Pet Health

โรคตับอ่อนอักเสบ

โรคตับอ่อนอักเสบ ในแมว (Pancreatitis)

โรคตับอ่อนอักเสบ เป็นภาวะหนึ่งที่ฟังดูน่ากังวล และอาจจะเข้าใจได้ยาก วันนี้ บ้านและสวน Pets จะพามาความรู้จักกับโรคตับอ่อนอักเสบกันในบทความนี้ ตับอ่อน เป็นอวัยวะหนึ่งในช่องท้อง ที่มีบทบาทสำคัญ ในร่างกายหลายประการ ตำแหน่งของตับอ่อน จะอยู่ติดกับกระเพาะ และ ลำไส้เล็ก ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับ การสร้างเอ็นไซม์สำหรับการย่อยอาหาร และยังทำหน้าที่ผลิตอินซูลิน สำหรับควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โรคตับอ่อนอักเสบ เป็นโรคที่พบได้บ่อยในแมว นอกจากนั้น ยังพบได้ในคน และ สุนัขอีกด้วย โรคตับอ่อนอักเสบคืออะไร ? โรคตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis) เกิดจากตับอ่อนของแมว มีกระบวนการอักเสบเกิดขึ้น โดยในแมวส่วนใหญ่ ภาวะนี้มักเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่เรามักจะพบว่ามีความเกี่ยวข้องกับ การอักเสบของตับ และ ลำไส้ร่วมกัน (เรียกว่า Triaditis) พบได้บ่อยในแมววัยกลางคน ถึงแมวสูงอายุ เนื่องจาก ตับอ่อนสร้างเอ็นไซม์สำหรับย่อยอาหาร และ เมื่อตับอ่อนเกิดการอักเสบ เอ็นไซม์เหล่านี้ก็จะถูกปล่อยออกสู่ตับอ่อน และ เนื้อเยื่อรอบๆข้าง ซึ่งทำให้เกิดความเสียหาย และ ความเจ็บปวด ทำให้แมวมีอาการปวดเกร็งท้อง ในรายที่รุนแรง อาจทำให้เสียชีวิตได้ เนื่องจาก […]

อ่านต่อ
FLUTD ; feline lower urinary tract disease

แมวปัสสาวะไม่ออก เกิดจากสาเหตุอะไร?

กลุ่มอาการผิดปกติของระบบขับถ่ายปัสสาวะส่วนล่างในแมว (FLUTD ; feline lower urinary tract disease) เป็นกลุ่มอาการที่พบได้บ่อยในแมว อาการที่พบได้แก่ แมวปัสสาวะไม่ออก ปวดเบ่งเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะมีเลือดปน ใช้เวลาในการปัสสาวะนานกว่าปกติ เลียอวัยวะเพศบ่อยๆ ปัสสาวะผิดที่หรือปัสสาวะนอกกระบะทราย มีอาการปวดเกร็งบริเวณแถวช่องท้อง กลุ่มอาการนี้พบมากในแมวพันธุ์แท้ที่ขนยาว เช่น พันธุ์เปอร์เซีย พันธุ์ฮิมาลายัน ส่วนในแมวพันธุ์อื่น ๆ รวมถึงแมวไทย สามารถพบได้เช่นกัน ความผิดปกตินี้พบบ่อยในแมวที่มีช่วงอายุระหว่าง 2-6 ปี พบมากในแมวเพศผู้ที่ทำหมัน แมวที่มีน้ำหนักตัวมาก หรือ แมวอ้วน แมวที่ออกกำลังกายน้อย แมวที่กินอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ด แมวที่มีนิสัยกินน้ำน้อย แมวปัสสาวะไม่ออก สาเหตุที่ทำให้แมว เกิดความผิดปกตินั้นพบว่าเกิดได้จากหลายสาเหตุ คือ 1. ความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง ที่ไม่ทราบสาเหตุ (Feline Idiopathic Cystitis : FIC) ซึ่งพบได้บ่อยมากในแมว  แมวจะมีอาการ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น แต่เมื่อตรวจแล้วไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าเกิดจากสาเหตุใด ปัจจัยโน้มนำที่ทำให้เกิดคือ ความเครียด และ […]

