Dog Zone

โรคหมอนรองกระดูก (Intervertebral Disc Disease : IVDD)

ไขสันหลังจัดเป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่สำคัญและอ่อนไหวได้ง่ายในร่างกาย หากได้รับความเสียหายเซลล์ประสาทจะไม่สามารถสร้างใหม่ แต่จะถูกทดแทนด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน การบาดเจ็บของไขสันหลังมักจะไม่สามารถกลับมาทำงานปกติแบบเดิมได้ ดังนั้นเพื่อปกป้องไขสันหลัง ไขสันหลังจึงอยู่ภายในบริเวณกระดูกสันหลังที่มีกระดูกรอบข้างปกคลุมในทุกด้าน ยกเว้นบริเวณที่มีรอยต่อของกระดูกสันหลัง บริเวณดังกล่าวเป็นที่อยู่ของหมอนรองกระดูก (Intervertebral Discs) ที่มีลักษณะคล้ายยางนิ่ม ๆ ซึ่งกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกช่วยให้บริเวณหลังสามารถขยับขึ้นลงได้หรือไปด้านข้างได้ โดยที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับไขสันหลัง โรคหมอนรองกระดูก หมอนรองกระดูกประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนด้านนอก เรียกว่า Annulus Fibrosus ทำหน้าที่คล้ายกับเปลือกหอย ซึ่งมีส่วนประกอบของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เหนียวทำให้สามารถปกป้องและรักษาส่วนด้านในไว้ได้ โดยส่วนด้านใน เรียกว่า Nucleus Pulposus มีลักษณะนุ่มกว่าด้านนอก เนื้อสัมผัสคล้ายกับเยลลี่ หมอนรองกระดูกส่วนปลายทั้งสองข้างมีลักษณะบางเรียว ซึ่งบริเวณดังกล่าวอยู่ด้านใต้ของไขสันหลัง การเกิด โรคหมอนรองกระดูก มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของหมอนรองกระดูกส่วนด้านนอก หรือเกิดการฉีกขาดทำให้ส่วนด้านในทะลักออกมา เรียกว่า slipped disc หรือ herniated disc ซึ่งทำให้สัตว์แสดงอาการปวด สูญเสียการทำงานของขาจนทำให้เกิดภาวะอัมพฤกษ์ หรือถึงขั้นเป็นอัมพาตได้ และบางครั้งรุนแรงจนถึงขั้นไม่มีความรู้สึกที่ขาได้ ความผิดปกติของหมอนรองกระดูกสามารถเกิดได้หลายตำแหน่งไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งกระดูกสันหลังส่วนคอ (cervical), ส่วนอกและเอว (thoraco–lumbar region), หรือตำแหน่งเอวต่อก้นกบ (lumbosacral) ลักษณะการกดทับมีอยู่ […]

อ่านต่อ

โรคข้อสะโพกเสื่อมในสัตว์เลี้ยง (Hip Dysplasia)

โครงสร้างของร่างกาย การเคลื่อนไหว การเดิน การรับน้ำหนักตัวของคนและสัตว์ จำเป็นที่จะต้องมีกระดูก และข้อต่อในจุดต่าง ๆ เพื่อทำให้เกิดการหมุน การเหวี่ยง ซึ่งการยึดติดกันของกระดูกแต่ละชิ้น จะทำให้ประกอบขึ้นเป็นร่างกาย ข้อสะโพกเป็นข้อต่อที่จะยึดระหว่างแนวกระดูกเชิงกราน กับกระดูกท่อนขาหลังในสัตว์ ซึ่งข้อต่อนี้เป็นส่วนที่รับน้ำหนักตัวอยู่ 40 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักของร่างกาย จึงเป็นข้อต่อที่จำเป็นมากในการยืน การเคลื่อนไหว หากเกิดความเจ็บปวดที่ข้อต่อ หรือ โรคข้อสะโพกเสื่อมในสัตว์เลี้ยง มักทำให้สัตว์ไม่อยากลุกยืน หรือเดิน ที่น้อยลงกว่าปกติ ลักษณะทางกายวิภาคของข้อต่อสะโพกจะประกอบด้วย หัวกระดูกที่มีลักษณะกลมมน ( Femoral Head ) สวมเข้ากับกระดูกเชิงกราน ที่มีลักษณะเป็น เบ้า โค้ง ( Acetabulum ) ซึ่งจะรับพอดี เข้ารูปกับหัวกระดูก โดยจะมีเยื่อหุ้มข้อ ปกคลุมระหว่างหัวกระดูก และเบ้ากระดูก ซึ่งจะทำให้น้ำที่เป็นเหมือนสารหล่อลื่นเหนียว ๆ ไม่หลุด รั่ว ออกไปที่อื่น น้ำหล่อลื่นนี้จะทำให้กระดูกสองส่วนนี้ไม่มีการเสียดสี ชนกัน ลดความร้อนที่เกิดระหว่างการเคลื่อนไหวของข้อต่อ ทำให้ผิวกระดูกทั้งสองส่วนนี้ไม่เกิดความเสียหายจากการสัมผัสกัน หรือจากความร้อนที่เกิดขึ้น อีกทั้งระว่างกระดูกสองชิ้นนี้ ยังมีเอ็นที่ช่วยยึดเข้าด้วยกัน โดยเส้นเอ็นนี้จะมีลักษณะที่เหนียว […]

