บ้านและสวน

ภาวะเส้นเลือดรัดหลอดอาหาร (Persistent right aortic arch : PRAA)

ภาวะเส้นเลือดรัดหลอดอาหาร Persistent right aortic arch (PRAA) หรือ Vascular ring anomaly เป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดของเส้นเลือดแดงขนาดใหญ่เส้นหนึ่งบริเวณหัวใจ โดยตามปกติแล้ว เส้นเลือดเส้นนี้ควรจะหายไปเมื่อสัตว์โตขึ้น หรืออาจเกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือด Right subclavian artery ซึ่งความผิดปกติทั้ง 2 แบบ จะทำให้เส้นเลือดแดงอ้อมไปรัดบริเวณหลอดอาหาร (Esophagus) เป็นลักษณะวงแหวน (Complete ring around) และมีโอกาสพบมากในลูกสุนัขที่อายุน้อยกว่า 6 เดือนมากถึง 90% โดยเฉพาะสายพันธุ์ บอสตัน เทอร์เรีย (Boston Terriers), เยอรมัน เชพเพิร์ด (German Shepherds), ไอริช เซตเทอร์ (Irish Setter) และ เกรทเดน (Great Dane) การพัฒนาในระยะตัวอ่อน ส่วนโค้งเส้นเลือดแดงเอออร์ต้าด้านขวา (Right aortic arch) มีการเจริญผิดปกติ โดยมีการพัฒนาไปเป็นเส้นเลือดแดงหลัก แล้วทำให้เส้นเลือดแดงด้านซ้าย […]

อ่านต่อ
โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนอง

โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนองในสุนัข (Pyoderma)

โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนอง หรือ Pyoderma เป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในสุนัข ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบนผิวหนังและรูขุมขน โดยการอักเสบหรือเกิดบาดแผล จะทำให้สภาพแวดล้อมบนผิวหนังบริเวณนั้นเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นความชื้น และอุณหภูมิที่สูงขึ้น ทำให้แบคทีเรียประจำถิ่น หรือจุลินทรีย์ประจำถิ่น (Normal flora) ที่ทำหน้าที่สร้างภูมิต้านทานให้แก่ผิวหนังบริเวณนั้นอ่อนแอลง แบคทีเรียกลุ่มที่ก่อโรคจึงเจริญเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้เกิดเป็น โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนอง แบคทีเรียก่อโรคชนิดแกรมบวกที่พบได้มากในสุนัขที่เป็นโรคนี้ คือกลุ่ม Staphylococcus intermedius และยังพบแบคทีเรียชนิด Staphylococcus aureus และ Staphylococcus hyicus อีกด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วแบคทีเรียกลุ่มดังกล่าวสามารถพบได้ทั้งในสุนัขและแมวทั่วไปที่มีสุขภาพผิวหนังดี แต่จะพบในปริมาณที่ต่ำมาก และอยู่แบบชั่วคราวมากกว่าถาวร นอกจากนี้แบคทีเรียกลุ่มนี้ยังอาศัยอยู่บริเวณเยื่อเมือกของทวารหนักจมูก ปาก ตาขาว และอวัยวะสืบพันธุ์อีกด้วย เมื่อสัตว์เลียขน หรือกัดแทะผิวหนัง ก็สามารถพบเชื้อแบคทีเรียกลุ่มนี้บนผิวหนังและขุมขนได้เช่นกัน หากมีบาดแผลหรือการอักเสบบริเวณที่เลียก็จะก่อให้เกิดบาดแผลอักเสบ และติดเชื้อเป็นหนองในเวลาต่อมา สาเหตุ (Cause) ช่วงอายุของสุนัขที่มักเกิดโรคและระยะเวลาการเกิดโรคนั้นขึ้นอยู่กับ สาเหตุแท้จริง (underlying cause) หรือสาเหตุเริ่มต้น (Primary cause) ที่ทำให้เกิดโรค ล้วนแล้วเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบหรือเกิดบาดแผลจนทำให้เกิด โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนอง มีหลายสาเหตุด้วยกัน แบ่งตามช่วงอายุ ดังนี้ […]

อ่านต่อ

โรคหมอนรองกระดูก (Intervertebral Disc Disease : IVDD)

