Dog Zone

ปักกิ่ง (Pekingese) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ ปักกิ่ง จัดเป็นสุนัขพันธุ์ทอย ในชื่อทางภาษาอังกฤษสามารถเรียกได้หลายชื่อ เช่น Pekingese, Pekinese, หรือ Peke ที่มาของชื่อมาจากการที่มีลักษณะคล้ายสุนัขสิงโต (Lion dog) หรือ Pelchie dog มีความเชื่อเสมือนคล้ายสิงโตจีน (Chinese guardian lion) และชื่อพันธุ์มีความสัมพันธ์กับชื่อเมืองปักกิ่ง (Beijing) ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดที่มาจากประเทศจีน โดยสุนัขพันธุ์นี้จะเลี้ยงได้ในเฉพาะราชสำนักต้องห้ามเท่านั้น มีความเป็นมามากกว่า 2,000 ปี เป็นสุนัขพันธุ์ที่มีลักษณะเฉพาะตัว พัฒนามาจากการผสมสุนัขข้ามสายพันธุ์ระหว่าง ชิสุ (Shih Tzu) และลาซา แอพโซ (Lhasa Apso) จากนั้นการเลี้ยงสุนัขพันธุ์ปักกิ่งได้ความนิยมในสหรัฐอเมริกา สมาคม American Kennel Club มีการจดทะเบียนสุนัขพันธุ์ปักกิ่งไว้ใน ปี ค.ศ.1906 ก่อนจะมีการจัดตั้งสมาคม Pakingese Club of America ขึ้น และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกในสมาคม American Kennel Club ในปี […]

อ่านต่อ

ยอร์กเชียร์ เทอร์เรียร์ (Yorkshire terrier) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ ยอร์กเชียร์ เทอร์เรียร์ จัดเป็นสุนัขพันธุ์เล็กในตระกูลสายพันธุ์เทอร์เรียร์ พบถิ่นกำเนิดอยู่ในเมืองยอร์กเชียร์ (Yorkshire) ประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ.1800 นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า ยอร์กกี้ (Yorkie) โดยองค์กร The Fédération cynologique internationale (FCI) ได้จดทะเบียนให้อยู่ในสุนัขพันธุ์ทอย รวมถึงสมาคม Kennel Clubs ได้จัดให้อยู่ในกลุ่มสุนัขคู่หู ซึ่งเป็นที่รู้จักเมื่อมีการชนะการประกวดสุนัข และได้รับความนิยมเป็นสุนัขคู่หูในเวลาต่อมา สุนัขพันธุ์ยอร์กเชียร์ เทอร์เรียร์ เป็นความคิดที่สืบเชื้อสายมาจากสุนัขอื่น ๆ หลายพันธุ์รวมกัน เช่น สุนัขพันธุ์ออสเตรเลียน ซิลกี้ เทอร์เรียร์ (Australian Silky Terrier) สุนัขพันธุ์ยอร์กเชียร์ เทอร์เรียร์ เป็นที่รู้จักครั้งแรก ที่ตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1872 หลังจากนั้นสมาคม The American Kennel Club (AKC) ได้ขึ้นทะเบียนสายพันธุ์สุนัข ในปี […]

อ่านต่อ

บอสตัน เทอร์เรีย (Boston Terrier) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ บอสตัน เทอร์เรีย เป็นสุนัขพันธุ์เล็ก ได้รับการขนานนามว่าเป็นสุภาพบุรุษแห่งอเมริกา (the American Gentlemen) พบครั้งแรกในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 19 ที่กรุงบอสตัน (Boston) ของรัฐแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts) ในสหรัฐอเมริกา มีการกล่าวถึงความเป็นมาของสายพันธุ์มากมาย ทำให้ไม่สามารถทราบได้ว่าความเป็นมาที่แท้จริงคือข้อมูลจากแหล่งไหน แต่มีข้อมูลที่ตรงกัน คือเป็นสุนัขพันธุ์ทางที่มาจากการผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์ระหว่างสุนัขพันธุ์บูลด็อก (Bulldog) กับสุนัขพันธุ์ไวท์ อิงลิช เทอร์เรีย (White English Terrier) ชื่อ Burnett’s Gyp ในต่อมาได้มีการนำสุนัขพันธุ์ทางที่ทำการผสมระหว่าง 2 สายพันธุ์ มาผสมพันธุ์กับสุนัขพันธุ์อิงลิช เทอร์เรีย (English Terrier) และได้คลอดลูกสุนัขเพศผู้ออกมาชื่อ Well’s Eph เป็นสุนัขทั่วไปที่ไม่ได้รับความสนใจ หลังจากนั้นได้ไปผสมพันธุ์กับสุนัขเพศเมียพันธุ์อิงลิช เทอร์เรียลายทอง (golden brindle English Terrier) ชื่อ Tobin’s Kate และได้คลอดลูกออกมา โดยลูกสุนัขที่คลอดออกมาจะถูกเรียกเป็นสุนัขพันธุ์บอสตัน เทอร์เรีย ทั้งหมดนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของสุนัขสายพันธุ์บอสตัน เทอร์เรีย […]