อ่านต่อ
โรคที่เกี่ยวกับจอประสาทตาในสุนัข

โรคที่เกี่ยวกับจอประสาทตาในสุนัข (Retinal Diseases)

จอประสาทตา หรือ Retina เป็นอวัยวะที่มีลักษณะเป็นแผ่นโปร่งแสงอยู่ที่ด้านหลังสุดของดวงตา มีเซลล์จอตา (photoreceptors) ทำหน้าที่รับและรวมแสงส่งไปยังสมอง เพื่อแปลผลกลับมาเป็นภาพให้เรามองเห็น ซึ่งเซลล์จอประสาทตาแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เซลล์จอตารูปแท่ง (rod photoreceptors) ทำงานได้ดีในสภาวะแสงน้อยหรือในที่มืด และเซลล์จอตารูปกรวย (cone photoreceptors) ทำงานได้ดีในสภาวะที่มีแสงสว่างหรือช่วงเวลากลางวัน ทำให้ โรคที่เกี่ยวกับจอประสาทตาในสุนัข มีผลอย่างมากต่อการมองเห็น หรืออาจทำให้ต้องสูญเสียการมองเห็นไป โรคจอประสาทตาเสื่อมแบบเฉียบพลัน (Sudden Acquired Retinal Degeneration : SARD) ทําให้หมาสูญเสียการมองเห็นอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาไม่กี่วัน (ประมาณ 2-3 วัน จนถึงสัปดาห์) ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับดวงตาทั้งสองข้าง และพบได้ในน้องหมาทุกช่วงวัย แต่มีรายงานว่าพบได้บ่อยในช่วงกลางวัยของสุนัข ซึ่งสาเหตุของโรคนี้เรายังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบความสัมพันธ์กับภาวะฮอร์โมนต่อมหมวกไตเกินขนาด หรือ Cushing’s syndrome ในสุนัขบางราย จึงอาจทําให้น้องหมาบางตัวมีอาการกินน้ํามาก ปัสสาวะมาก และมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นร่วมด้วย สันนิษฐานว่าเกิดจากการหลั่ง steroid-like substance จึงไปสร้างความเป็นพิษต่อจอประสาทตา (Retinotoxic) โดยเข้าไปทําลายชั้นของเซลล์รับแสง ทั้งเซลล์รูปกรวยและเซลล์รูปแท่ง […]

อ่านต่อ

โรคเปลือกตาม้วนเข้า และม้วนออก (Entropion & Ectropion eyelids)

โรคเปลือกตาม้วนเข้าข้างใน (Entropion Eyelids) โรคเปลือกตาม้วนเข้า หรืออาการหนังตาม้วนเข้าในนั้น เกิดจากพันธุกรรม อาจเกิดกับตาข้างเดียว หรือทั้งสองข้าง พบได้ตั้งแต่ยังเป็นลูกสุนัข หรือมาพบเมื่อเริ่มมีอายุมากขึ้น และพบว่าโดยส่วนใหญ่แล้ว กลุ่มสุนัขพันธุ์หน้าสั้นจะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเกิดหนังตาม้วนเข้าหนังตาม้วนเข้า เพราะ สุนัขประเภทนี้จะมีผิวหนังขอบตาหนากว่าพันธุ์อื่น ๆ คือ ส่วนของเปลือกตาหดกลับ หรือพับเข้าด้านในของตา (โดนส่วนใหญ่จะเกิดที่เปลือกตาล่าง) ทําให้ขนตาแยงเข้าในลูกตา เกิดการระคายเคืองลูกตา และกระจกตาอักเสบ ประการหลังนี่มักเกิดจากการที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น แล้วมีการหนาตัวของผิวหนังบริเวณขอบตาเกิดขึ้นด้วย จึงมีโอกาสเกิดหนังตาม้วนเข้าได้ วิธีสังเกตอาการ กระจกตาอักเสบ ระคายเคืองตา ตาแดง น้ำตาไหลมากกว่าปกติ มีเมือก หรือหนองออกมาจากตา เนื่องจากหนังตาม้วนเข้าในสุนัขและแมว จะทําให้เกิดการระคายเคืองตา ทําให้แสดงอาการน้ำตาไหลมากกว่าปกติ ตาแดง หากเกิดหนังตาม้วนเข้าเป็นเวลานาน อาจทําให้เกิดตาเปลี่ยนสี กระจกตาอักเสบ รวมถึงเมื่อเกิดหนังตาม้วนเข้าอาจพบขี้ตาสีเขียว เมือก หรือหนองออกจากดวงตา การรักษาและวิธีการป้องกัน โรคเปลือกตาม้วนเข้า สามารถรักษาได้โดยการใช้ยาหยอดตา หรือครีม เพื่อลดอาการระคายเคือง การผ่าตัดขลิบเอาหนังตาออกบางส่วน โรคหนังตาม้วนเข้าในเป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากพันธุกรรมจึงไม่สามารถป้องกันได้ สุนัขพันธุ์เสี่ยง เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม Bulldog, Pug, Pekinese, American […]