ไขสันหลังจัดเป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่สำคัญและอ่อนไหวได้ง่ายในร่างกาย หากได้รับความเสียหายเซลล์ประสาทจะไม่สามารถสร้างใหม่ แต่จะถูกทดแทนด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน การบาดเจ็บของไขสันหลังมักจะไม่สามารถกลับมาทำงานปกติแบบเดิมได้ ดังนั้นเพื่อปกป้องไขสันหลัง ไขสันหลังจึงอยู่ภายในบริเวณกระดูกสันหลังที่มีกระดูกรอบข้างปกคลุมในทุกด้าน ยกเว้นบริเวณที่มีรอยต่อของกระดูกสันหลัง บริเวณดังกล่าวเป็นที่อยู่ของหมอนรองกระดูก (Intervertebral Discs) ที่มีลักษณะคล้ายยางนิ่ม ๆ ซึ่งกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกช่วยให้บริเวณหลังสามารถขยับขึ้นลงได้หรือไปด้านข้างได้ โดยที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับไขสันหลัง โรคหมอนรองกระดูก หมอนรองกระดูกประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนด้านนอก เรียกว่า Annulus Fibrosus ทำหน้าที่คล้ายกับเปลือกหอย ซึ่งมีส่วนประกอบของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เหนียวทำให้สามารถปกป้องและรักษาส่วนด้านในไว้ได้ โดยส่วนด้านใน เรียกว่า Nucleus Pulposus มีลักษณะนุ่มกว่าด้านนอก เนื้อสัมผัสคล้ายกับเยลลี่ หมอนรองกระดูกส่วนปลายทั้งสองข้างมีลักษณะบางเรียว ซึ่งบริเวณดังกล่าวอยู่ด้านใต้ของไขสันหลัง การเกิด โรคหมอนรองกระดูก มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของหมอนรองกระดูกส่วนด้านนอก หรือเกิดการฉีกขาดทำให้ส่วนด้านในทะลักออกมา เรียกว่า slipped disc หรือ herniated disc ซึ่งทำให้สัตว์แสดงอาการปวด สูญเสียการทำงานของขาจนทำให้เกิดภาวะอัมพฤกษ์ หรือถึงขั้นเป็นอัมพาตได้ และบางครั้งรุนแรงจนถึงขั้นไม่มีความรู้สึกที่ขาได้ ความผิดปกติของหมอนรองกระดูกสามารถเกิดได้หลายตำแหน่งไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งกระดูกสันหลังส่วนคอ (cervical), ส่วนอกและเอว (thoraco–lumbar region), หรือตำแหน่งเอวต่อก้นกบ (lumbosacral) ลักษณะการกดทับมีอยู่ […]

อ่านต่อ

บ็อกเซอร์ : ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

สุนัขพันธุ์บ็อกเซอร์ มีการขนานนามว่าเป็นสุนัขปีเตอร์แพน (Perter Pan) เพราะเป็นสุนัขที่ไม่รู้จักเหนื่อย และเป็นมิตรกับทุกคน ประวัติ สุนัขพันธุ์บ็อกเซอร์ สุนัขพันธุ์บ็อกเซอร์ (ฺBoxer) มีการขนานนามว่าเป็นสุนัขปีเตอร์แพน (Perter Pan) เพราะเป็นสุนัขที่ไม่รู้จักเหนื่อย และเป็นมิตรกับทุกคน ซึ่งมาจากการผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์ 3 พันธุ์ คือ สุนัขพันธุ์บลูเลนไบเซอร์ (Bullenbeisser) เป็นสุนัขนักล่าที่สูญพันธุ์ไปแล้ว (สอง) สุนัขไม่ทราบสายพันธุ์ และอิงลิช บูลด็อก (English bulldog) ในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 19 มีชาวเยอรมัน Georg Alt ได้นำสุนัขเพศเมียพันธุ์บลูเลนไบเซอร์ ผสมพันธุ์กับสุนัขที่ไม่ทราบสายพันธุ์ และได้ออกลูกสุนัขเพศผู้ออกมาเป็นสุนัขแคระ สีครีมปนขาว (Cream with White) ชื่อ Lechner’s Box ซึ่งสุนัขชื่อ Lechner’s Box ตัวนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของสายพันธุ์บ็อกเซอร์ที่ได้รู้จักกันทุกวันนี้ โดยสุนัขชื่อ Lechner’s Box ได้ผสมพันธุ์กับสุนัขเลือดชิด (Inbreed) คือสุนัขที่เกิดจากพ่อแม่เดียวกันผสมพันธุ์กัน และได้ออกลูกสุนัขเพศเมียออกมา […]

อ่านต่อ
ไทยหลังอาน

ไทยหลังอาน (Thai Ridgeback) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

หมาไทยหลังอาน สุนัขที่เป็นสัญลักษร์และความภาคภูมิใจของไทย ประวัติสายพันธุ์ หมาไทยหลังอาน หมาไทยหลังอาน มีบันทึกครั้งแรกที่ประเทศไทยเมื่อประมาณ 350 ปีทีแล้ว  หรืออาจมากกว่านั้น โดยมีทฤษฎีหนึ่งกล่าวไว้ว่าสุนัขพันธุ์นี้สืบเชื้อสายมาจากสุนัขพันธุ์พันธุ์ Hottentot ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว และมีความเกี่ยวข้องในการพัฒนาของสายพันธุ์ Rhodesiam ridgeback ในปัจจุบัน สุนัขพันธุ์ไทยหลังอาน ถูกนำมาเลี้ยงโดยมีจุดประสงค์ที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นสุนัขเฝ้าระวังและสุนัขแจ้งเตือนภัย สุนัขคุ้มกัน สุนัขสำหรับเกมส์ล่าสัตว์ หรือคอยกำจัดงูเห่าตามชายหาด ซึ่งโดยส่วนใหญ่สุนัขพันธุ์ไทยหลังอานมักจะอาศัยอยู่ทางตะวันออกของไทย โดยเฉพาะบนเกาะ เช่น เกาะดาวฟูก๊วก ซึ่งติดกับชายแดน ประเทศกัมพูชา และเวียดนาม สายพันธุ์นี้พบครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 1994 โดยมีบันทึกในสมาคมสุนัขในสหราชอาณาจักรในปี 1996 และมีบันทึกในสมาคม American Kennel Club’s Foundation Stock Service ในปี 1997 ลักษณะทางกายภาพ จัดอยู่ในกลุ่มสุนัขขนาดกลาง ขนาดลำตัวยาวกว่าความสูงของลำตัวเล็กน้อย ช่องอกมีความลึกถึงบริเวณข้อศอก มีโครงสร้างกล้ามเนื้อที่แข็งแรง กระดูกซี่โครงมีความโค้งงอ ผิวหนังมีความนุ่ม ละเอียด ขนสั้น เรียบ สีขนค่อนข้างหลากหลายไม่ว่าจะเป็นสีแดง ดำ เทาและน้ำตาลแกมเหลือง […]

