Cat Zone

มดลูกอักเสบ (pyometra) ความผิดปกติของสุนัขและแมวเพศเมีย

สำหรับผู้เลี้ยงสุนัขและแมวเพศเมีย สิ่งที่ต้องเข้าใจเขาอีกส่วนคือเรื่องของระบบสืบพันธุ์เพศเมีย ตั้งแต่เรื่องวงรอบการเป็นสัด การตั้งท้อง การเลี้ยงลูก โดยทาง บ้านและสวน Pets ได้มีบทความบอกเล่าไปบ้างแล้ว วันนี้เรามาเพิ่มเติมส่วนของความผิดปกติของเพศเมีย อย่าง มดลูกอักเสบ แบบผู้หญิง ๆ กันค่ะ มดลูก (uterus) ก่อนเข้าสู่เรื่องความผิดปกติของ มดลูกอักเสบ หมอต้องขออธิบายโครงสร้างของมดลูกให้เห็นภาพคร่าว ๆ กันก่อนค่ะ โดยมดลูกนั้นเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศเมีย ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ปีกมดลูก (uterine horn) ตัวมดลูก (uterine body) และปากมดลูก (uterine cervix) ปีกมดลูกมี 2 ข้าง ข้างซ้ายและข้างขวาต่อจากรังไข่และท่อนำไข่ เชื่อมรวมกันที่ตัวมดลูก และมีปากมดลูกเป็นส่วนเชื่อมต่อสู่ช่องคลอด สาเหตุ มดลูกอักเสบ (pyometra) ทุกอวัยวะของร่างกายมีความผิดปกติเกิดขึ้นได้เสมอ…มดลูกก็เช่นกันค่ะปัญหาส่วนมากที่พบ คือ โรคมดลูกอักเสบแบบมีหนอง บางครั้งอาจถูกเรียกสั้นลงว่า “มดลูกอักเสบ” หรือ ภาษาทางการแพทย์เรียกว่า “pyometra” เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ทั้งในสุนัขและแมว สาเหตุการเกิดนั้นมักประกอบด้วยหลายปัจจัยดังนี้ […]

อ่านต่อ

โรคลมชักในสุนัขและแมว (epilepsy)

โรคลมชักในสุนัขและแมว หรือ epilepsy เป็นโรคที่เกิดจากการที่มีคลื่นไฟฟ้าในสมองผิดปกติ หรืออาจเรียกได้ว่าเกิดไฟฟ้ารั่วในสมอง ทำให้เกิดอาการชัก (seizure) ให้เห็น โดยสามารถพบได้ทั้งในสุนัขและแมว ซึ่งอาการ หรือ โรคลมชักในสุนัขและแมว อาจจะพบเห็นได้หลายแบบ ได้แก่ พบเพียงครั้งเดียวแล้วหายไป (isolated seizure) เกิดการชักซ้ำภายใน 24 ชั่วโมง (cluster seizure) หรือเกิดการชักต่อเนื่องไม่หยุด (status epilepticus) ซึ่งการชักต่อเนื่องไม่หยุดนี้ ถือเป็นภาวะฉุกเฉินต้องรีบแก้ไขและรีบพาสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์โดยด่วน จุดกำเนิดของไฟฟ้ารั่วหรือจุดลมชัก เรียกว่า seizure focus ชนิดของอาการโรคลมชัก 1. การชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (Generalized epilepsy) เป็นการชักที่เกิดขึ้นจากการที่มีการกระจายตัวของกระแสไฟฟ้าที่รั่วไปทั่วทั้งสมอง ทำให้สุนัขแสดงอาการแบบชักเกร็งกระตุกทั้งตัว อาจพบอาการเหยียดเกร็งแหงนคอ (รูปที่ 1) ร่วมกับอาการตะกรุยขาทั้ง 4 ข้าง อาจพบอาการน้ำลายไหล ปัสสาวะหรืออุจจาระราด รวมทั้งสามารถพบอาการร้องครางขณะชักร่วมด้วย บางครั้งจะพบอาการกัดลิ้นได้บ้างเช่นเดียวกับการชักในคน พบอาการได้ตั้งแต่เพียงแค่ไม่กี่วินาทีจนถึงหลายนาทีได้ การชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัวจะพบการสูญเสียระดับความรู้สึกตัวร่วมด้วย บางครั้งสุนัขหรือแมวสามารถพบอาการก่อนจะมีอาการชักได้ เช่น เดินวน กระวนกระวาย ร้อง […]

อ่านต่อ
การทำหมันสุนัขและแมว

ข้อดีและข้อเสียของการ ทำหมันสุนัข และแมว

การควบคุมจำนวนสัตว์เลี้ยง การทำหมันสุนัขและแมว โดยการผ่าตัด เป็นวิธีที่สัตวแพทย์แนะนำ เนื่องจากเป็นวิธีคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพถาวร

อ่านต่อ

เมื่อสุนัขหรือแมวจมูกแห้ง แปลว่าป่วยจริงหรือไม่?

