Dog Zone

เกรฮาวด์ (Greyhounds) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ เกรฮาวด์ (Greyhounds) ถือเป็นสุนัขสายพันธุ์โบราณ ที่มีต้นกำเนิดมาจากตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ จากนั้นเกรฮาวด์ได้ถูกนำเข้ามายังทวีปยุโรปในช่วงยุคมืด เพื่อชื่นชมความสามารถในการล่าสัตว์ของสายพันธุ์นี้ และจากการที่เกรย์ฮาวด์เป็นสุนัขสายพันธุ์ที่สามารถวิ่งได้เร็วมากกว่าสุนัขล่าสัตว์อีกหลากหลายสายพันธุ์ ทำให้สุนัขพันธุ์เกรฮาวน์ได้รับความนิยมมากขึ้น และเกิดเป็นกีฬาแข่งขันความเร็วของสุนัขเกรฮาวด์ในประเทศอังกฤษ หลังจากนั้นนักสำรวจเรือชาวสเปน และอังกฤษได้นำสุนัขพันธุ์เกรฮาวน์เข้ามายังประเทศอเมริกา และได้กลายเป็นสุนัขพันธุ์แรก ๆ ที่ได้เข้าแข่งขันประกวดสุนัข และได้จดทะเบียนอย่างเป็นทางการในสมาคม American Kennel Club ในปี 1885 ลักษณะทางกายภาพ โดยปกติสุนัขเพศผู้ มีความสูงเฉลี่ยประมาณ 71-76 เซนติเมตร และหนักประมาณ 27-40 กิโลกรัม ส่วนในเพศเมียจะมีขนาดเล็กกว่ามีส่วนสูงเฉลี่ยประมาณ 68-71 เซนติเมตร และมีน้ำหนักในช่วง 27-34 กิโลกรัม เกรฮาวด์ เป็นสุนัขที่มีขนค่อนข้างสั้น ทำให้ง่ายต่อการดูแลรักษา โดยสุนัขเกรฮาวน์มีสีทั้งหมดประมาณ 30 แบบ ซึ่งเกิดจากความหลากหลายของสีขาว, สีดำด่าง, สีเหลืองทอง, สีน้ำตาลแดงและเทา โดยแต่ละสีสามารถปรากฏแบบเดี่ยว ๆ หรือผสมรวมกัน อายุขัย เนื่องจากสุนัขเกรฮาวน์เป็นสุนัขขนาดใหญ่ ทำให้มีอายุขัยสั้นกว่าสุนัขพันธุ์อื่น ซึ่งโดยปกติมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 10-12 ปี […]

อ่านต่อ

โรคข้อสะโพกเสื่อมในสัตว์เลี้ยง (Hip Dysplasia)

โครงสร้างของร่างกาย การเคลื่อนไหว การเดิน การรับน้ำหนักตัวของคนและสัตว์ จำเป็นที่จะต้องมีกระดูก และข้อต่อในจุดต่าง ๆ เพื่อทำให้เกิดการหมุน การเหวี่ยง ซึ่งการยึดติดกันของกระดูกแต่ละชิ้น จะทำให้ประกอบขึ้นเป็นร่างกาย ข้อสะโพกเป็นข้อต่อที่จะยึดระหว่างแนวกระดูกเชิงกราน กับกระดูกท่อนขาหลังในสัตว์ ซึ่งข้อต่อนี้เป็นส่วนที่รับน้ำหนักตัวอยู่ 40 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักของร่างกาย จึงเป็นข้อต่อที่จำเป็นมากในการยืน การเคลื่อนไหว หากเกิดความเจ็บปวดที่ข้อต่อ หรือ โรคข้อสะโพกเสื่อมในสัตว์เลี้ยง มักทำให้สัตว์ไม่อยากลุกยืน หรือเดิน ที่น้อยลงกว่าปกติ ลักษณะทางกายวิภาคของข้อต่อสะโพกจะประกอบด้วย หัวกระดูกที่มีลักษณะกลมมน ( Femoral Head ) สวมเข้ากับกระดูกเชิงกราน ที่มีลักษณะเป็น เบ้า โค้ง ( Acetabulum ) ซึ่งจะรับพอดี เข้ารูปกับหัวกระดูก โดยจะมีเยื่อหุ้มข้อ ปกคลุมระหว่างหัวกระดูก และเบ้ากระดูก ซึ่งจะทำให้น้ำที่เป็นเหมือนสารหล่อลื่นเหนียว ๆ ไม่หลุด รั่ว ออกไปที่อื่น น้ำหล่อลื่นนี้จะทำให้กระดูกสองส่วนนี้ไม่มีการเสียดสี ชนกัน ลดความร้อนที่เกิดระหว่างการเคลื่อนไหวของข้อต่อ ทำให้ผิวกระดูกทั้งสองส่วนนี้ไม่เกิดความเสียหายจากการสัมผัสกัน หรือจากความร้อนที่เกิดขึ้น อีกทั้งระว่างกระดูกสองชิ้นนี้ ยังมีเอ็นที่ช่วยยึดเข้าด้วยกัน โดยเส้นเอ็นนี้จะมีลักษณะที่เหนียว […]