อ่านต่อ

เกรฮาวด์ (Greyhounds) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ เกรฮาวด์ (Greyhounds) ถือเป็นสุนัขสายพันธุ์โบราณ ที่มีต้นกำเนิดมาจากตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ จากนั้นเกรฮาวด์ได้ถูกนำเข้ามายังทวีปยุโรปในช่วงยุคมืด เพื่อชื่นชมความสามารถในการล่าสัตว์ของสายพันธุ์นี้ และจากการที่เกรย์ฮาวด์เป็นสุนัขสายพันธุ์ที่สามารถวิ่งได้เร็วมากกว่าสุนัขล่าสัตว์อีกหลากหลายสายพันธุ์ ทำให้สุนัขพันธุ์เกรฮาวน์ได้รับความนิยมมากขึ้น และเกิดเป็นกีฬาแข่งขันความเร็วของสุนัขเกรฮาวด์ในประเทศอังกฤษ หลังจากนั้นนักสำรวจเรือชาวสเปน และอังกฤษได้นำสุนัขพันธุ์เกรฮาวน์เข้ามายังประเทศอเมริกา และได้กลายเป็นสุนัขพันธุ์แรก ๆ ที่ได้เข้าแข่งขันประกวดสุนัข และได้จดทะเบียนอย่างเป็นทางการในสมาคม American Kennel Club ในปี 1885 ลักษณะทางกายภาพ โดยปกติสุนัขเพศผู้ มีความสูงเฉลี่ยประมาณ 71-76 เซนติเมตร และหนักประมาณ 27-40 กิโลกรัม ส่วนในเพศเมียจะมีขนาดเล็กกว่ามีส่วนสูงเฉลี่ยประมาณ 68-71 เซนติเมตร และมีน้ำหนักในช่วง 27-34 กิโลกรัม เกรฮาวด์ เป็นสุนัขที่มีขนค่อนข้างสั้น ทำให้ง่ายต่อการดูแลรักษา โดยสุนัขเกรฮาวน์มีสีทั้งหมดประมาณ 30 แบบ ซึ่งเกิดจากความหลากหลายของสีขาว, สีดำด่าง, สีเหลืองทอง, สีน้ำตาลแดงและเทา โดยแต่ละสีสามารถปรากฏแบบเดี่ยว ๆ หรือผสมรวมกัน อายุขัย เนื่องจากสุนัขเกรฮาวน์เป็นสุนัขขนาดใหญ่ ทำให้มีอายุขัยสั้นกว่าสุนัขพันธุ์อื่น ซึ่งโดยปกติมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 10-12 ปี […]

อ่านต่อ

เอ็กซ์โซติก ช็อตแฮร์ (Exotic Shorthair) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ แมวพันธุ์ เอ็กซ์โซติก ช็อตแฮร์ จัดอยู่ในประเภทแมวขนสั้น ที่มีต้นกำเนิดตั้งแต่ช่วงปลายปี ค.ศ. 1950 โดยนักผสมพันธุ์สัตว์ (Fancier) ได้ทำการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างแมวพันธุ์แท้ของอเมริกัน ช็อตแฮร์ (American Shorthair) กับแมวพันธุ์เปอร์เซีย (Persians) เพื่อปรับปรุงลักษณะโครงสร้างพื้นฐานของร่างกาย และเพื่อให้สีขนมีความสวยงามมากยิ่งขึ้น โดยนักผสมพันธุ์สัตว์ได้นำสีขนสีเงินของแมวพันธุ์เปอร์เซียเข้าไปผสมกับสีขนของแมวพันธุ์อเมริกัน ช็อตแฮร์  และในช่วงแรกของการผสมนี้ แมวพันธุ์เอ็กซ์โซติก ช็อตแฮร์ ยังไม่เป็นที่ยอมรับ และยังไม่เป็นนิยมจากผู้คนส่วนมาก ทำให้ไม่ค่อยเป็นที่กล่าวถึง และเริ่มจางหายออกไปจากประวัติสายพันธุ์แมว ในปี ค.ศ. 1967 แมวพันธุ์เอ็กซ์โซติก ช็อตแฮร์ ได้กลับมาเป็นที่ยอมรับและนิยมอีกครั้ง เนื่องจากสมาคม The Cat Fanciers Association (CFA) ในสหรัฐอเมริกา ได้จัดอันดับให้แมวพันธุ์เอ็กซ์โซติก ช็อตแฮร์ชนะเลิศในการประกวดสายพันธุ์แมวจากแมวทุกสายพันธุ์ นอกจากนี้สมาคมยังได้ทำการเพิ่มแมวพันธุ์เอ็กซ์โซติก ช็อตแฮร์ว่า เป็นแมวที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ของแมวพันธุ์อเมริกัน ช็อตแฮร์และแมวพันธุ์เปอร์เซีย ในปี ค.ศ. 1979 สมาคม The International Cat Association (TICA) […]