ผู้เลี้ยงสุนัขและแมวส่วนใหญ่มักจะเคยได้ยินมาว่า ความชื้นหรือแห้งของจมูกนั้น สามารถบอกถึงการเจ็บป่วยของสัตว์เลี้ยงได้ และบางครั้งเวลาที่เราเห็น สุนัข หรือ แมวจมูกแห้ง ผิดปกติ ก็อาจจะรู้สึกกังวลว่า ตอนนี้สัตว์เลี้ยงของเรากำลังป่วยอยู่หรือเปล่า หมาจมูกแห้ง บ้านและสวน Pets คงต้องขอเล่าว่าตามหลักกายวิภาคศาสตร์แล้ว จมูกสุนัขและแมวจะประกอบด้วย รูจมูก (Nares) ขีดแบ่งแยกตรงกลาง (Philtrum) และ พื้นผิวด้านบนปลายจมูกซึ่งเป็นตรงส่วนที่ไม่มีขน (Nasal planum) ซึ่งตรงส่วนที่เรียกว่า Nasal planum นี่ละคือส่วนที่เราสังเกตได้ว่า สุนัข หรือ แมวจมูกแห้ง อยู่หรือไม่ ปกติแล้วหน้าที่หลักของจมูก คือ การดมกลิ่น ซึ่งจมูกสุนัขสามารถรับกลิ่นได้ดีกว่ามนุษย์ถึงพันเท่า ส่วนอีกหน้าที่สำคัญสำหรับจมูกในสุนัขและแมว คือ การระบายความร้อน โดยบริเวณจมูกและฝ่าเท้าของสุนัขและแมวจะมีต่อมเหงื่อ (Eccrine sweat glands) ซึ่งเป็นต่อมเหงื่อที่มีลักษณะเป็นท่อเปิดออกบนพื้นผิวของผิวหนัง ทำให้สามารถขับน้ำออกมาได้ แต่การระบายความร้อนวิธีนี้ไม่ใช่วิธีหลักที่ร่างกายของสุนัขและแมวใช้ เพราะ การระบายความร้อนของสุนัขและแมวจะระบายออกจะใช้วิธีการการหายใจมากกว่า ซึ่งแตกต่างจากมนุษย์ที่มีต่อมเหงื่ออยู่ที่บริเวณผิวหนัง มีงานวิจัยที่ทดลองเทียบคุณสมบัติของเหงื่อมนุษย์และสุนัขแล้วพบว่า เหงื่อของมนุษย์และสุนัขมีความคล้ายคลึงกันอย่างมาก เนื่องจากมีองค์ประกอบของน้ำที่คล้าย ๆ กัน แต่ด้วยปริมาณต่อมเหงื่อของสัตว์ที่น้อยกว่ามนุษย์ ทำให้เราไม่เห็นเม็ดเหงื่อที่ชัดเจนเหมือนในมนุษย์หรืออาจทำให้ดูว่าแห้งได้ […]