อ่านต่อ
ไรขน

ไรขน (Cheyletiella) และ ไรในหู (Otodectes cynotis)

โรคไรขน ไรขน (Cheyletiella) อาศัยอยู่บนผิวหนังของแมวและสุนัข โดยจะเข้าทำลายด้วยการกัดกินผิวหนังชั้นเคราตินและกินของเหลวที่อยู่ภายในเนื้อเยื่อผิวชั้นบน ทำให้ผิวหนังระคายเคือง เกิดลักษณะของรังแค ขนร่วง และมีอาการคัน ไรชนิดนี้ยังสามารถพบได้ทั่วไปในกระต่ายและสายพันธุ์อื่น ๆ ด้วย ซึ่งมันสามารถติดต่อจากสัตว์สู่คนได้ โดยสามารถอยู่บนผิวของคนและทำให้เกิดผื่นคันได้อีกด้วย Cheyletiella มีหลายสายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์จะชอบ Host ที่แตกต่างชนิดกันออกไป ไรขนจะตัวเต็มวัยมีขนาด 0.385 มิลลิเมตร มีขา 4 คู่ มีกรงเล็บที่บริเวณขา มีรยางค์ส่วนปากคล้ายคลึงกับคีมหนีบ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวที่พบได้ในปรสิตชนิดนี้ ไรขนมักอาศัยอยู่ภายในผิวหนังชั้นเคราตินและพัฒนาตัวเองให้เข้าสู่ระยะตัวเต็มวัยและมีชีวิตอยู่รอดได้เพียง 10 วันเท่านั้น ลักษณะการเข้าทำลายของ ไรขน มักเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “รังแคเดินได้” เนื่องจากไรชนิดนี้จะเคลื่อนที่ไปมาใต้ชั้นเคราติน และผลักเศษผิวหนังขึ้นมา จึงทำให้ดูเหมือนว่ามีการเคลื่อนไหวของรังแค การวินิจฉัย สามารถสังเกตเห็นไรขนได้บ้างบนผิวหนัง มีลักษณะเหมือนรังแคที่กำลังเคลื่อนที่บนผิวหนัง สามารถเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาไรขี้เรื้อน โดยใช้สก็อตเทปแปะไปที่บนผิวหนังที่สงสัยหรือใช้หวีสาง และนำไปส่องกล้องจุลทรรศน์ เพื่อหาไรขน หรือไข่ของไรขน การรักษา มีทางเลือกหลายอย่างสำหรับการรักษา Cheyletiella โดยจะต้องรักษาทั้งตัวสัตว์และสภาพแวดล้อมภายในบ้าน เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ เช่น พื้นปูเตียง ของเล่น เป็นต้น […]

