Dog Zone

PRAMA ขนมผสมเนื้อผลไม้ ตอบโจทย์สุนัขสายเฮลตี้

ผักและผลไม้ ไม่เพียงแต่เป็นตัวเลือกที่ดี สำหรับการเสริมสร้างร่างกายของมนุษย์ให้แข็งแรงสมบูรณ์เท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อร่างกายของสัตว์เลี้ยง อย่าง สุนัขด้วยเช่นเดียวกัน หากเลือกทานได้อย่างเหมาะสม เพราะ ถึงแม้ว่าผักและผลไม้ส่วนใหญ่จะมีสารอาหาร – วิตามินแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ก็ยังมีผัก-ผลไม้บางชนิด อย่าง องุ่น เชอร์รี่ ลูกพลัม ลูกแพร์ และลูกพรุน ที่หากสุนัขกินเข้าไปก็อาจก่อให้เกิดอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้เลยทีเดียว นอกจากนี้ ในผักและผลไม้มักจะมีปริมาณน้ำตาลสูง อาจทำให้สัตว์เลี้ยงเกิดความเสี่ยงต่อภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกินได้ เจ้าของจึงไม่ควรให้สุนัขทานผัก-ผลไม้เกิน 5-10% ของพลังงานที่ต้องการในแต่ละวัน เพื่อควบคุมความสมดุลทางโภชนาการ ซึ่งจะดีกว่าไหมถ้ามีขนมที่ไม่ใช่แค่เพียงขนมธรรมดาทั่วไป แต่เป็นขนมที่ผลิตจากเนื้อไก่ แหล่งโปรตีนหลักของอาหารที่เหมาะสำหรับสุนัข ผสมผสานกับเนื้อผลไม้แท้ที่ช่วยเติมกลิ่นหอม เพิ่มรสชาติ และคุณค่าทางอาหารไว้อย่างเหมาะสม เพื่อเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ตอบโจทย์คนรักสุนัขที่อยากให้สัตว์เลี้ยงมีสุขภาพดี   การจับคู่ที่ลงตัวของเนื้อไก่กับผลไม้แท้ 100% PRAMA™ Delicacy Snack ต้องการทำสิ่งที่แตกต่าง จึงได้คิดค้นและผลิตขนมที่ตอบโจทย์สำหรับคนรักสุนัขและใส่ใจเรื่องสุขภาพเป็นสำคัญ โดยการเลือกจับคู่วัตถุดิบระหว่างเนื้อไก่แท้เต็มชิ้น (Human Grade) ที่มีโปรตีนสูง ไขมันต่ำ ไม่ต้องกลัวอ้วน กับเนื้อผลไม้แท้ 100% อย่าง บลูเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ กล้วย เมลอน ฟักทอง […]

อ่านต่อ
โรคหัวใจสุนัข

โรคหัวใจในสุนัข (Heart Disease)

โรคหัวใจในสุนัขมีการพัฒนาขึ้นในช่วงกลางๆ ชีวิต คือโรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลังมักเป็นในสุนัขที่มีอายุมาก

อ่านต่อ

โรคโพรงกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบตีบแคบ (DLSS)

โรคโพรงกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบตีบแคบ (Degenerative Lumbosacral Stenosis หรือ DLSS) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากการที่มีการเสื่อมของโครงสร้างรอบ ๆ โพรงกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบ ทำให้เกิดการตีบแคบจนเกิดการกดทับเส้นประสาทที่อยู่บริเวณนั้น อาการเด่นชัดของ โรคโพรงกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบตีบแคบ คือ จะพบอาการปวดที่บริเวณหลังด้านท้าย (Low Back Pain) ซึ่งพบได้บ่อยในสุนัขขนาดใหญ่และอายุมาก สาเหตุของการเกิดโรคมักจะมาจากหลากหลายความผิดปกติอาจเกิดจากสาเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน ได้แก่ การเกิดหมอนรองกระดูกเคลื่อนมากดทับเส้นประสาท cauda equina การบวมของเส้นเอ็นตรงรอยต่อกระดูกสันหลังส่วนเอวและก้นกบ การงอกของกระดูกที่สร้างขึ้นใหม่ตรงรูที่เส้นประสาทออกมา โรคโพรงกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบตีบแคบมักมีรายงานบ่อยในสุนัขพันธุ์เยอรมันเชพเพิร์ด ซึ่งเป็นสุนัขที่นิยมนำมาฝึก เพื่อใช้งาน เช่น ใช้เป็นสุนัขตำรวจ หรือ สุนัขทหาร เป็นต้น ในประเทศไทยนอกจากสายพันธุ์ดังกล่าวยังสามารถพบได้ในสายพันธุ์อื่นได้อีก ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ บางแก้ว ดัลเมเชียน รวมทั้งพันธุ์ผสม เป็นต้น นอกจากนี้สามารถพบในสุนัขพันธุ์เล็กได้บ้าง เช่น พูเดิ้ล มินิเจอร์พินเชอร์ เป็นต้น หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้มักมาจากการที่สุนัขมีกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวอย่างหนัก เช่น การกระโดด การวิ่ง หรือ การฝึก เป็นต้น ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เหนี่ยวนำทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของข้อกระดูกเอวและก้นกบอย่างรุนแรงและเป็นประจำ […]

