Dog Zone
- Home
- Dog Zone
โรคที่เกี่ยวกับจอประสาทตาในสุนัข (Retinal Diseases)
จอประสาทตา หรือ Retina เป็นอวัยวะที่มีลักษณะเป็นแผ่นโปร่งแสงอยู่ที่ด้านหลังสุดของดวงตา มีเซลล์จอตา (photoreceptors) ทำหน้าที่รับและรวมแสงส่งไปยังสมอง เพื่อแปลผลกลับมาเป็นภาพให้เรามองเห็น ซึ่งเซลล์จอประสาทตาแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เซลล์จอตารูปแท่ง (rod photoreceptors) ทำงานได้ดีในสภาวะแสงน้อยหรือในที่มืด และเซลล์จอตารูปกรวย (cone photoreceptors) ทำงานได้ดีในสภาวะที่มีแสงสว่างหรือช่วงเวลากลางวัน ทำให้ โรคที่เกี่ยวกับจอประสาทตาในสุนัข มีผลอย่างมากต่อการมองเห็น หรืออาจทำให้ต้องสูญเสียการมองเห็นไป โรคจอประสาทตาเสื่อมแบบเฉียบพลัน (Sudden Acquired Retinal Degeneration : SARD) ทําให้หมาสูญเสียการมองเห็นอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาไม่กี่วัน (ประมาณ 2-3 วัน จนถึงสัปดาห์) ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับดวงตาทั้งสองข้าง และพบได้ในน้องหมาทุกช่วงวัย แต่มีรายงานว่าพบได้บ่อยในช่วงกลางวัยของสุนัข ซึ่งสาเหตุของโรคนี้เรายังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบความสัมพันธ์กับภาวะฮอร์โมนต่อมหมวกไตเกินขนาด หรือ Cushing’s syndrome ในสุนัขบางราย จึงอาจทําให้น้องหมาบางตัวมีอาการกินน้ํามาก ปัสสาวะมาก และมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นร่วมด้วย สันนิษฐานว่าเกิดจากการหลั่ง steroid-like substance จึงไปสร้างความเป็นพิษต่อจอประสาทตา (Retinotoxic) โดยเข้าไปทําลายชั้นของเซลล์รับแสง ทั้งเซลล์รูปกรวยและเซลล์รูปแท่ง […]
อ่านต่อเจแปนนิส สปิตซ์ (Japanese Spitz) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ เจแปนนิส สปิตซ์ (Japanese Spitz) เป็นสุนัขขนยาวขนาดเล็ก คาดว่าพวกมันสืบเชื้อสายมาจากเยอรมัน สปิตซ์ (German Spitz) ซึ่งถูกนำเข้าในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าพวกมันมีที่อย่างไร เนื่องจากบันทึกส่วนใหญ่ถูกทำลายในช่วงสงครามครั้งที่สอง เจแปนนิส สปิตซ์ปรากฏเป็นครั้งแรกในดินแดนญี่ปุ่นในปีค.ศ. 1921 ในงานแสดงที่จัดขึ้นที่เมืองโตเกียว จากนั้นนักเพาะพันธุ์สุนัขได้มีการพัฒนาสายพันธุ์มาเรื่อย ๆ จากนั้นช่วงปีค.