Cat Zone

แมวแร็กดอลล์ – ลักษณะสายพันธุ์ และการดูแล

แมวแร็กดอลล์ มีหน้าตาเหมือนตุ๊กตาผ้า และมีนิสัยชอบกระโดดโลดเต้นอย่างมีความสุข ในอ้อมแขนของคนที่อุ้มเขาขึ้นมา ประวัติสายพันธุ์ แมวแร็กดอลล์ แมวแร็กดอลล์ (Ragdoll) ได้กำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก ในช่วงปี 1960 โดยบรีดเดอร์หรือผู้พัฒนาพันธุ์ที่ชื่อว่า Ann Baker ในเมืองริเวอร์ไซด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเธอได้เลือกแมวชื่อ โจเซฟิน (Josephine) ซึ่งเป็นแมวบ้านขนยาว สีขาว ผวมกับแมวอีกตัวหนึ่ง ที่มีบุคลิกอ่อนโยน สงบ ตัวใหญ่ ขนยาวสวยงาม โดดเด่นด้วยลายแบบหิมาลายัน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่พบเห็นได้ในแมว สายพันธุ์สยาม (Siamese) ผลลัพธ์ที่ได้คือ แร็กดอลล์ (Ragdoll) ที่มีหน้าตาเหมือนตุ๊กตาผ้าและมีนิสัยชอบกระโดดโลดเต้นอย่างมีความสุขในอ้อมแขนของคนที่อุ้มมันขึ้นมา จากนั้น เมื่อปี 1975 มีการก่อตั้ง Ragdoll Fanciers Club International (RFCI) ขึ้นมา มีเป้าหมายเพื่อสร้างมาตรฐานสายพันธุ์แร็กดอลล์ และได้รับการยอมรับจากสำนักทะเบียนแมว จนกระทั่งในปี 1993 Cat Fanciers’ Association (CFA) ได้เริ่มขึ้นทะเบียนแมวสายพันธุ์แร็กดอลล์ และได้รับการยอมรับจากทั่วโลกในปี […]

อ่านต่อ
วิเชียรมาศ

แมวพันธุ์วิเชียรมาศ: ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติ แมวพันธุ์วิเชียรมาศ แมวพันธุ์วิเชียรมาศ หมายถึง เพชรแห่งดวงจันทร์ (Moon Diamond) เป็นแมวขนาดกลางที่ได้รับความนิยมทั่วโลก มีต้นกำเนิดจากประเทศไทย (Thailand หรือชื่อดั้งเดิม Siam) และถูกบันทึกไว้ในสมุดข่อยโบราณ โดยในสมัยก่อนแมวพันธุ์วิเชียรมาศจะมีแต้มสีน้ำตาลเข้ม หรือดำเข้ม แต่ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ทำให้มีสี และรูปแบบของแต้มที่แตกต่างออกไป ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ปี ค.ศ. 1877 ประธานาธิบดีรัทเทอร์ฟอร์ด บี. เฮส์ (President Rutherford B. Hayes) ได้รับของขวัญเป็นแมวพันธุ์วิเชียรมาศมาเลี้ยงที่สหรัฐอเมริกา จากการให้ของกษัตริย์แห่งประเทศไทย ผ่านทางเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา David B. Sickels ประจำประเทศไทยที่สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ในปี ค.ศ. 1934 สมาคม The Cat Fanciers Association (CFA) ได้มีการขึ้นทะเบียนแมวพันธุ์วิเชียรมาศ รวมถึงได้กำหนดสีแต้มและสีขนลำตัวที่พบได้ โดยเฉพาะบริเวณขา หาง ใบหน้า และหู ซึ่งหากพบแต้มสีน้ำตาล (Brown), สีดำ […]

