แมวถ่ายเหลว

สุนัขถ่ายเหลว บ่งบอกสัญญาณ อะไรบ้าง

สุนัขถ่ายเหลว เป็นหนึ่งในการขับถ่าย ที่คุณผู้ปกครองอาจพบเจอได้ระหว่างการดูแลน้องหมา แล้วการขับถ่ายลักษณะนี้ บอกอะไรเราได้บ้าง วันนี้ ไปติดตามกันเลยค่ะ “อุจจาระ” ของสัตว์เลี้ยงทุกชนิดเป็นของเสียที่ถูกขับออกจากร่างกาย หรือการที่อาหารหลงเหลือจากการถูกย่อย หรือถูกดูดซึมจะผ่านเข้ามาเก็บกักไว้ที่ลำไส้ใหญ่ก่อนจะถูกขับออกมาจากร่างกาย ดังนั้น สาเหตุแรก ๆ ที่ สุนัขถ่ายเหลว ให้เราตั้งสมมติฐานไว้ก่อนเลยว่า อาจเกิดจากเรื่องการกินอาหาร ความเหลว รูปร่างและความเป็นก้อน ปริมาณ กลิ่น สี ความถี่ ก่อนอื่นเรามาเรียนรู้เกี่ยวกับ “อึน้องหมา” ไปทีละเรื่องนะคะ เพราะ อึสามารถบอกเราเกี่ยวกับสุขภาพของน้องหมาได้มากมาย โดยเฉพาะอาการหรือโรคที่มีสาเหตุมาจากระบบทางเดินอาหาร ซึ่งโดยลักษณะของอึที่ดีสามารถสังเกตได้จากหลายส่วน ทั้งความเหลว รูปร่าง ปริมาณ กลิ่น และสี ดังนั้น เรามาเช็คสัญญาณง่าย ๆ จากอึน้องหมากันดีกว่า 1. ความเหลว ปริมาณน้ำหรือความเหลวของอึน้องหมา ขึ้นอยู่กับสมดุลของการดูดซึมน้ำของลำไส้ และความสามารถในการกักเก็บน้ำในลำไส้ ดังนั้น ส่วนประกอบของอาหารและความสามารถในการย่อยและดูดซึมของน้องหมาแต่ละตัวจึงมีผลต่อสมดุลนี้ โดยปกติอึของน้องหมาควรมีความชื้นระหว่าง 58% ถึง 72% หรือพูดง่าย ๆ คือมีลักษณะเป็นก้อนดี และต้องไม่แข็งเกินไป […]

อ่านต่อ

โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ หรือ โรคไทรอยด์ฮอร์โมนสูงในแมว (Feline Hyperthyroidism)

โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ ในแมว (Feline Hyperthyroidism) เป็นความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อในแมว โดยต่อมไทรอยด์จะหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากกว่าปกติ โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ เกิดมาจาก ต่อมไทรอยด์ที่เป็นอวัยวะที่อยู่บริเวณลำคอ มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ที่มีบทบาทสำคัญ ต่อการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย รวมไปถึงมีหน้าที่ในการควบคุมพลังงาน และ มีผลต่อการทำงานในอวัยวะต่าง ๆ ที่สำคัญในร่างกายของแมว เช่น หัวใจ สมอง ระบบทางเดินอาหาร ระบบกล้ามเนื้อ เป็นต้น โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ มักพบในแมววัยกลางจนถึงแมวสูงอายุ ช่วงอายุที่มีรายงานในการตรวจพบคือ ตั้งแต่ 4 -22 ปี แต่โดยส่วนมากค่าเฉลี่ยมักจะพบที่อายุมากกว่า 10 ปี โดยโรคนี้สามารถเกิดได้กับแมวทุกเพศ และ ทุกสายพันธุ์ อาการของโรคไฮเปอร์ไทรอยด์ อาการที่เราสามารถสังเกตได้จากภายนอก เช่น น้ำหนักลดลง ถึงแม้จะมีความอยากอาหารอยู่ หรือ สามารถยังกินอาหารได้ปกติ มีการกินจุมากขึ้น ปัสสาวะบ่อย กินน้ำบ่อย ขนหยาบกร้าน มีการเคลื่อนไหวมาก (Hyperactivity) อาเจียน ถ่ายเหลว เป็นต้น ส่วนอาการอื่น ๆ ที่พบตามมาได้ เช่น เบื่ออาหาร […]

