุ ช่วงอายุที่มีรายงานในการตรวจพบคือ ตั้งแต่ 4 -22 ปี แต่โดยส่วนมากค่าเฉลี่ยมักจะพบที่อายุมากกว่า 10 ปี โดยโรคนี้สามารถเกิดได้กับแมวทุกเพศ และ ทุกสายพันธุ์ อาการของโรคไฮเปอร์ไทรอยด์ อาการที่เราสามารถสังเกตได้จากภายนอก เช่น น้ำหนักลดลง ถึงแม้จะมีความอยากอาหารอยู่ หรือ สามารถยังกินอาหารได้ปกติ มีการกินจุมากขึ้น ปัสสาวะบ่อย กินน้ำบ่อย ขนหยาบกร้าน มีการเคลื่อนไหวมาก (Hyperactivity) อาเจียน ถ่ายเหลว เป็นต้น ส่วนอาการอื่น ๆ ที่พบตามมาได้ เช่น เบื่ออาหาร […]
อ่านต่อโรคขี้แมว หรือ โรคท็อกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis)
โรคขี้แมว (Toxoplasmosis) เป็นโรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน(Zoonosis) ที่สำคัญ เกิดจากติดเชื้อโปรโตซัวที่ชื่อว่า Toxoplasma gondii เชื้อมีวงจรชีวิตที่สามารถเจริญเติบโตได้ในสัตว์เลือดอุ่นทุกชนิด แต่แมวนั้นจัดเป็นโฮสต์แท้ เชื้อจะอาศัยทางเดินอาหารของแมวในการเจริญเติบโตจนสมบูรณ์และปล่อยไข่ (Oocyst) ปนออกมากับอุจจาระของแมว แมวที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการพบเชื้อ โรคขี้แมว นี้ คือ แมวเลี้ยงระบบเปิด มีพฤติกรรมล่ากินเหยื่อ เช่น หนู นก หรือแมว กินเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก แต่ถ้าหากเป็นแมวที่เลี้ยงระบบปิด และไม่กินเนื้อดิบ หรือกินหนู นกต่างๆ โอกาสพบเชื้อจะค่อนข้างน้อยมาก หรือไม่มีเลย การติดต่อสู่คนของเชื้อนี้มีได้ 3 ทาง1.การรับประทานอาหาร หรือ ดื่มน้ำที่มีไข่ ที่เจริญเต็มที่แล้วปนเปื้อนอยู่2.การรับประทานถุงซีสต์ของพยาธิ ที่อยู่ในเนื้อสัตว์ดิบ ปรุงไม่สุก ที่มีเชื้อโรคขี้แมวนี้อยู่3.ผ่านทางรกไปยังทารก หากแม่ติดเชื้อขณะตั้งครรภ์ โดยที่จริงแล้ว รายงานคนที่เลี้ยงแมวติด โรคขี้แมว นี้จากแมวโดยตรงนั้นอุบัติการณ์น้อย การติดต่อทางหลักของโรคนี้ในแมวมักเกิดจากการที่กินเนื้อสัตว์เช่นเนื้อหมู เนื้อวัว ที่มีเชื้อปนเปื้อนและปรุงไม่สุก หรือปรุงสุกๆดิบๆ เป็นต้น ข้อควรเข้าใจคือโรคนี้ไม่ได้เกิดกับคนที่ตั้งครรภ์ทุกคน สำหรับคนตั้งครรภ์ ถ้าหากติดเชื้อ โรคขี้แมว เชื้อโรคจะผ่านรกไปยังทารก และทำให้เกิดโรคขี้แมวแต่กำเนิดได้ […]
อ่านต่อโรคหวัดแมว หรือ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนต้นในแมว (Cat flu)