อ่านต่อ
แมวเบงกอล

เบงกอล (Bengal) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ ชื่อของ แมวเบงกอล มาจาก Felis Bengalensis ซึ่งเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ของแมวดาว ในภาษาลาติน ถือเป็นแมวสายพันธุ์ใหม่ที่มีต้นกำเนิดจากการผสมข้ามพันธุ์ของแมวดาวเอเชียกับแมวพื้นเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อรักษาความคล้ายคลึงทางกายภาพที่แข็งแกร่งของแมวบรรพบุรุษที่เป็นแมวป่า และเพื่อให้ได้สายพันธุ์แมวที่เหมาะสำหรับการเลี้ยงในครอบครัว ปัจจุบันแมวเบงกอลเป็นแมวที่ติดอันดับ 5 ของแมวยอดนิยมในราชอาณาจักร ลักษณะทางกายภาพ แมวเบงกอล มีลักษณะภายนอกคล้ายแมวป่า แข็งแรง สามารถมองเห็นกล้ามเนื้อได้ชัดเจน มีความสมดุลของกล้ามเนื้อและขนาดตัว แมวเบงกอลมีขากรรไกรที่แข็งแรง มีจุดสังเกตเป็นสีเข้มบริเวณรอบดวงตา มีหูขนาดเล็ก แต่มีความกลมมนที่ส่วนปลายหู ขนสั้นถึงปานกลาง ผิวสัมผัสมีความแน่นและเรียบ นอกจากนี้ยังมีสีของขนที่เป็นเอกลักษณ์ของสายพันธุ์ไม่เหมือนกับแมวชนิดอื่น คือ มีลายจุด, ลายคล้ายดอกกุหลาบ, ลายลูกศร หรือ ลายหินอ่อน ซึ่งจุดส่วนใหญ่จะปรากฎในรูปแบบสุ่ม หรือวางตัวในแนวนอนตามลำตัว อายุขัย แมวเบงกอลมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 14-16 ปี ซึ่งมีอายุขัยเฉลี่ยใกล้เคียงกับแมวสายพันธุ์ทั่วไป ลักษณะนิสัย แมวเบงกอลเป็นแมวที่มีนิสัยรักใคร่ ชอบแสดงความรัก และเป็นแมวที่มีพลังเยอะ ว่องไว ชอบเล่น ชอบปีนป่าย นอกจากนี้แมวเบงกอลยังเป็นแมวที่ฉลาดและชอบที่จะสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และสามารถส่งเสียงร้องที่เป็นเอกลักษณ์ การเข้ากับเด็ก แมวเบงกอลเป็นแมวที่กระตือรืนร้นและเข้าสังคมได้ดี เหมาะสำหรับการเลี้ยงในครอบครัวที่มีเด็กและสุนัขที่เป็นมิตร แมวเบงกอลสามารถเล่นและเรียนรู้เทคนิคง่ายๆ […]

อ่านต่อ
ขาวมณี

ขาวมณี หรือขาวปลอด (Khao Manee) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ แมวขาวมณี แมวขาวมณี เป็นแมวที่มีต้นกำเนิดจากประเทศไทย ถูกบันทึกครั้งแรกในช่วงศตวรรษที่ 14 ในเล่มที่เรียกว่า ตำราแมว เดิมมีชื่อว่า ขาวปลอด ซึ่งมีความหมายว่าสีขาวสนิททั้งตัว จากนั้นถูกเปลี่ยนมาเป็น ขาวมณี เนื่องจากมีสีตาที่แตกต่างกันออกไป แมวขาวมณี เป็นที่ชื่นชอบของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ (รัชกาลที่ 5) ซึ่งเป็นกษัตริย์ของไทยในช่วงปี 1868 – 1910 โดยแมวพันธุ์ขาวมณีถูกเลี้ยงเป็นอย่างดีภายในวังไม่ให้คนภายนอกเห็น และได้รับการปกป้อง เพื่อให้เป็นแมวที่มีต้นกำเนิดจากรางวงศ์ไทย แมวขาวมณีเป็นแมวที่พบได้ยาก และไม่เคยถูกส่งออกนอกประเทศ และจนกระทั่งปี 1999 คอลลีน เฟรมัท นักอนุรักษ์สัตว์ชาวอเมริกัน ได้เริ่มนำแมวพันธุ์ขาวมณีจำนวน 12 ตัว ไปทำการเพาะขยายพันธุ์ และหลังจากนั้นไม่นาน นักเพาะพันธุ์จากประเทศฝรั่งเศส ก็ได้สานต่อการขยายพันธุ์แมวขาวมณี ทำให้กลายเป็นเจ้าเดียวในประเทศแถบตะวันตก ลักษณะทางกายภาพ ขาวมณี แมวขาวมณีมีลักษณะเหมือนแมวฝั่งตะวันตก รูปร่างเพรียว สวยงาม มีโครงสร้างกระดูกที่ค่อนข้างบางและมีขาหน้าสั้นกว่าขาหลัง บริเวณส่วนหลังและข้างลำตัวโค้งเล็กน้อย หัวของแมวขาวมณีมีขนาดเล็กและมีรูปทรงสามเหลี่ยม จมูกมีรอยหักเล็กน้อย หูมีขนาดปานกลางและตั้ง โดยเฉพาะในเพศผู้ แมวขาวมณีมีจมูกและอุ้งเท้าเป็นสีชมพู นอกจากนี้แมวขาวมณีมีลักษณะพิเศษที่โดดเด่น คือ รูปทรงของตาและสีของตา […]

