Pet Health

แมวเครียด จะแสดงอาการอย่างไร

เมื่อเผชิญภาวะคับขัน หรือสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด แมวมักจะแสดงถึงความเครียดออกมา โดยแสดง อาการนั่งหมอบ ตัวสั่น ส่งเสียงขู่ฟู่ หายใจเร็ว และเก็บขา

อ่านต่อ
โรคไข้หัดแมว, อาการโรคไข้หัดแมว, แมวซึมและอาเจียน

แมวซึมและอาเจียน อาการเบื้องต้นของโรคไข้หัดแมว

แมวซึมและอาเจียน ร่วมกับอาการเบื่ออาหาร มีไข้ ท้องเสีย และถ่ายเป็นมูกเลือดมีกลิ่นคาว แมวอาจเกิดเป็นโรคไข้หัดแมว

อ่านต่อ

ดูเพศแมว อย่างไรให้ชัวร์

ดูเพศแมว อย่างไร เมื่อคุณพบลูกแมวจรหลงทางอยู่ข้างทาง หรือเพิ่งรับลูกแมวตัวใหม่เข้าบ้าน สิ่งแรกที่ทาสแมวมือใหม่มักตั้งคำถาม แมวตัวนั้นเพศอะไร

อ่านต่อ
แมวดมอาหารแต่ไม่ยอมกิน, โรคช่องปากในแมว, โรคช่องปากอักเสบในแมว, โรคแมว, โรคเหงือกอักเสบ, โรคช่องปากอักเสบ

แมวดมอาหารแต่ไม่ยอมกิน อาจเกิดจากโรคเรื้อรังในช่องปาก

แมวดมอาหารแต่ไม่ยอมกิน กินอาหารลดลง มีกลิ่นปาก และน้ำลายไหลมากกว่าปกติ อาจเกิดจาก

อ่านต่อ
โรคไตวายในแมว

โรคไตวายในแมว กับ 6 คำถามยอดฮิต

โรคไตวายในแมว หลายคนคงเคยได้ยิน และอาจมีความกังวลว่าจะเกิดขึ้นกับเจ้าเหมียวสุดรักของตนหรือไม่ จะต้องระวัง หรือ มีวิธีป้องกันอย่างไร วันนี้ บ้านและสวน Pets มี 6 คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับโรคไตวายในเจ้าเหมียวมาฝากกัน คำถามที่ 1 : โรคไตวายในแมวส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุใด และ สถิติการเกิดโรค โรคไตวายในแมว หมายถึง ความผิดปกติของการทำหน้าที่ของไต ซึ่งโรคไตวายในแมว สามารถแบ่งได้ตามระยะการเกิดโรคเป็น 2 ประเภท คือ ไตวายเฉียบพลัน ซึ่งเกิดจากการทำหน้าที่ของไตลดลงอย่างทันทีทันใด เกิดได้หลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อในร่างกาย การได้รับสารพิษ การอุดตันในระบบทางเดินปัสสาวะ การขาดเลือดไปเลี้ยงไตอย่างเฉียบพลัน เป็นต้น ส่วนไตวายเรื้อรัง คือพบการทำหน้าที่ของไตลดลงทีละน้อย เป็นระยะเวลานาน สาเหตุเกิดได้จาก โรคทางกรรมพันธุ์ , ความเสื่อมของไตตามอายุ , การได้รับโภชนาการที่ไม่เหมาะสม , ความดันโลหิตสูง เป็นต้น โรคไตวายเป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในแมวสูงอายุ ที่อายุมากกว่า 10 ปี อุบัติการณ์ของโรคสูงถึง 7.5% จากในบางรายงานภาวะไตวายในสัตว์เลี้ยง (Kidney […]

อ่านต่อ
แมวมีสิวใต้คาง

สิวใต้คางแมว และโคนหางเหนียว เกิดจากอะไร (Feline chin acne and stud tail)