อ่านต่อ

อย่ามองข้ามเมื่อแมวขย้อนก้อนขน

ภาพที่คนเลี้ยงแมวมักจะเห็นเป็นประจำก็คือน้องแมวกำลังนั่งเลียขนตัวเอง ซึ่งบางตัวก็ชอบเลียตัวเองมากๆแบบที่เห็นทีไรก็กำลังนั่งเลียขนอยู่ทุกที แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าการที่แมวเลียขนตัวเองไม่ใช่แค่เป็นการทำความสะอาดร่างกายเท่านั้นแต่ยังเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น  การเลียขนหลังจากที่แมวไปนอนอาบแดดเป็นการรับวิตามินดี (Vitamin D) เข้าร่างกาย  การเลียขนเป็นการผ่อนคลายอารมณ์ของน้องแมว การเลียขนเป็นการช่วยระบายความร้อนออกจากร่างกาย เนื่องจากแมวไม่มีต่อมเหงื่อเหมือนกับมนุษย์ แมวจึงใช้วิธีการเลียขนให้เปียกแล้วปล่อยให้แห้งเอง เมื่อแมวกำลังรู้สึกเครียดสับสนหรือเกิดความรู้สึกไม่สบายใจ แมวจะเลียขนตัวเอง ช่วงผลัดขนตามธรรมชาติแมวจะใช้วิธีเลียตัวเพื่อให้ขนหลุดออกไปจากร่างกาย หากเป็นโรคผิวหนัง เช่น เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย หรือโรคที่เกิดจากตัวหมัดตัวไรทำให้แมวมีอาการคันผิวหนังแมวจะเลียขนตัวเองซ้ำๆในบริเวณที่คัน จากสาเหตุต่างๆ ข้างต้นการขย้อนก้อนขน (Hairball) จึงสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในแมวสายพันธุ์ขนสั้นและในแมวสายพันธุ์ขนยาว แมวแต่ละตัวจะมีความถี่ในการขย้อนก้อนขนที่แตกต่างกัน ในบางตัวอาจขย้อนก้อนขนออกมาทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน บางตัวก็ขย้อนก้อนขนเพียงปีละ 1-2 ครั้งเท่านั้น แต่ถ้าเทียบกันในแมวสายพันธุ์ขนยาวและสายพันธุ์ขนสั้น แมวสายพันธุ์ขนยาวจะมีอัตราการขย้อนก้อนขนมากกว่าแมวสายพันธุ์ขนสั้นถึง 2 เท่า เวลาที่แมวเลียตัวเองลิ้นของแมวจะลักษณะเป็นหนามแหลมทำหน้าที่คล้ายหวี ตุ่มหนามถี่ ๆ ที่ลิ้นจะช่วยดักจับสิ่งสกปรกที่ติดตามตัวรวมถึงเซลล์ขนที่ตายแล้วสางออกจากตัว ขนที่หลุดออกมาจากการเลียตัวของแมว แมวจะกลืนขนเหล่านั้นเข้าไปในทางเดินอาหาร ยิ่งในช่วงผลัดขนแมวจะกลืนขนเข้าไปมากกว่าปกติถึง 3 เท่า วิธีที่แมวใช้ในการขับก้อนขนออกจากร่างกายก็คือการอาเจียนหรือคำที่เราคุ้นเคยพูดกันว่า “การขย้อนก้อนขน” ก้อนขนที่ถูกขย้อนออกมาพบได้ทั้งแบบเป็นแท่งยาวๆรีๆหรือเป็นก้อนกลมๆ  และอีกวิธีคือการขับออกมาทางทวารหนัก ขนจะปนออกมาเวลาที่แมวถ่ายหนัก  แต่ถ้าแมวเลียขนมากเกินไป  หรือมีการสะสมของเส้นขนจำนวนมากจนไม่สามารถขับก้อนขนออกมาจากร่างกายได้ จะทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น ถ้าก้อนขนหลุดเข้าไปในช่องคอหอยร่วมกับจมูกจะเกิดภาวะหลอดอาหารอักเสบหรือหลอดอาหารตีบ วิธีสังเกตอาการคือ แมวมีอาการจาม […]