ศ. 1925 ถึง 1936 มีการนำเข้าสุนัขสายพันธุ์สปิตซ์ (White Klein Wolfsspitz) จากทั้งประเทศแคนาดา สหรัฐฯ และออสเตรเลีย เพื่อพัฒนาผสมข้ามสายพันธุ์จนเป็นเจแปนนิส สปิตซ์อย่างที่รู้จักกันในปัจจุบัน พวกมันได้รับความนิยมมากขึ้นจากความน่ารัก ขนฟูสีขาวทั้งตัว ซึ่งลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้คนทั่วโลกจดจำ จึงไม่แปลกใจเลยที่พวกมันได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องและเป็นที่รู้จักนอกประเทศญี่ปุ่น หลังจากที่มีการนำเข้ามาในประเทศสวีเดนและจากที่นั่นก็กระจายไปยังประเทศอื่น ๆ ในยุโรป ลักษณะทางกายภาพ สุนัขพันธุ์เจแปนนิส สปิตซ์มีขนสีขาวทั่วทั้งตัว มีขนาดของหัวไม่ใหญ่มาก และมีปากที่สีดำสนิท จมูกและดวงตามีสีดำ เป็นรูปทรงเมล็ดอัลมอนด์ (Almond shaped) ส่วนหูมีขนาดเล็กเป็นลักษณะสามเหลี่ยมตั้งตรง หางพวกมันจะมีลักษณะเป็นพวงสีขาวม้วนขึ้นคล้ายกับขนนก และรูปร่างที่กะทัดรัด โดยมีส่วนลำตัวจะมีขนาดที่พอดีถึงแม้จะค่อนข้างบางเล็กน้อย และมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม ขนาดของเจแปนนิส สปิตซ์ […]
อ่านต่อโรคเปลือกตาม้วนเข้า และม้วนออก (Entropion & Ectropion eyelids)
โรคเปลือกตาม้วนเข้าข้างใน (Entropion Eyelids) โรคเปลือกตาม้วนเข้า หรืออาการหนังตาม้วนเข้าในนั้น เกิดจากพันธุกรรม อาจเกิดกับตาข้างเดียว หรือทั้งสองข้าง พบได้ตั้งแต่ยังเป็นลูกสุนัข หรือมาพบเมื่อเริ่มมีอายุมากขึ้น และพบว่าโดยส่วนใหญ่แล้ว กลุ่มสุนัขพันธุ์หน้าสั้นจะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเกิดหนังตาม้วนเข้าหนังตาม้วนเข้า เพราะ สุนัขประเภทนี้จะมีผิวหนังขอบตาหนากว่าพันธุ์อื่น ๆ คือ ส่วนของเปลือกตาหดกลับ หรือพับเข้าด้านในของตา (โดนส่วนใหญ่จะเกิดที่เปลือกตาล่าง) ทําให้ขนตาแยงเข้าในลูกตา เกิดการระคายเคืองลูกตา และกระจกตาอักเสบ ประการหลังนี่มักเกิดจากการที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น แล้วมีการหนาตัวของผิวหนังบริเวณขอบตาเกิดขึ้นด้วย จึงมีโอกาสเกิดหนังตาม้วนเข้าได้ วิธีสังเกตอาการ กระจกตาอักเสบ ระคายเคืองตา ตาแดง น้ำตาไหลมากกว่าปกติ มีเมือก หรือหนองออกมาจากตา เนื่องจากหนังตาม้วนเข้าในสุนัขและแมว จะทําให้เกิดการระคายเคืองตา ทําให้แสดงอาการน้ำตาไหลมากกว่าปกติ ตาแดง หากเกิดหนังตาม้วนเข้าเป็นเวลานาน อาจทําให้เกิดตาเปลี่ยนสี กระจกตาอักเสบ รวมถึงเมื่อเกิดหนังตาม้วนเข้าอาจพบขี้ตาสีเขียว เมือก หรือหนองออกจากดวงตา การรักษาและวิธีการป้องกัน โรคเปลือกตาม้วนเข้า สามารถรักษาได้โดยการใช้ยาหยอดตา หรือครีม เพื่อลดอาการระคายเคือง การผ่าตัดขลิบเอาหนังตาออกบางส่วน โรคหนังตาม้วนเข้าในเป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากพันธุกรรมจึงไม่สามารถป้องกันได้ สุนัขพันธุ์เสี่ยง เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม Bulldog, Pug, Pekinese, American […]
อ่านต่อโรคขี้เรื้อนแห้ง และขี้เรื้อนเปียกในสุนัข