สิวใต้คางแมว และ โคนหางเหนียว ๆ เป็นปัญหาผิวหนังที่พบได้บ่อยในน้องแมว ซึ่งเกิดจากการทำงานมากไปของต่อมไขมัน ทำให้ที่บริเวณนั้นมีคราบมันเยิ้ม หรือมีเศษสีดำเยิ้มออกมา สิวใต้คางแมว จะทำให้บริเวณคางของแมวมีคราบมันเยิ้ม หรืออาจจะเป็นเศษสีดำเยิ้ม ๆ ซึ่งจะมักจะถูกเรียกว่าสิวใต้คาง (Chin acne) ส่วนบริเวณโคนหางนั้น ก็เกิดจากการทำงานมากไปของต่อมไขมันบริเวณหางเช่นกัน จึงเกิดเป็นคราบเยิ้ม ๆ สีน้ำตาล ไปจนถึงสีดำ มีชื่อเรียกว่า Stud tail (หางสตั๊ด หรือ หางเหนียว) ในแมวเพศผู้ที่ยังไม่ได้ทำหมัน จะพบปัญหานี้ค่อนข้างมาก เนื่องจากการผลิตสารของต่อมไขมัน มีความสัมพันธ์กับอิทธิพลของฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรนในแมวเพศผู้ แต่ในส่วนของแมวเพศผู้ที่ทำหมันแล้ว และแมวเพศเมียก็สามารถพบ Stud tail ได้เช่นกัน ข้อดีและข้อเสียของ การทำหมันสุนัขและแมว มาทำความรู้จักกับต่อมไขมันในผิวหนังของแมว (Sebaceous glands) ในชั้นผิวหนังของแมว จะมีต่อมอยู่ 2 ชนิด คือ ต่อมไขมัน และ ต่อมเหงื่อ ต่อมไขมันมีความเกี่ยวข้องกับบริเวณรูขุมขน จะผลิตสารคัดหลั่งที่สำคัญ คือ ซีบัม (Sebum) ซึ่งช่วยกันน้ำให้กับเส้นขน และ […]

อ่านต่อ
hairball

ก้อนขน (Hairball) เกิดจากอะไร ปัญหาที่ทาสแมวต้องรู้

พฤติกรรมการเลียขนของแมวทำให้แมวกลืนกินขนเข้าไปในทางเดินอาหาร และเกิดการสะสมของขนในกระเพาะ และลำไส้ เนื่องจากขนไม่สามารถย่อยได้ ในแมวจึงจะพบการอาเจียน หรือ ขย้อน ก้อนขน ออกมา และขนยังสามารถถูกขับออกมากับอุจจาระได้อีกด้วย แมวเป็นสัตว์ที่มีพฤติกรรมการเลียขนเพื่อการแต่งตัว ทำความสะอาดขนของตัวเอง รวมถึงกำจัดขนที่หลุดอยู่บนตัวออก และหากบ้านไหนเลี้ยงน้องแมวมากกว่า 1 ตัว นอกจากจะเลียแต่งตัวเองแล้ว ยังมีการเลียขนให้แมวตัวอื่น ๆ ในบ้านด้วย ซึ่งเป็นพฤติกรรมการสื่อสารแสดงความรัก และความผูกพันระหว่างแมวด้วยกัน ซึ่งการอาเจียนหรือขย้อนเป็นการขับ ก้อนขน ที่สามารถพบได้เป็นครั้งคราวได้ แต่ถ้าหากอาเจียนเป็นก้อนขน บ่อยขึ้น เช่น ทุกวัน หรือวันละหลายครั้ง หรือทำท่าพยายามจะขย้อนแต่ไม่มีอะไรออกมา ร่วมกับแมวมีอาการซึม เบื่ออาหาร อาจเป็นสัญญาณที่บ่งความผิดปกติ และถ้าก้อนขนนั้นไม่สามารถถูกกำจัดโดยการอาเจียน หรือออกมากับอุจจาระ มันจะสามารถทำให้เกิดการอุดตันทั้งแบบสมบูรณ์ และไม่สมบูรณ์ในลำไส้ได้ สามารถติดอยู่ในหลอดอาหาร หรืออาจจะเข้าสู่บริเวณคอหอยร่วมจมูกได้ด้วย ในแมวบางรายอาจจะมีสาเหตุอื่นร่วมที่ทำให้เกิดการเลียขนที่มากเกินกว่าปกติ เช่น มีปัญหาโรคผิวหนัง มีความเครียดวิตกกังวล มีปัญหาเกี่ยวกับสภาวะทางจิตใจทำให้เกิดการเลียขนมากกว่าปกติ มีปัญหาการเลียขนที่มากเกินไปจากภาวะความเจ็บปวด เป็นต้น หรือในแมวบางตัวการเลียขนอยู่ในระดับปกติแต่มีความผิดปกติของการบีบตัวการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร โรคอักเสบเรื้อรังของกระเพาะและลำไส้ เช่น Inflammatory bowel disease อาจจะมีผลต่อการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารที่ผิดปกติ และเกิดการสะสมของขนในระบบทางเดินอาหารได้ […]

