บ้านและสวน PETS

สุนัขสายพันธุ์วิปเพ็ต (Whippet)

สุนัขสายพันธุ์วิปเพ็ต เป็นสุนัขที่มีประวัติและเรื่องราวน่าสนใจมากมาย ทั้งในแง่ของต้นกำเนิด วัฒนธรรม และบทบาทในสังคม นี่คือบางเรื่องที่อาจทำให้คุณหลงใหลในเสน่ห์ของพวกมันมากขึ้น ต้นกำเนิดของ สุนัขสายพันธุ์วิปเพ็ต (Whippet) : สุนัขแห่งชนชั้นแรงงาน สุนัขสายพันธุ์วิปเพ็ต มีต้นกำเนิดในอังกฤษช่วงศตวรรษที่ 18-19 โดยพัฒนามาจากเกรย์ฮาวด์ (Greyhound) และสุนัขล่าสัตว์สายพันธุ์ขนาดเล็ก เดิมทีพวกเขาถูกเรียกว่า “Greyhound ของคนจน” เพราะชนชั้นแรงงาน โดยเฉพาะ คนทำงานเหมืองถ่านหินทางตอนเหนือของอังกฤษ ที่ไม่สามารถเลี้ยง Greyhound ได้เนื่องจากขนาดใหญ่ และค่าใช้จ่ายสูง พวกเขาจึงพัฒนา Whippet ให้มีขนาดเล็กลงแต่ยังคงความเร็ว และความสามารถในการล่าสัตว์ Whippet ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในกลุ่มคนทำงาน พวกมันถูกใช้ในการล่ากระต่าย แม้ว่าหลังจากนั้นง านล่าสัตว์จะลดลง แต่ Whippet ก็กลายเป็นสุนัขแข่งประจำผับ และเมืองอุตสาหกรรม มีการจัดการแข่งขัน “rag racing” หรือการแข่งวิ่งโดยใช้ผ้าขี้ริ้วเป็นเหยื่อล่อ ฉายา “Poor Man’s Racehorse” (ม้าของคนจน) ด้วยความเร็วที่เหลือเชื่อของ Whippet พวกเขาถูกนำไปใช้ในการแข่งสุนัขในยุควิกตอเรีย และกลายเป็นสุนัขที่ได้รับความนิยมอย่างมากในสนามแข่ง จนได้รับฉายาว่า “Poor […]

อ่านต่อ

สุนัขควบคุมพิเศษ ความเปลี่ยนแปลงที่ต้องไม่ตื่นกลัว

สุนัขควบคุมพิเศษ ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด แค่ต้องรู้จักอยู่ร่วมกันให้เป็น ในโลกที่ผู้คนหลากหลายขึ้น สังคมหนาแน่นขึ้น และชีวิตต้องเดินร่วมกันมากกว่าที่เคย บางครั้งเราจึงต้องมี “ขอบเขต” เพื่อให้ทุกตัว ทุกคน อยู่ร่วมกันอย่างสบายใจ “สุนัขควบคุมพิเศษ” จึงไม่ใช่คำต้องห้าม แต่คือแนวทางหนึ่งที่หลายประเทศใช้ เพื่อจัดระเบียบสังคมให้หมา-คน อยู่ด้วยกันได้โดยไม่เกิดปัญหา สุนัขกลุ่มนี้ อาจมีภาพจำว่า “ดุ” “กัดง่าย” หรือ “อันตราย” แต่ความจริงคือ เขาแค่ “ต้องการความเข้าใจพิเศษ” ไม่ต่างจากเด็กคนหนึ่งที่อาจขี้ตกใจไว ต้องการครูที่ใจเย็นกว่าปกติ แล้วเราจะเข้าใจและอยู่กับเขาได้อย่างไร ? สุนัขควบคุมพิเศษ คืออะไร สุนัขกลุ่มนี้ ไม่ได้ถูกจำกัดเพราะนิสัย แต่เพราะพวกเขามีศักยภาพสูง แรงเยอะ แข็งแรง ฉลาด ตอบสนองไวและหากไม่ได้รับการฝึกอย่างเหมาะสม อาจเกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้ง่าย หลายประเทศจึงกำหนดให้สุนัขกลุ่มนี้อยู่ในรายการ “สุนัขควบคุมพิเศษ” เพื่อป้องกันปัญหาและสร้างมาตรฐานความปลอดภัย รายชื่อสายพันธุ์ “สุนัขควบคุมพิเศษ” ที่ควรระวังเป็นพิเศษในประเทศไทย (ตามแนวทางของกรุงเทพมหานคร) สุนัขควบคุมพิเศษในต่างประเทศ (หรือมีแนวโน้มควบคุมในหลายประเทศ) หมายเหตุ:สุนัขเหล่านี้ไม่ได้ “อันตราย” แต่คือสายพันธุ์ที่ต้องการการดูแลอย่างมีวินัย ยิ่งเข้าใจ… ยิ่งอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ข้อบังคับต่าง ๆ […]