อ่านต่อ

โรคหัวกระดูกต้นขาตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง (Legg-Calve-Perthes Disease)

โรคหัวกระดูกต้นขาตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง หรือ Legg-Calve-Perthes Disease, Perthes disease หรือ coxa plana เป็นโรคที่เกิดจากปัญหาขาดเลือดไปเลี้ยงในตำแหน่งของหัวกระดูก (femur) ทำให้บริเวณที่เกิดมีอาการกระดูกตาย ซึ่งหัวของกระดูก femur โดยปกติจะสวมเข้าไปในเบ้า (Acetabulum) ของกระดูก pelvis ซึ่งเป็นบริเวณของข้อสะโพก (Hip joint) มีลักษณะของข้อเป็น ball and socket ถ้าหากหัวกระดูก femur มีการพัฒนาของเนื้อตายหรือมีเลือดมาเลี้ยงน้อยลง จะทำให้การทำงานของข้อผิดปกติไป และอาจทำให้เกิดข้ออักเสบตามมา กระดูกที่ตายส่งผลให้เกิดการสูญเสียความแข็งแรง และการยุบตัวของหัวกระดูก femur ได้ ซึ่งชื่อโรค เป็นการตั้งชื่อ โรคหัวกระดูกต้นขาตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง (Legg-Calve-Perthes Disease) โดยการรวมนายแพทย์ 3 คนที่ค้นพบโรคนี้ขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันใน ค.ศ. 1910 สาเหตุการเกิดโรค สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่มีการศึกษาถึงสาเหตุอาจจะเกิดจากมีการรบกวนการไหลเวียนของเลือดมายังส่วนของสะโพกโดยตรง หรือมีการขัดขวางการไหลเวียนเลือดจากการอุดตันของก้อนเลือดที่แข็งตัวภายในหลอดเลือดเอง  ทำให้กระดูกมีความอ่อนแอ และเสื่อมสภาพลง ซึ่งอาจนำไปสู่การหักของกระดูกเป็นชิ้นเล็ก ๆ และเมื่อเวลาผ่านไปจะมีการพัฒนาของเยื่อไฟบรัส (Fibrous tissue) […]

อ่านต่อ

โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ (dilated cardiomyopathy : DCM)

โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ หรือ dilated cardiomyopathy (DCM) เป็นโรคที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจที่พบได้มากที่สุดในสุนัข และถือเป็นโรคหัวใจอันดับที่สองที่พบได้มากรองจากโรคลิ้นหัวใจเสื่อม หรือ degenerative mitral valve disease (DMVD) โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ เป็นโรคที่พบได้มากในสุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่น บ๊อกเซอร์ โดเบอร์แมน เกรทเดน และอาจพบได้บ้างในสุนัขพันธุ์ขนาดกลาง เช่น ค๊อกเกอร์ สเเปเนียล โดยโรคนี้จะพบได้มากในสุนัขอายุมาก สาเหตุของการเกิดโรค อาจเกิดจากความผิดปกติของยีน ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติโดยตรง หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ โน้มนำ เช่น ภาวะหัวใจเต้นเร็วที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลานาน ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส หรือโปรโตซัว ความเป็นพิษจากยาบางชนิดที่มีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง เช่น ยาดอกโซรูบิซิน ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษามะเร็ง หรืออาจเกิดจากภาวะพร่องฮอร์โมนบางชนิด เช่น ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ นอกจากนั้นอาจเกิดจากการขาดโปรตีนบางชนิด เช่น ทอรีน หรือ แอล คาร์นิทีน ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีความสำคัญต่อการทำงานของหัวใจ การขาดโปรตีนดังกล่าวอาจเกิดจากชนิดของอาหารที่กิน ที่อาจส่งผลต่อเมตาบอริซึมหรือการสร้างโปรตีน เมื่อระดับโปรตีน โดยเฉพาะ ทอรีน และ แอล […]