อ่านต่อ

โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข และแมว

โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข และแมว เป็นภัยร้ายที่คร่าชีวิตสุนัขและแมวในบ้านเราได้อย่างต่อเนื่อง เพราะ พยาธิเม็ดเลือดถูกนำโดยเห็บหรือหมัด เมื่อสุนัขหรือแมวติดเห็บหรือหมัดมาจึงมีโอกาสสูงมากที่จะได้รับเชื้อ โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข ติดมาด้วย ถ้าตรวจพบเร็วอาการยังไม่รุนแรงมาก สามารถให้ยาได้ทันการณ์ก็สามารถหายขาดได้ แต่ถ้าอาการลุกลามไปมากแล้ว โอกาสในการช่วยชีวิตก็จะน้อยลงเรื่อย ๆ สาเหตุ พยาธิเม็ดเลือดเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เข้าไปบุกรุกเซลล์เม็ดเลือด ไม่ว่าจะเป็นเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว หรือเกล็ดเลือด จัดอยู่ในกลุ่มโปรโตซัว (Protozoa) หรือกลุ่มริกเกตเซีย (Rickettsia) มีหลายสปีชีส์ (Species) เช่น Babesia spp. Mycoplasma spp. Ehrlichia canis และ Hepatozoon spp. เป็นต้น แต่ละชนิดก็มีเซลล์เม็ดเลือดเป้าหมายที่แตกต่างกันไป แต่สิ่งที่เหมือนกันคือมีการถ่ายทอดเชื้อผ่านพาหะ (Vector) อย่างเห็บและหมัด เห็บหมัดจะดูดเลือดจากสุนัขหรือแมวที่มีพยาธิเม็ดเลือด ทำให้ได้รับตัวอ่อนของพยาธิเม็ดเลือดเข้ามาเจริญอยู่ในตัวเห็บหมัดนั้น ๆ พอเติบโตได้ระยะที่สามารถแพร่เชื้อได้ เมื่อเห็บหมัดไปดูดเลือดสุนัขหรือแมวอีกตัวหนึ่งก็เกิดการถ่ายทอดเชื้อจากเห็บหมัดไป ยังสุนัขหรือแมว พยาธิเม็ดเลือดจึงเข้าไปเจริญเติบโตเพิ่มจำนวน และทำลายเซลล์เม็ดเลือดในร่างกายของสุนัขและแมวได้ทำให้เกิดอาการป่วยด้วยโรคพยาธิเม็ดเลือดตามมา อาการ อาการเด่นชัดของโรคพยาธิเม็ดเลือด คือ ภาวะซีดจากการทำลายเม็ดเลือดแดงของพยาธิเม็ดเลือด เกิดภาวะโลหิตจาง เป็นอาการเด่นที่เจ้าของสามารถสังเกตได้เอง โดยดูจากสีของเยื่อเมือกบริเวณต่าง ๆ […]

อ่านต่อ

โรคลมชักในสุนัขและแมว (epilepsy)