อ่านต่อ
แมวโคราช

แมวสีสวาด หรือแมวโคราช: ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

แมวสีสวาด หรือแมวโคราช ในอดีตผู้คนนิยมให้เป็นของขวัญแก่กัน เพราะเชื่อกันว่า จะนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรือง เงินทองไหลมาเทมา ประวัติสายพันธุ์ แมวสีสวาด แมวสีสวาด หรือแมวโคราช ถือเป็นแมวอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่มีมายาวนาน มีต้นกำเนิดมาจากประเทศไทย โดยชื่อของ “แมวโคราช” มาจากชื่อจังหวัดที่เป็นสถานที่กำเนิดของแมว ซึ่งในประเทศไทยยังรู้จักแมวโคราชในชื่ออื่น ๆ อย่าง แมวสีสวาด แมวมาเลศ หรือแมวดอกเลา ที่มีหมายถึง “ความรัก” และความโชคดี อีกทั้งยังเชื่อว่า แมวโคราชเป็นหนึ่งในแมวมงคลโบราณให้คุณ หากเลี้ยงไว้จะนำมาซึ่งความสุขสวัสดิ์ เป็นมงคลแก่เจ้าของ แมวโคราชได้รับการยกย่องชื่นชมจากผู้คนทั้งในและต่างประเทศ โดยแมวโคราชถูกนำไปโชว์ในงานแสดงแมวที่ประเทศอังกฤษในช่วงศตวรรษที่ 19 ในชื่อ Blue Siamese และนำเข้าไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาครั้งแรกในปี 1950 ซึ่งแมวโคราชถือเป็นแมวไม่กี่สายพันธุ์ ที่มีสีขนเดียวตลอดทั่งตัว คือ สีเทาน้ำเงิน (silvery blue) ลักษณะทางกายภาพ แมวโคราชจัดอยู่ในกลุ่มแมวขนาดกลาง เป็นแมวที่มีกล้ามเนื้อแน่นและแข็งแรง ลักษณะภายนอกคล้ายกับแมวสายพันธุ์จากประเทศรัสเซีย (Russian Blue) แต่มีขนชั้นเดียวมากกว่าขน 2 ชั้น และเพศเมียมักมีความสง่างามมากกว่าเพศผู้ แมวโคราชเป็นแมวที่มีขนสั้น มีความมันวาว และละเอียด […]

อ่านต่อ

แมวไทย โบราณ 5 สายพันธุ์ ที่ยังคงอยู่

แมวไทย โบราณเป็นที่รักทั้งในและต่างประเทศ ด้วยลักษณะและมีนิสัยที่เป็นเอกลักษณ์ แต่ในปัจจุบันมีเพียง ๕ สายพันธุ์จากแมวให้คุณทั้งสิ้น ๑๗ สายพันธุ์ เท่านั้น

อ่านต่อ

แมวไทยขนสั้น (Domestic Shorthair) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ แมวไทยขนสั้น (Domestic Shorthair : DSH) นั้น ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มต้นเมื่อใด และไม่สามารถระบุได้ว่ามีกี่สายพันธุ์ แต่ได้ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากมาย เนื่องจากเนื่องจากเป็นสัตว์เลี้ยงยอดนิยมตั้งแต่โบราณ และยังมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อที่ยังคงมีในปัจจุบัน ทั้งยังปรากฏแมวในสำนวนหรือสุภาษิตต่าง ๆ เป็นต้นว่า ‘ย้อมแมวขาย’ หรือ ‘ยื่นหมูยื่นแมว’ และ ‘ปิดประตูตีแมว’ เป็นต้น แสดงให้เห็นว่าแมวไทยมีประวัติความเป็นมายาวนาน ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเริ่มมีการแยกลักษณะแมว ถือว่าเป็น “ตำราดูลักษณะแมว” เล่มแรกที่ได้ทำการแยกแมวไทยตามลักษณะนิสัย หรือบุคลิกของแมว ตำราดังกล่าวเป็นสมุดข่อย โดยแบ่งเป็นแมวมงคลและแมวให้โทษทั้งหมด 23 สายพันธุ์ (เป็นแมวมงคล 17 สายพันธุ์ และแมวให้โทษ 6 สายพันธุ์) เหตุที่แบ่งเป็นแมวให้คุณกับแมวให้โทษนั้น เป็นความเชื่อของคนในสมัยโบราณโดยดูว่าเลี้ยงแล้วจะนำสิ่งที่ดี ๆ หรือสิ่งชั่วร้ายมาสู่ผู้เป็นเจ้าของหรือไม่ ทั้งนี้แมวไทยส่วนใหญ่มีนิสัยดี ไม่ดุร้าย ฉลาด รู้จักประจบประแจง และรักเจ้าของเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังสามารถปรับตัวกับสภาพแวดล้อมในประเทศได้เป็นอย่างดี จึงเป็นเหตุให้แมวไทยยังได้รับนิยมเลี้ยงมาจนถึงปัจจุบัน ลักษณะทางกายภาพ แมวไทยขนสั้น เป็นแมวขนาดกลาง โดยหัวมีลักษณะโครงสร้างยาวสมส่วนปราดเปรียว มีลำตัวขนาดเล็ก น้ำหนักเบา บวกกับการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วและคล่องตัวของพวกมัน […]