อ่านต่อ

การป้องกันสัตว์เลี้ยงจากงู ทำได้อย่างไรบ้าง

การป้องกันสัตว์เลี้ยงจากงู ในหน้าฝน ไม่ใช่แค่เรื่องของคนกลัวงูเท่านั้น แต่มันคือการ ดูแลหมาของเราไม่ให้ต้องเผชิญหน้ากับอันตราย ก่อนภัยจากสัตว์มีพิษจะมาเยือน เพราะเรารู้ว่าการสูญเสีย… มันเจ็บกว่าเขี้ยวงูหลายเท่า บทความ “การป้องกันสัตว์เลี้ยงจากงู ในหน้าฝน” เขียนขึ้น… ไม่ใช่แค่ในฐานะคนรักหมาเท่านั้น แต่เขียนในฐานะ บ้านที่เคยเจองู และเคยสูญเสียน้องหมาเพราะงูมาแล้วจริง ๆ ขุนช้าง — เฟรนช์บูลด็อกผู้ร่าเริง ตายอย่างเงียบงันเพียงข้ามคืนแอนนา — ลาบราดอร์ผู้ใจดี ล้มลงหลังจากเจองูเพียงไม่กี่นาทีและ สาลี่ — บูลด็อกอีกตัว ที่เกือบจะกลายเป็นข่าวเศร้าอีกครั้ง แต่โชคดีที่วันนั้นเราพาไปถึงมือคุณหมอ ช่วยชีวิตได้ทันเวลา… การป้องกันงู จึงไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ สำหรับบ้านเราอีกต่อไป และเราหวังว่าบทความนี้ จะช่วยให้บ้านอื่นไม่ต้องสูญเสียสัตว์เลี้ยงอันเป็นที่รักแบบเรา การป้องกันสัตว์เลี้ยงจากงู ในหน้าฝน เพราะหน้าฝนไม่ได้มีแค่เพียงสายฝน แต่อาจนำพา “งูเจ้าบ้าน” เข้ามาหลบฝนภายในบริเวณบ้านเราเช่นกัน….หน้าฝน คือช่วงเวลาที่ทุกชีวิตกำลังมองหาที่พักพิง ในขณะที่น้องหมาของเรามุดผ้าห่มนอนหลบฝนอย่างมีความสุขอยู่นั้น สัตว์บางชนิดก็เริ่มเคลื่อนที่เงียบ ๆ ภายใต้ความชื้นของโลก หนึ่งในนั้นคือ “งู” นักล่าผู้ไม่เคยเคาะประตู โดยเฉพาะบ้านที่มีสนามหญ้า มีสวน มีบ่อน้ำ หรือมีสัตว์เลี้ยงขนาดเล็ก อาจกลายเป็นจุดหมายปลายทางของงูเจ้าถิ่นที่ไม่ได้ตั้งใจจะทำร้ายใคร […]

อ่านต่อ

ศูนย์รังสีวินิจฉัยสัตว์เลี้ยง โรงพยาบาลสัตว์อารักษ์

โรงพยาบาลสัตว์อารักษ์ เปิดตัว ARAK’S ADVANCED MRI & IMAGING CENTER ศูนย์รังสีวินิจฉัยสัตว์เลี้ยง ด้วยเทคโนโลยี MRI และ CT Scan รุ่นใหม่ ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย วันที่ 19 พฤษภาคม 2568, กรุงเทพฯ – โรงพยาบาลสัตว์อารักษ์ ผู้นำด้านการดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยงแบบครบวงจร เดินหน้ายกระดับมาตรฐานการรักษาในยุค Pet Humanization เปิดตัว ARAK’S ADVANCED MRI & IMAGING CENTER อย่างเป็นทางการ ณ โรงพยาบาลสัตว์อารักษ์สำนักงานใหญ่ สาขาทองหล่อ พร้อมชูเทคโนโลยี MRI และ CT Scan รุ่นใหม่ล่าสุด ที่ผสานระบบ AI เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ รวดเร็ว และปลอดภัย เสมือนการรักษาในโรงพยาบาลระดับมนุษย์ ภายใต้แนวคิด “มากกว่าการรักษา คือความใส่ใจ” โรงพยาบาลสัตว์อารักษ์มุ่งมั่นส่งมอบบริการแบบ Patient-Centric […]