อ่านต่อ
Stem cell Therapy

การรักษาโดยใช้เซลล์ต้นกำเนิดในสัตว์เลี้ยง (Stem cell therapy)

Stem cell therapy หมายถึง การรักษาโดยการใช้เซลล์ต้นกำเนิด หรือ สเต็มเซลล์ในการรักษาโรค เซลล์ต้นกำเนิด คือเซลล์ที่มีศักยภาพที่จะแบ่งตัวและพัฒนาไปเป็นเซลล์ชนิดอื่น ๆ ได้เพื่อใช้ในการทดแทน และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอหรือเสื่อมได้ สาขาวิชาที่ศึกษาการใช้เซลล์ต้นกำเนิดในการรักษาเรียกว่า เวชศาสตร์ฟื้นฟูสภาวะเสื่อม (Regenerative Medicine) คือ การรักษาแขนงใหม่ที่มุ่งเน้นการทดแทน การซ่อมเสริม การฟื้นฟูเซลล์ เนื้อเยื่อ หรืออวัยวะที่เสื่อมถอย หรือได้รับบาดเจ็บทั้งจากความแก่ตามธรรมชาติ และโรคภัยไข้เจ็บโดยการใช้เซลล์ต้นกำเนิด อวัยวะที่เสื่อมสภาพจากโรคและความชรา ในทุก ๆวัน ร่างกายจะมีการตายของเซลล์เกิดขึ้น เช่น เม็ดเลือดแดงที่มีอายุเพียง 120 วันในคนและสุนัข สำหรับแมวเม็ดเลือดแดงมีอายุ 65 วัน ในคนและสัตว์ที่มีอายุน้อยเซลล์ต้นกำเนิดก็จะสามารถแบ่งตัวมาทดแทนเซลล์ที่ตายเหล่านี้ได้ แต่เมื่อมีอายุมากขึ้น ปริมาณเซลล์ต้นกำเนิดที่มีอยู่ก็จะน้อยลง หรือมีการเสื่อมสภาพไปเช่นเดียวกันกับผู้เป็นเจ้าของ ผลที่เกิดขึ้นก็คือ ความเสื่อมในทุกอวัยวะและโรคในผู้สูงอายุและสัตว์สูงวัยเนื่องจากปราศจากการซ่อมแซมจากเซลล์ต้นกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ การรักษาโดยเซลล์ต้นกำเนิดในมนุษย์ได้มีตั้งแต่ปี 1950-1970 โดยเป็นการศึกษาการเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก การศึกษาการใช้เซลล์ต้นกำเนิดในสัตว์ก็เริ่มต้นในช่วงเวลาเดียวกัน การรักษาโดยเซลล์ต้นกำเนิดเชิงพาณิชย์ในสัตวแพทย์เริ่มต้นมามากกว่า 15 ปีที่แล้วในต่างประเทศ จากวันนั้นถึงวันนี้บริษัท พรีซีชั่น เวท จำกัด ห้องแลปเซลล์ต้นกำเนิดของสัตวแพทย์ไทย ได้ถือกำเนิดขึ้นทำให้สัตวแพทย์ในประเทศไทยสามารถใช้เซลล์ต้นกำเนิดในการรักษาควบคู่กับการรักษาแผนปัจจุบันที่ทำอยู่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาสูงสุด ดังนั้นวันนี้คุณหมอจะมาทำการรีวิวให้ผู้อ่านรู้จักกับการใช้เซลล์ต้นเนิดในสัตว์เลี้ยงในต้นทศวรรษ […]

อ่านต่อ
โรคเชื้อราสปอโรทริโคซิส

โรคเชื้อราสปอโรทริโคซิส ในแมว(Sporothricosis)