อ่านต่อ

การเลือกอาหารลูกสุนัข เพื่อให้แข็งแรงและสุขภาพดี

การดูแลลูกสุนัขที่เข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ของบ้าน มีหลายเรื่องที่พ่อแม่มือใหม่ต้องเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การปรับตัวเข้ากับบ้านใหม่ การดูแลสุขภาพลูกสุนัขในเบื้องต้น หรือแม้แต่เรื่องการฉีดวัคซีน แต่สิ่งที่สำคัญอันดับต้น ๆ ในการดูแลลูกสุนัขนั้น น่าจะเป็นเรื่อง การเลือกอาหารลูกสุนัข ให้เหมาะสม หลาย ๆ บ้านอาจจะคุ้นชินกับการให้อาหารคนกับสุนัขของเรา ทั้งข้าวคลุก หมูปิ้ง ตับย่าง ไก่ย่าง และอื่น ๆ แต่คุณรู้หรือไม่ว่า อาหารเหล่านั้น เป็นอาหารที่ไม่เพียงพอต่อการส่งเสริมพัฒนาการของลูกสุนัข ดังนั้นเราจึงต้องให้ความสำคัญ ในการให้อาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัยของการเจริญเติบโตของลูกสุนัข การเลือกอาหารลูกสุนัข แม้จะดูเป็นเรื่องง่าย เพียงแค่เลือก อาหารสูตรลูกสุนัข ก็เพียงพอ แต่จริง ๆ แล้ว มีรายละเอียดที่สำคัญกว่านั้น เพราะ ในแต่ละช่วงอายุของลูกสุนัขจะมีพัฒนาการ และความต้องการของสารอาหารที่ต่างกันออกไป เราจึงต้องเลือกอาหารที่มีปริมาณสารอาหารตามความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตที่แข็งแรงและเหมาะสม ลูกสุนัขมีการเติบโตเป็น 2 ช่วง ลูกสุนัขจะมีการเจริญเติบโตในช่วงก่อนโตเต็มวัยแบ่งเป็น 2 ช่วงด้วยกัน ในช่วงแรกเป็นช่วงที่ลูกสุนัขจะโตเร็วมากในระยะเวลาอันสั้น คือ ช่วงประมาณแรกเกิดถึง 4 เดือนแรก และช่วงที่ 2 คือ หลัง 4 […]

อ่านต่อ

ประโยชน์ของ “พรีไบโอติก” ต่อทางเดินอาหารของสุนัข

เชื่อว่าทุกคนคงคุ้นเคยกับนมเปรี้ยว หรือโยเกิร์ตหลากหลายยี่ห้อที่บรรยายสรรพคุณถึงจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เช่น แลคโตบาซิลัส และคงจะสงสัยว่าจุลินทรีย์เหล่านั้นทำงาน ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร ทำไมเราถึงต้องรับประทานนมเปรี้ยวกันด้วย แท้จริงแล้วไม่ใช่แค่ร่างกายมนุษย์เท่านั้นที่มีจุลินทรีย์เหล่านี้ ในร่างกายของสัตว์เลี้ยงของเราไม่ว่าจะเป็นสุนัข แมว หรือสัตว์อื่น ๆ จุลินทรีย์เหล่านี้ก็มีบทบาทสำคัญมากเช่นเดียวกัน การศึกษาพบว่ามีจุลินทรีย์จำนวนมากมายในร่างกายของสุนัข โดยจริง ๆ แล้วจำนวนของพวกมันมากกว่าจำนวนเซลล์ของตัวสุนัขเองถึง 10 เท่าเลยด้วยซ้ำ และจุลินทรีย์เหล่านี้มีอยู่ในแทบทุกระบบของร่างกาย ทั้งบนผิวหนัง ทางเดินปัสสาวะ หรือ ทางเดินอาหาร จุลินทรีย์เหล่านี้มีปฏิสัมพันธ์กับเซลล์ของสุนัขหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบพึ่งพาอาศัยกัน หรืออยู่แล้วก่อโรค ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อและปริมาณของเชื้อ โดยส่วนใหญ่มักจะก่อประโยชน์หากมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม ตัวอย่างที่น่าจะคุ้นเคยกันมากที่สุดน่าจะเป็น จุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร เพราะเป็นประชากรหลักของจุลินทรีย์ในร่างกาย การที่เรากินโยเกิร์ตเข้าไป ก็เพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีต่อลำไส้ และช่วยลดสัดส่วนของจุลินทรีย์ก่อโรคให้น้อยลง โดยจุลินทรีย์ที่ดีเหล่านี้จะช่วยเรื่องการนำสารอาหารไปใช้ การทำงานของทางเดินอาหารและระบบภูมิคุ้มกันของทางเดินอาหารด้วย เช่นจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนสารอาหารบางอย่างให้กลายเป็นกรดไขมันสายสั้น ๆ (short-chain fatty acid; SCFA) เพื่อเป็นอาหารให้กับเยื่อบุผนังลำไส้ และตัวลำไส้เองก็จะผลิตเมือกเพื่อเป็นอาหารให้กับจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ เรียกว่าเป็นความสัมพันธ์ที่ได้ประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่ายนั่นเอง ที่น่าสนใจก็คือ จุลินทรีย์ในลำไส้ของกลุ่มสุนัขที่แข็งแรงปกติ และในกลุ่มที่เป็นโรคก็ยังมีความแตกต่างกันด้วย ดังนั้นในอาการป่วยบางอย่างในสุนัข เช่น ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ลำไส้อักเสบจากไวรัส โรคมะเร็ง […]

อ่านต่อ

ภาวะต่อมหมวกไตชั้นนอกทำงานมากกว่าปกติ หรือกลุ่มอาการคุชชิ่ง

ในการทำงานทางคลินิก เราพบว่า “ภาวะต่อมหมวกไตชั้นนอกทำงานมากกว่าปกติ” (Hyperadrenocorticism; ย่อว่า HAC) หรือ “กลุ่มอาการคุชชิ่ง (Cushing’s syndrome)” เป็นหนึ่งในโรคของต่อมไร้ท่อที่พบได้ค่อนข้างบ่อยในสุนัข แต่ก่อนที่จะไปรู้จัก ภาวะต่อมหมวกไตชั้นนอกทำงานมากกว่าปกติ หรือกลุ่มอาการคุชชิ่ง กันให้ลึกซึ้งมากขึ้นนั้น เรามาทำความรู้จักกับต่อมหมวกไตของสุนัขกันเสียก่อนดีกว่าครับ ว่ามีตำแหน่งอยู่ที่ใด และมีหน้าที่การทำงานอย่างไรบ้าง ต่อมหมวกไตหรือ adrenal gland เป็นต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) ที่มีตำแหน่งอยู่ในช่องท้องบริเวณเหนือไตทั้งสองข้าง ต่อมหมวกไตมีโครงสร้างสำคัญแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ก็คือ ต่อมหมวกไตชั้นนอก (adrenal cortex) และต่อมหมวกไตชั้นใน (adrenal medulla) ซึ่งแต่ละชั้นจะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่สำคัญหลายชนิดให้กับร่างกาย ฮอร์โมนที่สำคัญมากชนิดหนึ่งที่สร้างมาจากต่อมหมวกไตชั้นนอก คือ ฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) ซึ่งทำหน้าที่หลักในการควบคุมสมดุลต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเผาผลาญ (metabolism) ในร่างกาย ซึ่งการเผาผลาญที่เกิดขึ้นจากอิทธิพลการทำงานของฮอร์โมนคอร์ติซอลนี้ จะเป็นกระบวนการที่สำคัญมากอย่างหนึ่งที่ร่างกายใช้ในการรับมือกับความเครียด (stress) ในสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความเครียดที่มีอิทธิพลเหนี่ยวนำจากสภาพแวดล้อม ความเครียดจากการอยู่รวมฝูง หรือแม้แต่ความเครียดที่เกิดขึ้นจากอาการป่วยต่าง ๆ ในร่างกาย […]

อ่านต่อ
โรคข้อเสื่อม

โรคข้อเสื่อม (Degenerative Joint Disease : DJD)