อ่านต่อ

แมวส้ม ทำไมมีขนสีส้ม และส่วนใหญ่เป็นตัวผู้

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับสีขนของ แมวส้ม ที่อธิบายว่า ทำไมแมวส้มส่วนใหญ่เป็นตัวผู้ ความลับและปริศนาของ แมวส้ม ยังเป็นหัวข้อที่เย้ายวนใจต่อนักวิทยาศาสตร์ ผู้พยายามหาคำอธิบายเกี่ยวกับสีขนอันเป็นเอกลักษณ์ โดยหนึ่งในหัวข้อที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือ ยีนที่กำหนดการแสดงออกของสีขน แมวส้มได้ปรากฏอยู่บนสื่อมากมายในปัจจุบันทั้งสื่อสังคมออนไลน์ และตัวละครในภาพยนตร์ ซึ่งหากย้อนกลับไปในอดีต พวกเขายังเคยปรากฎอยู่ในภาพวาดยุคเรอเนสซองส์ ด้วยบุคลิกที่สะท้อนความเป็นแมวส้มอย่างตรงกันในทุก ๆ วัฒนธรรม เช่น ความซุกซน เข้ากับคนง่าย เจ้าสเน่ห์ และผู้สร้างความวุ่นวาย นอกเหนือจากพฤติกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของพวกมันแล้ว แมวสีส้มสดใสเหล่านี้ยังจุดประกายความอยากรู้อยากเห็นทางวิทยาศาสตร์ด้วย เบื้องหลังที่มาของขนสีส้มยังมีปริศนาทางพันธุกรรม ให้นักวิทยาศาสตร์ค้นหาคำตอบ และในที่สุด พวกเขาก็ค้นพบว่า กลไกที่อยู่เบื้องหลังเรื่องนี้ คืออะไร การวิจัยจากคนละซีกโลก แต่ได้ข้อสรุปเดียวกัน นักวิจัยจากญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ต่างศึกษาเรื่องยีนควบคุมการแสดงออกขนสีส้มในแมว ซึ่งทั้งสองทีมไม่มีได้ทำงานร่วมกัน พบว่า ขนสีส้มของแมวเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมบนโครโมโซม X ซึ่งเป็นหนึ่งในโครโมโซมเพศ สิ่งที่ทำให้ลักษณะนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือ การกำหนดสีขนเกี่ยวข้องกับเพศ ซึ่งไม่พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น เกรกอรี บาร์ช มหาวิทยาสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา และอีกฝั่งหนึ่ง ฮิโรยูกิ ซาซากิ มหาวิทยาลัยคิวชู ประเทศญี่ปุ่น ทั้งสองทีมวิจัยได้วิเคราะห์ว่า การกลายพันธุ์ของแมวส้มเป็นการกลายพันธุ์ที่ยีนตำแหน่งใด แม้ว่าจะมีหลักฐานแสดงอย่างชัดเจนแล้วว่า […]