อ่านต่อ
บิชอง ฟริเซ่

บิชอง ฟริเซ่ (Bichon Frise) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขสายพันธุ์ บิชอง ฟริเซ่ (Bichon Frise) เดินทางมาถึงประเทศฝรั่งเศสช่วงก่อนศตวรรษที่ 14 ในขณะที่ถิ่นกำเนิดที่แน่นอนของสุนัขพันธุ์นี้ ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ความเชื่อส่วนใหญ่ได้กล่าวไว้ว่าบิชอง ฟริเซ่ ถือกำเนิดขึ้นมาจากสุนัขพันธุ์บาร์เบท (Barbet) ซึ่งเป็นสุนัขขนาดกลาง ส่วนวิธีที่มันเดินทางมาถึงฝรั่งเศสยังคงเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ หลายคนกล่าวว่าพ่อค้านำมันมาจากอิตาลีและสเปนตามเส้นทางการค้า ในขณะที่คนอื่นเชื่อว่ากองทัพเรือฝรั่งเศสนำพวกมันกลับมาหลังจากที่พวกเขาทำการบุกอิตาลีในศตวรรษที่ 16 อย่างไรก็ตามสิ่งที่ทราบกันดีคือสุนัขสายพันธุ์นี้ได้รับความนิยมในยุโรปในช่วงระยะเวลานั้น บิชอง ฟริเซ่ได้รับความนิยมจากกลุ่มชนชั้นสูง กษัตริย์ ราชวงศ์ และศิลปินที่มีชื่อเสียง บิชอง ฟริเซ่ได้รับการยกระดับในรัชสมัยของจักรพรรดินโปเลียน แต่ความนิยมก็ได้ลดลงภายหลังจากที่ผู้เพาะพันธุ์จำนวนมากได้สร้างความหลากหลายของสายพันธุ์ ทำให้บิชอง ฟริเซ่สูญเสียความพิเศษเฉพาะตัวและกลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงทั่ว ๆ ไป หลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ผู้เพาะพันธุ์ชาวฝรั่งเศสได้ทำการคงไว้ซึ่งเชื้อสายของบิชอง ฟริเซ่ เช่นเดียวกันกับสายพันธุ์ลาบราดอร์ (Labradors) อันที่จริงสายพันธุ์นี้เกือบจะสูญพันธุ์ไปแล้วในช่วงของการฟื้นฟูประเทศ อย่างไรก็ตามผู้เพาะพันธุ์สามารถปรับปรุงสายพันธุ์ของบิชอง ฟริเซ่ สร้างชื่อเสียงให้กับสุนัข และได้ทำการส่งออกไปยังทวีปอื่น ๆ โดยสุนัขสายพันธุ์บิชอง ฟริเซ่ได้เข้ามาในประเทศสหรัฐอเมริกาช่วงกลางศตวรรษที่ 20 และได้รับการยอมรับจาก AKC ในปี 1975 ลักษณะทางกายภาพ บิชอง ฟริเซ่ เป็นสุนัขขนาดเล็กที่มีน้ำหนักประมาณ 5 […]