อ่านต่อ
แมวสฟิงซ์

สฟิงซ์ (Sphynx) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สฟิงซ์ มีต้นกำเนิดในช่วงประมาณต้นปี 1960 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการพัฒนาพันธุ์แมวขึ้นในประเทศแถบยุโรป แต่ แมวสฟิงซ์ ในปัจจุบันเป็นที่รู้จักว่า มีการพัฒนามาจากโตรอนโต้ ประเทศแคนนาดา ตั้งแต่ปี 1970 และในปัจจุบันนักเพาะพันธุ์แบ่งต้นกำเนิดการพัฒนาของแมวสฟิงซ์ออกเป็น 2 สาย คือ มาจากฝั่งมิเนสโซต้า และจากประเทศแคนนาดา ลักษณะทางกายภาพ นอกจากลักษณะพิเศษที่ แมวสฟิงซ์ ไม่มีขนแล้วยังมีลักษณะอื่น ๆ ที่แตกต่างจากแมวทั่วไป เช่น สฟิงซ์มีหุ่นที่ผอมเพรียว และมีความแข็งแรงร่วมด้วย เนื่องจากสฟิงซ์ชอบวิ่งเล่นและทุ่มสุดตัวกับเจ้าของหากมีโอกาศได้เล่น นอกจากนี้แมวสฟิงซ์ยังมีขนาดตัวที่ใหญ่ หูยาวแหลม ซึ่งหูของสฟิงซ์ในขณะที่ยังเป็นลูกแมว ทำให้แมวหน้าตาคล้ายกับเอลฟ์ (Elf) และนั้นเป็นเหตุผลที่ทำให้แมวสฟิงซ์เป็นที่รักและชื่นชอบของผู้คนทั่วมุมโลก ถึงแม้ว่าสหฟิงซ์จะดูเหมือนไม่มีขน แต่ที่จริงแล้วสฟิงซ์มีขนขนาดที่เล็กมากอยู่บนผิวหนังคล้ายกับขนของมนุษย์  และสามารถมีหนวดได้เหมือนกับแมวชนิดอื่น จึงทำให้สฟิงซ์สามารถมีผิวหนังได้หลากหลายสี โดยสฟิงซ์จะมีรุปแบบของสีผิวที่แตกต่างกัน เช่น มีสีเดียวทั้งตัว มี 2 สี, 3 สี หรือมากกว่านั้น อายุขัย สฟิงซ์มีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 15-20 ปี ลักษณะนิสัย ลูกแมวสฟิงซ์มีลักษณะนิสัยต่างจากที่เห็น คือ มีลักษณะเฉพาะตัวที่เด่น […]

อ่านต่อ

7 ขั้นตอน ฝึกลูกสุนัขที่บ้านด้วยตนเอง ในช่วง COVID-19

สวัสดีท่านผู้อ่าน ทุกท่านครับ ณ วันที่ผมเขียนบทความนี้ คนไทยเราก็ยังคงอยู่ในช่วง Social Distancing คือยังไม่ควรอยู่ใกล้กันจนเกินไป เพื่อป้องกันการติดต่อของเชื้อไวรัส COVID-19 ตามสโลแกนที่ว่า “โรคติดต่อ จะไม่ติดต่อ ถ้าเรา ไม่ติดต่อกัน” ฝึกลูกสุนัขที่บ้านด้วยตนเอง แต่สำหรับท่านที่กำลังเลี้ยงลูกสุนัข บางท่านที่พอจะศึกษามาบ้าง ก็อาจจะลำบากใจ เพราะในช่วงอายุของสุนัขนั้น วัยที่ควรจะปูพื้นพฤติกรรมให้ลูกสุนัขรู้สึกดีหรือคุ้นชินกับสิ่งแวดล้อมภายนอกตัวเขา เพื่อให้เขาโตขึ้นมาเป็นสุนัขที่มีจิตประสาทและอารมณ์เหมาะสม มันจำกัดอยู่แค่ประมาณช่วงอายุระหว่าง 3-20 สัปดาห์เท่านั้น หลักจากที่เลยวัยนี้ไปแล้ว ประตูแห่งการเปิดรับมันจะค่อย ๆ ปิดลง และหลายกรณีถ้าลูกสุนัขมีความรู้สึกที่ไม่ดีกับอะไรไปแล้ว มักจะติดไปจนโต สิ่งที่ทำได้คือการมาปรับแก้ไขซึ่งจะใช้เวลาในการแก้ไขจากให้รู้สึกไม่ดีกลับมาเป็นรู้สึกดีนานกว่า และหลายเคสอาจไม่สามารถแก้ไขให้สุนัขกลับมามีจิตประสาทหรืออารมณ์ที่ดีอย่างที่เขาควรจะเป็นได้ 100% ถ้าเทียบกับการได้ปูพื้นพฤติกรรมให้แต่เนิ่น ๆ ในช่วงอายุ 3-20 สัปดาห์ ฝึกลูกสุนัขที่บ้านด้วยตนเอง ซึ่งการปูพื้นฐานนี้ จะไม่เหมือนกับการฝึกเชื่อฟังคำสั่ง ที่เราสามารถฝึกให้สุนัขเรียนรู้ไปได้ตลอดชีวิตครับ ถ้าเรามีสิ่งจูงใจสุนัขที่แรงพอ (ไม่ว่าจะเป็นรางวัลที่สุนัขชอบ หรือการทำโทษที่สุนัขไม่ชอบ) ถ้าสิ่งจูงใจแรงพอ สุนัขจะทำตามเสมอ ไม่ว่าจะอายุในช่วงใด ดังนั้น การปูพื้นพฤติกรรมตั้งแต่ยังเป็นลูกสุนัขช่วงอายุตั้งแต่ 3-20 สัปดาห์ จึงมีความสำคัญมากครับ การเข้าสังคม […]