อ่านต่อ

ทำไม สุนัขดีใจเวลาเจอเจ้าของ

หลายท่านอาจเคยสงสัยว่า ทำไม สุนัขดีใจเวลาเจอเจ้าของ ด้วยการแสดงออกทางภาษากายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการกระดิกหางที่เร็วมาก หรือการกระโดดเข้าใส่เจ้าของเพื่อเลียหน้า เชื่อว่าเจ้าของสุนัขทุกคนต่างมีความสุขเมื่อเห็น สุนัขดีใจเวลาเจอเจ้าของ ซึ่งเป็นพฤติกรรมน่ารักของสุนัขที่พบได้ทั่วโลก ท่าทางการทักทายด้วยความกระตือรือร้นนี้ เกิดขึ้นจากรากฐานความผูกพันทางอารมณ์ระหว่างสุนัขและเจ้าของ ดังนั้น การทำความเข้าใจกับพฤติกรรมนี้ จะช่วยให้เราเห็นความสำคัญ ต่อการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเราและสุนัข ทำไม สุนัขดีใจเวลาเจอเจ้าของ คำตอบที่ดูตรงตัวมากที่สุด คือ ความผูกพันอันแน่นแฟ้นระหว่างสุนัขกับเจ้าของ สุนัขเข้ามาเป็นสัตว์เลี้ยงในสังคมมนุษย์อย่างยาวนาน ดังนั้น สุนัขจึงรู้สึกว่า พวกเราเป็นส่วนหนึ่งของฝูง หรือในปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า “เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว” ความสัมพันธ์ทางอามรมณ์นี้เอง กระตุ้นความตื่นเต้นของสุนัข เมื่อเห็นเจ้าของกลับมาถึงบ้าน โดยพวกเขาไม่ได้รู้สึกว่าเราเป็นเพียงผู้ให้อาหาร หรือคนที่พาออกไปเดินเล่นนอกบ้านเท่านั้น แต่เป็นการได้พบสมาชิกอันเป็นที่รักอีกครั้ง สุนัขมักแสดงความผูกพัน และความภักดีต่อเจ้าของในระดับที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน และประสบการณ์ที่มีร่วมกับเจ้าของ ความผูกพันเหล่านี้ล้วนส่งผลต่ออารมณ์ และพฤติกรรมของสุนัข เกิดอะไรขึ้นกับสุนัข เมื่อเราไม่อยู่บ้าน สุนัขบ้านมีความคล้ายคลึงกับสุนัขป่าอย่างหนึ่ง คือ พฤิตกรรมการรวมฝูง ดังนั้น เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องพื้นฐานที่เจ้าของควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับสุนัข เมื่อมนุษย์ผู้เป็นหนึ่งในสมาชิกครอบครัวของสุนัข ต้องออกจากบ้านไป สุนัขจะรู้สึกว่า กำลังถูกแยกจากฝูง การแยกจากฝูง เพียงสองสามชั่วโมง อาจทำให้สุนัขเกิดความวิตกกังวลได้ เมื่อสุนัขเกิดความวิตกกังวล พกวเขาจะแสดงพฤติกรรมบางอย่าง […]

อ่านต่อ

ทำไมแมวขนร่วง มากกว่าปกติ

แมวขนร่วง เป็นเรื่องปกติที่ทาสแมวทุกคนต้องเผชิญ แต่บางครั้ง เมื่อเราพบว่า แมวขนร่วงมากกว่าปกติ อาจกำลังจะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพได้ แมวขนร่วง มากกว่าปกติ อาจไม่ได้เป็นภาวะฉุกเฉินทางการสัตวแพทย์ อย่างไรก็ตาม หากเราพบว่า แมวเริ่มส่งสัญญาณความผิดปกติของเส้นขนและผิวหนัง ควรพาแมวไปพบสัตวแพทย์ทันที เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุอย่างแม่นยำ และรักษาอย่างถูกต้อง ภาวะขนร่วงมากกว่าปกติ ที่มักเกิดขึ้นในแมว ปัญหาขนร่วงในแมว ที่สังเกตได้อย่างชัดเจน คือ ขนจะร่วงออกมาเป็นกระจุกหนา ๆ และสามาถเกิดขึ้นมากกว่าหนึ่งตำแหน่งในทุกส่วนของร่างกาย จนทำให้เห็นผิวหนัง ส่วนใหญ่ ปัญหาขนร่วงเกิดขึ้นได้จากทั้งเรื่องพันธุกรรม ปัญหาสุขภาพ และปัญหาทางด้านอารมณ์ของแมว อาการของแมวที่ขนร่วงมากกว่าปกติ สาเหตุส่วนใหญ่ของการเกิดภาวะ แมวขนร่วง การตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของภาวะขนร่วงในแมว สำหรับการตรวจวินิจฉัย สัตวแพทย์จะตรวจหาความผิดปกที่ชัดเจนของการเกิดภาวะขนร่วง โดยการตรวจร่างกายของแมว ร่วมกับการซักประวัติเจ้าของแมวร่วมด้วย ดังนั้น เจ้าของควรเตรียมข้อมูลเบื้องต้น เพื่อแจ้งให้สัตวแพทย์ทราบ เช่น ชนิดของอาหารที่แมวเพิ่งกิน หรือกินเป็นประจำ กิจกรรมต่าง ๆ ที่แมวได้เข้าร่วม หรือระยะเวลาที่แมวเริ่มขนร่วงก่อนมาพบสัตวแพทย์ เป็นต้น สัตวแพทย์อาจใช้เทคนิคการสัตวแพทย์ เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง ด้วยเทคนิคต่าง ๆ เหล่านี้ แนวทางการรักษาภาวะ แมวขนร่วง ส่วนใหญ่ […]

อ่านต่อ

สุนัขสายพันธุ์ คาร์ดิแกน เวลช์ คอร์กี้ (Cardigan Welsh Corgi)

คอร์กี้ ขาสั้น ผู้เก็บเรื่องราวแห่งหุบเขาไว้ในหางยาวของเขา สุนัขผู้ไม่หวือหวา แต่หนักแน่น ไม่ไถ่ถาม แต่เฝ้ามอง ไม่ตื่นเต้นเกินไป แต่ก็ไม่เมินเฉยกับสิ่งที่รัก ประวัติความเป็นมาของคาร์ดิแกน เวลช์ คอร์กี้ “สุนัขเก่าแก่พอ ๆ กับตำนานของแผ่นดิน” คาร์ดิแกน เวลช์ คอร์กี้ เป็นหนึ่งในสุนัขที่เก่าแก่ที่สุดบนเกาะอังกฤษ มีรากเหง้าทางพันธุกรรมที่ย้อนกลับไปได้ถึง 3,000 ปี ก่อนจะมีสหราชอาณาจักร และก่อนจะมีการแบ่งแยกอาณาจักรนอร์มัน หรือแซกซัน บรรพบุรุษของพวกเขาถูกนำเข้ามาโดยชาวเซลต์ ที่อพยพมาทางทวีปยุโรป ในขณะนั้น สุนัขคอร์กี้มีหน้าที่สำคัญในชีวิตของคนชนบท เช่น ต้อนวัว ขับไล่สัตว์ เฝ้าไร่ และเตือนภัยยามค่ำคืน เป็นต้น โดยสภาพแวดล้อมที่พวกเขาอาศัยอยู่เป็นพื้นที่ห่างไกลที่ไม่มีรั้ว ไม่มีไฟฟ้า และไม่มีเวลาให้ซ้อม พวกเขาคือสุนัขทำงานในดินแดนที่พึ่งพาใครไม่ได้ เพราะฉะนั้น ความสามารถของเขาไม่ได้มาจากความเร็ว หรือแรงกัด แต่มาจาก “สมอง” และ “ไหวพริบ” ไม่ต่างจากช่างฝีมือในหมู่บ้าน ที่รู้ว่าเมื่อไรควรตีเหล็ก และเมื่อไรควรพักรอให้ไฟอ่อน ลักษณะตามมาตรฐานสายพันธุ์ ถ้าเปรียบสุนัขเป็นเครื่องดนตรี Cardigan Welsh Corgi หรือ […]

อ่านต่อ

สุนัขสายพันธุ์ ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ (Labrador Retriever)

“พลังงานบวกสี่ขา ผู้เป็นได้ทั้งเพื่อนเล่น และหมอเยียวยาหัวใจ” ถ้าคุณเคยเจอสุนัขที่หางกระดิกแม้ในวันที่ฝนตก ยิ้มตาแป๋วแม้เพิ่งโดนดุ แล้วเดินมาคาบของเล่นใส่มือคุณเ หมือนจะบอกว่า “ไม่เป็นไรนะ มาเล่นกันเถอะ” นั่นแหละ… คุณเจอ ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ เข้าแล้ว ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ …พวกเขาไม่ใช่แค่ “หมาครอบครัว” แต่คือ เพื่อนร่วมชีวิต ที่มีหัวใจใหญ่พอจะรักคุณทั้งบ้าน และยังเหลือไปรักเพื่อนบ้านได้อีกสามหลัง จุดเริ่มต้นของ ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ หรือ “หมาน้ำ” ที่กลายเป็นหมาเยียวยาจิตใจ ลาบราดอร์มีรากเหง้ามาจากดินแดนหนาวเย็นของแคนาดา — เกาะนิวฟาวด์แลนด์ ซึ่งในอดีตเขาไม่ได้นอนเล่นบนโซฟา แต่ลงน้ำทุกวัน ช่วยชาวประมงลากอวน ดึงเชือก คาบปลา และว่ายสู้กระแสน้ำ หมาน้ำพันธุ์นี้ทั้งแกร่ง อดทน และเรียนรู้เร็ว เมื่อลาบราดอร์ถูกนำเข้าสู่เกาะอังกฤษ พวกเขาได้กลายมาเป็นนักล่าสัตว์ที่ “นุ่มนวล” คาบนกได้โดยไม่ทำให้ขนเปียกหรือเนื้อช้ำ — ความสามารถที่เราเรียกว่า soft mouth และจุดนี้เองที่กลายเป็น “จิตใจ” ของลาบราดอร์ — อ่อนโยน แม้จะมีแรงมาก ลักษณะทางกายภาพของลาบราดอร์ […]