อ่านต่อ

โรคหัวกระดูกต้นขาตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง (Legg-Calve-Perthes Disease)

โรคหัวกระดูกต้นขาตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง หรือ Legg-Calve-Perthes Disease, Perthes disease หรือ coxa plana เป็นโรคที่เกิดจากปัญหาขาดเลือดไปเลี้ยงในตำแหน่งของหัวกระดูก (femur) ทำให้บริเวณที่เกิดมีอาการกระดูกตาย ซึ่งหัวของกระดูก femur โดยปกติจะสวมเข้าไปในเบ้า (Acetabulum) ของกระดูก pelvis ซึ่งเป็นบริเวณของข้อสะโพก (Hip joint) มีลักษณะของข้อเป็น ball and socket ถ้าหากหัวกระดูก femur มีการพัฒนาของเนื้อตายหรือมีเลือดมาเลี้ยงน้อยลง จะทำให้การทำงานของข้อผิดปกติไป และอาจทำให้เกิดข้ออักเสบตามมา กระดูกที่ตายส่งผลให้เกิดการสูญเสียความแข็งแรง และการยุบตัวของหัวกระดูก femur ได้ ซึ่งชื่อโรค เป็นการตั้งชื่อ โรคหัวกระดูกต้นขาตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง (Legg-Calve-Perthes Disease) โดยการรวมนายแพทย์ 3 คนที่ค้นพบโรคนี้ขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันใน ค.ศ. 1910 สาเหตุการเกิดโรค สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่มีการศึกษาถึงสาเหตุอาจจะเกิดจากมีการรบกวนการไหลเวียนของเลือดมายังส่วนของสะโพกโดยตรง หรือมีการขัดขวางการไหลเวียนเลือดจากการอุดตันของก้อนเลือดที่แข็งตัวภายในหลอดเลือดเอง  ทำให้กระดูกมีความอ่อนแอ และเสื่อมสภาพลง ซึ่งอาจนำไปสู่การหักของกระดูกเป็นชิ้นเล็ก ๆ และเมื่อเวลาผ่านไปจะมีการพัฒนาของเยื่อไฟบรัส (Fibrous tissue) […]

อ่านต่อ

โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ (dilated cardiomyopathy : DCM)

โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ หรือ dilated cardiomyopathy (DCM) เป็นโรคที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจที่พบได้มากที่สุดในสุนัข และถือเป็นโรคหัวใจอันดับที่สองที่พบได้มากรองจากโรคลิ้นหัวใจเสื่อม หรือ degenerative mitral valve disease (DMVD) โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ เป็นโรคที่พบได้มากในสุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่น บ๊อกเซอร์ โดเบอร์แมน เกรทเดน และอาจพบได้บ้างในสุนัขพันธุ์ขนาดกลาง เช่น ค๊อกเกอร์ สเเปเนียล โดยโรคนี้จะพบได้มากในสุนัขอายุมาก สาเหตุของการเกิดโรค อาจเกิดจากความผิดปกติของยีน ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติโดยตรง หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ โน้มนำ เช่น ภาวะหัวใจเต้นเร็วที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลานาน ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส หรือโปรโตซัว ความเป็นพิษจากยาบางชนิดที่มีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง เช่น ยาดอกโซรูบิซิน ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษามะเร็ง หรืออาจเกิดจากภาวะพร่องฮอร์โมนบางชนิด เช่น ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ นอกจากนั้นอาจเกิดจากการขาดโปรตีนบางชนิด เช่น ทอรีน หรือ แอล คาร์นิทีน ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีความสำคัญต่อการทำงานของหัวใจ การขาดโปรตีนดังกล่าวอาจเกิดจากชนิดของอาหารที่กิน ที่อาจส่งผลต่อเมตาบอริซึมหรือการสร้างโปรตีน เมื่อระดับโปรตีน โดยเฉพาะ ทอรีน และ แอล […]

