โรคหัวใจ
- Home
- โรคหัวใจ
แมวเป็นโรคหัวใจ มีอาการ และการรักษาอย่างไร
แมวเป็นโรคหัวใจ ได้เช่นเดียวกับสุนัข และสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ และนำไปสู่ความเจ็บป่วยอื่น ๆ ตามมา แมวเป็นโรคหัวใจ มีชื่อโรคในเชิงเทคนิคว่า cardiomyopathy เป็นโรคที่เกิดจาดการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ จึงทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายแมวได้น้อยลงตามไปด้วย เช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ๆ หัวใจของแมวแบ่งออกเป็น 4 ห้อง ได้แก่ ห้องบน 2 ห้อง และห้องล่าง 2 ห้อง ทั้งด้านซ้ายและขวา กล้ามเนื้อหัวใจเป็นกล้ามเนื้อชนิดพิเศษ ที่แตกต่างจากกล้ามเนื้อทั่วไป ดังนั้น ถ้ากล้ามเนื้อหัวใจมีความผิดปกติเกิดขึ้น เช่น กล้ามเนื้อหนาขึ้น หรือใหญ่ขึ้น ก็จะส่งผลให้การบีบตัว และการสูบฉีดเลือด ไม่เป็นไปตามปกติ เช่น ปริมาณเลือดที่ส่งไปยังปอด และอวัยวะต่าง ๆ ลดลง รวมไปถึงทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ และเกิดลิ่มเลือดได้ ประเภทของโรคหัวใจในแมว โรคหัวใจในแมวสามารถเกิดขึ้นได้จากความผิดปกติของหัวใจ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ การหดเกร็งของกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ ลิ้นหัวใจรั่ว หรือเกิดความผิดปกติร่วมกันจากอาการที่กล่าวมา 1. โรคหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิด โรคหัวที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิดมักเป็นภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ (hypertrophic […]
อ่านต่อภาวะหลอดเลือดหัวใจเกิน Patent Ductus Arteriosus (PDA)
ภาวะหลอดเลือดหัวใจเกิน หรือ Patent Ductus Arteriosus (PDA) เกิดจากหลอดเลือดที่เชื่อมต่อระหว่างหลอดเลือดแดงเอออร์ตา (Aorta) กับหลอดเลือดแดงพัลโมนารี่ (Pulmonary artery) ไม่ปิดลง โดยความผิดปกตินี้เป็นความผิดปกติของเส้นเลือดตั้งแต่กำเนิด หลอดเลือดทั้งสองเส้นนี้ เป็นหลอดเลือดที่ส่งเลือดออกจากหัวใจ โดยภาวะการมีอยู่ของเส้นเลือด ductus arteriosus สามารถพบได้เป็นปกติเมื่อลูกสัตว์ยังอยู่ในครรภ์ ในขณะที่ปอดยังไม่ทำงาน (ยังไม่สามารถหายใจได้ด้วยตัวเอง) โดยสัตว์ที่อยู่ในครรภ์จะได้รับออกซิเจนผ่านทางรก ซึ่งมีหลอดเลือดดักตัสอาร์เทอริโอซัส (Ductus arteriosus) เป็นหลอดเลือดหลักในการนำเลือดจากหัวใจผ่านข้ามปอด (ซึ่งในขณะเป็นตัวอ่อนยังไม่ทำงาน) ไปยังหลอดเลือดแดง aorta ที่ส่งเลือดแดงไปเลี้ยงทั่วร่างกาย แต่ภายหลังการคลอด ปอดเริ่มมีการทำงานเส้นเลือดที่เป็นทางเชื่อมไปยังหลอดเลือดแดง aorta คือหลอดเลือด Ductus arteriosus เปิดอยู่ ไม่ฝ่อหายไป จึงเกิด ภาวะที่เรียกว่า Patent ductus arteriosus หรือ ภาวะหลอดเลือดหัวใจเกิน ภายหลังลูกสัตว์คลอดและมีการหายใจครั้งแรก หลอดเลือด Ductus arteriosus จะถูกกระตุ้นให้หลอดเลือดปิดลง โดยหลอดเลือดนี้ จะตีบลงกลายเป็นเอ็น (ligament) ที่ยึดหลอดเลือดทั้งสอง การปิดของหลอดเลือด Ductus […]