อ่านต่อ

แมวพันธุ์ไทยท็องกินีส (Thai Tonkinese) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ แมวพันธุ์ ไทยท็องกินีส เป็นแมวที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างแมวพันธุ์วิเชียรมาศ (Siamese cat) กับแมวพันธุ์เบอร์มีส (Burmese cat) ที่มีต้นกำเนิดมาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia) ในปี ค.ศ. 1950 ‘Milan Greer’ มีความสนใจเรื่องลักษณะเฉพาะของสายพันธุ์ โดยเฉพาะลักษณะสีขนสีน้ำตาลเข้ม (Dark Brown cat) จากแมวพันธุ์เบอร์มีส กับแต้มคล้ายแมวพันธุ์วิเชียรมาศ จึงได้นำแมวทั้ง 2 สายพันธุ์มาผสมพันธุ์ ทำให้ได้ลูกออกมามีลักษณะเสียงแหลมกว่าแมวพันธุ์วิเชียรมาศ และมีนิสัยดี รวมถึงฉลาดมากกว่าแมวพันธุ์วิเชียรมาศ และแมวพันธุ์เบอร์มีส ซึ่งในตอนแรกถูกเรียกว่าแมวพันธุ์วิเชียรมาศสีทอง (Golden Siamese) แต่ต่อมาได้ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็นแมวพันธุ์ท็องกานีส (Tonkanese) ซึ่งมาจากละครเพลง The musical South Pacific ในปี ค.ศ. 1967 สมาคม The Canadian Cat Association ได้มีการขึ้นทะเบียนแมวที่เกิดจากผสมระหว่าง 2 สายพันธุ์ เป็นแมวพันธุ์ท็องกานีส (Thai Tonkinese […]

อ่านต่อ

แมวเปอร์เซีย (Persian) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ แมวเปอร์เซีย มีต้นกำเนิดในเถบเปอร์เซีย (เป็นที่ตั้งประเทศตุรกี และอิหร่านในปัจจุบัน) นักประวัติศาสตร์ได้ค้นพบหลักฐานเกี่ยวกับพวกมันในปีค.ศ. 1684 โดยพ่อค้าชาวเปอร์เซียนมักบรรทุกสินค้ามากมาย และได้ปรากฏแมวพันธุ์ขนยาวติดมากับกองคาราวานสินค้าด้วย อีกหลักฐานหนึ่งได้กล่าวบรรพบุรุษของแมวเปอร์เซียได้ถูกนำเข้ามายังยุโรปตั้งแต่ช่วง ปีค.ศ. 1620 แล้วได้รับความนิยมในยุโรปอย่างมาก และแพร่กระจายไปทั่วยุโรป จากนั้นในช่วงปลายปีศตวรรษที่ 19 นักพัฒนาสายพันธุ์แมวชาวอังกฤษได้นำแมวเปอร์เซียสมกับสายพันธุ์อื่น เพื่อต้องการให้พวกมันมนขนที่ยาวและหนากว่าเดิม ซึ่งเป็นจุดเด่นของสายพันธุ์ในปัจจุบัน จึงได้มีการนำไปขยายพันธุ์ในสหรัฐฯ ในช่วงต้นปี ค.ศ.1900 นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาแมวพันธุ์นี้ก็ได้รับการยอมรับในวงกว้างอย่างรวดเร็ว และเป็นหนึ่งในแมวที่มีคนนิยมเลี้ยงมากที่สุดในโลกอีกด้วย ลักษณะทางกายภาพ แมวเปอร์เซีย เป็นแมวขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ มีโครงสร้างกระดูกที่ใหญ่และแข็งแรง โดยเพศเมียมีน้ำหนักอยู่ราว 3-5 กิโลกรัม ในขณะที่เพศผู้มีน้ำหนักได้ถึง 4-6 กิโลกรัม หัวและหน้ากลม หน้าผากโหนก แก้มมีโหนกเต็ม ดวงตากลมโต และอยู่ในตำแหน่งที่ห่างกัน มีจมูกที่หักที่เป็นจุดเด่นบนใบหน้า จากคำอธิบายของ The Cat Fanciers Association (CFA) ได้ระบุลักษณะสายพันธุ์ไว้ว่า โครงสร้างลำตัวสั้นและกลม หัวกลมมน คอสั้น ขาสั้นเตี้ย หูเล็กมีปลายหูที่กลมมน และอยู่ในตำแหน่งที่ห่างกัน หางสั้นตรงและฟูคล้ายกับหางกระรอก จมูกเป็นสั้นและหัก […]