โรคหวัดแมว เมื่อได้ยินแล้วหลายคนอาจคิดว่า เป็นโรคธรรมดาที่ไม่น่ากลัว คล้ายกับคนที่เป็นหวัด ไม่นานก็หาย แต่!! จริงๆแล้ว โรคหวัดแมวนั้นมีความอันตรายต่อชีวิตของน้องแมวมากกว่าที่ทุกคนคิด โรคหวัดแมว เป็นโรคที่พบได้บ่อยในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นไวรัสจำเพาะในแมว ได้แก่ Feline Herpesvirus (FHV) , Feline Calicivirus (FCV) นอกจากนั้นยังมีเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย เช่น Bordetella bronchiseptica , Chlamydia spp. , Mycoplasma spp. เป็นต้น การติดต่อ เกิดจากแมวที่ติดเชื้อ จะแพร่เชื้อผ่านทางสิ่งคัดหลั่งจากตา จมูก และปาก การแพร่กระจายของเชื้อเกิดได้จากการสัมผัสสิ่งคัดหลั่งของแมวที่ป่วยโดยตรง ซึ่งมักจะเป็นทางหลักในการติดต่อของโรค ส่วนการหายใจเอาเชื้อไวรัสจากสิ่งคัดหลั่ง หรือละอองหายใจเข้าไป ก็สามารถพบได้ โรคหวัดแมวพบได้บ่อยในบริเวณที่มีการเลี้ยงแมวจำนวนมาก หรืออยู่กันอย่างหนาแน่น ในกรณีที่แมวป่วย และหายจากโรคแล้วนั้น ยังสามารถเป็นพาหะนำโรคได้ต่อไป อาการของโรคหวัดแมว ระยะฟักตัวของโรคหวัดแมว จะประมาณ 2 – 10 วัน แต่อาจจะนานได้ถึง 14 […]
อ่านต่อโรคตับอ่อนอักเสบ ในแมว (Pancreatitis)
โรคตับอ่อนอักเสบ เป็นภาวะหนึ่งที่ฟังดูน่ากังวล และอาจจะเข้าใจได้ยาก วันนี้ บ้านและสวน Pets จะพามาความรู้จักกับโรคตับอ่อนอักเสบกันในบทความนี้ ตับอ่อน เป็นอวัยวะหนึ่งในช่องท้อง ที่มีบทบาทสำคัญ ในร่างกายหลายประการ ตำแหน่งของตับอ่อน จะอยู่ติดกับกระเพาะ และ ลำไส้เล็ก ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับ การสร้างเอ็นไซม์สำหรับการย่อยอาหาร และยังทำหน้าที่ผลิตอินซูลิน สำหรับควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โรคตับอ่อนอักเสบ เป็นโรคที่พบได้บ่อยในแมว นอกจากนั้น ยังพบได้ในคน และ สุนัขอีกด้วย โรคตับอ่อนอักเสบคืออะไร ? โรคตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis) เกิดจากตับอ่อนของแมว มีกระบวนการอักเสบเกิดขึ้น โดยในแมวส่วนใหญ่ ภาวะนี้มักเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่เรามักจะพบว่ามีความเกี่ยวข้องกับ การอักเสบของตับ และ ลำไส้ร่วมกัน (เรียกว่า Triaditis) พบได้บ่อยในแมววัยกลางคน ถึงแมวสูงอายุ เนื่องจาก ตับอ่อนสร้างเอ็นไซม์สำหรับย่อยอาหาร และ เมื่อตับอ่อนเกิดการอักเสบ เอ็นไซม์เหล่านี้ก็จะถูกปล่อยออกสู่ตับอ่อน และ เนื้อเยื่อรอบๆข้าง ซึ่งทำให้เกิดความเสียหาย และ ความเจ็บปวด ทำให้แมวมีอาการปวดเกร็งท้อง ในรายที่รุนแรง อาจทำให้เสียชีวิตได้ เนื่องจาก […]
อ่านต่อแมวปัสสาวะไม่ออก เกิดจากสาเหตุอะไร?