อ่านต่อโรคหัวใจในสุนัข (Heart Disease)
โรคหัวใจในสุนัขมีการพัฒนาขึ้นในช่วงกลางๆ ชีวิต คือโรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลังมักเป็นในสุนัขที่มีอายุมาก
อ่านต่อโรคลิ้นหัวใจเสื่อมในสุนัข (Degenerative Valve Disease)
โรคลิ้นหัวใจเสื่อมในสุนัข (Degenerative Valve Disease) หรือโรคลิ้นหัวใจรั่ว (Valve Regurgitation) เป็นโรคหัวใจที่พบได้มากที่สุดในสุนัข โดยพบได้มากในสุนัขพันธุ์เล็ก เช่น ชิวาวา ชิสุ พุดเดิ้ล ดัชชุน เนื่องจาก โรคลิ้นหัวใจเสื่อมในสุนัข เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของลิ้นหัวใจ จึงพบได้มากในสุนัขที่อายุมาก โดยมักพบในสุนัขที่อายุมากกว่า 7 ปี ขึ้นไป ยกเว้นในสุนัขบางพันธุ์ เช่น คาร์วาเลียร์ คิงส์ ชาล์ส สเปเนียล อาจเป็นโรคนี้ได้ตั้งแต่อายุยังไม่มาก โดยอาจพบได้ตั้งแต่อายุ 4-5 ปี อุบัติการณ์การเกิดโรคจะพบในเพศผู้มากกว่าเพศเมีย และตัวผู้มักจะมีความรุนแรงของโรคมากกว่าเพศเมีย ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด จึงยังไม่มีวิธีป้องกันหรือชะลอการเสื่อมของลิ้น อย่างไรก็ตาม คาดว่าโรคลิ้นหัวใจเสื่อมเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ด้วยเหตุนี้พ่อแม่สุนัขที่เป็นโรคนี้จึงสามารถถ่ายทอดยีนที่ผิดปกติสู่ลูกและอาจส่งผลให้ลูกเป็นโรคนี้เมื่ออายุมากขึ้นได้ ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดโรคนี้ได้โดยการไม่นำสุนัขที่เป็นโรคนี้ไปเป็นพ่อแม่พันธุ์ โรคลิ้นหัวใจเสื่อม มักเกิดรอยโรคที่ลิ้นหัวใจไมทรัล ซึ่งเป็นลิ้นที่กั้นระหว่างหัวใจห้องบนซ้ายและล่างซ้าย ในภาวะปกติลิ้นไมทรัลจะทำหน้าที่ในการกั้นไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับสู่หัวใจห้องบนซ้าย ในขณะที่หัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัว เมื่อเกิดการเสื่อมของลิ้นไมทรัล อาจทำให้ลิ้นหนาตัว หรือโป่ง จึงทำให้ปลายลิ้นสบกันไม่สนิท และทำเกิดการรั่วขึ้น เมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวเพื่อไล่เลือดออกไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จึงมีเลือดบางส่วนไหลย้อนกลับไปที่หัวใจห้องบนซ้าย เมื่อความรุนแรงของการเสื่อมเพิ่มมากขึ้น […]
อ่านต่อหัวใจวายในสัตว์เลี้ยง
หัวใจวายในสัตว์เลี้ยง ไม่ใช่คำวินิจฉัยหรือชื่อโรค แต่หมายถึงกลุ่มอาการทีึ่ทำให้เกิดความผิดปกติของหัวใจและสามารถนำไปสู่ภาวะการล้มเหลวของระบบไหลเวียนโลหิตได้
อ่านต่อ