อ่านต่อ

โรคลิ้นหัวใจเสื่อมในสุนัข (Degenerative Valve Disease)

โรคลิ้นหัวใจเสื่อมในสุนัข (Degenerative Valve Disease)  หรือโรคลิ้นหัวใจรั่ว (Valve Regurgitation) เป็นโรคหัวใจที่พบได้มากที่สุดในสุนัข โดยพบได้มากในสุนัขพันธุ์เล็ก เช่น ชิวาวา ชิสุ พุดเดิ้ล ดัชชุน เนื่องจาก โรคลิ้นหัวใจเสื่อมในสุนัข เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของลิ้นหัวใจ จึงพบได้มากในสุนัขที่อายุมาก โดยมักพบในสุนัขที่อายุมากกว่า 7 ปี ขึ้นไป ยกเว้นในสุนัขบางพันธุ์ เช่น คาร์วาเลียร์​ คิงส์ ชาล์ส สเปเนียล อาจเป็นโรคนี้ได้ตั้งแต่อายุยังไม่มาก โดยอาจพบได้ตั้งแต่อายุ 4-5 ปี อุบัติการณ์การเกิดโรคจะพบในเพศผู้มากกว่าเพศเมีย และตัวผู้มักจะมีความรุนแรงของโรคมากกว่าเพศเมีย ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด จึงยังไม่มีวิธีป้องกันหรือชะลอการเสื่อมของลิ้น อย่างไรก็ตาม คาดว่าโรคลิ้นหัวใจเสื่อมเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ด้วยเหตุนี้พ่อแม่สุนัขที่เป็นโรคนี้จึงสามารถถ่ายทอดยีนที่ผิดปกติสู่ลูกและอาจส่งผลให้ลูกเป็นโรคนี้เมื่ออายุมากขึ้นได้ ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดโรคนี้ได้โดยการไม่นำสุนัขที่เป็นโรคนี้ไปเป็นพ่อแม่พันธุ์ โรคลิ้นหัวใจเสื่อม มักเกิดรอยโรคที่ลิ้นหัวใจไมทรัล ซึ่งเป็นลิ้นที่กั้นระหว่างหัวใจห้องบนซ้ายและล่างซ้าย ในภาวะปกติลิ้นไมทรัลจะทำหน้าที่ในการกั้นไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับสู่หัวใจห้องบนซ้าย ในขณะที่หัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัว เมื่อเกิดการเสื่อมของลิ้นไมทรัล อาจทำให้ลิ้นหนาตัว หรือโป่ง จึงทำให้ปลายลิ้นสบกันไม่สนิท และทำเกิดการรั่วขึ้น  เมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวเพื่อไล่เลือดออกไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จึงมีเลือดบางส่วนไหลย้อนกลับไปที่หัวใจห้องบนซ้าย เมื่อความรุนแรงของการเสื่อมเพิ่มมากขึ้น […]