อ่านต่อ

โรคลิ้นหัวใจเสื่อมในสุนัข (Degenerative Valve Disease)

โรคลิ้นหัวใจเสื่อมในสุนัข (Degenerative Valve Disease)  หรือโรคลิ้นหัวใจรั่ว (Valve Regurgitation) เป็นโรคหัวใจที่พบได้มากที่สุดในสุนัข โดยพบได้มากในสุนัขพันธุ์เล็ก เช่น ชิวาวา ชิสุ พุดเดิ้ล ดัชชุน เนื่องจาก โรคลิ้นหัวใจเสื่อมในสุนัข เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของลิ้นหัวใจ จึงพบได้มากในสุนัขที่อายุมาก โดยมักพบในสุนัขที่อายุมากกว่า 7 ปี ขึ้นไป ยกเว้นในสุนัขบางพันธุ์ เช่น คาร์วาเลียร์​ คิงส์ ชาล์ส สเปเนียล อาจเป็นโรคนี้ได้ตั้งแต่อายุยังไม่มาก โดยอาจพบได้ตั้งแต่อายุ 4-5 ปี อุบัติการณ์การเกิดโรคจะพบในเพศผู้มากกว่าเพศเมีย และตัวผู้มักจะมีความรุนแรงของโรคมากกว่าเพศเมีย ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด จึงยังไม่มีวิธีป้องกันหรือชะลอการเสื่อมของลิ้น อย่างไรก็ตาม คาดว่าโรคลิ้นหัวใจเสื่อมเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ด้วยเหตุนี้พ่อแม่สุนัขที่เป็นโรคนี้จึงสามารถถ่ายทอดยีนที่ผิดปกติสู่ลูกและอาจส่งผลให้ลูกเป็นโรคนี้เมื่ออายุมากขึ้นได้ ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดโรคนี้ได้โดยการไม่นำสุนัขที่เป็นโรคนี้ไปเป็นพ่อแม่พันธุ์ โรคลิ้นหัวใจเสื่อม มักเกิดรอยโรคที่ลิ้นหัวใจไมทรัล ซึ่งเป็นลิ้นที่กั้นระหว่างหัวใจห้องบนซ้ายและล่างซ้าย ในภาวะปกติลิ้นไมทรัลจะทำหน้าที่ในการกั้นไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับสู่หัวใจห้องบนซ้าย ในขณะที่หัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัว เมื่อเกิดการเสื่อมของลิ้นไมทรัล อาจทำให้ลิ้นหนาตัว หรือโป่ง จึงทำให้ปลายลิ้นสบกันไม่สนิท และทำเกิดการรั่วขึ้น  เมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวเพื่อไล่เลือดออกไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จึงมีเลือดบางส่วนไหลย้อนกลับไปที่หัวใจห้องบนซ้าย เมื่อความรุนแรงของการเสื่อมเพิ่มมากขึ้น […]