โรคผิวหนังในสุนัขที่ทุกคนมักจะรู้จักกัน คงหนีไม่พ้นโรคขี้เรื้อน ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปโดยเฉพาะสุนัขจรจัดตามถนน เพราะ โรคขี้เรื้อนนี้เกิดจากปรสิตภายนอกที่สามารถติดต่อกันได้ในสุนัข โรคเรื้อนในสุนัข มีด้วยกัน 2 ประเภทได้แก่ โรคขี้เรื้อน แห้ง และขี้เรื้อนเปียก โดยเกิดจากปรสิตต่างชนิดกันดังนี้ โรคขี้เรื้อนแห้ง (Canine scabies) โรคขี้เรื้อนแห้งเกิดจาก Sarcoptes scabiei เป็นตัวไรขี้เรื้อนที่ทำเกิดอาการเกาคันอย่างรุนแรง เจ้าตัวไรขี้เรื้อนชนิดนี้ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อาศัยอยู่บนผิวหนังชั้นหนังกำพร้า โดยเจ้าไรที่ว่านี้สามารถสืบพันธุ์ออกไข่ ออกลูกหลานได้อีกมากมายเรียกว่าอาศัยอยู่บนผิวหนังสุนัขเป็นชุมชนกันเลยทีเดียวค่ะ บริเวณที่พบได้บ่อยคือขอบใบหู ใต้ท้อง ข้อศอกและข้อเท้าของขาหลังด้านนอก สุนัขจะคันมากและเกาจนผิวหนังอักเสบ คันจนไม่สามารถใช้ชีวิต หรือทำกิจกรรมในแต่ละวันได้อย่างปกติ ทำให้เกิดความเครียด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด บางตัวขนร่วง มีตุ่มแดง สะเก็ดรังแค (scale) เกิดคราบสะเก็ดแห้งกรัง (crust) หรือเกิดลักษณะผิวแห้งหนา (lichenification) ร่วมด้วย ในกรณีที่เลี้ยงสุนัขไว้หลายตัว ต้องพาสัตว์เลี้ยงที่มีอาการ โรคขี้เรื้อน ทุกตัวมารักษาด้วย เนื่องจากเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่าย ติดต่อกันได้ไวมาก มิเช่นนั้นจะทำให้เกิดปัญหาการป่วยวนเวียนอยู่ในฝูงสุนัขได้เรื่อย ๆ ที่สำคัญอาจจะมีอาการคันเกิดขึ้นได้กับเจ้าของเช่นกันนะคะ การวินิจฉัย สังเกตจากลักษณะผิวหนัง และเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาไรขี้เรื้อน […]
อ่านต่อดัลเมเชียน (Dalmatian) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ ดัลเมเชียน (Dalmatian) เป็นสายพันธุ์เก่าแก่ที่มีเชื้อสายที่สืบทอดมายาวนาน มีความเชื่อว่ามีต้นกำเนิดจากชายฝั่ง Dalmatia ซึ่งตั้งอยู่คาบสมุทรบอลข่าน ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 จากสุนัขสายพันธุ์ Talbot Hound ซึ่งเป็นสุนัขที่มีขนสีขาวทั้งตัว และนิยมนำมาเป็นสุนัขอารักขาในกองคาราวาน รวมถึงคอยช่วยและทำหน้าที่ในการล่าสัตว์ ส่วนลายจุดที่เป็นจุดเด่นของพวกมันนั้น คาดว่าอาจเกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่าง Talbot Hound และสุนัขพันธุ์ Pointer แต่ถึงอย่างไรก็ตามยังคงมีอีกหนึ่งตำนานกล่าวถึงที่มาของ “ดัลเมเชียน” ซึ่งตำนานนี้ถูกเล่าขานว่า ต้นกำเนิดของพวกมันอาจจะมาจากทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย แล้วถูกนำเข้ามายังยุโรปโดยชาวยิปซี ซึ่งเป็นชนเผ่าเร่ร่อนในศตวรรษที่ 14 เนื่องจากพบบันทึกเกี่ยวกับสุนัขพันธุ์นี้ในเมืองที่ชื่อว่า ดัลเมเชียน