อ่านต่อ

ประเภท และ ความสำคัญของการฉีดวัคซีนในสัตว์เลี้ยง

หากสุนัข หรือแมวที่เราเลี้ยงอยู่ในบ้านตลอด ไม่เคยได้ออกไปไหน หรือที่ทุกคนเรียก การดูแลแบบนี้ว่า “ระบบปิด” หรือแบบ Indoor ยังจะจำเป็นต้องให้น้อง ๆ ได้รับการฉีดวัคซีน หรือไม่ คุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครองของน้อง ๆ หลายท่านคงเคยมีความสงสัยกันว่า การฉีดวัคซีนในลูกขนปุยของเราจำเป็นจะต้องทำไหม ควรจะทำแบบไหน เมื่อไหร่บ้าง ถึงจะดีกับลูก ๆ ของเรามาที่สุด วันนี้ บ้านและสวน Pets มาไขข้อข้องใจกับประเภท วิธีการ และ ความสำคัญของการฉีดวัคซีนในสัตว์เลี้ยง กันค่ะ ต้องบอกตามตรงว่า การฉีดวัคซีนใน สุนัข และแมว รวมถึงสัตว์พิเศษบางชนิด (Exotic pet) นั้น มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะโรคร้ายแรงบางโรคหากติดแล้วอาจจะไม่มีทางรักษาให้หายได้ บางโรคก่อความผิดปกติ อาการรุนแรง รักษาได้ยากถึงแม้จะใช้ยา และนวัตกรรมที่ดีที่สุด ก็ทำได้อย่างยากลำบาก และอาจจะพรากชีวิตสมาชิกที่เรารักไปอย่างรวดเร็ว โดยโรคร้ายแรงเหล่านั้นล้วนประกอบอยู่ในวัคซีนป้องกันโรคหลัก ที่น้องหมา น้องแมวควรได้รับ นอกจากนี้โรคบางอย่างนอกจากจะเป็นอันตรายต่อตัวน้อง ๆ เองแล้ว ยังสามารถส่งผ่าน ติดต่อมายังคน […]

อ่านต่อ

โรคระบบทางเดินหายใจผิดปกติของสุนัขและแมวพันธุ์หน้าสั้น

โรคระบบทางเดินหายใจผิดปกติของสุนัขและแมวพันธุ์หน้าสั้น (Brachycephalic syndrome) เป็นกลุ่มโรคของสุนัขและแมวที่มีจมูกสั้น เกิดปัญหาที่บริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น (Upper airway abnormalities) โดยการตั้งชื่อ โรคระบบทางเดินหายใจผิดปกติของสุนัขและแมวพันธุ์หน้าสั้น หรือ Brachycephalic syndrome มาจาก Brachy หมายถึงสั้น และ Cephalic หมายถึงส่วนหัว เนื่องจากมีลักษณะกะโหลกศีรษะขนาดใหญ่แต่สั้นแบน ทำให้โครงสร้างของหน้า จมูก และปากสั้น นอกจากนี้ยังสามารถเรียกชื่อโรคทางภาษาอังกฤษได้อีกหลายแบบ ได้แก่ Brachycephalic respiratory syndrome, Brachycephalic airway obstructive syndrome หรือ Congenital obstructive upper airway disease เป็นต้น องค์ประกอบของการเกิดโรค Brachycephalic syndrome เกิดจากความผิดปกติจากหลายองค์ประกอบ  สามารถพบความผิดปกติได้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเกิดความผิดปกติร่วมกัน ซึ่งจะทำให้การหายใจเข้าไปยังปอดเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยลักษณะความผิดปกติที่สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวสัตว์ได้ มีดังนี้ ความผิดปกติที่สามารถพบได้บ่อยในสุนัขและแมวพันธุ์หน้าสั้น รูจมูกตีบแคบ (Stenotic nares) เป็นการเจริญผิดปกติของรูจมูก ทำให้มีรูแคบหรือยุบแฟบเข้าไปเมื่อหายใจเข้า ทำให้สัตว์หายใจติดขัดเนื่องจากมีปัญหารูจมูกตีบแคบ เพดานอ่อนยาวกว่าปกติ […]

อ่านต่อ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับสัตว์เลี้ยง (First aid)