อ่านต่อ
มันช์กิ้น

มันช์กิ้น (Munchkin) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ แมวพันธุ์ มันช์กิ้น (Munchkin) หลายท่านคงคิดว่า พวกมันเป็นแมวสายพันธุ์ใหม่ด้วยรูปร่างที่แปลกตา แต่ในความเป็นจริงแล้วพวกมันมีประวัติที่ยาวนานกว่านั้นมาก นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1944 ในประเทศอังกฤษ ปรากฏหลักฐานว่า สัตวแพทย์ชาวอังกฤษคนหนึ่งมีความสนใจพันธุกรรมของพวกมัน จึงหาว่าเหตุใดพวกมันถึงมีขาสั้น แต่การศึกษาก็ต้องยุติลงเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมาในปี ค.ศ. 1980 นักพัฒนาสายพันธุ์แมวจากรัฐหลุยซ์เซียน่า (Louisiana) ประเทศสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า Sandra Hockenedel ได้ตั้งชื่อให้มันใหม่ว่า มันช์กิ้น โดยตั้งตามชื่อของตัวละครในเรื่องวรรณกรรมคลาสสิค อย่าง เรื่อง The Wizard of Oz แมวมันช์กิ้น ได้รับการยอมรับเป็นแมวพันธุ์แท้ โดยสมาคม The International Cat Association หรือ TICA แต่ยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับทางสมาคม Cat Fancier Association หรือ CFA เนื่องจากทางสมาคม CFA ถือว่าแมวขาสั้น หรือ แมวมันช์กิ้นมีความผิดปกติทางพันธุกรรม หรือพิการอย่างหนึ่ง […]