อ่านต่อ

ปั๊ก (Pug) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ปั๊ก หรือ หมาปั๊ก เป็นสุนัขพันธุ์ทอย (Toy) คืออยู่ในกลุ่มสุนัขพันธุ์เล็กมีลักษณะลำตัวย่น จมูกสั้น และหางขด สุนัขพันธุ์นี้มีความร่าเริง ขนมันเงาและมีหลากหลายสีและมีลำตัวเหลี่ยม ตันที่มีกล้ามเนื้อจำนวนมาก พวกมันถูกนิยามเหมือน multum in parvo หรือ น้อยแต่มาก โดยมีที่มาจากลักษณะนิสัยของสุนัขพันธุ์ปั๊กและขนาดตัวที่เล็กของมัน โดยบรรพบุรุษของมันมาจากประเทศจีนเมือง Lo-sze ซึ่งน่าจะมาจาก 2 สายพันธุ์นี้ คือ ปักกิ่ง (Pekiness) และ คิงส์ ชาวส์ สเปเนียล (King Charles spaniel) ทำให้พวกมันมีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน แต่ในปัจจุบันได้รับความนิยมในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก โดยเฉพาะในประเทศเนเธอร์แลนด์ อังกฤษ ไอรีแลนด์ และสตอตแลนด์ ปัญหาสุขภาพที่พบได้ในสุนัขพันธุ์ปั๊ก ไม่ว่าจะเป็นทนความร้อนได้ไม่ดี โรคอ้วน ปัญหาบริเวณคอหอยทำให้ปั๊กหายใจเสียงดัง (pharyngeal reflex) และอีก 2 โรคที่ค่อยข้างรุนแรง คือ สมองและเยื่อหุ้มสมองอักเสบแบบมีเนื้อตาย (necrotizing meningoencephalitis) และกระดูกสันหลังเจริญไม่สมบูรณ์ (hemivertebrae) […]

อ่านต่อ
ชิวาวา

ชิวาวา (Chihuahua) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ ชิวาวา แม้ว่าจะมีข้อโต้แย้งที่แตกต่างกันออกไปเกี่ยวกับต้นกำเนิดของชิวาวา หลายคนเชื่อว่า ประเทศเม็กซิโก ในยุคที่ชนเผ่ามายาและชนเผ่า Toltec ถือครองดินแดน เป็นต้นกำเนิดเริ่มแรกของ สุนัขพันธุ์ ชิวาวา (Chihuahua) ซึ่งเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก โดยมีสีและลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ต่าง ๆ มากมาย ชิวาวา ถูกจำแนกออกเป็น 2 สายพันธุ์ตามความแตกต่าง คือ พันธุ์ขนสั้นและขนยาว ดวงตาที่กลมโต ปลายหูค่อนข้างแหลมตั้งขึ้น และร่างกายขนาดเล็กเป็นคุณสมบัติหลักของชิวาวา ความฉลาดเป็นอย่างมากของพวกมันก็เป็นอีกหนึ่งในคุณสมบัติที่เป็นที่ชื่นชอบในสายพันธุ์นี้ ลักษณะทางกายภาพ โดยทั่วไปแล้วความสูงของชิวาวาไม่ได้ถูกกำหนดเอาไว้ มีเพียงน้ำหนักและคำอธิบายสัดส่วนโดยรวมของพวกมันที่ถูกระบุไว้ ส่งผลทำให้พวกมันมีความสูงที่แตกต่างกันมากกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ โดยทั่วไปแล้วชิวาวาจะมีความสูงอยู่ระหว่าง 6-10 นิ้ว แต่อย่างไรก็ตามชิวาวาบางตัวสามารถสูงได้ถึง 12-15 นิ้ว (30 ถึง 38 ซม.) จากมาตรฐานสายพันธุ์ของทั้งอังกฤษและอเมริกาได้ระบุไว้ว่าชิวาวาต้องหนักไม่เกิน 6 ปอนด์เพื่อความสอดคล้องกัน อย่างไรก็ตามมาตรฐานของอังกฤษระบุว่าชิวาวาควรมีน้ำหนัก 2-4 ปอนด์และถ้าหากสุนัขทั้งสองตัวดีพอ ๆ กันควรเลือกตัวที่มีขนาดเล็กกว่า มาตรฐานของ Fédération Cynologique Internationale (FCI) มีความต้องการให้สุนัขในอุดมคติมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง […]