อ่านต่อ

บี้เห็บ ไม่ได้ จริงหรือมั่ว

เจ้าของสุนัขและแมวหลาย ๆ บ้านน่าจะต้องมีประสบการณ์กับปัญหากวนใจอย่าง “เห็บ” มาบ้างไม่มากก็น้อย และเจ้าของหลาย ๆ ท่านก็คงอดใจไม่ได้ที่จะจับเห็บออกจากตัวน้องหมาแล้ว บี้เห็บ เหล่านั้นซะ แต่บ่อยครั้งเรามักได้ยินคำห้ามที่ว่า “ไม่ควร บี้เห็บ เพราะจะทำให้เกิดเห็บตามมามากมายเป็นทวีคูณ” ทำไมถึงมีคำกล่าวเช่นนี้ แล้วจริง ๆ มันเป็นตามที่เค้าบอกกันมาหรือไม่ วันนี้ บ้านและสวน Pets จะพาไปรู้กันครับ รู้จักเห็บ เห็บ (tick) เป็นแมลงชนิดหนึ่งมีหลายสปีชีส์พบได้ทั่วโลกตามลักษณะภูมิประเทศ และภูมิอากาศที่แตกต่างกันออกไป สำหรับประเทศไทยเรา มักพบเห็บสุนัขสีน้ำตาล หรือ Brown dog tick มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Rhipicephalus sanguineus กินเลือดเป็นอาหาร ชอบอาศัยบนตัวสุนัข (จึงเรียกว่าเห็บสุนัขสีน้ำตาล) แต่ก็สามารถกัดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นรวมถึงคนได้เช่นกัน นอกจากประเทศไทยแล้วเห็บชนิดนี้ สามารถพบได้ทั่วโลกโดยเฉพาะในพื้นที่เขตร้อน เห็บสุนัขสีน้ำตาลมี 8 ขา ลำตัวแบนแต่เมื่อกินเลือดตัวจะพองขึ้น มีขนาดต่างกันไปตามระยะ (life stage) ของวงจรชีวิต (life cycle) ตั้งแต่ตัวเล็กเท่าหัวเข็ม จนถึงกินเลือดจนตัวเต่งเหมือนลูกเกด วงจรชีวิตเห็บ […]

อ่านต่อ
อายุหมา, อายุแมว, เมื่อเทียบกับมนุษย์

อายุหมา อายุแมว เมื่อเทียบกับมนุษย์ ?

อายุหมา ถ้าเทียบกับอายุเราแล้ว เค้าจะอายุเท่าไรบ้างนะ บางคนก็คงเคยได้ยินว่า ถ้าเอาอายุสุนัขคูณด้วย ‘7’ เราก็จะได้เป็นอายุที่เทียบเท่ามนุษย์ อายุหมา และอายุแมว เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับมนุษย์ ได้กลายเป็นการศึกษาที่ได้ลงรายละเอียดไว้ด้วยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ในปี ค.ศ. 2019 ได้มีงานวิจัยเผยแพร่ว่า “เปรียบเทียบอายุสุนัขและแมวกับมนุษย์ ไม่ได้เทียบแค่การคูณด้วยเจ็ดอย่างที่เราเคยได้ยินมา” โดยนักวิจัยได้ทำการเทียบสารพันธุกรรม (DNA) ของสุนัขพันธุ์ลาบาดอร์แต่ละช่วงอายุ กับ สารพันธุกรรมของมนุษย์ (ที่ใช้สุนัขเพียงพันธุ์เดียวก็เพื่อให้ได้สารพันธุกรรมเดียวกันทั้งหมดในการเทียบปัจจัยต่าง ๆ เช่น การพัฒนาแต่ละช่วงอายุที่เหมือน ๆ กัน) ด้วยวิธีการทดลอง เพื่อดูลักษณะของสารพันธุกรรม ทำให้ได้ผลเป็นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ออกมา นักวิจัยสามารถแปรผลการทดลองนี้ออกมาได้เป็นสูตรคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่เป็นค่า Logarithm คือ “อายุมนุษย์ = 16ln(อายุสุนัข)+31” ยกตัวอย่างเช่น สุนัขอายุ 4 ปี เมื่อเทียบในสูตรจะเทียบเท่าอายุมนุษย์ 53 ปี ซึ่งผลที่ได้จากการคำนวณจะเป็นอายุโดยคร่าว ๆ ของสุนัข แต่ทั้งนี้ด้วยความที่อายุขัยสุนัขพันธุ์เล็กและพันธุ์ใหญ่มีความต่างกันออกไป จึงทำให้ค่า เปรียบเทียบอายุสุนัขและแมวกับมนุษย์ ที่ได้อาจจะเป็นค่าประมาณการ เปรียบเทียบอายุสุนัขและแมวกับมนุษย์ เปรียบเทียบ อายุหมา กับมนุษย์ […]

อ่านต่อ

โรคกระเพาะอาหารขยายและบิดหมุน (Gastric Dilatation and Volvulus : GDV)