อ่านต่อ

บี้เห็บ ไม่ได้ จริงหรือมั่ว

เจ้าของสุนัขและแมวหลาย ๆ บ้านน่าจะต้องมีประสบการณ์กับปัญหากวนใจอย่าง “เห็บ” มาบ้างไม่มากก็น้อย และเจ้าของหลาย ๆ ท่านก็คงอดใจไม่ได้ที่จะจับเห็บออกจากตัวน้องหมาแล้ว บี้เห็บ เหล่านั้นซะ แต่บ่อยครั้งเรามักได้ยินคำห้ามที่ว่า “ไม่ควร บี้เห็บ เพราะจะทำให้เกิดเห็บตามมามากมายเป็นทวีคูณ” ทำไมถึงมีคำกล่าวเช่นนี้ แล้วจริง ๆ มันเป็นตามที่เค้าบอกกันมาหรือไม่ วันนี้ บ้านและสวน Pets จะพาไปรู้กันครับ รู้จักเห็บ เห็บ (tick) เป็นแมลงชนิดหนึ่งมีหลายสปีชีส์พบได้ทั่วโลกตามลักษณะภูมิประเทศ และภูมิอากาศที่แตกต่างกันออกไป สำหรับประเทศไทยเรา มักพบเห็บสุนัขสีน้ำตาล หรือ Brown dog tick มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Rhipicephalus sanguineus กินเลือดเป็นอาหาร ชอบอาศัยบนตัวสุนัข (จึงเรียกว่าเห็บสุนัขสีน้ำตาล) แต่ก็สามารถกัดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นรวมถึงคนได้เช่นกัน นอกจากประเทศไทยแล้วเห็บชนิดนี้ สามารถพบได้ทั่วโลกโดยเฉพาะในพื้นที่เขตร้อน เห็บสุนัขสีน้ำตาลมี 8 ขา ลำตัวแบนแต่เมื่อกินเลือดตัวจะพองขึ้น มีขนาดต่างกันไปตามระยะ (life stage) ของวงจรชีวิต (life cycle) ตั้งแต่ตัวเล็กเท่าหัวเข็ม จนถึงกินเลือดจนตัวเต่งเหมือนลูกเกด วงจรชีวิตเห็บ […]

อ่านต่อ
อายุหมา, อายุแมว, เมื่อเทียบกับมนุษย์

อายุหมา อายุแมว เมื่อเทียบกับมนุษย์ ?

อายุหมา ถ้าเทียบกับอายุเราแล้ว เค้าจะอายุเท่าไรบ้างนะ บางคนก็คงเคยได้ยินว่า ถ้าเอาอายุสุนัขคูณด้วย ‘7’ เราก็จะได้เป็นอายุที่เทียบเท่ามนุษย์ อายุหมา และอายุแมว เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับมนุษย์ ได้กลายเป็นการศึกษาที่ได้ลงรายละเอียดไว้ด้วยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ในปี ค.ศ. 2019 ได้มีงานวิจัยเผยแพร่ว่า “เปรียบเทียบอายุสุนัขและแมวกับมนุษย์ ไม่ได้เทียบแค่การคูณด้วยเจ็ดอย่างที่เราเคยได้ยินมา” โดยนักวิจัยได้ทำการเทียบสารพันธุกรรม (DNA) ของสุนัขพันธุ์ลาบาดอร์แต่ละช่วงอายุ กับ สารพันธุกรรมของมนุษย์ (ที่ใช้สุนัขเพียงพันธุ์เดียวก็เพื่อให้ได้สารพันธุกรรมเดียวกันทั้งหมดในการเทียบปัจจัยต่าง ๆ เช่น การพัฒนาแต่ละช่วงอายุที่เหมือน ๆ กัน) ด้วยวิธีการทดลอง เพื่อดูลักษณะของสารพันธุกรรม ทำให้ได้ผลเป็นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ออกมา นักวิจัยสามารถแปรผลการทดลองนี้ออกมาได้เป็นสูตรคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่เป็นค่า Logarithm คือ “อายุมนุษย์ = 16ln(อายุสุนัข)+31” ยกตัวอย่างเช่น สุนัขอายุ 4 ปี เมื่อเทียบในสูตรจะเทียบเท่าอายุมนุษย์ 53 ปี ซึ่งผลที่ได้จากการคำนวณจะเป็นอายุโดยคร่าว ๆ ของสุนัข แต่ทั้งนี้ด้วยความที่อายุขัยสุนัขพันธุ์เล็กและพันธุ์ใหญ่มีความต่างกันออกไป จึงทำให้ค่า เปรียบเทียบอายุสุนัขและแมวกับมนุษย์ ที่ได้อาจจะเป็นค่าประมาณการ เปรียบเทียบอายุสุนัขและแมวกับมนุษย์ เปรียบเทียบ อายุหมา กับมนุษย์ […]