อ่านต่อ

บูล เทอร์เรีย (Bull Terrier) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ บูล เทอร์เรีย เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อมีนักสำรวจชื่อ James Hinks ได้ทำการผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์ระหว่างสุนัขพันธุ์บูลด็อก (Bulldog) กับสุนัขพันธุ์โอลด์ อิงลิช เทอร์เรีย (Old English Terrier) ในช่วงกลางของศตวรรษที่ 19 ได้มีการนำสุนัขที่ทำการผสมระหว่าง 2 สายพันธุ์ มาผสมพันธุ์กับสุนัขพันธุ์ไวท์ บูล เทอร์เรีย (White Bull Terrier) จึงได้สุนัขที่มีขนสีขาวล้วนทั้งตัว ซึ่งสุนัขที่ได้ทำการผสม 3 สายพันธุ์ ได้ถูกตั้งชื่อพันธุ์เป็นพันธุ์ ไวท์ คาวาเลียร์ (White Cavalier) เป็นสุนัขที่ได้รับความนิยมอย่างมากของชนชั้นสูง และทำให้สุนัขเป็นที่สนใจจนถึงปัจจุบัน ในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 19 สุนัขพันธุ์บูล เทอร์เรีย ถูกนำมาเลี้ยงในสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก และได้รับความนิยมเป็นอย่างกว้างขวางในเวลาไม่นาน หลังจากนั้นสมาคม The American Kennel Club (AKC) ได้ขึ้นทะเบียนสายพันธุ์สุนัข ในปี ค.ศ. 1885 […]

อ่านต่อ

บอร์เดอร์ คอลลี่ (Border Collie) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขสายพันธุ์ บอร์เดอร์ คอลลี่ (Border Collie) มีเชื้อสายที่สืบทอดมายาวนานเกือบเท่ากับมนุษยชาติ เมื่อหลายศตวรรษก่อน ในภูมิประเทศระหว่างอังกฤษกับสกอตแลนด์ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่รู้จักกันในนาม Anglo-Scottish border มีคนเลี้ยงแกะจำนวนมากใช้ “สุนัขต้อนแกะ” เพื่อเฝ้ายามและคอยฟังเสียงฝูงสัตว์ของพวกเขา โดยพวกมันมีเชื้อสายโดยตรงของคอลลี่ที่เป็นพันธุ์พื้นเมืองซึ่งมักพบในเกาะอังกฤษ อย่างไรก็ตามชื่อคอลลี่ (Collie) ปรากฏครั้งแรกในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มาจากภาษา Celtic (ภาษาที่คนอินโด-ยุโรปใช้) แปลว่า “มีประโยชน์” สายพันธุ์แท้เกือบทั้งหมดของคอลลี่ได้ถูกบันทึกไว้ว่ามีต้นกำเนิดมาจากสุนัขพันธุ์ Old Hemp ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของคคอลลี่ โดย Old Hemp เป็นสุนัขสามสีที่เกิดใน Northumberland ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 Old Hemp กลายเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นหนึ่งในสุนัขที่ฉลาดที่สุดและเป็นสุนัขไล่ต้อนที่มีการตอบสนองได้ดีจนเป็นที่ยอมรับมาถึงปัจจุบัน Old Hemp  มีความแข็งแรงและมีพละกำลัง สามารถโต้ตอบได้ดีกว่าสุนัขเลี้ยงแกะสายพันธุ์อื่น ๆ ในยุคนั้น ภายหลัง Adam Telfer เจ้าของ Old Hemp ได้นำมันมาเป็นต้นแบบในการขยายพันธุ์ ในปีค.ศ. 1915 มีชายคนหนึ่งชื่อ James […]