อ่านต่อ

โรคขี้เรื้อนแห้ง และขี้เรื้อนเปียกในสุนัข

โรคผิวหนังในสุนัขที่ทุกคนมักจะรู้จักกัน คงหนีไม่พ้นโรคขี้เรื้อน ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปโดยเฉพาะสุนัขจรจัดตามถนน เพราะ โรคขี้เรื้อนนี้เกิดจากปรสิตภายนอกที่สามารถติดต่อกันได้ในสุนัข โรคเรื้อนในสุนัข มีด้วยกัน 2 ประเภทได้แก่ โรคขี้เรื้อน แห้ง และขี้เรื้อนเปียก โดยเกิดจากปรสิตต่างชนิดกันดังนี้ โรคขี้เรื้อนแห้ง (Canine scabies) โรคขี้เรื้อนแห้งเกิดจาก Sarcoptes scabiei เป็นตัวไรขี้เรื้อนที่ทำเกิดอาการเกาคันอย่างรุนแรง เจ้าตัวไรขี้เรื้อนชนิดนี้ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อาศัยอยู่บนผิวหนังชั้นหนังกำพร้า โดยเจ้าไรที่ว่านี้สามารถสืบพันธุ์ออกไข่ ออกลูกหลานได้อีกมากมายเรียกว่าอาศัยอยู่บนผิวหนังสุนัขเป็นชุมชนกันเลยทีเดียวค่ะ บริเวณที่พบได้บ่อยคือขอบใบหู ใต้ท้อง ข้อศอกและข้อเท้าของขาหลังด้านนอก สุนัขจะคันมากและเกาจนผิวหนังอักเสบ คันจนไม่สามารถใช้ชีวิต หรือทำกิจกรรมในแต่ละวันได้อย่างปกติ ทำให้เกิดความเครียด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด บางตัวขนร่วง มีตุ่มแดง สะเก็ดรังแค (scale) เกิดคราบสะเก็ดแห้งกรัง (crust) หรือเกิดลักษณะผิวแห้งหนา (lichenification) ร่วมด้วย ในกรณีที่เลี้ยงสุนัขไว้หลายตัว ต้องพาสัตว์เลี้ยงที่มีอาการ โรคขี้เรื้อน ทุกตัวมารักษาด้วย เนื่องจากเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่าย ติดต่อกันได้ไวมาก มิเช่นนั้นจะทำให้เกิดปัญหาการป่วยวนเวียนอยู่ในฝูงสุนัขได้เรื่อย ๆ ที่สำคัญอาจจะมีอาการคันเกิดขึ้นได้กับเจ้าของเช่นกันนะคะ การวินิจฉัย สังเกตจากลักษณะผิวหนัง และเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาไรขี้เรื้อน […]

อ่านต่อ

ภาวะหลอดเลือดหัวใจเกิน Patent Ductus Arteriosus (PDA)

ภาวะหลอดเลือดหัวใจเกิน หรือ Patent Ductus Arteriosus (PDA) เกิดจากหลอดเลือดที่เชื่อมต่อระหว่างหลอดเลือดแดงเอออร์ตา (Aorta) กับหลอดเลือดแดงพัลโมนารี่ (Pulmonary artery) ไม่ปิดลง โดยความผิดปกตินี้เป็นความผิดปกติของเส้นเลือดตั้งแต่กำเนิด หลอดเลือดทั้งสองเส้นนี้ เป็นหลอดเลือดที่ส่งเลือดออกจากหัวใจ โดยภาวะการมีอยู่ของเส้นเลือด ductus arteriosus สามารถพบได้เป็นปกติเมื่อลูกสัตว์ยังอยู่ในครรภ์ ในขณะที่ปอดยังไม่ทำงาน (ยังไม่สามารถหายใจได้ด้วยตัวเอง) โดยสัตว์ที่อยู่ในครรภ์จะได้รับออกซิเจนผ่านทางรก ซึ่งมีหลอดเลือดดักตัสอาร์เทอริโอซัส (Ductus arteriosus) เป็นหลอดเลือดหลักในการนำเลือดจากหัวใจผ่านข้ามปอด (ซึ่งในขณะเป็นตัวอ่อนยังไม่ทำงาน) ไปยังหลอดเลือดแดง aorta ที่ส่งเลือดแดงไปเลี้ยงทั่วร่างกาย แต่ภายหลังการคลอด ปอดเริ่มมีการทำงานเส้นเลือดที่เป็นทางเชื่อมไปยังหลอดเลือดแดง aorta คือหลอดเลือด Ductus arteriosus เปิดอยู่ ไม่ฝ่อหายไป จึงเกิด ภาวะที่เรียกว่า Patent ductus arteriosus หรือ ภาวะหลอดเลือดหัวใจเกิน ภายหลังลูกสัตว์คลอดและมีการหายใจครั้งแรก หลอดเลือด Ductus arteriosus จะถูกกระตุ้นให้หลอดเลือดปิดลง โดยหลอดเลือดนี้ จะตีบลงกลายเป็นเอ็น (ligament) ที่ยึดหลอดเลือดทั้งสอง การปิดของหลอดเลือด Ductus […]