โรคลมชักในสุนัขและแมว หรือ epilepsy เป็นโรคที่เกิดจากการที่มีคลื่นไฟฟ้าในสมองผิดปกติ หรืออาจเรียกได้ว่าเกิดไฟฟ้ารั่วในสมอง ทำให้เกิดอาการชัก (seizure) ให้เห็น โดยสามารถพบได้ทั้งในสุนัขและแมว ซึ่งอาการ หรือ โรคลมชักในสุนัขและแมว อาจจะพบเห็นได้หลายแบบ ได้แก่ พบเพียงครั้งเดียวแล้วหายไป (isolated seizure) เกิดการชักซ้ำภายใน 24 ชั่วโมง (cluster seizure) หรือเกิดการชักต่อเนื่องไม่หยุด (status epilepticus) ซึ่งการชักต่อเนื่องไม่หยุดนี้ ถือเป็นภาวะฉุกเฉินต้องรีบแก้ไขและรีบพาสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์โดยด่วน จุดกำเนิดของไฟฟ้ารั่วหรือจุดลมชัก เรียกว่า seizure focus ชนิดของอาการโรคลมชัก 1. การชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (Generalized epilepsy) เป็นการชักที่เกิดขึ้นจากการที่มีการกระจายตัวของกระแสไฟฟ้าที่รั่วไปทั่วทั้งสมอง ทำให้สุนัขแสดงอาการแบบชักเกร็งกระตุกทั้งตัว อาจพบอาการเหยียดเกร็งแหงนคอ (รูปที่ 1) ร่วมกับอาการตะกรุยขาทั้ง 4 ข้าง อาจพบอาการน้ำลายไหล ปัสสาวะหรืออุจจาระราด รวมทั้งสามารถพบอาการร้องครางขณะชักร่วมด้วย บางครั้งจะพบอาการกัดลิ้นได้บ้างเช่นเดียวกับการชักในคน พบอาการได้ตั้งแต่เพียงแค่ไม่กี่วินาทีจนถึงหลายนาทีได้ การชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัวจะพบการสูญเสียระดับความรู้สึกตัวร่วมด้วย บางครั้งสุนัขหรือแมวสามารถพบอาการก่อนจะมีอาการชักได้ เช่น เดินวน กระวนกระวาย ร้อง […]

อ่านต่อ

10 อันดับ สารพิษต่อสัตว์เลี้ยงที่พบได้บ่อยจากของใช้ภายในบ้าน

โดยปกติแล้ว สัตว์เลี้ยงมักจะใช้ปากและจมูกสำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ทำให้ในบางครั้งอาจได้รับสารพิษเข้าไปแบบไม่รู้ตัว โดยเฉพาะจากสิ่งของ และของใช้ในครัวเรือน ไม่ว่าจะเป็น อาหาร หรือยาสำหรับคน ที่ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ แต่ก็อาจจะเป็น สารพิษต่อสัตว์เลี้ยง ได้ ระดับของความรุนแรงของ สารพิษต่อสัตว์เลี้ยง ที่ทำให้เกิดอาการ และการส่งผลกระทบต่อร่างกายในส่วนต่าง ๆ ตามมานั้น ก็จะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ความจำเพาะของชนิดสัตว์กับสารพิษที่ร่างกายได้รับ และช่องทางการสัมผัสกับสารพิษ อย่าง ทางการกิน การหายใจ หรือการสัมผัสโดยตรง ซึ่งในประเทศไทย สัตวแพทย์ก็พบปัญหาสัตว์เลี้ยงกินสารพิษอยู่เป็นประจำ ตั้งแต่ระดับอาการที่เกี่ยวระบบทางเดินอาหาร อาการทางประสาท หัวใจ ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ จนอาจถึงขั้นโคม่า และเสียชีวิต บ้านและสวน Pets จึงมี 10 อันดับ ของใช้ภายในบ้านที่มักจะเป็นปัญหามาเตือนกันครับ   จะทำอย่างไรเมื่อสงสัยว่าสุนัขกินสารพิษเข้าไป หากคุณคิดว่าสัตว์เลี้ยงของคุณได้รับสารพิษ อย่างแรก คุณต้องต้องใจเย็น ๆ จากนั้นเริ่มการปฐมพยาบาล เมื่อสัตว์เลี้ยงกินสารพิษเข้าไปเกิน 1 ชั่วโมง ให้กระตุ้นสัตว์เลี้ยงให้อาเจียนออกมา โดยป้อนไข่ขาวดิบ หรือนม หรือป้อนไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ […]