อ่านต่อ

เกรทเดน (Great Dane) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ เกรทเดน (Great Dane) มีต้นกำเนิดมาจากประเทศเยอรมนีในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นสุนัขล่าหมูป่า ชาวเยอรมนีได้ทำการพัฒนาสายพันธุ์จนเกรทเดนมีลักษณเหมือนกับสุนัขสายพันธุ์ไอริช วูล์ฟฮาวน์ด (Irish Wolfhounds) ในด้านของความสูงคล้ายกับมาสทิฟฟ์ (Mastiffs) ในด้านมวลกล้ามเนื้อและคล้ายกับเกรย์ฮาวน์ด Greyhounds ในด้านของความเร็ว สุนัขสายพันธุ์นี้ได้ถูกเปลี่ยนชื่อหลายครั้ง ชื่อเริ่มแรกของพวกมันคือ English Docke หลังจากนั้นก็ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น German Boarhound เชื้อพระวงศ์ใช้เกรทเดน เพื่อการล่าหมูป่า กวาง และหมีรวมถึงช่วยในการอารักขาเจ้าหญิงจากการถูกลอบทำร้าย ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้เพาะพันธุ์ชาวเยอรมนีพยายามที่จะเปลี่ยนชื่อพวกมันเป็น German Mastiff เพื่อให้ชื่อของสุนัขฟังดูหรูหราแทนที่จะฟังดูเหมือนกับเป็นสุนัขสายพันธุ์ที่เอาไว้ใช้งาน เกรทเดน เป็นชื่อสุดท้ายที่มีการเรียกขานกันเมื่อนักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศสเดินทางไปที่ประเทศเดนมาร์กและได้เห็นเกรทเดน ในบันทึกเขาเรียกสุนัขตัวนั้นว่า Grand Danois ซึ่งหมายถึง Great Danish Dog ชื่อนี้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายแต่สุดท้ายมันก็ถูกเปลี่ยน เมื่อเวลาผ่านไปนิสัยก้าวร้าวที่ใช้ในการล่าหมูป่านั้น ถูกกำจัดออกจากสายพันธุ์ ทำให้เกรทเดนเป็นสุนัขตัวโตที่มีความอ่อนโยนอย่างที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ ลักษณะทางกายภาพ จากคำอธิบายของ American Kennel Club เกรทเดนมีลักษณะที่ผสมผสานกันระหว่างความสง่างามและความแข็งแรงด้วยขนาดตัวที่ใหญ่ มีรูปร่างดีและเป็นหนึ่งในสายพันธุ์สุนัขใช้งานที่ใหญ่ที่สุด เกรทเดนเป็นสุนัขสายพันธุ์ขนสั้นที่มีรูปร่างแข็งแรง อัตราส่วนระหว่างความยาวและความสูงของขนาดตัวควรเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส […]

อ่านต่อ

ค็อกเกอร์ สแปเนียล (Cocker Spaniel) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ ค็อกเกอร์ สแปเนียล เป็นสุนัขพันธุ์ขนาดกลาง มีต้นกำเนิดมาจากประเทศสเปน (Spain) มีการกล่าวถึงความเป็นมาของสายพันธุ์เป็นอย่างมาก ทำให้ไม่สามารถระบุจุดเริ่มต้นของสายพันธุ์ได้ แต่มีข้อมูลที่ตรงกันคือ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 สุนัขสายพันธุ์สแปเนียลมี 2 กลุ่ม คือกลุ่มสุนัขบ้าน (Home dog) และกลุ่มสุนัขนักล่า (Hunting dog) โดยค็อกเกอร์ สแปเนียล ถูกจัดเป็นสุนัขนักล่า เป็นสุนัขที่มีความคล่องแคล่วในการล่านก Woodcock ในปี ค.ศ. 1892 สุนัขพันธุ์ค็อกเกอร์ สแปเนียล ได้รับการขึ้นทะเบียนสายพันธุ์เป็นครั้งแรก จัดอยู่ในกลุ่มสายพันธุ์อิสระ (Independent breed) และในต่อมาได้ถูกนำมาเลี้ยงในสหรัฐอเมริกา ทำให้สุนัขพันธุ์นี้เริ่มเป็นที่รู้จักขึ้น ในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 สุนัขพันธุ์ค็อกเกอร์ สแปเนียล ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และเป็นที่รู้จักมาจนถึงปัจจุบัน หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 (Post World War II) ในปี ค.ศ. 1946 สมาคม The American […]