อ่านต่อ

โรคต่อมลูกหมากโต (Benign Prostatic Hyperplasia : BPH)

หากพบสุนัขเพศผู้มีอาการปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะบ่อย หรือเบ่งอุจจาระนานกว่าปกติ โรคสำคัญที่หมอมักจะต้องนึกถึงเป็นลำดับต้น ๆ ก็คือ “โรคต่อมลูกหมากโต” หรือ Benign Prostatic Hyperplasia (BPH) ซึ่งเป็นโรคที่มีความสำคัญทางระบบสืบพันธุ์ของผู้ชายและสัตว์เพศผู้เมื่ออายุมาก พบได้ในคน สุนัข และมีรายงานการเกิดโรคในลิงชิมแปนซี แต่ไม่พบโรคในแมว ต่อมลูกหมากของสุนัขจะทำหน้าที่ในการสร้างน้ำเลี้ยงเชื้อในการผสมพันธุ์ ต่อมจะมีรูปร่างกลมรีแบ่งเป็น 2 ก้อน ซ้ายและขวาอยู่ล้อมรอบบริเวณคอกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะส่วนต้น และอยู่ใต้ลำไส้ตรง ดังนั้น หากต่อมลูกหมากเกิดความผิดปกติมีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น โรคต่อมลูกหมากโต ถุงน้ำ หรือฝีหนองในต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมลูกหมากจะส่งผลต่อระบบขับถ่ายเป็นหลัก โรคต่อมลูกหมากโต พบได้ในสุนัขทุกพันธุ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ และอาจเรียกได้ว่าเป็นโรคของสุนัขแก่ เนื่องจากพบได้บ่อยในสุนัขเพศผู้อายุมากที่ยังไม่ได้ทำหมัน อุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้นตามอายุเช่นเดียวกับคน โดยผู้ชายอายุระหว่าง 60-70 ปี จะมีภาวะต่อมลูกหมากโตได้ร้อยละ 55 ส่วนในสุนัขอายุมากกว่า 5 ปี จะพบโรคได้มากกว่าร้อยละ 80 และมากกว่าร้อยละ 95 เมื่อสุนัขอายุ 9 ปี แต่สุนัขที่มีปัญหาต่อมลูกหมากโต อาจจะมีอาการป่วยหรือไม่ก็ได้ สาเหตุของโรคต่อมลูกหมากโต สาเหตุของโรคต่อมลูกหมากโตยังไม่ทราบอย่างแน่ชัด […]