อ่านต่อ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับสัตว์เลี้ยง (First aid)

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับสัตว์เลี้ยง คือ การดูแลเมื่อสัตว์มีอาการป่วย หรือบาดเจ็บ โดยไม่จำเป็นต้องมีสัตวแพทย์อยู่ แต่ควรจะรู้จักคลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์ที่ใกล้ที่พักและเวลาเปิด-ปิด แต่ที่สำคัญที่สุด คือ เจ้าของจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับสัตว์เลี้ยง เพื่อลดความเจ็บปวดและลดความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์ วิธีการนำสัตว์เลี้ยงมายังโรงพยาบาล หลังจาก การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับสัตว์เลี้ยง ควรพาสัตว์เลี้ยงไปยังโรงพยาบาล เพื่อรักษาอาการอย่างถูกต้อง ด้วยภาชนะที่นำสัตว์ที่เหมาะสม เช่น • สุนัขพันธุ์เล็ก หรือแมว ให้ใส่กระเป๋า หรือกล่องกระดาษแข็ง• สุนัขพันธุ์ใหญ่ สามารถใช้เปลหาม หรือจูงสัตว์มา หากสุนัขยังสามารถเดินได้ โดยเคลื่อนย้ายอย่างระมัดระวัง และจับสัตว์เลี้ยงอย่างระมัดระวัง เพราะเมื่อสัตว์อยู่ในภาวะเครียด จะทำให้สัตว์เลี้ยงแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวได้• ใช้อุปกรณ์ในการช่วยจับบังคับสัตว์ เพื่อป้องกันสัตว์กัดเจ้าของ เช่น ที่ปิดปากสัตว์ (Muzzling), การใช้ผ้าห่อตัวสัตว์ (Wrapping), การทำให้สัตว์นอนอยู่กับที่ (Immobilizing) ภาวะฉุกเฉินที่สามารถพบได้บ่อย  1.การได้รับสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นจากการกิน การหายใจเข้าไป หรือการสัมผัสกับผิวหนังโดยตรงจากสารเคมีชนิดต่าง ๆ เช่น สารเคมีในครัวเรือน, ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด, ยาตามใบสั่งแพทย์, สารกำจัดหนู หรือ อาหารที่เป็นพิษต่อสัตว์ (ช็อคโกแลต) อันตรายจากช็อคโกแลต […]