กลุ่มอาการผิดปกติของระบบขับถ่ายปัสสาวะส่วนล่างในแมว (FLUTD ; feline lower urinary tract disease) เป็นกลุ่มอาการที่พบได้บ่อยในแมว อาการที่พบได้แก่ แมวปัสสาวะไม่ออก ปวดเบ่งเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะมีเลือดปน ใช้เวลาในการปัสสาวะนานกว่าปกติ เลียอวัยวะเพศบ่อยๆ ปัสสาวะผิดที่หรือปัสสาวะนอกกระบะทราย มีอาการปวดเกร็งบริเวณแถวช่องท้อง กลุ่มอาการนี้พบมากในแมวพันธุ์แท้ที่ขนยาว เช่น พันธุ์เปอร์เซีย พันธุ์ฮิมาลายัน ส่วนในแมวพันธุ์อื่น ๆ รวมถึงแมวไทย สามารถพบได้เช่นกัน ความผิดปกตินี้พบบ่อยในแมวที่มีช่วงอายุระหว่าง 2-6 ปี พบมากในแมวเพศผู้ที่ทำหมัน แมวที่มีน้ำหนักตัวมาก หรือ แมวอ้วน แมวที่ออกกำลังกายน้อย แมวที่กินอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ด แมวที่มีนิสัยกินน้ำน้อย แมวปัสสาวะไม่ออก สาเหตุที่ทำให้แมว เกิดความผิดปกตินั้นพบว่าเกิดได้จากหลายสาเหตุ คือ 1. ความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง ที่ไม่ทราบสาเหตุ (Feline Idiopathic Cystitis : FIC) ซึ่งพบได้บ่อยมากในแมว แมวจะมีอาการ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น แต่เมื่อตรวจแล้วไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าเกิดจากสาเหตุใด ปัจจัยโน้มนำที่ทำให้เกิดคือ ความเครียด และ […]
อ่านต่อไรขน (Cheyletiella) และ ไรในหู (Otodectes cynotis)
โรคไรขน ไรขน (Cheyletiella) อาศัยอยู่บนผิวหนังของแมวและสุนัข โดยจะเข้าทำลายด้วยการกัดกินผิวหนังชั้นเคราตินและกินของเหลวที่อยู่ภายในเนื้อเยื่อผิวชั้นบน ทำให้ผิวหนังระคายเคือง เกิดลักษณะของรังแค ขนร่วง และมีอาการคัน ไรชนิดนี้ยังสามารถพบได้ทั่วไปในกระต่ายและสายพันธุ์อื่น ๆ ด้วย ซึ่งมันสามารถติดต่อจากสัตว์สู่คนได้ โดยสามารถอยู่บนผิวของคนและทำให้เกิดผื่นคันได้อีกด้วย Cheyletiella มีหลายสายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์จะชอบ Host ที่แตกต่างชนิดกันออกไป ไรขนจะตัวเต็มวัยมีขนาด 0.385 มิลลิเมตร มีขา 4 คู่ มีกรงเล็บที่บริเวณขา มีรยางค์ส่วนปากคล้ายคลึงกับคีมหนีบ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวที่พบได้ในปรสิตชนิดนี้ ไรขนมักอาศัยอยู่ภายในผิวหนังชั้นเคราตินและพัฒนาตัวเองให้เข้าสู่ระยะตัวเต็มวัยและมีชีวิตอยู่รอดได้เพียง 10 วันเท่านั้น ลักษณะการเข้าทำลายของ ไรขน มักเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “รังแคเดินได้” เนื่องจากไรชนิดนี้จะเคลื่อนที่ไปมาใต้ชั้นเคราติน และผลักเศษผิวหนังขึ้นมา จึงทำให้ดูเหมือนว่ามีการเคลื่อนไหวของรังแค การวินิจฉัย สามารถสังเกตเห็นไรขนได้บ้างบนผิวหนัง มีลักษณะเหมือนรังแคที่กำลังเคลื่อนที่บนผิวหนัง สามารถเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาไรขี้เรื้อน โดยใช้สก็อตเทปแปะไปที่บนผิวหนังที่สงสัยหรือใช้หวีสาง และนำไปส่องกล้องจุลทรรศน์ เพื่อหาไรขน หรือไข่ของไรขน การรักษา มีทางเลือกหลายอย่างสำหรับการรักษา Cheyletiella โดยจะต้องรักษาทั้งตัวสัตว์และสภาพแวดล้อมภายในบ้าน เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ เช่น พื้นปูเตียง ของเล่น เป็นต้น […]