Gastric Dilatation and Volvulus (GDV) หรือ โรคกระเพาะอาหารขยายและบิดหมุน จัดเป็นภาวะที่อันตรายถึงชีวิตต้องได้รับการรักษาในทันที โดยมักจะเกิดขึ้น ประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง หลังจากการกินอาหารเข้าไปเป็นปริมาณมากใน 1 มื้อ โรคกระเพาะอาหารขยายและบิดหมุน คือ การที่กระเพาะอาหาร (Stomach) มีการขยายตัวคล้ายลูกโป่ง หรือเรียกว่า “Bloat” หรือ  Gastric Dilatation จากการมีปริมาณแก๊ส น้ำ และอาหารที่สัตว์กินสะสมอยู่มากกว่าปกติ และถ้าเกิดการบิดหมุนของกระเพาะอาหารที่มีอาหารและแก๊สขึ้น จะก่อให้เกิด โรคกระเพาะอาหารขยายและบิดหมุน (GDV)  ซึ่งสามารถเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น คือการระบายแก๊สออกจากกระเพาะอาหาร ซึ่งจะมีขั้นตอนกระบวนการนำแก๊สออกจากกระเพราะอาหารได้หลายวิธี เพราะในขณะที่กระเพาะอาหารเริ่มมีการพองขยายใหญ่ แรงดันในกระเพาะอาหารจะเริ่มสูงขึ้น และเมื่อกระเพาะอาหารมีการขยายตัวมากขึ้นและบิดหมุนไปมาภายในช่องท้อง เรียกว่า “Volvulus” โดยการบิดหมุนของกระเพาะอาหารบางส่วนจะมีทิศทางตามเข็มนาฬิกา ซึ่งสามารถเกิดการบิดตัวของกระเพาะอาหารได้ตั้งแต่ 180-360 องศา การบิดส่วนใหญ่จะเป็นแบบ 180 องศาตามเข็มนาฬิกา การขยายตัวและบิดทำให้ไปกดเส้นเลือดหลักที่เดินทางเข้าสู่หัวใจ ทำให้เกิดปัญหาตามมา ได้แก่ เลือดบริเวณช่องท้องไหลกลับเข้าสู่หัวใจน้อยลง การไหลเวียนของเลือดบริเวณช่องท้องลดลง […]

อ่านต่อ

อาหารสามารถช่วยในการรักษานิ่วได้อย่างไร

ส่วนแรกที่ควรทำความเข้าใจก่อนเกี่ยวกับ นิ่วในสุนัข คือกระบวนการการเกิดขึ้นของนิ่ว เพื่อที่จะได้เข้าใจบทบาทของอาหารในการช่วยรักษานิ่วอย่างชัดเจนมากขึ้น สาเหตุของนิ่ว นิ่วเกิดจากการรวมตัวกันของสารก่อนิ่วที่อยู่ในปัสสาวะ โดยต้องอาศัยสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม และปัจจัยอื่น ๆ ที่เอื้อต่อการเกิดนิ่ว ได้แก่ 1. ความเป็นกรด-ด่างของปัสสาวะ : นิ่วแต่ละชนิดมีความสามารถในการละลาย และรวมตัวกันของสารก่อนิ่วในสภาวะความเป็นกรดด่างที่แตกต่างกัน2. ความเข้มข้นของปัสสาวะ : การเกิดนิ่วอาศัยหลักการคล้ายการตกผลึก ยิ่งปัสสาวะเข้มข้นมาก นิ่วยิ่งมีโอกาสตกผลึกเป็นนิ่วได้ง่ายขึ้น3. ปริมาณของสารก่อนิ่วที่อยู่ในปัสสาวะ : ยิ่งสารก่อนิ่วมีปริมาณเยอะในปัสสาวะ ยิ่งทำให้โอกาสในการรวมตัวกันเป็นนิ่วเพิ่มขึ้น ประเภทของนิ่วกับการรักษา ในการรักษานิ่ว เรามีเป้าหมายเพื่อลดปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งอาหารมีส่วนช่วยอย่างมากในการบรรลุเป้าหมาย หรือช่วยลดโอกาสในการเกิดนิ่วเพิ่ม ซึ่งนิ่วมี 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือนิ่วที่สามารถสลายได้ด้วยการปรับอาหาร และนิ่วที่ไม่สามารถสลายได้ 1. นิ่วที่สามารถสลายได้ด้วยอาหาร : นิ่วที่พบได้บ่อยในกลุ่มนี้ได้แก่นิ่วสตรูไวท์ (struvite) หรือนิ่วแมกนีเซียมแอมโมเนียมฟอสเฟต (MAP) ซึ่งส่วนใหญ่จะโน้มนำจากการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะเป็นด่างมากขึ้น และสภาวะในกระเพาะปัสสาวะเหมาะกับกับการรวมตัวของสารก่อนิ่วชนิดนี้ เกิดการรวมตัวเป็นก้อนนิ่วขึ้น อาหารที่ใช้ในการสลายนิ่วชนิดนี้ อาศัยหลักการที่จะทำให้ปัสสาวะเป็นกรดมากพอที่จะทำให้นิ่วชนิดนี้สลายได้2. นิ่วที่ไม่สามารถสลายได้ด้วยอาหาร : นิ่วในกลุ่มนี้มีหลายชนิด แต่ที่สามารถพบได้บ่อยที่สุด […]