ในช่วงนี้เราอาจจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับโรคเชื้อราผิวหนังชนิดหนึ่งในแมว ที่สามารถติดต่อสู่คนได้ นั่นก็คือ โรคเชื้อราสปอโรทริโคซิส เกิดจากเชื้อราที่ชื่อว่า Sporothrix schenkii Sporothrix schenkii เป็นเชื้อราที่พบอาศัยในตามธรรมชาติ เช่น ดิน พืช เปลือกไม้ ซึ่งพบการกระจายอยู่ในทั่วโลก เชื้อราชนิดนี้หากติดเชื้อเข้าสู่ผิวหนังของแมวจะติดสู่ผิวหนังชั้นลึก ลักษณะรอยโรคของ โรคเชื้อราสปอโรทริโคซิส มีก้อนตามผิวหนัง และปะทุแตกออกเป็นแผลหลุม ความสำคัญในด้านระบาดวิทยา เชื้อรากลุ่มนี้เป็นเชื้อราที่สามารถติดต่อจากแมวสู่แมว และติดต่อจากแมวสู่คนได้ ซึ่งมีรายงานการพบการระบาดในต่างประเทศมาก่อน เช่น มาเลเซียมีรายงานพบการระบาดจากแมวสู่คน สำหรับข้อมูลการระบาดของเชื้อรานี้ในสัตว์ในประเทศไทยยังมีข้อมูลรายงานไม่มาก โดยในปี พศ.2561 มีงานวิจัยรายงานการพบโรคเชื้อราสปอโรทริโคซิสในแมวที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย แมวติดเชื้อราสปอโรทริโคซิสจากที่ไหนและอาการที่พบจะเป็นอย่างไร? การติดเชื้อเกิดจากแมวได้รับเชื้อรา Sporothrix ผ่านทางผิวหนังที่มีบาดแผล จากในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติที่มีเชื้อรานี้อาศัยอยู่ เช่น ในดิน หรือ หนามไม้ ทิ่มแทงที่ผิวหนังจนเกิดบาดแผล การติดเชื้อราเข้าสู่ชั้นผิวหนังก่อให้เกิดลักษณะรอยโรคเป็นตุ่ม หรือ ก้อนกระจายตามผิวหนัง สามารถพบได้ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า หัว และขาของแมว มักจะเป็นตำแหน่งที่พบบ่อยสุด รอยโรคที่เป็นก้อนจะพบการอักเสบและเกิดการประทุแตกออกเป็นแผลหลุมและอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยได้ เชื้อราชนิดนี้สามารถพบการติดเชื้อไปยังระบบอื่น ๆ ในร่างกาย เช่น ต่อมน้ำเหลือง ระบบทางเดินหายใจ […]

อ่านต่อ

โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ หรือ โรคไทรอยด์ฮอร์โมนสูงในแมว (Feline Hyperthyroidism)

โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ ในแมว (Feline Hyperthyroidism) เป็นความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อในแมว โดยต่อมไทรอยด์จะหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากกว่าปกติ โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ เกิดมาจาก ต่อมไทรอยด์ที่เป็นอวัยวะที่อยู่บริเวณลำคอ มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ที่มีบทบาทสำคัญ ต่อการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย รวมไปถึงมีหน้าที่ในการควบคุมพลังงาน และ มีผลต่อการทำงานในอวัยวะต่าง ๆ ที่สำคัญในร่างกายของแมว เช่น หัวใจ สมอง ระบบทางเดินอาหาร ระบบกล้ามเนื้อ เป็นต้น โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ มักพบในแมววัยกลางจนถึงแมวสูงอายุ ช่วงอายุที่มีรายงานในการตรวจพบคือ ตั้งแต่ 4 -22 ปี แต่โดยส่วนมากค่าเฉลี่ยมักจะพบที่อายุมากกว่า 10 ปี โดยโรคนี้สามารถเกิดได้กับแมวทุกเพศ และ ทุกสายพันธุ์ อาการของโรคไฮเปอร์ไทรอยด์ อาการที่เราสามารถสังเกตได้จากภายนอก เช่น น้ำหนักลดลง ถึงแม้จะมีความอยากอาหารอยู่ หรือ สามารถยังกินอาหารได้ปกติ มีการกินจุมากขึ้น ปัสสาวะบ่อย กินน้ำบ่อย ขนหยาบกร้าน มีการเคลื่อนไหวมาก (Hyperactivity) อาเจียน ถ่ายเหลว เป็นต้น ส่วนอาการอื่น ๆ ที่พบตามมาได้ เช่น เบื่ออาหาร […]

อ่านต่อ
โรคขี้แมว

โรคขี้แมว หรือ โรคท็อกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis)