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับสัตว์เลี้ยง คือ การดูแลเมื่อสัตว์มีอาการป่วย หรือบาดเจ็บ โดยไม่จำเป็นต้องมีสัตวแพทย์อยู่ แต่ควรจะรู้จักคลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์ที่ใกล้ที่พักและเวลาเปิด-ปิด แต่ที่สำคัญที่สุด คือ เจ้าของจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับสัตว์เลี้ยง เพื่อลดความเจ็บปวดและลดความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์ วิธีการนำสัตว์เลี้ยงมายังโรงพยาบาล หลังจาก การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับสัตว์เลี้ยง ควรพาสัตว์เลี้ยงไปยังโรงพยาบาล เพื่อรักษาอาการอย่างถูกต้อง ด้วยภาชนะที่นำสัตว์ที่เหมาะสม เช่น • สุนัขพันธุ์เล็ก หรือแมว ให้ใส่กระเป๋า หรือกล่องกระดาษแข็ง• สุนัขพันธุ์ใหญ่ สามารถใช้เปลหาม หรือจูงสัตว์มา หากสุนัขยังสามารถเดินได้ โดยเคลื่อนย้ายอย่างระมัดระวัง และจับสัตว์เลี้ยงอย่างระมัดระวัง เพราะเมื่อสัตว์อยู่ในภาวะเครียด จะทำให้สัตว์เลี้ยงแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวได้• ใช้อุปกรณ์ในการช่วยจับบังคับสัตว์ เพื่อป้องกันสัตว์กัดเจ้าของ เช่น ที่ปิดปากสัตว์ (Muzzling), การใช้ผ้าห่อตัวสัตว์ (Wrapping), การทำให้สัตว์นอนอยู่กับที่ (Immobilizing) ภาวะฉุกเฉินที่สามารถพบได้บ่อย  1.การได้รับสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นจากการกิน การหายใจเข้าไป หรือการสัมผัสกับผิวหนังโดยตรงจากสารเคมีชนิดต่าง ๆ เช่น สารเคมีในครัวเรือน, ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด, ยาตามใบสั่งแพทย์, สารกำจัดหนู หรือ อาหารที่เป็นพิษต่อสัตว์ (ช็อคโกแลต) อันตรายจากช็อคโกแลต […]

อ่านต่อ

7 พืชผักสมุนไพร ยาธรรมชาติสำหรับสัตว์เลี้ยง

ขึ้นชื่อว่าสมุนไพร ต่างก็ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ หรือมีสรรพคุณทางยาที่ช่วยในการบำรุงรักษา ไม่ว่าจะต่อมนุษย์ หรือ สัตว์เลี้ยงเองก็ตาม โดยเฉพาะสำหรับสัตว์เลี้ยงที่เราไม่ควรใช้ยาของคน อย่าง พาราเซตามอล ยาแก้ปวด ยาแก้แพ้ ในการเยียวยาหรือรักษา เพราะ อาจทำให้เกิดอันตรายตามมาได้ วันนี้ บ้านและสวน Pets จึงมีอีกหนึ่งทางเลือก อย่าง พืชผักสมุนไพร ยาธรรมชาติสำหรับสัตว์เลี้ยง มาแนะนำกันค่ะ แต่ทั้งนี้ผู้เลี้ยงควรปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนทุกครั้ง ในทุกกรณี เพื่อกำหนดปริมาณที่เหมาะสม และป้องกันการเกิดอาการแพ้ หรืออันตรายด้วยนะคะ 1.สะระแหน่ (Mint) ชื่อวิทยาศาสตร์: Mentha cordifolia Opizวงศ์: Lamiaceae (Labiatae) เป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม ช่วยบรรเทาอาการระบบทางเดินอาหาร ลดอาการอาเจียน ช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ ปั่นป่วน อาการเมารถ สำหรับน้องแมวยังช่วยละลายเสมหะ ลดน้ำมูก และช่วยให้รู้สึกสดชื่น อารมณ์ดีได้อีกด้วย ซึ่งถ้าหากเลือกใช้เป็นประเภทน้ำมันหอมระเหยต้องเลือกเป็นเกรดที่สามารถทานได้ นอกจากนี้ยังควรใช้ในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะการใช้ในปริมาณที่สูงเกินไปก็อาจมีผลกระทบต่อตับ หรือไตได้เช่นกันนะคะ 2.อบเชย (cinnamon) ชื่อวิทยาศาสตร์: Cinnamomum verumวงศ์: Lauraceae […]

อ่านต่อ

โรคเส้นเลือดลัดข้ามตับ (Portosystemic shunts : PSS)