อ่านต่อ
โรคต้อหิน

โรคต้อหิน (Glaucoma) จากความผิดปกติของความดันในลูกตา

โรคต้อหิน (Glaucoma) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของความดันในลูกตาที่เพิ่มสูงขึ้น ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นกับลูกตา ซึ่งโดยทั่วไปสุนัขจะมีความดันในลูกตาอยู่ระหว่าง 16-30 มิลลิเมตรปรอท หากเพิ่มสูงขึ้นจนถึง 60-70 มิลลิเมตรปรอท อาจทําให้สูญเสียการมองเห็นได้ เนื่องจากความดันลูกตาที่สูงมาก ๆ จะไปทําให้จอประสาทตาเสียหาย โรคต้อหิน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1. โรคต้อหินแบบปฐมภูมิ (Primary Glaucoma) เป็นโรคต้อหินที่เกิดขึ้นเอง ไม่ได้เกิดจากการเป็นโรคอย่างอื่นมาก่อน เช่น โรคต้อหินชนิดมุมเปิด ซึ่งเกิดจากการเสียสมดุลระหว่างการสร้างและการระบายออกของน้ําในลูกตา แต่มุม iridocorneal angle ยังคงเปิดอยู่ปกติ เมื่อมีการตีบแคบของท่อตะแคงที่เป็นทางระบายน้ำเลี้ยงภายในรูปตา ทําให้การระบายน้ำเลี้ยงภายในลูกตาลดลงในขณะที่การสร้างน้ำเลี้ยงภายในลูกตามีปริมาณเท่าเดิม ทําให้ความดันภายในลูกตาสูงขึ้นทีละน้อย เปรียบได้กับรูระบายน้ำที่มีตะไคร่น้ำ คอยต้านการระบายของน้ำ โรคต้อหินชนิดมุมปิด ซึ่งเป็นความผิดปกติในส่วนของโครงสร้าง ทําให้มุม iridocorneal angle แคบลง เมื่อมีการปิดกั้นทางออกของท่อน้ำเหลืองภายในลูกตาจากการที่ฐานม่านตามาปิดด้านหน้าทําให้น้ำเลี้ยงภายในลูกตาไม่สามารถระบายออกได้ หรือระบายออกทีละน้อย ดังนั้น น้ำเลี้ยงภายในลูกตาจากช่องหลังของโรคตาไม่สามารถผ่านรูม่านตาที่ช่องหน้าของลูกตาได้ตามปกติ น้ำเลี้ยงภายในลูกตาจะพยายามดันออกมาทางข้างหน้า ทําให้ม่านตาที่ถูกดันโป่งออกมาทางด้านหน้ามากขึ้น ส่งผลให้ช่องหน้าของลูกตาและมุมของม่านตาแคบลงอีก และมีการปิดกั้นทางออกของน้ำเลี้ยงภายในลูกตาเพิ่มขึ้น จึงทําให้ความดันภายในลูกตาสูงขึ้น หรือปิดไปเปรียบได้กับรูระบายน้ำที่คดงอผิดรูป ทําให้การระบายน้ำแย่ลง 2. โรคต้อหินทุติยภูมิ […]