ในยุคแรก ๆ จึงเป็นที่มาของชื่อสุนัขพันธุ์นี้ว่า “ดัลเมเชียน” ในภายหลังด้วยรูปร่างที่ปราดเปรียว และสง่างามนี้เอง จึงเป็นที่นิยมของชนชั้นสูงในยุโรป ซึ่งชื่นชอบกีฬาการล่าสัตว์ ความนิยมนี้มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้สุนัขพันธุ์ดัลเมเชียนเป็นสัญลักษณ์ความอดทนและความกล้าหาญ เห็นได้จากในยุควิกตอเรีย พวกมันมีอีกชื่อว่าสุนัขดับเพลิง เพราะ จะเห็นจากการค้นพบภาพสุนัขพันธุ์นี้ วิ่งไปตามถนนเพื่อกันผู้คนไม่ให้ไปรบกวนการทำงานของเจ้าหน้าที่ดับเพลิง ลักษณะทางกายภาพ สุนัขพันธุ์ดัลเมเชียนเป็นสุนัขขนาดกลางที่ผสมผสานกันระหว่างความสง่างามและความแข็งแรง จัดเป็นหนึ่งในสายพันธุ์สุนัขใช้งานที่ได้รับความนิยม มีจุดเด่นที่สรีระของร่างกายที่มีความได้เปรียบกว่าสุนัขพันธุ์อื่น พวกมันขึ้นชื่อว่ามีความปราดเปรียวอย่างมาก เคลื่อนไหวได้อย่างว่องไว ดัลเมเชียนมีหูพับลงตามธรรมชาติ และมีลักษณะเป็นทรงสามเหลี่ยม ส่วนหางนั้นจะยาวเรียว ปลายหางงอขึ้นเล็กน้อย […]
อ่านต่อภาวะหลอดเลือดหัวใจเกิน Patent Ductus Arteriosus (PDA)
ภาวะหลอดเลือดหัวใจเกิน หรือ Patent Ductus Arteriosus (PDA) เกิดจากหลอดเลือดที่เชื่อมต่อระหว่างหลอดเลือดแดงเอออร์ตา (Aorta) กับหลอดเลือดแดงพัลโมนารี่ (Pulmonary artery) ไม่ปิดลง โดยความผิดปกตินี้เป็นความผิดปกติของเส้นเลือดตั้งแต่กำเนิด หลอดเลือดทั้งสองเส้นนี้ เป็นหลอดเลือดที่ส่งเลือดออกจากหัวใจ โดยภาวะการมีอยู่ของเส้นเลือด ductus arteriosus สามารถพบได้เป็นปกติเมื่อลูกสัตว์ยังอยู่ในครรภ์ ในขณะที่ปอดยังไม่ทำงาน (ยังไม่สามารถหายใจได้ด้วยตัวเอง) โดยสัตว์ที่อยู่ในครรภ์จะได้รับออกซิเจนผ่านทางรก ซึ่งมีหลอดเลือดดักตัสอาร์เทอริโอซัส (Ductus arteriosus) เป็นหลอดเลือดหลักในการนำเลือดจากหัวใจผ่านข้ามปอด (ซึ่งในขณะเป็นตัวอ่อนยังไม่ทำงาน) ไปยังหลอดเลือดแดง aorta ที่ส่งเลือดแดงไปเลี้ยงทั่วร่างกาย แต่ภายหลังการคลอด ปอดเริ่มมีการทำงานเส้นเลือดที่เป็นทางเชื่อมไปยังหลอดเลือดแดง aorta คือหลอดเลือด Ductus arteriosus เปิดอยู่ ไม่ฝ่อหายไป จึงเกิด ภาวะที่เรียกว่า Patent ductus arteriosus หรือ ภาวะหลอดเลือดหัวใจเกิน ภายหลังลูกสัตว์คลอดและมีการหายใจครั้งแรก หลอดเลือด Ductus arteriosus จะถูกกระตุ้นให้หลอดเลือดปิดลง โดยหลอดเลือดนี้ จะตีบลงกลายเป็นเอ็น (ligament) ที่ยึดหลอดเลือดทั้งสอง การปิดของหลอดเลือด Ductus […]
อ่านต่อโรคต่อมลูกหมากโต (Benign Prostatic Hyperplasia : BPH)