อ่านต่อ

ร็อตไวเลอร์ (Rottweiler) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ ร็อตไวเลอร์ เป็นสุนัขพันธุ์ใหญ่ และเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุด ดั้งเดิมเป็นสุนัขพันธุ์ Molussus ของชนเผ่ากรีกโบราณในอาณาจักร Molossians ในต่อมาชาวโรมันได้นำสุนัขพันธุ์ Molussus เข้ามายังประเทศเยอรมนี (Germany) หลังจากนั้นสุนัขพันธุ์ Molussus ได้ผสมพันธุ์กับสุนัขท้องถิ่น ทำให้เกิดเป็นสุนัขสายพันธุ์ใหม่ขึ้นที่ภาคใต้ของประเทศเยอรมนี (Southern Germany) เป็นช่วงที่ชาวโรมันเริ่มมีการสร้างหมู่บ้านด้วยการปูกระเบื้องหลังคาสีแดงขึ้นทั้งหมู่บ้าน จึงมีชื่อหมู่บ้านว่า das Rote Wil (The red tile) และเป็นแรงบันดาลใจในการตั้งชื่อสุนัขสายพันธุ์ใหม่ขึ้นเป็นชื่อสุนัขพันธุ์ร็อตไวเลอร์ ในปีต่อมาคนขายเนื้อ (Butchers) และคนเลี้ยงวัว (Cattlemen) นำสุนัขพันธุ์นี้มาใช้งานเป็นสุนัขลากเกวียน (Drive cattle) ให้ลากของหนัก เช่น เนื้อสด หรือแบกเงินเข้าเมืองแทนวัว เพราะเป็นสุนัขที่แข็งแรง และเดินเร็วกว่าวัว เป็นสาเหตุทำให้สุนัขพันธุ์นี้เกือบสูญพันธุ์ ในปี ค.ศ. 1882 สุนัขพันธุ์ร็อตไวเลอร์ ได้มีการขึ้นแสดงโชว์สุนัขในประเทศเยอรมนีเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1901 ได้มีการปรับเปลี่ยนการใช้งานให้ลดลงของสุนัขพันธุ์ร็อตไวเลอร์ และสุนัขพันธุ์ลีออนเบอร์เกอร์ (Leonberger) ในปี ค.ศ. […]

อ่านต่อ

โรคกระเพาะอาหารขยายและบิดหมุน (Gastric Dilatation and Volvulus : GDV)

Gastric Dilatation and Volvulus (GDV) หรือ โรคกระเพาะอาหารขยายและบิดหมุน จัดเป็นภาวะที่อันตรายถึงชีวิตต้องได้รับการรักษาในทันที โดยมักจะเกิดขึ้น ประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง หลังจากการกินอาหารเข้าไปเป็นปริมาณมากใน 1 มื้อ โรคกระเพาะอาหารขยายและบิดหมุน คือ การที่กระเพาะอาหาร (Stomach) มีการขยายตัวคล้ายลูกโป่ง หรือเรียกว่า “Bloat” หรือ  Gastric Dilatation จากการมีปริมาณแก๊ส น้ำ และอาหารที่สัตว์กินสะสมอยู่มากกว่าปกติ และถ้าเกิดการบิดหมุนของกระเพาะอาหารที่มีอาหารและแก๊สขึ้น จะก่อให้เกิด โรคกระเพาะอาหารขยายและบิดหมุน (GDV)  ซึ่งสามารถเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น คือการระบายแก๊สออกจากกระเพาะอาหาร ซึ่งจะมีขั้นตอนกระบวนการนำแก๊สออกจากกระเพราะอาหารได้หลายวิธี เพราะในขณะที่กระเพาะอาหารเริ่มมีการพองขยายใหญ่ แรงดันในกระเพาะอาหารจะเริ่มสูงขึ้น และเมื่อกระเพาะอาหารมีการขยายตัวมากขึ้นและบิดหมุนไปมาภายในช่องท้อง เรียกว่า “Volvulus” โดยการบิดหมุนของกระเพาะอาหารบางส่วนจะมีทิศทางตามเข็มนาฬิกา ซึ่งสามารถเกิดการบิดตัวของกระเพาะอาหารได้ตั้งแต่ 180-360 องศา การบิดส่วนใหญ่จะเป็นแบบ 180 องศาตามเข็มนาฬิกา การขยายตัวและบิดทำให้ไปกดเส้นเลือดหลักที่เดินทางเข้าสู่หัวใจ ทำให้เกิดปัญหาตามมา ได้แก่ เลือดบริเวณช่องท้องไหลกลับเข้าสู่หัวใจน้อยลง การไหลเวียนของเลือดบริเวณช่องท้องลดลง […]

อ่านต่อ