กายวิภาคปกติคือ เส้นเลือดดำ portal (portal vascular system) ซึ่งรับเลือดจากทางเดินอาหาร เช่น ม้าม ตับอ่อน และระบบทางเดินอาหาร ทั้งหมดจะมุ่งหน้าเข้าสู่ตับ เพื่อให้ตับทำหน้าที่ในการเผาผลาญสารอาหาร (Metabolize) และกำจัดสารพิษ (Detoxify) ก่อนจะระบายเลือดสู่เส้นเดือดดำ hepatic (hepatic vein) ซึ่งจะต่อกับเส้นเลือดดำ vena cava (รูปที่ 1 A) แต่หากเกิดการลัดเส้นทางเดินของหลอดเลือดจากทางเดินอาหารเข้าตับ จะทำให้ตับขาดการพัฒนาตัวตับเอง เป็นผลทำให้เกิดตับล้มเหลว (Failure of the liver) หรือเกิดตับฝ่อ (Hepatic atrophy) ซึ่งการเกิดตับฝ่อ คือการที่ตับไม่สามารถทำงานได้ดีเหมือนปกติ ความผิดปกตินี้ส่งผลทำให้ร่างกายได้รับสารพิษ, โปรตีน, และสารอาหารที่ถูกดูดซึม จากลำไส้เข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือดภายในร่างกายทันที หากมีการสะสมมากขึ้น จะก่อตัวเป็นสารพิษนำไปสู่การเกิดโรคสมองจากตับได้ (Hepatic encephalopathy) ทำให้เกิดความผิดปกติขึ้นที่ระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system) โรคเส้นเลือดลัดข้ามตับ โรคเส้นเลือดลัดข้ามตับ Portosystemic shunt (PSS) […]

อ่านต่อ
การฝังเข็มสัตว์เลี้ยง

8 สิ่งที่ควรรู้ก่อนรักษาด้วยศาสตร์ การฝังเข็มสัตว์เลี้ยง

ในปัจจุบันการรักษาด้วยแพทย์ทางเลือกเริ่มเป็นที่นิยมและมีความต้องการมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากการรักษาอาการป่วยต่างๆ ในคน ไม่ว่าจะเป็น การใช้สมุนไพร การฝังเข็ม ครอบแก้ว หรือ แม้แต่การนวดกดจุด เพื่อบำบัดอาการต่างๆ จนเหมือนจะกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว ซึ่งวิธีการรักษาทางเลือกนี้ ก็สามารถใช้ในสัตว์เลี้ยงได้เช่นเดียวกัน เพียงแต่ยังคงจำกัดในวงแคบๆ อยู่ วันนี้ บ้านและสวน Pets จะมาอธิบาย เรื่อง การฝังเข็มสัตว์เลี้ยง ให้เข้าใจง่ายที่สุดกันครับ 1.ที่มาของการฝังเข็มในสัตว์เลี้ยง ประเทศจีนเป็นต้นกำเนิดของการฝังเข็ม โดยมีการขุดพบหลักฐานช่วงยุคหินใหม่ อายุไม่ต่ำกว่าสี่พันปีซึ่งเป็นเครื่องมือที่ถือว่าเก่าแก่ที่สุด ทำมาจากหินที่ถูกปรับแต่งให้บางและเล็กลง เพื่อนำมาใช้รักษาโรค เราเรียกเครื่องมือชนิดนี้ว่า “เปี่ยนสือ” ต่อมาก็มีพัฒนาการทำเข็ม มาจากวัสดุพวก กระดูก ไม้ไผ่ ทองแดง เหล็ก ทองคำ และ เงิน นอกจากนี้ ยังมีตำราการแพทย์ที่เก่าแก่ที่สุดและตกทอดมาในยุคปัจจุบัน คือ ตำราหวงตีเน่ยจิง ซึ่งเป็นการรวบรวมทฎษฎีทางการแพทย์และการรักษาโรคต่างๆ เอาไว้อย่างครบครัน รวมถึงศาสตร์ของการฝังเข็ม อีกทั้งหมอยังมีตำนานบทหนึ่งเกี่ยวกับหมอฝังเข็มที่เล่าต่อกันมา นามว่า “มาซือหวง” มาเล่าให้ฟัง โดยมาซือหวงหรือหมอฝังเข็มท่านนี้เป็นหมอที่มีความสามารถเก่งกาจในการรักษาม้าด้วยสมุนไพรจนชื่อเสียงระบือไปไกล ไปถึงหูของเทพพระเจ้ามังกร ซึ่งประจวบเหมาะพอดีที่ตอนนั้นเทพพระเจ้ามังกรกำลังป่วย ท่านจึงได้บินลงมาหามาซือหวง เพื่อทำการรักษา จากนั้นเมื่อมาซือหวงได้มอบสมุนไพร่ให้แก่เทพมังกรและรักษาอาการจนหายเป็นปกติแล้ว […]