โรคข้อเสื่อม (osteoarthritis; OA, degenerative joint disease : DJD) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดความผิดปกติกับข้อต่อที่มีเยื่อบุข้อ (synovial joint) เป็นภาวะการเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ รวมทั้งมีการเสื่อมของเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง ได้แก่ เยื่อหุ้มข้อต่อ (synovium) กล้ามเนื้อ (muscle) ถุงหุ้มข้อต่อ (joint capsule) กระดูกที่อยู่ใต้กระดูกอ่อน (subchondral bone) เอ็นยึดกระดูก (ligament) และเอ็นยึดกล้ามเนื้อ (tendon) นอกจากนี้จะพบการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี (biochemistry) และเมแทบอลิซึม (metabolism) ของ กระดูกอ่อนผิวข้อ ซึ่งความผิดปกติที่กล่าวมานั้น ในที่สุดจะส่งผลทำให้สัตว์เกิดอาการเจ็บปวดบริเวณข้อต่อและไม่ใช้ขา สุนัขที่ข้ออักเสบมักมีสาเหตุมาจากโรคข้อเสื่อมแสดงให้เห็นว่าข้อเสื่อมเป็นสาเหตุของโรคที่เกี่ยวกับข้อที่พบมากที่สุด โรคกระดูกและข้ออักเสบ (osteoarthritis) หรือ โรคข้อเสื่อม (degenerative joint disease) เป็นภาวะที่เกิดจากการเสื่อมอย่างช้า ๆ ของกระดูกอ่อนที่หุ้มผิวกระดูกข้อต่อ (articular cartilage) และเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง ซึ่งความผิดปกติที่กล่าวมานั้นจะส่งผลทำให้สัตว์เกิดอาการปวดข้อ เคลื่อนไหวลำบาก คลำได้ ความรู้สึกมีการเสียดสี (crepitus) […]

อ่านต่อ

โรคผิวหนังเป็นยีสต์ในสุนัข (Canine Malassezia dermatitis)

สาเหตุ ปัจจุบันเมื่อพบว่ามีเชื้อยีสต์ (Malassezia) มีมากถึง 18 สปีชีส์ด้วยกัน โดย โรคผิวหนังเป็นยีสต์ในสุนัข มักเกิดจากการติดเชื้อยีสต์ที่ชื่อว่า Malassezia pachydermatis ซึ่งพบได้บ่อยในสุนัข ส่วนสปีชีส์อื่น ๆ พบได้ในปริมาณน้อยกว่า เช่น Malassezia nana ในช่องหู หรือ Malassezia slooffiae บริเวณร่องเล็บ โดยโรคผิวหนังเป็นยีสต์มักพบในสัตว์ที่มีผิวหนังเปียกชื้น อับชื้น ยีสต์เป็นเชื้อที่ฉวยโอกาส มักเกิดแทรกซ้อนในสัตว์ที่เป็นโรคผิวหนังแบบอื่นๆได้ง่าย สามารถเกิดจากพันธุกรรม และพบร่วมกันน้องหมาที่เป็นภูมิแพ้ผิวหนัง โดยสายพันธุ์ที่สุ่มเสี่ยง (Breed predisposition) และสุนัขที่มีโรคภูมิแพ้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดยีสต์ได้ นอกจากนี้ยังมีเคสที่เกิดแบบไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic) อีกด้วย ยีสต์ตัวนี้สามารถพบได้ในสุนัขปกติอยู่แล้วจำนวนน้อย จึงไม่สามารถก่อให้เกิดความผิดปกติของผิวหนังได้ หากมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น สายพันธุ์ ภาวะภูมิแพ้ อายุ พันธุกรรม การได้รับยากดภูมิคุ้มกันนานๆ ความอับชื้น และอื่นๆ อีกมากมาย ก็จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันที่ผิวหนังสุนัขไม่สามารถควบคุมเชื้อตัวนี้ได้ ทำให้เชื้อเพิ่มปริมาณมากขึ้นและก่อให้เกิดโรคตามมาได้ สายพันธุ์ที่สุ่มเสี่ยง (Breed predisposition) – Basset […]