อ่านต่อ

9 สัญญาณอันตราย เจ้านายตัวร้ายกำลังคิดจะฆ่าคุณ

ปริศนาคาใจเหล่ามนุษย์ ว่าแท้จริงแล้วแมวกำลังคิดอะไรอยู่กันแน่ แมวกำลังวางแผนจะครองโลก หรือกำลังวางแผนจะเข้ามาเป็นสัตว์เลี้ยงที่แสนน่ารัก เพราะ แมวเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างจะฉลาด สามารถเรียนรู้ได้ว่าถ้าหากทำเสียง หรือพฤติกรรมสุดบ๊องแบ๊วและออดอ้อน จะทำให้ผู้เลี้ยงยอมใจอ่อนและตกเป็นทาสอย่างแน่นอน แต่เบื้องหลังของพฤติกรรมเหล่านี้ จะมีอะไรซ่อนอยู่ แมวกำลังวางแผนจะครองโลก หรือจะเป็นสัญญาณการหลอกล่อให้ทาสอย่างเราตกหลุมพราง วันนี้ บ้านและสวน Pets มีข้อสันนิษฐานมาฝากกันค่ะ   1.Kneading on you นวดให้คุณ ทาสหลายคนอาจจะกำลังดีใจ เมื่อแมวเหมียวมานวด ๆ หรือเดินย่ำ ๆ บนตัว เพราะ คิดว่าแมวกำลังแสดงความรัก หรืออยากเล่นด้วย แต่แท้ที่จริงแล้วการนวดเป็นการทำให้กลิ่นพิเศษบางอย่างของแมวที่มนุษย์อย่างเราไม่ได้กลิ่น ติดกับสิ่งของ หรือตัวเรา เพื่อบอกให้แมวตัวอื่นได้รับรู้ว่าว่า ถิ่นนี้มีเจ้าถิ่นจองแล้ว หรืออีกนัยหนึ่งคือ เป็นการตีตราจองให้แมวตัวอื่นได้รู้ว่า นังทาสผู้นี้มีเจ้านายแล้วนะ  นอกจากนี้การนวดยังเป็นการตรวจสอบตำแหน่งอวัยวะภายในที่อ่อนแอของคุณอยู่อีกด้วย   2.Shoveling of Litter คุ้ยกระบะทรายมากเกินไป พฤติกรรมการขุดคุ้ย หรือฝังกลบเป็นเรื่องปกติที่แมวจะทำเพื่อกำจัดกลิ่นหรือของเสียต่าง ๆ ที่ได้ปล่อยออกมา แต่การขุดคุ้ยกระบะจนทรายกระจัดกระจายไปทั่ว หรือการขุดคุ้ยที่นอนที่มากจนเกินไป นอกจากจะเป็นกระบวนการเพื่อสร้างอาณาเขตแล้ว ยังอาจหมายถึงแมวกำลังซ้อมฝังศพคุณอยู่ก็ได้ ps.การขับถ่ายนอกกระบะทราย ก็เป็นการสั่งสอนให้เหล่ามนุษย์ได้หลาบจำว่า […]

อ่านต่อ

ระดับความดุของสุนัข !! ที่คุณต้องรู้ เพื่อความปลอดภัยในชีวิต

การเจอสุนัข “ดุ” นั้น เรามักเจอหรือประสบกันมาทุกท่าน แต่ ระดับความดุของสุนัข นั้น อยู่ในระดับไหน เรามาเรียนรู้กันครับ เผื่อในอนาคต ท่านผู้อ่านมีโอกาสได้เจอสุนัข “ดุ” จะได้ประเมินได้ว่า สุนัขตัวนั้น “ดุ” ในระดับไหน และควรทำอย่างไรกับสุนัขตัวดังกล่าวดี สำหรับ ระดับความดุของสุนัข บ้านและสวน Pets  สามารถแบ่งออกได้ 6 ระดับ ตามระดับความรุนแรงของการกัดโดย ดร. เอียน ดันบาร์ สัตวแพทย์นักพฤติกรรมสัตว์และครูฝึกสุนัขที่ได้รับปริญญาเอกด้านพฤติกรรมสุนัขโดยตรง ซึ่งมีประสบการณ์ในการสอนและปรับพฤติกรรมสุนัขมาเกือบ 40 ปี มาเผยแพร่ให้ทราบกัน ระดับ 1 : ระดับนี้เกิดจากความกลัว ความก้าวร้าว หรือความไม่พอใจของสุนัขต่อสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง จนหันมากัดเรา ซึ่งในระดับนี้เป็นแค่การ “แง่ง” ใส่มากกว่า การงับลงไปบนผิว หรือฟันยังไม่ได้สัมผัสผิว ระดับ 2 : ระดับนี้มีการสัมผัสของฟันต่อผิวหนัง แต่มักจะเกิดเป็นเพียงรอยขีดข่วน หรืออาจเกิดเลือดซิบ ๆ เท่านั้น โดยมักเกิดจากการขยับของฟันมาบาด หรือการขยับผิวหนังหนี […]

อ่านต่อ

โรคข้อสะโพกเสื่อมในสัตว์เลี้ยง (Hip Dysplasia)