อ่านต่อโรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข และแมว
โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข และแมว เป็นภัยร้ายที่คร่าชีวิตสุนัขและแมวในบ้านเราได้อย่างต่อเนื่อง เพราะ พยาธิเม็ดเลือดถูกนำโดยเห็บหรือหมัด เมื่อสุนัขหรือแมวติดเห็บหรือหมัดมาจึงมีโอกาสสูงมากที่จะได้รับเชื้อ โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข ติดมาด้วย ถ้าตรวจพบเร็วอาการยังไม่รุนแรงมาก สามารถให้ยาได้ทันการณ์ก็สามารถหายขาดได้ แต่ถ้าอาการลุกลามไปมากแล้ว โอกาสในการช่วยชีวิตก็จะน้อยลงเรื่อย ๆ สาเหตุ พยาธิเม็ดเลือดเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เข้าไปบุกรุกเซลล์เม็ดเลือด ไม่ว่าจะเป็นเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว หรือเกล็ดเลือด จัดอยู่ในกลุ่มโปรโตซัว (Protozoa) หรือกลุ่มริกเกตเซีย (Rickettsia) มีหลายสปีชีส์ (Species) เช่น Babesia spp. Mycoplasma spp. Ehrlichia canis และ Hepatozoon spp. เป็นต้น แต่ละชนิดก็มีเซลล์เม็ดเลือดเป้าหมายที่แตกต่างกันไป แต่สิ่งที่เหมือนกันคือมีการถ่ายทอดเชื้อผ่านพาหะ (Vector) อย่างเห็บและหมัด เห็บหมัดจะดูดเลือดจากสุนัขหรือแมวที่มีพยาธิเม็ดเลือด ทำให้ได้รับตัวอ่อนของพยาธิเม็ดเลือดเข้ามาเจริญอยู่ในตัวเห็บหมัดนั้น ๆ พอเติบโตได้ระยะที่สามารถแพร่เชื้อได้ เมื่อเห็บหมัดไปดูดเลือดสุนัขหรือแมวอีกตัวหนึ่งก็เกิดการถ่ายทอดเชื้อจากเห็บหมัดไป ยังสุนัขหรือแมว พยาธิเม็ดเลือดจึงเข้าไปเจริญเติบโตเพิ่มจำนวน และทำลายเซลล์เม็ดเลือดในร่างกายของสุนัขและแมวได้ทำให้เกิดอาการป่วยด้วยโรคพยาธิเม็ดเลือดตามมา อาการ อาการเด่นชัดของโรคพยาธิเม็ดเลือด คือ ภาวะซีดจากการทำลายเม็ดเลือดแดงของพยาธิเม็ดเลือด เกิดภาวะโลหิตจาง เป็นอาการเด่นที่เจ้าของสามารถสังเกตได้เอง โดยดูจากสีของเยื่อเมือกบริเวณต่าง ๆ […]
อ่านต่อมดลูกอักเสบ (pyometra) ความผิดปกติของสุนัขและแมวเพศเมีย
สำหรับผู้เลี้ยงสุนัขและแมวเพศเมีย สิ่งที่ต้องเข้าใจเขาอีกส่วนคือเรื่องของระบบสืบพันธุ์เพศเมีย ตั้งแต่เรื่องวงรอบการเป็นสัด การตั้งท้อง การเลี้ยงลูก โดยทาง บ้านและสวน Pets ได้มีบทความบอกเล่าไปบ้างแล้ว วันนี้เรามาเพิ่มเติมส่วนของความผิดปกติของเพศเมีย อย่าง มดลูกอักเสบ แบบผู้หญิง ๆ กันค่ะ มดลูก (uterus) ก่อนเข้าสู่เรื่องความผิดปกติของ มดลูกอักเสบ หมอต้องขออธิบายโครงสร้างของมดลูกให้เห็นภาพคร่าว ๆ กันก่อนค่ะ โดยมดลูกนั้นเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศเมีย ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ปีกมดลูก (uterine horn) ตัวมดลูก (uterine body) และปากมดลูก (uterine cervix) ปีกมดลูกมี 2 ข้าง ข้างซ้ายและข้างขวาต่อจากรังไข่และท่อนำไข่ เชื่อมรวมกันที่ตัวมดลูก และมีปากมดลูกเป็นส่วนเชื่อมต่อสู่ช่องคลอด สาเหตุ มดลูกอักเสบ (pyometra) ทุกอวัยวะของร่างกายมีความผิดปกติเกิดขึ้นได้เสมอ…มดลูกก็เช่นกันค่ะปัญหาส่วนมากที่พบ คือ โรคมดลูกอักเสบแบบมีหนอง บางครั้งอาจถูกเรียกสั้นลงว่า “มดลูกอักเสบ” หรือ ภาษาทางการแพทย์เรียกว่า “pyometra” เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ทั้งในสุนัขและแมว สาเหตุการเกิดนั้นมักประกอบด้วยหลายปัจจัยดังนี้ […]
อ่านต่อ