อ่านต่อ
คาวาเลียร์ คิง ชาลส์ สแปเนียล

คาวาเลียร์ คิง ชาลส์ สแปเนียล (Cavalier King Charles Spaniel) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สายพันธุ์ คาวาเลียร์ คิง ชาลส์ สแปเนียล (Cavalier King Charles Spaniel) เป็นสายพันธุ์สุนัขที่เก่าแก่ ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศข้างเคียง เริ่มแรกสุนัขพันธุ์นี้รู้จักในชื่อ comforter spaniels ซึ่งเป็นสุนัขขนาดเล็กสามารถพาไปข้างนอกได้สะดวก คริสต์ศตวรรษที่ 16 สุนัขสายพันธุ์นี้ได้ปรากฏบนภาพพระฉายาลักษณ์ของกษัตริย์ คิง ชาร์ลส์ที่ 2 แห่งสหราชอณาจักร ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่า พระองค์นั้นหลงใหลในสุนัขพันธุ์นี้เป็นอย่างมาก ถึงกับมอบพระนามให้ชื่อของพันธุ์นี้ โดยกษัตริย์นั้นอนุญาตให้พวกมันเดินไปมาไหนก็ได้ในราชวัง รวมถึงรัฐสภาด้วย ดังนั้นพวกมันจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นสุนัขชั้นสูง เป็นเครื่องประดับของชนชั้นสูงในสมัยนั้น พวกมันได้รับความนิยมอย่างอย่างต่อเนื่องในประเทษอังกฤษ รวมถึงในราชวงศ์ด้วย ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ขุนนางราชสกุลมาร์ลบะระแห่งอังกฤษที่มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิกับเชื้อพระวงศ์ ได้พัฒนาสายพันธุ์จนเกิดสีที่หลากหลาย และได้รับความนิยมในชนชั้นสูง ต่อมาได้มีการนำพวกมันไปผสมข้ามสายพันธุ์ จนเกิดเป็นคิง ชาลส์ สแปเนียล ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และเป็นที่รู้จักมาจนถึงปัจจุบัน และได้ขึ้นทะเบียนในระบบ AKC ในช่วงปี 1996 ลักษณะทางกายภาพ สุนัขพันธุ์ คาวาเลียร์ คิง ชาลส์ สแปเนียล เป็นสุนัขขนนุ่ม บริเวณลำตัวและหูขนยาวปานกลาง […]

อ่านต่อ

โรคกระดูกคอเสื่อมทับเส้นประสาทในสุนัข (Wobbler Syndrome)

โรคกระดูกคอเสื่อมทับเส้นประสาทในสุนัข (Cervical Spondylomyeloathy หรือ Wobbler syndrome) เป็นความผิดปกติของกระดูกสันหลังส่วนคอ โดยมีลักษณะเฉพาะของโรค คือ เกิดการเคลื่อนของกระดูกคอร่วมกับโครงสร้างรอบ ๆ กระดูกคอไปกดทับเส้นประสาทไขสันหลัง โดยมีลักษณะจำเพาะ คือ เป็นการเคลื่อนกดทับแบบไดนามิค (dynamic compression) เช่น เมื่อเงยคอจะทบการกดทับเส้นประสาทอย่างรุนแรง แต่พอก้มคอจะพบการกดทับนั้นลดลง เป็นต้น โรคกระดูกคอเสื่อมทับเส้นประสาทในสุนัข มักพบในสุนัขพันธุ์ใหญ่ โดยสุนัขพันธุ์ใหญ่มีโอกาสในการเกิดการกดทับของไขสันหลัง (spinal cord) และปมรากประสาท (spinal nerve root) ได้ง่าย ส่งผลให้ระบบการทำงานของกระแสประสาทที่บริเวณดังกล่าวถูกรบกวนหรือทำให้เกิดความเจ็บปวดในตำแหน่งที่เกิดการกดทับได้ โดยเฉลี่ยประมาณ 50% ของสุนัขที่ป่วยโรคนี้พบว่ามักเป็นสุนัขพันธุ์โดเบอร์แมนพินเชอร์ (Doberman pinschers) นอกจากนี้ยังสามารถพบได้บ่อยในสุนัขพันธุ์ไวมาราเนอร์ (Weimaraner) เกรทเดน (Great Dane) ร็อตไวเลอร์ (Rottweiler) และดัลเมเชี่ยน (Dalmation) แม้ความผิดปกติดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้บ่อยในบางสายพันธุ์ที่กล่าวมา แต่สายพันธุ์อื่น ๆ ก็สามารถเกิดขึ้นได้ รวมถึงสุนัขพันธุ์เล็กเช่นกัน สาเหตุการเกิด สาเหตุของการเกิดสามารถแบ่งออกได้ 4 สาเหตุ […]