อ่านต่อ

7 พืชผักสมุนไพร ยาธรรมชาติสำหรับสัตว์เลี้ยง

ขึ้นชื่อว่าสมุนไพร ต่างก็ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ หรือมีสรรพคุณทางยาที่ช่วยในการบำรุงรักษา ไม่ว่าจะต่อมนุษย์ หรือ สัตว์เลี้ยงเองก็ตาม โดยเฉพาะสำหรับสัตว์เลี้ยงที่เราไม่ควรใช้ยาของคน อย่าง พาราเซตามอล ยาแก้ปวด ยาแก้แพ้ ในการเยียวยาหรือรักษา เพราะ อาจทำให้เกิดอันตรายตามมาได้ วันนี้ บ้านและสวน Pets จึงมีอีกหนึ่งทางเลือก อย่าง พืชผักสมุนไพร ยาธรรมชาติสำหรับสัตว์เลี้ยง มาแนะนำกันค่ะ แต่ทั้งนี้ผู้เลี้ยงควรปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนทุกครั้ง ในทุกกรณี เพื่อกำหนดปริมาณที่เหมาะสม และป้องกันการเกิดอาการแพ้ หรืออันตรายด้วยนะคะ 1.สะระแหน่ (Mint) ชื่อวิทยาศาสตร์: Mentha cordifolia Opizวงศ์: Lamiaceae (Labiatae) เป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม ช่วยบรรเทาอาการระบบทางเดินอาหาร ลดอาการอาเจียน ช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ ปั่นป่วน อาการเมารถ สำหรับน้องแมวยังช่วยละลายเสมหะ ลดน้ำมูก และช่วยให้รู้สึกสดชื่น อารมณ์ดีได้อีกด้วย ซึ่งถ้าหากเลือกใช้เป็นประเภทน้ำมันหอมระเหยต้องเลือกเป็นเกรดที่สามารถทานได้ นอกจากนี้ยังควรใช้ในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะการใช้ในปริมาณที่สูงเกินไปก็อาจมีผลกระทบต่อตับ หรือไตได้เช่นกันนะคะ 2.อบเชย (cinnamon) ชื่อวิทยาศาสตร์: Cinnamomum verumวงศ์: Lauraceae […]

อ่านต่อ

ไวรัสโคโรนาในแมว (Feline coronavirus)

ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมาข่าวการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ไวรัสอู่ฮั่น” เนื่องจากพบการระบาดที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ต่อมาองค์กรอนามัยโลก (WHO) ประกาศตั้งชื่อไวรัสชนิดนี้ว่า Covid-19 ซึ่งย่อมาจาก “coronavirus disease starting in 2019” ไวรัสโคโรนา มีความรุนแรงมาก ทำให้ผู้ป่วยมีปอดอักเสบรุนแรงจนถึงเสียชีวิตได้ ที่มาของเชื้อสันนิฐานว่าน่าจะมาจากเนื้อสัตว์ที่ขายในตลาดสดและสามารถติดต่อมาสู่คนได้ การแพร่กระจายของเชื้อมาจากการสูดดมละอองฝอยที่มีเชื้อไวรัสปนอยู่ โดยที่เชื้อจะเข้าไปอยู่ที่เนื้อเยื่อปอด ทำให้ปอดติดเชื้อและเกิดภาวะการหายใจล้มเหลว นอกจากนี้แล้วไวรัสโคโรนาสามารถก่อโรคในแมวแต่เป็นคนละสายพันธุ์กับ ไวรัสโคโรนาในคน (Covid-19) ไวรัสโคโรนาที่ก่อโรคในสัตว์ โดยเฉพาะในสุนัขและแมว ทางการแพทย์ได้ค้นพบไวรัสชนิดนี้มานานแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 1963 มีการติดเชื้อได้ทั่วโลก ไวรัสโคโรนาในแมว มีชื่อว่า Feline coronavirus หรือ FCoV เป็นไวรัสที่ติดต่อระหว่างแมว เชื้อไวรัสตัวนี้ติดได้ง่ายจากการเลี้ยงแมวในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น การใช้กระบะทรายร่วมกันหลายตัว การเลี้ยงรวมกันอย่างหนาแน่น  ปัจจัยเหล่านี้ทำให้แมวเกิดความเครียดและเป็นผลทำให้ติดเชื้อไวรัสง่ายขึ้น เนื่องจาการแพร่ของเชื้อเกิดได้จากการกินน้ำและอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระที่มีเชื้อไวรัสปนอยู่ รวมไปถึงปัจจัยช่วงอายุมีผลเช่นกัน พบว่าช่วงอายุที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสได้ง่ายคือแมวอายุน้อยกว่า 2 ปี และ แมวแก่อายุมากกว่า 17 ปี เพราะ เป็นช่วงที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่แข็งแรง ไวรัสโคโรนาในแมว มี […]