อ่านต่อ

พุดเดิ้ล (Poodle) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ มีแนวคิดว่าสุนัขสายพันธุ์ พุดเดิ้ล (Poodle) มาจากทวีปเอเชีย และหลังจากนั้นหลายศตวรรษต่อมาก็ได้มีการตั้งรกรากในประเทศเยอรมนี โดยในศตวรรษที่ 15 พุดเดิ้ลกลายเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในฝรั่งเศส ซึ่งมักมีเพียงราชวงศ์และขุนนางเท่านั้นที่เป็นเจ้าของสุนัขพันธุ์นี้ ในขณะนั้นสุนัขสายพันธุ์พุดเดิ้ลถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท (ทั้งหมดเป็นสายพันธุ์แท้ ซึ่งหมายความว่าพวกมันไม่ได้ผสมพันธุ์กับสุนัขสายพันธุ์อื่น เพื่อสร้างความแตกต่าง) ได้แก่ พุดเดิ้ล สแตนดาร์ด (Standard Poodle), พุดเดิ้ลขนาดกลาง (Mid-Sized Poodle) และพุดเดิ้ล มินิเจอร์ (Miniture Poodle) ปัจจุบันพุดเดิ้ล สแตนดาร์ดและพุดเดิ้ล มินิเจอร์สามารถพบได้บ่อยที่สุดแต่พุดเดิ้ล สแตนดาร์ดจะมีขนาดตัวที่ใหญ่กว่า หลายปีผ่านไปพุดเดิ้ล สแตนดาร์ดเริ่มถูกใช้เพื่อการล่าเป็ด พวกมันเป็นสุนัขล่าสัตว์ที่ยอดเยี่ยม เนื่องจากมีความฉลาดและมีความแข็งแรง ด้วยความฉลาดนี้จึงทำให้พวกมันแตกต่างจากสุนัขสายพันธุ์อื่น ๆ ทำให้คณะละครสัตว์เริ่มฝึกพวกมันให้แสดงโชว์ ชนชั้นสูงของประเทศฝรั่งเศสเริ่มนำพวกมันมาอยู่ในชีวิตประจำวันมากขึ้น จนในที่สุดพวกมันก็ได้รับการพัฒนาจนมีชื่อเสียง หลังจากนั้นสุนัขพันธุ์พุดเดิ้ลก็ได้กลายมาเป็นสุนัขประจำชาติของประเทศฝรั่งเศสจนถึงทุกวันนี้ ต่อมาพุดเดิ้ลได้อพยพไปพร้อมกับชาวอาณานิคมเริ่มแรกและได้รับการยอมรับจาก AKC ในปีค. ศ. 1887 (รวมกันเป็นสายพันธุ์เดียวถึงแม้ว่าจะมีพุดเดิ้ล สแตนดาร์ดและพุดเดิ้ล มินิเจอร์รวมอยู่ด้วยก็ตาม) นอกจากนี้พุดเดิ้ลยังเป็น 1 ใน 10 อันดับแรกของสุนัขที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกอีกด้วย […]

อ่านต่อ

เชทแลนด์ ชีพด็อก (Shetland Sheepdog) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ เชทแลนด์ ชีพด็อก (Shetland Sheepdog) มีต้นกำเนิดมาจากเกาะเกาะเชทแลนด์ (Shetland Islands) ของประเทศสกอตแลนด์ โดยมีลักษณะที่สามารถทำงานหนักได้ มีความฉลาดและซื่อสัตย์ แต่ก่อนเชทแลนด์ ชีพด็อกถูกใช้เพื่อต้อนและปกป้องฝูงแกะ พวกมันจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับเกษตรกรและคนเลี้ยงสัตว์ ต่อมาเชื่อกันว่าเชทแลนด์ ชีพด็อกเป็นลูกผสมระหว่าง สุนัขพันธุ์คอลลี่ กับ สุนัขขนาดเล็กบางชนิด เนื่องจากมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันหลายอย่าง ในช่วงปี 1800 เชทแลนด์ ชีพด็อกได้เดินทางไปยังประเทศสกอตแลนด์และประเทศอังกฤษ โดยพวกมันยังคงทำหน้าที่ในการเป็นสุนัขต้อนสัตว์เช่นเคย ในช่วงเวลาเหล่านี้ พวกมันได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีขนาดเล็กกระทัดรัดและมีความชำนาญในการต้อนสัตว์ ถึงแม้ว่าสุนัขสายพันธุ์นี้จะเป็นที่รักของใครหลาย ๆ คนแต่สุนัขสายพันธุ์นี้ ทำให้เกิดข้อโต้เถียงกันอย่างมากทั้งในอังกฤษและอเมริกา ผู้เพาะพันธุ์หลายคนและเจ้าของไม่สามารถตกลงกันได้ว่าเชทแลนด์ ชีพด็อกควรจะมีลักษณะเป็นอย่างไร สิ่งเหล่านี้ทำให้สโมสรและองค์กรที่แสดงความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับสายพันธุ์นี้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งในปี 1930 กลุ่มเหล่านี้ก็สามารถตกลงร่วมกันเกี่ยวกับลักษณะของเชทแลนด์ ชีพด็อกตามที่ต้องการได้ ช่วงต้นในปี 1970 เชทแลนด์ ชีพด็อกได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พวกมันติดอันดับ 1 ใน 10 ของสายพันธุ์สุนัขที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในอเมริกา จนกระทั่งทุกวันนี้เชทแลนด์ ชีพด็อกก็ยังคงเป็นที่ชื่นชอบของคนในครอบครัว เนื่องจากพวกมันมีความซื่อสัตย์และความแข็งแรง ลักษณะทางกายภาพ ขนและสีขน เชทแลนด์ ชีพด็อก […]