อ่านต่อ
แมวตัวเมียติดสัตว์, แมวตัวเมีย, ติดสัด, แมวตัวผู้, แมวติดสัด

แมวตัวเมียติดสัตว์ มีอาการ และวงรอบอย่างไร

แมวตัวเมียติดสัตว์ หรือที่ถูกต้องคือ ติดสัด เป็นพฤติกรรมเริ่มต้นของวงรอบการผสมพันธุ์ ในแมว และสัตว์เลี้ยง วงรอบติดสัดของแมวและสุนัข มีความแตกต่างกันกันอย่างไร ไปติดตามกันเลยค่ะ แมวตัวเมียติดสัตว์ เป็นอย่างไร เป็นคำถามยอดฮิตที่เหล่าพ่อแม่มือใหม่สอบถามกันเข้ามาอยู่เรื่อย ๆ เลยค่ะ จริงแล้วคำว่า ติดสัตว์ หรือที่ถูกต้องคือ ติดสัด เป็นพฤติกรรมการสืบพันธุ์ที่เกิดขึ้นเป็นปกติเมื่อสัตว์เลี้ยงเติบโตถึงวัยเจริญพันธุ์ เพื่อทำความเข้าใจกับเรื่องนี้มากขึ้น บ้านและสวน Pets จะให้คุณหมอมาอธิบายให้ฟังกันค่ะ วงรอบสัดของแมว แมวเพศเมียจะเริ่มแสดงอาการเป็นสัด (แมวตัวเมียติดสัตว์) เมื่ออายุประมาณ 4-10 เดือน  โดยมีปัจจัยอื่นร่วมด้วย ได้แก่ น้ำหนักตัว สายพันธุ์ (แมวขนยาวหรือขนสั้น) และแสงแดด ส่วนเรื่องน้ำหนักตัว ใช้ในการประเมินเรื่องความสมบูรณ์ของร่างกายที่โตเต็มที่ และไม่ผอมจนเกินไป  เนื่องจากฮอร์โมนเพศที่ควบคุมพฤติกรรมการสืบพันธุ์ สร้างมาจากไขมันประเภทโคเลสเตอรอล  ถ้าอายุถึงเกณฑ์แต่สัตว์ผอมมาก ระดับไขมันที่ขาดพร่องอาจมีผลต่อการสร้างอนุพันธ์ต่าง ๆ ของฮอร์โมนเพศที่น้อยลงด้วย  สัตว์ที่ผอมจึงมักจะแสดงอาการสัดช้า ส่วนเรื่องของสายพันธุ์แมวขนสั้นหรือขนยาว  พบว่า แมวกลุ่มขนสั้นจะเป็นสัดแรกได้เร็วกว่ากลุ่มแมวขนยาว และปัจจัยสุดท้ายที่สำคัญต่อวงรอบสัดในแมวมาก คือ แสง  เนื่องจากแสงเป็นปัจจัยการกระตุ้นการทำงานของระบบฮอร์โมนเพศในแมว  ความเข้มแสงที่เพียงพอและยาวนานกว่า 14 ชั่วโมงต่อวัน  […]

อ่านต่อ

ภาวะโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะของสุนัขและแมว

โรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะพบได้มากทั้งในสุนัขและแมว โดยนิ่วเกิดจากการสะสมรวมกันของตะกอนแร่-ธาตุในทางเดินปัสสาวะ ไม่ว่าจะเป็นที่ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ หรือท่อปัสสาวะ สำหรับ ภาวะโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะของสุนัขและแมว ปัจจุบันมีการแบ่งชนิดของนิ่วตามองค์ประกอบแร่ธาตุของนิ่วชนิดนั้น ๆ โดยนิ่วที่พบมีทั้งหมด 8 ชนิด ได้แก่ 1. Magnesium ammonium phosphate(แมกนีเซียมแอมโมเนียมฟอสเฟตหรืออีกชื่อเรียกว่า struvite (สตรู-ไวท์) หรือ MAP)2. Calcium oxalate (แคลเซียมออกซาเลต) หรือ CaOx3. Urate (ยูเรต)4. Cystine (ซีสทีน)5. Calcium phosphate (แคลเซียมฟอสเฟต) หรือ CaPo6. Silica (ซิลิกา)7. Compound8. Mixed แต่จะพบว่ามี 2 ชนิดที่พบได้บ่อยในสุนัขและแมว คือ MAP และ CaOx ซึ่งมีอัตราการกลับมาเป็นซ้ำสูง สาเหตุการเกิดภาวะโรคนิ่ว การเกิดนิ่วมีหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น สายพันธุ์ อายุ เพศ อาหาร […]

อ่านต่อ