อ่านต่อ

สกอตติช โฟลด์ (Scottish Fold) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ แมวพันธุ์ สกอตติช โฟลด์ ถือกำเนิดขึ้นในประเทศสก็อตแลนด์ จากคนเลี้ยงแกะที่ชื่อนาย “วิลเลี่ยม รอส” ในปีค.ศ. 1961 โดยนายวิลเลี่ยมพบแมวตัวหนึ่งในโรงนาของเพื่อนบ้านที่มีลักษณะหูพับและมีสีขาวทั้งตัวโดยบังเอิญ ซึ่งแมวตัวนี้เป็นของเพื่อนบ้านของเขาที่ชื่อว่า “ซูซี่” นายวิลเลี่ยมสนใจซูซี่เป็นอย่างมาก เมื่อซูซี่ได้ให้กำเนิดลูกแมวน้อยที่มีลักษณะหูพับเหมือนกัน นายวิลเลี่ยมจึงขอซื้อจากเจ้าของ แล้วนำมาเลี้ยงที่บ้าน โดยตั้งชื่อแมวที่เป็นลูกของซูซี่นี้ว่า “สนู๊กส์” เมื่อโตขึ้นนายวิลเลี่ยมจึงนำมาผสมพันธุ์กับสายพันธุ์ บริติช ชอร์ตแฮร์ จนกลายเป็นต้นกำเนิดของสายพันธุ์นี้ จากนั้นก็เริ่มมีคนสนใจนำแมวที่มีลักษณะหูพับนี้ไปปรับปรุงพันธุ์ จนกระทั่งในปี 1966 ก็ได้มีการตั้งชื่อแมวหูพับนี้ว่า สกอตติช โฟลด์ เพื่อเป็นเกียรติให้กับสถานที่ที่กำเนิดแมวสายพันธุ์นี้เป็นครั้งแรก นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แมวพันธุ์นี้ก็ได้รับการยอมรับในวงกว้างอย่างรวดเร็ว และเป็นหนึ่งในแมวที่มีคนนิยมเลี้ยงมากที่สุดในโลกอีกด้วย ลักษณะทางกายภาพ สกอตติช โฟลด์ เป็นแมวขนาดกลาง รูปร่างกะทัดรัด รูปร่างกลม เพศเมียมีน้ำหนักอยู่ราว 2.5-4 กิโลกรัม ในขณะที่เพศผู้มีน้ำหนักได้ถึง 5.8 กิโลกรัม มีจุดเด่นที่ใบหูพับลงไปข้างหน้า และพับลงต่ำ อีกทั้งขนาดของใบหูมีขนาดค่อนข้างเล็ก มีดวงตาที่กลมโตคล้ายนกฮูก หัวค่อนข้างกลม ช่วงคอสั้น และมีจมูกสันโค้งกว้างรับกับดวงตา ซึ่งบางตัวมีปากโค้งได้รูปรับกับคางพอดี จึงเป็นที่มาของ Smiling […]

อ่านต่อ
อเมริกัน ช็อตแฮร์

อเมริกัน ช็อตแฮร์ (American Shorthair) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ แมวพันธุ์ อเมริกัน ช็อตแฮร์ เป็นแมวพื้นเมืองของสหรัฐอเมริกา จัดอยู่ในประเภทแมวขนสั้น ในปี ค.ศ. 1620 นักเดินเรือได้นำแมวพันธุ์อเมริกัน ช็อตแฮร์เป็นแมวประจำเรือครั้งแรก เพื่อใช้กำจัดหนูบนเรือที่กลับมาจากพลิมัท (Plymouth) รัฐแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts) และเรือที่เดินทางไปยังนิคมอุตสาหกรรมเจมส์ทาวน์ (Jamestown) ในอาณานิคมเวอร์จิเนีย (Virginia) รวมถึงพาแมวไปยังประเทศต่าง ๆ ทำให้ถูกเรียกว่าแมวเดินทางในทะเล (Seafairing cat) ในปี ค.ศ. 1634 เริ่มมีผู้คนนำแมวพันธุ์อเมริกัน ช็อตแฮร์ มาใช้งาน เช่น ชาวนา, เจ้าของร้าน, หรือนำมาเลี้ยงไว้ในบ้าน เพื่อใช้ป้องกันหนู หรือศัตรูพืชที่กินมากินอาหาร เพราะเป็นแมวที่ขยัน แข็งแรง และเข้มแข็ง ในปี ค.ศ. 1896 แมวพันธุ์อเมริกัน ช็อตแฮร์ เริ่มเป็นที่นิยมเลี้ยง และมีจำนวนมากขึ้นเป็นอย่างมาก รวมถึงได้ถูกนำมาประกวดแมวที่ Madison Square Garden ให้เห็นเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา และมีราคาซื้อแมวอยู่ที่ $2500 ในปี ค.ศ. […]