อ่านต่อ

มะเร็งหรือเนื้องอกในแมวที่พบบ่อย พร้อมวิธีการรักษาและการพยากรณ์โรค

หากได้ยินคำวินิจฉัยจากคุณหมอว่าเเมวของคุณเป็นมะเร็งหรือเนื้องอก เเน่นอนว่าหลายคนก็คงต้องเศร้าไปกับคำวินิจฉัยนั้น เเต่ใช่ว่านั่นจะเป็นเรื่องเลวร้ายเสมอไป เพราะมะเร็งบางชนิดหากตรวจพบได้ไวในระยะไม่ลุกลาม ก็มีโอกาสทำการรักษาได้รวดเร็วและหายขาด มะเร็ง (cancer หรือ malignant tumor) เป็นคำศัพท์ที่ใช้อธิบายโรคที่เกิดขึ้นจากเนื้องอก (tumor หรือ neoplasm) ซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์ที่ผิดปกติที่เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องในร่างกายโดยไม่หยุด ทำให้เกิดเป็นก้อนเนื้อขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงมีแนวโน้มลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง เลือด และระบบน้ำเหลือง ส่วนเนื้องอกที่ไม่ได้มีการแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น และไม่ได้มีการลุกล้ำไปยังอวัยวะข้างเคียง ภาษาอังกฤษเรียกว่า benign tumor เนื้องอกในแมว วันนี้คุณหมอจะมาเล่าให้ฟังเนื้องอกหรือมะเร็งที่พบบ่อยในแมว พร้อมวิธีการรักษาและการพยากรณ์โรคมาฝากครับ 1.มะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือ lymphosarcoma (อ่านว่า ลิมโฟซาร์โคมา) หรือ อาจเรียกว่า lymphoma (อ่านว่า ลิมโฟมา) เป็นมะเร็งซึ่งมีเซลล์ต้นกำเนิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า lymphocyte แมวที่เป็นโรคลิวคีเมียจะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งชนิดนี้มากขึ้น ถ้าแมวมีโรคลิวคีเมียมักจะพบมะเร็งชนิดนี้ที่อายุเฉลี่ยเพียง 3 ปี เท่านั้น อายุเฉลี่ยที่พบมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในแมวที่ไม่เป็นลิวคีเมียคือ 8 ปี อาการที่แสดงขึ้นอยู่กับอวัยวะที่มะเร็งลุกลามไป มะเร็งที่อยู่ในช่องอกในต่อมไทมัส แมวจะหายใจลำบาก อ้าปากหายใจและไอ มะเร็งอยู่ภายในทางเดินอาหาร ผนังลำไส้หนาตัว […]

อ่านต่อ

ปรสิตภายนอก-ภายใน และ การถ่ายพยาธิ

วันนี้ หมอจะขอกล่าวถึงข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับพยาธิภายนอก พยาธิภายใน และ การถ่ายพยาธิ ที่เหมาะสมแก่น้องหมาน้องแมวให้ทุกท่านได้ทราบกันค่ะ

อ่านต่อ

น้องหมา น้องแมว เป็นโรคเครียดได้ด้วยหรือ? เค้าเครียดเรื่องอะไรกันนะ?

ความเครียด หรือ โรคเครียด (stress) ไม่ว่าจะเป็นความเครียดแบบเรื้อรังหรือเครียดสะสมนั้น จะส่งผลเสียต่อทั้งสภาพจิตใจและทำให้ร่างกายอ่อนแอ

อ่านต่อ

อาการและวิธีรับมือ เมื่อแมวเหมียวมีพยาธิ

แมวเป็นสัตว์รักความสะอาด หลังการผจญภัยหรือมีเวลาว่าง พวกมันจะเลียขน เลียเท้า แทะเล็บอย่างเมามัน นิสัยเช่นนี้ทำให้ แมวมีพยาธิ และ เชื้อโรคอื่นๆ อยู่ตลอดเวลา

อ่านต่อ