โรคขี้แมว (Toxoplasmosis) เป็นโรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน(Zoonosis) ที่สำคัญ เกิดจากติดเชื้อโปรโตซัวที่ชื่อว่า Toxoplasma gondii เชื้อมีวงจรชีวิตที่สามารถเจริญเติบโตได้ในสัตว์เลือดอุ่นทุกชนิด แต่แมวนั้นจัดเป็นโฮสต์แท้ เชื้อจะอาศัยทางเดินอาหารของแมวในการเจริญเติบโตจนสมบูรณ์และปล่อยไข่ (Oocyst) ปนออกมากับอุจจาระของแมว แมวที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการพบเชื้อ โรคขี้แมว นี้ คือ แมวเลี้ยงระบบเปิด มีพฤติกรรมล่ากินเหยื่อ เช่น หนู นก หรือแมว กินเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก แต่ถ้าหากเป็นแมวที่เลี้ยงระบบปิด และไม่กินเนื้อดิบ หรือกินหนู นกต่างๆ โอกาสพบเชื้อจะค่อนข้างน้อยมาก หรือไม่มีเลย การติดต่อสู่คนของเชื้อนี้มีได้ 3 ทาง1.การรับประทานอาหาร หรือ ดื่มน้ำที่มีไข่ ที่เจริญเต็มที่แล้วปนเปื้อนอยู่2.การรับประทานถุงซีสต์ของพยาธิ ที่อยู่ในเนื้อสัตว์ดิบ ปรุงไม่สุก ที่มีเชื้อโรคขี้แมวนี้อยู่3.ผ่านทางรกไปยังทารก หากแม่ติดเชื้อขณะตั้งครรภ์ โดยที่จริงแล้ว รายงานคนที่เลี้ยงแมวติด โรคขี้แมว นี้จากแมวโดยตรงนั้นอุบัติการณ์น้อย การติดต่อทางหลักของโรคนี้ในแมวมักเกิดจากการที่กินเนื้อสัตว์เช่นเนื้อหมู เนื้อวัว ที่มีเชื้อปนเปื้อนและปรุงไม่สุก หรือปรุงสุกๆดิบๆ เป็นต้น ข้อควรเข้าใจคือโรคนี้ไม่ได้เกิดกับคนที่ตั้งครรภ์ทุกคน   สำหรับคนตั้งครรภ์ ถ้าหากติดเชื้อ โรคขี้แมว เชื้อโรคจะผ่านรกไปยังทารก และทำให้เกิดโรคขี้แมวแต่กำเนิดได้ […]

อ่านต่อ
หวัดแมว

โรคหวัดแมว หรือ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนต้นในแมว (Cat flu)

โรคหวัดแมว เมื่อได้ยินแล้วหลายคนอาจคิดว่า เป็นโรคธรรมดาที่ไม่น่ากลัว คล้ายกับคนที่เป็นหวัด ไม่นานก็หาย แต่!! จริงๆแล้ว โรคหวัดแมวนั้นมีความอันตรายต่อชีวิตของน้องแมวมากกว่าที่ทุกคนคิด โรคหวัดแมว เป็นโรคที่พบได้บ่อยในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นไวรัสจำเพาะในแมว ได้แก่ Feline Herpesvirus (FHV) , Feline Calicivirus (FCV) นอกจากนั้นยังมีเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย เช่น Bordetella bronchiseptica  , Chlamydia spp. , Mycoplasma spp. เป็นต้น การติดต่อ เกิดจากแมวที่ติดเชื้อ จะแพร่เชื้อผ่านทางสิ่งคัดหลั่งจากตา จมูก และปาก การแพร่กระจายของเชื้อเกิดได้จากการสัมผัสสิ่งคัดหลั่งของแมวที่ป่วยโดยตรง ซึ่งมักจะเป็นทางหลักในการติดต่อของโรค ส่วนการหายใจเอาเชื้อไวรัสจากสิ่งคัดหลั่ง หรือละอองหายใจเข้าไป ก็สามารถพบได้ โรคหวัดแมวพบได้บ่อยในบริเวณที่มีการเลี้ยงแมวจำนวนมาก หรืออยู่กันอย่างหนาแน่น ในกรณีที่แมวป่วย และหายจากโรคแล้วนั้น ยังสามารถเป็นพาหะนำโรคได้ต่อไป อาการของโรคหวัดแมว  ระยะฟักตัวของโรคหวัดแมว จะประมาณ 2 – 10 วัน แต่อาจจะนานได้ถึง 14 […]

อ่านต่อ