อ่านต่อ

บาเซนจิ (Basenji) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ บาเซนจิ (Basenji) ได้รับชื่อเล่นว่า สุนัขที่ไม่ค่อยเห่า (the barkless dog) เนื่องจากโดยธรรมชาติของ บาเซนจิ เป็นสุนัขที่ค่อนข้างเงียบ ไม่ค่อยส่งเสียง และถือเป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุดจนถึงปัจจุบัน โดยมีความเกี่ยวข้องทั้งในประเทศแอฟริกาและอียิปต์ ซึ่งสุนัขพันธุ์บาเซนจิตัวแรกที่ถูกนำไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาครั้งแรก ในฐานะของขวัญจากสมเด็จฟาร์โรแห่งแม่น้ำไนล์ ในปี 1940 บาเซนจิ นิยมใช้ในการฝึกทักษะในการล่า สุนัขสามารถใช้ทักษะสัญชาตญาณในการตามล่าหาชนเผ่าและพลเมืองยุคแรก ๆ เนื่องจากความถนัดในด้านการล่าทำให้สุนัขพันธุ์นี้ จัดอยู่ในกลุ่มสุนัขล่าเนื้อ และในปัจจุบันสุนัขพันธุ์นี้เป็นที่จดจำ เนื่องจากมีลักษณะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากพันธุ์อื่น คือ หน้าผากเหี่ยวย่น, หางม้วนงอ, และมีดวงตาคล้ายกับเมล็ดแอลม่อน นอกจากนี้สุนัขบาเซนจิยังเป็นสุนัขที่มีความเป็นมิตรและฉลาดอีกด้วย ลักษณะทางกายภาพ สุนัข บาเซนจิ จัดอยู่ในกลุ่มสุนัขขนาดเล็ก แต่มีความสง่างาม มีขนสั้น, หูตั้ง, หางม้วนงอขนาดเล็ก และมีคอที่สวยงาม บางคนมองว่าลักษณะของสุนัขบาเซนจิคล้ายกับกวางขนาดเล็ก นอกจากนี้ สุนัขพันธุ์นี้ยังมีบริเวณหน้าผากที่เหี่ยวย่นโดยเฉพาะในตอนเด็กและ ตอนที่แก่มาก ๆ และมีรูปทรงตาคล้ายกับเมล็ดแอลม่อน ทำให้สุนัขมีลักษณะดูเคร่งครึม น้ำหนักเฉลี่ยของสุนัขบาเซนจิ ประมาณ 11 กิโลกรัม และสูงประมาณ 40.6 เซนติเมตร […]