หากพบสุนัขเพศผู้มีอาการปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะบ่อย หรือเบ่งอุจจาระนานกว่าปกติ โรคสำคัญที่หมอมักจะต้องนึกถึงเป็นลำดับต้น ๆ ก็คือ “โรคต่อมลูกหมากโต” หรือ Benign Prostatic Hyperplasia (BPH) ซึ่งเป็นโรคที่มีความสำคัญทางระบบสืบพันธุ์ของผู้ชายและสัตว์เพศผู้เมื่ออายุมาก พบได้ในคน สุนัข และมีรายงานการเกิดโรคในลิงชิมแปนซี แต่ไม่พบโรคในแมว ต่อมลูกหมากของสุนัขจะทำหน้าที่ในการสร้างน้ำเลี้ยงเชื้อในการผสมพันธุ์ ต่อมจะมีรูปร่างกลมรีแบ่งเป็น 2 ก้อน ซ้ายและขวาอยู่ล้อมรอบบริเวณคอกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะส่วนต้น และอยู่ใต้ลำไส้ตรง ดังนั้น หากต่อมลูกหมากเกิดความผิดปกติมีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น โรคต่อมลูกหมากโต ถุงน้ำ หรือฝีหนองในต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมลูกหมากจะส่งผลต่อระบบขับถ่ายเป็นหลัก โรคต่อมลูกหมากโต พบได้ในสุนัขทุกพันธุ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ และอาจเรียกได้ว่าเป็นโรคของสุนัขแก่ เนื่องจากพบได้บ่อยในสุนัขเพศผู้อายุมากที่ยังไม่ได้ทำหมัน อุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้นตามอายุเช่นเดียวกับคน โดยผู้ชายอายุระหว่าง 60-70 ปี จะมีภาวะต่อมลูกหมากโตได้ร้อยละ 55 ส่วนในสุนัขอายุมากกว่า 5 ปี จะพบโรคได้มากกว่าร้อยละ 80 และมากกว่าร้อยละ 95 เมื่อสุนัขอายุ 9 ปี แต่สุนัขที่มีปัญหาต่อมลูกหมากโต อาจจะมีอาการป่วยหรือไม่ก็ได้ สาเหตุของโรคต่อมลูกหมากโต สาเหตุของโรคต่อมลูกหมากโตยังไม่ทราบอย่างแน่ชัด […]
อ่านต่อการเลือกซื้ออาหารสุนัข ให้เหมาะกับโภชนาการและช่วงวัย
สำหรับเหล่าทาสหมาแล้ว นอกจากที่อยู่อาศัย ที่นอน และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแล้ว การเลือกซื้ออาหารสุนัข ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณภาพชีวิตของน้องหมานั้นดียิ่งขึ้น แต่ในปัจจุบันอาหารและขนมสำหรับสุนัขมีมากมายหลายแบบ หลายประเภท และหลากหลายยี่ห้อ การเลือกซื้ออาหารสุนัข ที่เหมาะสมกับความต้องการของสุนัขแต่ละตัวในแต่ละช่วงอายุจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้สุนัขมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ และมีอายุที่ยืนยาว 1.ศึกษาเกี่ยวกับโภชนาการสารอาหารสุนัขให้เข้าใจ สุนัขเป็นสัตว์ที่สามารถกินได้ทั้งพืชและเนื้อ (Omnivorous) จึงควรได้รับสารอาหารทุกชนิดอย่างครบถ้วน – น้ำ (Water) ในร่างกายของสุนัขประกอบด้วยน้ำประมาณ 70% ทำหน้าที่ในการขนส่งสารอาหาร ระบายความร้อน และช่วยในขบวนการทางเคมีต่าง ๆ เจ้าของจึงควรวางน้ำสะอาดไว้ให้สุนัขกินตลอดเวลา โดยปริมาณน้ำที่ให้ในแต่ละวันจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัว เฉลี่ยประมาณ 25 – 50 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน แต่ในช่วงที่อากาศร้อนสุนัขจะต้องการน้ำเพิ่มขึ้นประมาณ 3-4 เท่าของปริมาณน้ำที่ดื่มปกติ – โปรตีน (Protein) เป็นสารอาหารที่สามารถหาได้จากทั้งพืชและสัตว์ ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด ซึ่งมีหน้าที่ช่วยในการพัฒนามวลกล้ามเนื้อ สร้างเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอ โดยปกติแล้วอาหารสำหรับลูกสุนัขควรมีโปรตีน 22-28 เปอร์เซ็นต์ อาหารสำหรับสุนัขโตเต็มวัยควรมีโปรตีน 10-18 เปอร์เซ็นต์ หรืออาจจะมีสัดส่วนที่มากขึ้นเมื่อเป็นอาหารบาร์ฟ […]
อ่านต่อข้อดีและข้อเสียของ อาหารและขนมสำหรับสุนัขแต่ละประเภท
โภชนาการด้านน้ำดื่ม อาหารและขนมสำหรับสุนัข ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ผู้เลี้ยงควรให้ความสนใจ เพราะ อาหารที่สุนัขกินในแต่ละมื้อล้วนส่งผลต่อสุขภาพร่างกายโดยตรง ซึ่งโภชนาการที่ดีสำหรับสุนัขไม่ใช่แค่เรื่องของปริมาณอาหารเพียงเท่านั้น แต่คือการให้ อาหารและขนมสำหรับสุนัข ที่เหมาะสมกับความต้องการของสุนัขแต่ละตัวในแต่ละช่วงอายุ เพื่อให้สุนัขมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ และมีอายุที่ยืนยาว 1. อาหารเม็ด หรืออาหารแห้ง (Kibble / Dry Dog Food) อาหารประเภทนี้เป็นที่นิยมมากที่สุด เพราะ สามารถหาซื้อได้ง่าย เก็บไว้ได้นาน มีให้เลือกหลายสูตร หลากยี่ห้อ ประกอบไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อสุนัขอย่างครบถ้วน ทำให้สามารถควบคุมปริมาณอาหารที่เหมาะสมต่อมื้อสำหรับสุนัขได้ง่าย นอกจากนี้การกินอาหารเม็ดยังเสมือนการได้ขัดฟันไปในตัว ทำให้สุนัขมีฟันแข็งแรง ช่วยลดแบคทีเรีย คราบหินปูน และช่วยลดปัญหากลิ่นปากได้อีกด้วย 2.อาหารแบบเปียก หรืออาหารกระป๋อง (Canned Dog Food / Wet Dog Food) อาหารกระป๋องส่วนใหญ่มักจะมีเนื้อสัตว์ อย่าง เนื้อไก่ เนื้อวัว หรือเนื้อปลาเป็นส่วนประกอบหลัก และบางยี่ห้ออาจจะใส่พืชผัก อย่าง แครอท บร็อคโคลี หรือฟักทองลงไป เพื่อเพิ่มกลิ่น รสชาติ และคุณค่าทางโภชนาการให้แก่อาหาร จึงเหมาะสำหรับสุนัขมีปัญหาเรื่องการกิน […]
อ่านต่อบีเกิล (Beagle) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ บีเกิล (Beagle) จัดอยู่ในจำพวกกลุ่มสุนัขล่าเนื้อ (Hound) เป็นสุนัขที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอังกฤษ และสามารถพบเจอได้เกือบทุกพื้นที่ของประเทศอังกฤษ เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่ชาวอังกฤษนิยมเพาะมากที่สุดสายพันธุ์หนึ่ง คุณสมบัติและความสามารถพิเศษที่โดดเด่นของบีเกิลอย่างหนึ่ง คือ มีความคล่องแคล่วปราดเปรียวอย่างสูงในการไล่ล่า และแกะรอยกระต่ายป่า ดังนั้น นายพรานส่วนใหญ่จึงมักพาบีเกิลออกไปเป็นฝูง ๆ แต่เช้ามืด เพื่อดมกลิ่นหาเหยื่อ ซึ่งวิธีการดังกล่าวนี้เป็นที่นิยมของนายพรานเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ นักประวัติศาสตร์พบหลักฐานว่า สุนัขสายพันธุ์บีเกิลถูกใช้สำหรับล่าสัตว์มาตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ ในเวลาต่อมาช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 พวกมันถูกนำเข้ามายังอเมริกาเป็นครั้งแรก อีกทั้งยังได้รับความนิยมในกลุ่มนายพรานอย่างมากด้วยประสาทการดมกลิ่นอันเป็นเลิศ จนกระทั่งถึงปี 1870 จึงมีนักพัฒนาสายพันธุ์สุนัขกลุ่มหนึ่ง เริ่มหันมาสนใจพัฒนาสายพันธุ์ของบีเกิลอย่างจริงจัง ทำให้ได้บีเกิลซึ่งมีลักษณะดี และเป็นที่ยอมรับ ถูกต้องตามมาตรฐานในที่สุด โดย American Kennel Club ก็ได้ทำการจดทะเบียนรับรองสุนัขสายพันธุ์บีเกิลตัวแรกเมื่อปี ค.ศ.1885 และต่อมาในปี ค.ศ.1888 จึงได้มีการก่อตั้งชมรมผู้เพาะพันธุ์บีเกิลแห่งสหรัฐฯ ขึ้นอย่างเป็นทางการ ปัจจุบันสุนัขสายพันธุ์บีเกิลยังคงเป็นสุนัขซึ่งมีผู้นิยมเลี้ยงเป็นจำนวนมาก ด้วยความน่ารัก คล่องแคล่วและเป็นมิตรกับทุกคน อย่างไรก็ตามบีเกิลอาจไม่เหมาะนักสำหรับการเป็นสุนัขเฝ้าบ้าน เพราะความที่เค้าต้องการสังคมสูง ชอบเล่นสนุก ชอบผูกมิตรกับสมาชิกในครอบครัวและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ดังนั้นหากต้องอยู่ตามลำพังเป็นเวลานานจนเกินไปอาจทำให้เกิดความเครียด และนำไปสู่พฤติกรรมก้าวร้าวได้ ลักษณะทางกายภาพ สุนัขบีเกิลถูกจัดอยู่ในกลุ่ม สุนัขขนาดกลาง […]
อ่านต่อโรคต้อหิน (Glaucoma) จากความผิดปกติของความดันในลูกตา
โรคต้อหิน (Glaucoma) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของความดันในลูกตาที่เพิ่มสูงขึ้น ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นกับลูกตา ซึ่งโดยทั่วไปสุนัขจะมีความดันในลูกตาอยู่ระหว่าง 16-30 มิลลิเมตรปรอท หากเพิ่มสูงขึ้นจนถึง 60-70 มิลลิเมตรปรอท อาจทําให้สูญเสียการมองเห็นได้ เนื่องจากความดันลูกตาที่สูงมาก ๆ จะไปทําให้จอประสาทตาเสียหาย โรคต้อหิน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1. โรคต้อหินแบบปฐมภูมิ (Primary Glaucoma) เป็นโรคต้อหินที่เกิดขึ้นเอง ไม่ได้เกิดจากการเป็นโรคอย่างอื่นมาก่อน เช่น โรคต้อหินชนิดมุมเปิด ซึ่งเกิดจากการเสียสมดุลระหว่างการสร้างและการระบายออกของน้ําในลูกตา แต่มุม iridocorneal angle ยังคงเปิดอยู่ปกติ เมื่อมีการตีบแคบของท่อตะแคงที่เป็นทางระบายน้ำเลี้ยงภายในรูปตา ทําให้การระบายน้ำเลี้ยงภายในลูกตาลดลงในขณะที่การสร้างน้ำเลี้ยงภายในลูกตามีปริมาณเท่าเดิม ทําให้ความดันภายในลูกตาสูงขึ้นทีละน้อย เปรียบได้กับรูระบายน้ำที่มีตะไคร่น้ำ คอยต้านการระบายของน้ำ โรคต้อหินชนิดมุมปิด ซึ่งเป็นความผิดปกติในส่วนของโครงสร้าง ทําให้มุม iridocorneal angle แคบลง เมื่อมีการปิดกั้นทางออกของท่อน้ำเหลืองภายในลูกตาจากการที่ฐานม่านตามาปิดด้านหน้าทําให้น้ำเลี้ยงภายในลูกตาไม่สามารถระบายออกได้ หรือระบายออกทีละน้อย ดังนั้น น้ำเลี้ยงภายในลูกตาจากช่องหลังของโรคตาไม่สามารถผ่านรูม่านตาที่ช่องหน้าของลูกตาได้ตามปกติ น้ำเลี้ยงภายในลูกตาจะพยายามดันออกมาทางข้างหน้า ทําให้ม่านตาที่ถูกดันโป่งออกมาทางด้านหน้ามากขึ้น ส่งผลให้ช่องหน้าของลูกตาและมุมของม่านตาแคบลงอีก และมีการปิดกั้นทางออกของน้ำเลี้ยงภายในลูกตาเพิ่มขึ้น จึงทําให้ความดันภายในลูกตาสูงขึ้น หรือปิดไปเปรียบได้กับรูระบายน้ำที่คดงอผิดรูป ทําให้การระบายน้ำแย่ลง 2. โรคต้อหินทุติยภูมิ […]
อ่านต่อโรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข และแมว
โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข และแมว เป็นภัยร้ายที่คร่าชีวิตสุนัขและแมวในบ้านเราได้อย่างต่อเนื่อง เพราะ พยาธิเม็ดเลือดถูกนำโดยเห็บหรือหมัด เมื่อสุนัขหรือแมวติดเห็บหรือหมัดมาจึงมีโอกาสสูงมากที่จะได้รับเชื้อ โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข ติดมาด้วย ถ้าตรวจพบเร็วอาการยังไม่รุนแรงมาก สามารถให้ยาได้ทันการณ์ก็สามารถหายขาดได้ แต่ถ้าอาการลุกลามไปมากแล้ว โอกาสในการช่วยชีวิตก็จะน้อยลงเรื่อย ๆ สาเหตุ พยาธิเม็ดเลือดเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เข้าไปบุกรุกเซลล์เม็ดเลือด ไม่ว่าจะเป็นเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว หรือเกล็ดเลือด จัดอยู่ในกลุ่มโปรโตซัว (Protozoa) หรือกลุ่มริกเกตเซีย (Rickettsia) มีหลายสปีชีส์ (Species) เช่น Babesia spp. Mycoplasma spp. Ehrlichia canis และ Hepatozoon spp. เป็นต้น แต่ละชนิดก็มีเซลล์เม็ดเลือดเป้าหมายที่แตกต่างกันไป แต่สิ่งที่เหมือนกันคือมีการถ่ายทอดเชื้อผ่านพาหะ (Vector) อย่างเห็บและหมัด เห็บหมัดจะดูดเลือดจากสุนัขหรือแมวที่มีพยาธิเม็ดเลือด ทำให้ได้รับตัวอ่อนของพยาธิเม็ดเลือดเข้ามาเจริญอยู่ในตัวเห็บหมัดนั้น ๆ พอเติบโตได้ระยะที่สามารถแพร่เชื้อได้ เมื่อเห็บหมัดไปดูดเลือดสุนัขหรือแมวอีกตัวหนึ่งก็เกิดการถ่ายทอดเชื้อจากเห็บหมัดไป ยังสุนัขหรือแมว พยาธิเม็ดเลือดจึงเข้าไปเจริญเติบโตเพิ่มจำนวน และทำลายเซลล์เม็ดเลือดในร่างกายของสุนัขและแมวได้ทำให้เกิดอาการป่วยด้วยโรคพยาธิเม็ดเลือดตามมา อาการ อาการเด่นชัดของโรคพยาธิเม็ดเลือด คือ ภาวะซีดจากการทำลายเม็ดเลือดแดงของพยาธิเม็ดเลือด เกิดภาวะโลหิตจาง เป็นอาการเด่นที่เจ้าของสามารถสังเกตได้เอง โดยดูจากสีของเยื่อเมือกบริเวณต่าง ๆ […]
อ่านต่อ