อ่านต่อ

แจ็ค รัสเซลล์ เทอร์เรีย (Jack Russell Terrier) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ แจ็ค รัสเซลล์ เทอร์เรีย (Jack Russell Terrier) คาดว่ามีต้นกำเนิดมากจากประเทศอังกฤษ ในช่วงปี 1800 โดยนักเพาะพันธุ์สุนัขที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นที่ชื่อว่า Parson John Russell เพื่อใช้ในการล่าสุนัขจิ้งจอก โดยคำว่า รัสเซล หมายถึง นักล่าจิ้งจอกตัวยง ในเวลาต่อมาด้วยรูปร่างที่ปราดเปรียว ว่องไว และรูปร่างกะทัดรัด จึงทำให้พวกมันเป็นสุนัขเลี้ยงที่โปรดปรานมากในหมู่นักกีฬา โดยเฉพาะนักกีฬาขี่ม้า และเป็นที่นิยมในอเมริกาในช่วงปี 1930 จากนั้นแจ็ค รัสเซลล์ เทอร์เรียจึงกลายมาเป็นสุนัขที่มีความนิยมอย่างต่อเนื่องอย่างที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ โดยไม่มีความเปลี่ยนแปลงจากต้นกำเนิดแม้จะผ่านมาแล้วกว่า 170 ปี นอกจากนี้ยังเชื่อว่า แจ็ค รัสเซล เทอร์เรีย เป็นต้นกำเนิดของสายพันธุ์อื่นอีก 3 สายพันธุ์ คือ พาร์สัน เทอร์เรีย (The Parson Terrier), รัสเซล เทอร์เรีย (Russell Terrier) และ แจ็ค รัสเซลเทอร์เรีย (Jack Russell Terrier) […]

อ่านต่อ

โดเบอร์แมน พินสเชอร์ (Doberman Pinscher) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ ต้นกำเนิดของสายพันธุ์ “โดเบอร์แมน พินสเชอร์” เริ่มต้นในศตวรรษที่ 19 ในประเทศเยอรมัน โดยนักเพาะพันธุ์สุนัขในสมัยนั้นชื่อว่า นาย “หลุยซ์ โดเบอร์แมน” (Louis Dobermann) จากเมือง Apolda ในขณะนั้นนายหลุยซ์มีอาชีพเป็นพนักงานเก็บภาษีแล้วต้องเดินทางไปหลายสถานที่ เขาจึงมักเลี้ยงสุนัขไว้ทำหน้าที่อารักขาและเป็นเพื่อนร่วมเดินทางขณะเดินทางไปสถานที่ต่าง ๆ แต่ก็ยังไม่มีใครทราบว่านายหลุยซ์นั้นทำการเพาะพันธุ์สายพันธุ์นี้อย่างไร นักประวัติศาสตร์บางคนได้เสนอว่าที่มาของ “โดเบอร์แมน” อาจมาจากการผสมข้ามสายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์แมนเชสเตอร์ เทอร์เรียร์ (Manchester Terrier) ร็อตไวเลอร์ (rottweiler) เยอรมัน ฟินสเชอร์ (German Pinscher) สุนัขพันธุ์โดเบอร์แมนรุ่นแรกมีใบหน้ากว้าง และมีมวลกระดูกมากกว่าเมื่อเทียบกับรุ่นหลัง ๆ และเมื่อเวลาผ่านไปผู้เพาะพันธุ์ได้พัฒนาให้มีลักษณะโครงสร้างที่ทันสมัยเหมือนที่เห็นในปัจจุบัน สุนัขพันธุ์นี้เริ่มได้รับความนิยมในช่วงปี 1899 และสุนัขโดเบอร์แมนตัวแรกถูกนำเข้าไปในอเมริกาในปี 1908 และเป็นปีเดียวกันที่พบว่ามีการจดบันทึกสายพันธุ์ในสมาคม AKC (America Kennel Club) ในช่วงศตวรรษที่ 20 พวกมันถูกใช้ในการรบควบคู่กับนาวิกโยธินในการรบในมหาสมุทรแปซิฟิกช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในฐานะสหายคู่ใจที่แน่วแน่และกล้าหาญ เมื่อเวลาผ่านไปหลายครอบครัวในสหรัฐอเมริกาเริ่มเห็นว่าสุนัขพันธุ์นี้สามารถทำให้เกิดเป็นตระกูลใหญ่ได้ ต่อมาสายพันธุ์โดเบอร์แมนได้รับความนิยมอย่างมาก มักนิยมให้ทำหน้าที่เป็นสุนัขตำรวจ รวมถึงสุนัขกู้ภัย […]

อ่านต่อ