อ่านต่อ
เจแปนนิส บ็อบเทล

เจแปนนิส บ็อบเทล (Japanese Bobtail) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ เจแปนนิส บ็อบเทล หรือ แมวหางกุดญี่ปุ่น (Japanese Bobtail) เป็นแมวประจำชาติญี่ปุ่น และยังถือเป็นสัญลักษณ์ของสัตว์นำโชคอีกด้วย ในอดีตพวกมันถูกนำมาเลี้ยง เพื่อกำจัดหนูในบริเวณท่าเรือ หรือโรงนา ด้วยความฉลาด และกระตือรือร้นจึงเป็นที่นิยมในประเทศต้นกำเนิด นอกจากนั้น ในยุคสมัยหนึ่งพวกมันถูกเรียกว่า เป็นแมวของจักรพรรด์ญี่ปุ่น มีการออกกฎหมายที่ห้ามฆ่าพวกมัน และให้สิทธิพิเศษในการใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ ความนิยมของพวกมันมีมาอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของตำนาน และประวัติศาสตร์ รวมทั้งศิลปะของญี่ปุ่น จากนั้นในปี ค.ศ.1968 นักพัฒนาสายพันธุ์แมวชาวอเมริกันได้นำแมวเจแปนนิส บ๊อบเทล จากญี่ปุ่นเข้ามาเลี้ยงในสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก และหลังจากนั้นไม่นานก็ได้รับการประกาศเป็นพันธุ์มาตรฐาน โดยสมาคม Cat Fanciers’ Association (CFA) ในปี ค.ศ. 1969 และเป็นที่นิยมอย่างมาก ลักษณะทางกายภาพ เจแปนนิส บ็อบเทล เป็นแมวขนาดกลาง มีน้ำหนักอยู่ราว 2.5 – 5 กิโลกรัม มีรูปร่างปราดเปรียว ลำตัวเพรียว ขายาวเรียว มักพบว่าขาหลังยาวกว่าขาหน้า หัวเป็นรูปสามเหลี่ยม โหนกแก้มเป็นสันนูน จมูกยาว ตารูปไข่และมีดวงตาสีเหลืองสวย ใบหูใหญ่และตั้งสูงเป็นสามเหลี่ยม […]

อ่านต่อ
เมนคูน

เมนคูน (Maine Coon) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ แมวพันธุ์ เมนคูน (Maine Coon) ถือเป็นแมวสายพันธุ์ขนยาวที่มีต้นกำเนิดจากการผสมข้ามพันธุ์ของแมวพื้นเมือง กับแมวป่าทางตอนเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งคำว่า “เมน” มาจากถิ่นกำเนิดคืออยู่ที่รัฐ Maine ประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนคำว่า “คูน” เชื่อกันว่าอาจมาจากพวกมันที่มีลักษณะคล้ายกับตัวแรคคูน คือ มีหางเป็นพวง มีสีและลวดลายสีน้ำตาลที่มีลักษณะเหมือนแรคคูน แมวพันธุ์เมนคูนเริ่มมีความนิยมลดลงในช่วงต้นปี ค.ศ. 1900 เนื่องจากได้มีการนำเข้าแมวจากยุโรป อย่างแมวเปอร์เซียที่มีขนาดเล็กกว่ามาก แต่ไม่นานกลุ่มอนุรักษ์สายพันธุ์แมวพื้นเมืองได้มีการจัดการแสดงนิทรรศการขึ้น ในปี ค.ศ. 1950 ทำให้ความนิยมของ “เมนคูน”กลับมาอีกครั้ง ทั้งในประเทศ ประเทศอังกฤษ และแพร่กระจายไปทั่วยุโรปในเวลาต่อมา ลักษณะทางกายภาพ เมนคูน เมนคูนเป็นแมวขนาดใหญ่ มีโครงสร้างและรูปร่างที่ใหญ่โต แต่สมส่วนสมดุล มีความแข็งแรงและสง่างาม หัวใหญ่ หน้าผากกว้าง โหนกแก้มสูง ทำให้มีใบหน้าคล้ายเสือ มีอกกว้าง ขนยาวหนา ลักษณะขนเป็นมันคล้ายเส้นไหม (silky) ในเพศผู้จะมีแผงคอที่หนากว่าเพศเมีย ใบหูชี้ตั้ง มีปลายแหลม และมีขนขึ้นที่ปลายหูคล้ายแมวป่า และมีอุ้งเท้าขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีสีของขนที่เป็นเอกลักษณ์ของสายพันธุ์ สีขนนั้นมีได้หลายสี และหลายแบบ ทั้งสีเดียวล้วน […]

อ่านต่อ