อ่านต่อ

โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข และแมว

โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข และแมว เป็นภัยร้ายที่คร่าชีวิตสุนัขและแมวในบ้านเราได้อย่างต่อเนื่อง เพราะ พยาธิเม็ดเลือดถูกนำโดยเห็บหรือหมัด เมื่อสุนัขหรือแมวติดเห็บหรือหมัดมาจึงมีโอกาสสูงมากที่จะได้รับเชื้อ โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข ติดมาด้วย ถ้าตรวจพบเร็วอาการยังไม่รุนแรงมาก สามารถให้ยาได้ทันการณ์ก็สามารถหายขาดได้ แต่ถ้าอาการลุกลามไปมากแล้ว โอกาสในการช่วยชีวิตก็จะน้อยลงเรื่อย ๆ สาเหตุ พยาธิเม็ดเลือดเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เข้าไปบุกรุกเซลล์เม็ดเลือด ไม่ว่าจะเป็นเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว หรือเกล็ดเลือด จัดอยู่ในกลุ่มโปรโตซัว (Protozoa) หรือกลุ่มริกเกตเซีย (Rickettsia) มีหลายสปีชีส์ (Species) เช่น Babesia spp. Mycoplasma spp. Ehrlichia canis และ Hepatozoon spp. เป็นต้น แต่ละชนิดก็มีเซลล์เม็ดเลือดเป้าหมายที่แตกต่างกันไป แต่สิ่งที่เหมือนกันคือมีการถ่ายทอดเชื้อผ่านพาหะ (Vector) อย่างเห็บและหมัด เห็บหมัดจะดูดเลือดจากสุนัขหรือแมวที่มีพยาธิเม็ดเลือด ทำให้ได้รับตัวอ่อนของพยาธิเม็ดเลือดเข้ามาเจริญอยู่ในตัวเห็บหมัดนั้น ๆ พอเติบโตได้ระยะที่สามารถแพร่เชื้อได้ เมื่อเห็บหมัดไปดูดเลือดสุนัขหรือแมวอีกตัวหนึ่งก็เกิดการถ่ายทอดเชื้อจากเห็บหมัดไป ยังสุนัขหรือแมว พยาธิเม็ดเลือดจึงเข้าไปเจริญเติบโตเพิ่มจำนวน และทำลายเซลล์เม็ดเลือดในร่างกายของสุนัขและแมวได้ทำให้เกิดอาการป่วยด้วยโรคพยาธิเม็ดเลือดตามมา อาการ อาการเด่นชัดของโรคพยาธิเม็ดเลือด คือ ภาวะซีดจากการทำลายเม็ดเลือดแดงของพยาธิเม็ดเลือด เกิดภาวะโลหิตจาง เป็นอาการเด่นที่เจ้าของสามารถสังเกตได้เอง โดยดูจากสีของเยื่อเมือกบริเวณต่าง ๆ […]

อ่านต่อ
โรคหัวใจสุนัข

โรคหัวใจในสุนัข (Heart Disease)

โรคหัวใจในสุนัขมีการพัฒนาขึ้นในช่วงกลางๆ ชีวิต คือโรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลังมักเป็นในสุนัขที่มีอายุมาก

อ่านต่อ

โรคโพรงกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบตีบแคบ (DLSS)

โรคโพรงกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบตีบแคบ (Degenerative Lumbosacral Stenosis หรือ DLSS) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากการที่มีการเสื่อมของโครงสร้างรอบ ๆ โพรงกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบ ทำให้เกิดการตีบแคบจนเกิดการกดทับเส้นประสาทที่อยู่บริเวณนั้น อาการเด่นชัดของ โรคโพรงกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบตีบแคบ คือ จะพบอาการปวดที่บริเวณหลังด้านท้าย (Low Back Pain) ซึ่งพบได้บ่อยในสุนัขขนาดใหญ่และอายุมาก สาเหตุของการเกิดโรคมักจะมาจากหลากหลายความผิดปกติอาจเกิดจากสาเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน ได้แก่ การเกิดหมอนรองกระดูกเคลื่อนมากดทับเส้นประสาท cauda equina การบวมของเส้นเอ็นตรงรอยต่อกระดูกสันหลังส่วนเอวและก้นกบ การงอกของกระดูกที่สร้างขึ้นใหม่ตรงรูที่เส้นประสาทออกมา โรคโพรงกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบตีบแคบมักมีรายงานบ่อยในสุนัขพันธุ์เยอรมันเชพเพิร์ด ซึ่งเป็นสุนัขที่นิยมนำมาฝึก เพื่อใช้งาน เช่น ใช้เป็นสุนัขตำรวจ หรือ สุนัขทหาร เป็นต้น ในประเทศไทยนอกจากสายพันธุ์ดังกล่าวยังสามารถพบได้ในสายพันธุ์อื่นได้อีก ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ บางแก้ว ดัลเมเชียน รวมทั้งพันธุ์ผสม เป็นต้น นอกจากนี้สามารถพบในสุนัขพันธุ์เล็กได้บ้าง เช่น พูเดิ้ล มินิเจอร์พินเชอร์ เป็นต้น หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้มักมาจากการที่สุนัขมีกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวอย่างหนัก เช่น การกระโดด การวิ่ง หรือ การฝึก เป็นต้น ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เหนี่ยวนำทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของข้อกระดูกเอวและก้นกบอย่างรุนแรงและเป็นประจำ […]

อ่านต่อ