อ่านต่อ

เชาเชา (Chow Chow) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ เชาเชา หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเชา ถือเป็นสุนัขอีกหนึ่งพันธุ์ที่มีเชื้อสายยาวนาน เชื่อว่ามีต้นกำเนิดมาจากประเทศมองโกเลีย และถือเป็นสุนัขประจำเผ่าสำหรับใช้งานการล่าสัตว์ โดยสุนัขพันธุ์เชาเชาถูกพูดถึงตั้งแต่ในช่วง 206 ปีก่อนคริสตศักราช ในช่วงราชวงศ์ฮั่น สายพันธุ์นี้ยังถือเป็นตำนานของประเทศจีน คือ ลิ้นของเชาเชาจะมีสีเทาดำ เชื่อว่าเกิดจากการเลียชิ้นส่วนของท้องฟ้าเมื่อโลกถูกสร้างขึ้นครั้งแรก อย่างไรก็ตามสุนัขพันธุ์เชาเชายังไม่ได้ถูกตั้งชื่อนี้ จนกระทั่งมีพ่อค้าชาวอังกฤษนำสุนัขรูปร่างหมีบางตัวเข้าไปในตู้สินค้าในช่วงศตวรรษที่ 18 ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีการนำสุนัขออกนอกประเทศ ทำให้ชื่อเชาเชา (Chow chow) ที่เป็นคำแสลงของการขนส่งสินค้าแบบสุ่ม และจากการที่สุนัขเป็นสินค้าเบ็ดเตล็ดเชาเชา จึงถูกเรียกด้วยชื่อนี้เรื่อยมา ในช่วงปลายศตรรษที่ 19 ได้มีการก่อตั้งสมาคมสุนัขพันธุ์เชาเชาขึ้นในประเทศอังกฤษ ซึ่งสายพันธุ์นี้ได้ถูกกล่าวขานว่ามีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยจากบรรพบุรุษ และในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการนำเข้าสุนัขพันธุ์เชาเชาเข้ามาในประเทศ และได้รับการจดทะเบียนจากสาคม AKC ในปี 1903 เนื่องจากความมีเสน่ห์ และลักษณะที่น่าจดจำ ทำให้สุนัขพันธุ์นี้ได้รับความนิยมในกลุ่มคนทั่วไปและกลุ่มคนดัง และยังคงได้รับความนิยมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ลักษณะทางกายภาพ สุนัขพันธุ์เชาเชามีลำตัวเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีกระโหลกขนาดเล็ก มีหูขนาดเล็กรูปสามเหลี่ยมที่ส่วนปลายโค้งมน และสายพันธุ์นี้มีขน 2 ชั้นซึ่งประกอบด้วยทั้งขนเรียบและขนหยาบ โดยขนจะหนาเป็นพิเศษบริเวณคอ ทำให้มีลักษณะที่โดดเด่นคล้ายกับแผงคอ ซึ่งสีของขนมีทั้งหมด 5 สี ไม่ว่าจะเป็น […]

อ่านต่อ

อิงลิช บูลล์ด็อก (English Bulldog) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ บูลล์ด็อก (English Bulldog) เป็นชื่อสามัญของสุนัขสายพันธุ์ที่เรียกว่า อิงลิช บูลล์ด็อก หรือ บริติช บูลล์ด็อก โดยบูลล์ด็อกสายพันธุ์อื่น ๆ ได้แก่ อเมริกัน บูลล์ด็อก และเฟรนช์ บูลล์ด็อก โดยต้นกำเนิดของสายพันธุ์บูลล์ด็อกนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่หลายคนเชื่อว่า บูลล์ด็อกมาจากเกาะอังกฤษ โดยคำว่า “บูล (bull)” ในชื่อนั้นมาจากการที่พวกมันตกเป็นเหยื่อของกีฬาที่โหดร้ายอย่างกีฬาการต่อสู้กับวัว ตั้งแต่กีฬาถูกห้ามในปี 1835 บูลล์ด็อกได้กลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้านที่เป็นที่ชื่นชอบ เนื่องจากมีความซื่อสัตย์และมีอารมณ์สงบนิ่ง ภายในช่วงเวลาสิบปีที่ผ่านมาสายพันธุ์บูลล์ด็อกได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากบูลล์ด็อกมีลักษณะเฉพาะตัวโดยเป็นสุนัขที่รูปร่างตันขาสั้นมีกล้ามเนื้อแข็งแรง มีใบหน้าเหี่ยวย่นและมีลักษณะเด่นของจมูกที่หุบเข้าไปในใบหน้า โดยมี The American Kennel Club (AKC), The Kennel Club (UK) และ United Kennel Club (UKC) คอยทำหน้าที่ในการดูแลมาตรฐานการปรับปรุงพันธุ์ ลักษณะทางกายภาพ บูลล์ด็อก (English Bulldog) เป็นสุนัขสายพันธุ์ที่มีลักษณะไหล่หนาและหัวที่เข้าคู่กัน โดยทั่วไปจะมีผิวหนังที่หนาบริเวณคิ้ว ตามด้วยตาที่กลมโตสีดำ ปากสั้นและจมูกมีลักษณะคล้ายเชือกพับซ้อนกันเป็นชั้นอยู่เหนือจมูก […]

อ่านต่อ