โครงสร้างของร่างกาย การเคลื่อนไหว การเดิน การรับน้ำหนักตัวของคนและสัตว์ จำเป็นที่จะต้องมีกระดูก และข้อต่อในจุดต่าง ๆ เพื่อทำให้เกิดการหมุน การเหวี่ยง ซึ่งการยึดติดกันของกระดูกแต่ละชิ้น จะทำให้ประกอบขึ้นเป็นร่างกาย ข้อสะโพกเป็นข้อต่อที่จะยึดระหว่างแนวกระดูกเชิงกราน กับกระดูกท่อนขาหลังในสัตว์ ซึ่งข้อต่อนี้เป็นส่วนที่รับน้ำหนักตัวอยู่ 40 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักของร่างกาย จึงเป็นข้อต่อที่จำเป็นมากในการยืน การเคลื่อนไหว หากเกิดความเจ็บปวดที่ข้อต่อ หรือ โรคข้อสะโพกเสื่อมในสัตว์เลี้ยง มักทำให้สัตว์ไม่อยากลุกยืน หรือเดิน ที่น้อยลงกว่าปกติ ลักษณะทางกายวิภาคของข้อต่อสะโพกจะประกอบด้วย หัวกระดูกที่มีลักษณะกลมมน ( Femoral Head ) สวมเข้ากับกระดูกเชิงกราน ที่มีลักษณะเป็น เบ้า โค้ง ( Acetabulum ) ซึ่งจะรับพอดี เข้ารูปกับหัวกระดูก โดยจะมีเยื่อหุ้มข้อ ปกคลุมระหว่างหัวกระดูก และเบ้ากระดูก ซึ่งจะทำให้น้ำที่เป็นเหมือนสารหล่อลื่นเหนียว ๆ ไม่หลุด รั่ว ออกไปที่อื่น น้ำหล่อลื่นนี้จะทำให้กระดูกสองส่วนนี้ไม่มีการเสียดสี ชนกัน ลดความร้อนที่เกิดระหว่างการเคลื่อนไหวของข้อต่อ ทำให้ผิวกระดูกทั้งสองส่วนนี้ไม่เกิดความเสียหายจากการสัมผัสกัน หรือจากความร้อนที่เกิดขึ้น อีกทั้งระว่างกระดูกสองชิ้นนี้ ยังมีเอ็นที่ช่วยยึดเข้าด้วยกัน โดยเส้นเอ็นนี้จะมีลักษณะที่เหนียว […]

อ่านต่อ

โรคหัวกระดูกต้นขาตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง (Legg-Calve-Perthes Disease)

โรคหัวกระดูกต้นขาตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง หรือ Legg-Calve-Perthes Disease, Perthes disease หรือ coxa plana เป็นโรคที่เกิดจากปัญหาขาดเลือดไปเลี้ยงในตำแหน่งของหัวกระดูก (femur) ทำให้บริเวณที่เกิดมีอาการกระดูกตาย ซึ่งหัวของกระดูก femur โดยปกติจะสวมเข้าไปในเบ้า (Acetabulum) ของกระดูก pelvis ซึ่งเป็นบริเวณของข้อสะโพก (Hip joint) มีลักษณะของข้อเป็น ball and socket ถ้าหากหัวกระดูก femur มีการพัฒนาของเนื้อตายหรือมีเลือดมาเลี้ยงน้อยลง จะทำให้การทำงานของข้อผิดปกติไป และอาจทำให้เกิดข้ออักเสบตามมา กระดูกที่ตายส่งผลให้เกิดการสูญเสียความแข็งแรง และการยุบตัวของหัวกระดูก femur ได้ ซึ่งชื่อโรค เป็นการตั้งชื่อ โรคหัวกระดูกต้นขาตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง (Legg-Calve-Perthes Disease) โดยการรวมนายแพทย์ 3 คนที่ค้นพบโรคนี้ขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันใน ค.ศ. 1910 สาเหตุการเกิดโรค สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่มีการศึกษาถึงสาเหตุอาจจะเกิดจากมีการรบกวนการไหลเวียนของเลือดมายังส่วนของสะโพกโดยตรง หรือมีการขัดขวางการไหลเวียนเลือดจากการอุดตันของก้อนเลือดที่แข็งตัวภายในหลอดเลือดเอง  ทำให้กระดูกมีความอ่อนแอ และเสื่อมสภาพลง ซึ่งอาจนำไปสู่การหักของกระดูกเป็นชิ้นเล็ก ๆ และเมื่อเวลาผ่านไปจะมีการพัฒนาของเยื่อไฟบรัส (Fibrous tissue) […]

อ่านต่อ

โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ (dilated cardiomyopathy : DCM)

โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ หรือ dilated cardiomyopathy (DCM) เป็นโรคที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจที่พบได้มากที่สุดในสุนัข และถือเป็นโรคหัวใจอันดับที่สองที่พบได้มากรองจากโรคลิ้นหัวใจเสื่อม หรือ degenerative mitral valve disease (DMVD) โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ เป็นโรคที่พบได้มากในสุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่น บ๊อกเซอร์ โดเบอร์แมน เกรทเดน และอาจพบได้บ้างในสุนัขพันธุ์ขนาดกลาง เช่น ค๊อกเกอร์ สเเปเนียล โดยโรคนี้จะพบได้มากในสุนัขอายุมาก สาเหตุของการเกิดโรค อาจเกิดจากความผิดปกติของยีน ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติโดยตรง หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ โน้มนำ เช่น ภาวะหัวใจเต้นเร็วที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลานาน ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส หรือโปรโตซัว ความเป็นพิษจากยาบางชนิดที่มีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง เช่น ยาดอกโซรูบิซิน ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษามะเร็ง หรืออาจเกิดจากภาวะพร่องฮอร์โมนบางชนิด เช่น ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ นอกจากนั้นอาจเกิดจากการขาดโปรตีนบางชนิด เช่น ทอรีน หรือ แอล คาร์นิทีน ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีความสำคัญต่อการทำงานของหัวใจ การขาดโปรตีนดังกล่าวอาจเกิดจากชนิดของอาหารที่กิน ที่อาจส่งผลต่อเมตาบอริซึมหรือการสร้างโปรตีน เมื่อระดับโปรตีน โดยเฉพาะ ทอรีน และ แอล […]