อ่านต่อ

การดูแลหมา-แมวป่วย ด้วย 5 รูปแบบชนิดยา พร้อมเทคนิคการป้อนยาอย่างง่าย

มาดูเทคนิค การป้อนยาสัตว์เลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นยาน้ำ ยาเม็ด ยาหยอด สารพัดที่เป็นปัญหาปวดหัวให้กับเจ้าของ เพื่อที่น้องหมาจะได้กินยาครบ หายป่วยในเร็ววันกันค่ะ

อ่านต่อ

ไวรัสโคโรนาในสุนัข (corona)

โคโรนา (corona) เป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่สามารถก่อโรคได้ในสัตว์หลายชนิด เช่น สุนัข แมว สุกร เป็นต้น ซึ่งไวรัสโคโรนาถูกค้นพบในสัตว์มาเป็นระยะเวลานานแล้ว ในช่วงปลายปี 2019 พบว่าโคโรนาสามารถก่อโรคในคนที่ประเทศจีนและขณะนี้พบว่าการระบาดเชื้อไวรัสโคโรนากำลังแพร่กระจายไปทั่วโลก รวมไปถึงประเทศไทยที่พบว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสนี้อยู่ ความน่ากลัวของ ไวรัสโคโรนา สามารถทำให้คนเกิดอาการปอดอักเสบรุนแรงและเสียชีวิตได้ ข้อมูลปัจจุบันยังไม่มีรายงานการติดต่อของไวรัสอู่ฮั่น (โคโรนาไวรัสในคน) มายังสัตว์เลี้ยงและยังไม่มีการรายงานว่า ไวรัสโคโรนาในสุนัข สามารถติดคนได้ เนื่องจากเป็นคนละสายพันธุ์กันและไม่สามารถติดต่อข้ามสายพันธุ์กันได้ ไวรัสโคโรนาก่อให้เกิดโรคสำไส้อักเสบติดต่อในสุนัข  ถูกค้นพบในปี 1971 จะก่อโรครุนแรงมากในลูกสุนัข โดยเฉพาะลูกสุนัขอายุ 2-4 เดือน การติดต่อของโรคเกิดได้จากการกินอาหาร หรือ น้ำที่มีการปนเปื้อนอุจจาระที่มีเชื้อไวรัสปนอยู่ มักจะเกิดในสุนัขที่เลี้ยงหนาแน่น เเละสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม โดยเชื้อไวรัสจะเข้าไปอยู่ในระบบทางเดินอาหาร และจะเกิดการแบ่งตัวทำลายเยื่อบุผนังลำไส้ ทำให้เซลล์ลำไส้ถูกทำลาย ลอกหลุด ฝ่อตัว บางเซลล์สำไส้ตายลง ลูกสุนัขจะแสดงอาการท้องเสียรุนแรง ท้องเสียเรื้อรัง อาเจียน เบื่ออาหาร ซึม มีไข้ เกิดภาวะแห้งน้ำ เนื่องจากสูญเสียน้ำไปกับการอาเจียนและท้องเสีย  ถ้าสุนัขติดเชื้อโคโรนาไวรัสร่วมกับพาโวไวรัสอาการก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้น ท้องเสียเป็นเลือด มีเมือกปนและอาจจะเสียชีวิตได้ ในสุนัขโตบางทีจะไม่แสดงอาการ แต่บางตัวจะแสดงอาการอาเจียนและท้องเสีย อุจจาระเหลวเป็นสีเหลืองเขียวหรือสีส้ม ไม่ค่อยมีไข้ […]

อ่านต่อ

โรคสมองเสื่อม หรือโรคอัลไซเมอร์ในสัตว์เลี้ยง (Cognitive dysfunction syndrome : CDS)

โรคอัลไซเมอร์ในสัตว์เลี้ยง หรือ โรคสมองเสื่อมในสัตว์เลี้ยง (Cognitive dysfunction syndrome) เป็นโรคระบบประสาทที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะในสุนัข อายุ 7-8 ปีขึ้นไป

อ่านต่อ