อ่านต่อ

โรคลมชักในสุนัขและแมว (epilepsy)

โรคลมชักในสุนัขและแมว หรือ epilepsy เป็นโรคที่เกิดจากการที่มีคลื่นไฟฟ้าในสมองผิดปกติ หรืออาจเรียกได้ว่าเกิดไฟฟ้ารั่วในสมอง ทำให้เกิดอาการชัก (seizure) ให้เห็น โดยสามารถพบได้ทั้งในสุนัขและแมว ซึ่งอาการ หรือ โรคลมชักในสุนัขและแมว อาจจะพบเห็นได้หลายแบบ ได้แก่ พบเพียงครั้งเดียวแล้วหายไป (isolated seizure) เกิดการชักซ้ำภายใน 24 ชั่วโมง (cluster seizure) หรือเกิดการชักต่อเนื่องไม่หยุด (status epilepticus) ซึ่งการชักต่อเนื่องไม่หยุดนี้ ถือเป็นภาวะฉุกเฉินต้องรีบแก้ไขและรีบพาสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์โดยด่วน จุดกำเนิดของไฟฟ้ารั่วหรือจุดลมชัก เรียกว่า seizure focus ชนิดของอาการโรคลมชัก 1. การชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (Generalized epilepsy) เป็นการชักที่เกิดขึ้นจากการที่มีการกระจายตัวของกระแสไฟฟ้าที่รั่วไปทั่วทั้งสมอง ทำให้สุนัขแสดงอาการแบบชักเกร็งกระตุกทั้งตัว อาจพบอาการเหยียดเกร็งแหงนคอ (รูปที่ 1) ร่วมกับอาการตะกรุยขาทั้ง 4 ข้าง อาจพบอาการน้ำลายไหล ปัสสาวะหรืออุจจาระราด รวมทั้งสามารถพบอาการร้องครางขณะชักร่วมด้วย บางครั้งจะพบอาการกัดลิ้นได้บ้างเช่นเดียวกับการชักในคน พบอาการได้ตั้งแต่เพียงแค่ไม่กี่วินาทีจนถึงหลายนาทีได้ การชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัวจะพบการสูญเสียระดับความรู้สึกตัวร่วมด้วย บางครั้งสุนัขหรือแมวสามารถพบอาการก่อนจะมีอาการชักได้ เช่น เดินวน กระวนกระวาย ร้อง […]

อ่านต่อ
ตามหาสัตว์เลี้ยง

7 เช็คลิสต์ที่ควรทำเพื่อตามหาสัตว์เลี้ยงเมื่อพลัดหลง

เป็นธรรมดาของสิ่งมีชีวิตที่ต้องการใช้ชีวิตอย่างอิสระบ้างในบางครั้ง สัตว์เลี้ยงเองก็เช่นกัน มักจะออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน เดินเล่น หรือสำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว อย่างเพลิดเพลิน จนอาจจะเกิดการพลัดหลงกันได้ แต่ทั้งนี้ก็คงไม่มีใครอยากให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นกับสัตว์เลี้ยงของตัวเอง เพราะเขาคือหนึ่งในสมาชิกของครอบครัวที่ต้องดูแลกันและกัน ซึ่งเมื่อเขาหายไปเจ้าของก็คงกระวนกระวายใจไม่น้อย แต่จะทำอย่างไรหากสัตว์เลี้ยงเกิดพลัดหลง หรือไม่กลับมาถึงบ้านสักที บ้านและสวน Pets มีขั้นตอนมาแนะนำ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการ ตามหาสัตว์เลี้ยง กันค่ะ 1.ตั้งสติ อย่าตื่นตระหนก เมื่อกลับมาบ้านแล้วพบว่าสัตว์เลี้ยงของเรา ไม่ว่าจะเป็นหมา แมว นก ไม่อยู่ที่บ้าน หรือหายไปจากบ้าน อาการแรกที่มักเกิดขึ้นกับเจ้าของก็คือ อาการตกใจ ตามมาด้วยความกลัว รู้สึกหมดหวัง โกรธ สับสน และมีความกังวลต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย  ดังนั้น สิ่งแรกที่เจ้าของควรทำคือ การหายใจเข้าลึก ๆ ตั้งสติ อย่าตื่นตระหนก และไม่ควรตำหนิตนเอง หรือคนในบ้าน 2.คิดทบทวน เมื่อตั้งสติได้แล้ว ให้ลองคิดทบทวนดูว่าโดยปกติสัตว์เลี้ยงของคุณเคยหายออกจากบ้านบ้างรึเปล่า ? เคยหายออกจากบ้านนานสุดกี่วัน ? สามารถกลับมาเองได้หรือไม่ ? รวมถึงให้ลองคิดในมุมมองของสัตว์เลี้ยงว่า ปกติชอบไปเดินเที่ยว หรือหลบอยู่ตรงไหนบ้าง […]

อ่านต่อ