อ่านต่อ

ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง สร้างมูลค่าตลาดเฉลี่ย 5 ปี 3 แสนล้านบาท

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ รายงานว่า ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง ในไทย เติบโตต่อเนื่อง 5 ปี ตั้งแต่ปี 2562 – 2566 สร้างรายรับรวมเฉลี่ย 3.3 แสนล้านบาท กำไรรวมเฉลี่ย 1.2 หมื่นล้านบาท พฤติกรรมการเลี้ยงสัตว์ของผู้คนในยุคปัจจุบัน ที่เลี้ยงสัตว์เป็นหนึ่งในสมาชิกของครอบครัว และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ที่ผู้สูงอายุนิยมเลี้ยงสัตว์เป็นเพื่อน ล้วนเป็นปัจจัยสนับสนุนเติบโตของ ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง ในประเทศไทย ในขณะเดียวกัน ผู้แข่งขัยในตลาดนี้ก็เพิ่มขึ้นทั้งจากภายใน และต่างประเทศ อรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนในสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต โดยหันมาอยู่บ้าน และใช้เวลาอยู่กับตัวเองมากขึ้น รวมถึงการพาสัตว์เลี้ยงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้เวลายามว่างเพื่อแก้เหงา จนสัตว์เลี้ยงกลายเป็นเสมือนคนในครอบครัว ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าว ส่งผลให้ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงเติบโตขึ้นตามไปด้วย การวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง จากคลังข้อมูลธุรกิจของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD DataWarehouse+) พบว่า ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง มีอัตราการเติบโตขึ้นในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา (ปี 2566-2567) ทั้งจำนวนการจัดตั้งใหม่ และทุนจดทะเบียน […]

อ่านต่อ

สุนัขกินชีส ได้หรือไม่ และนี่คือข้อมูลที่เราควรรู้

เชื่อว่า เจ้าของสุนัขหลายท่าน เป็นสาย cheese’s lover แต่บางครั้ง เราก็เคยสงสัยว่า สุนัขกินชีส ได้หรือไม่ ชีสเป็นหนึ่งในวัตถุดิบการทำอาหาร ที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงหลานท่านมีติดครัวอยู่เป็นประจำ ด้วยรสสัมผัสที่นุ่มนวล และหอมหวานของชีส จึงทำให้สุนัขของเราจ้องมองเหมือนอยากจะร่วมกินด้วย จนบางครั้ง เราก็รู้สึกอยากจะแบ่งปันชีสให้กับลูกรักของเรา แต่ในความเป็นจริงแล้ว สุนัขกินชีส ได้หรือไม่ ถ้า สุนัขกินชีส จะเป็นอันตรายต่อพวกเขาหรือไม่ สำหรับมนุษย์ ชีสอุดมไปด้วยสารอาหารต่างๆ เช่น แคลเซียม โปรตีน ฟอสฟอรัส สังกะสี วิตามินเอและบี 12 อย่างไรก็ตาม ถ้า สุนัขกินชีส นั่นไม่ได้แปลว่า สารอาหารเหล่านี้จะตอบสนองความต้องการทางโภชนาการของพวกเขาได้ ถึงแม้จะมีหลักฐานที่แสดงว่า ชีสในปริมาณเล็กน้อยไม่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพของสุนัข แต่สุนัขบางตัวอาจรู้สึกไม่สบายจากน้ำตาลแลคโตสได้ เช่น ท้องอืด ท้องเสีย หรืออาเจียน ดังนั้น ถ้าเจ้าของอยากให้สุนัขได้ลิ้มลองรสชาติของชีสจริง ๆ ให้พวกเขาได้ลองกินชีสในปริมาณเล็กน้อย และสังเกตว่า พวกเขามีความผิดปกติเกิดขึ้น หรือไม่ สิ่งหนึ่งที่ควรพิจารณาร่วมด้วยคือ ประเภทของชีส โดยเจ้าของควรเลทอกชีสที่มีไขมัน โซเดียม และแคลลรี่ต่ำ […]

อ่านต่อ

แมวกัดกัน จนเป็นแผล และกลายเป็นหนอง

ปัจจุบัน หลายท่านเลี้ยงแมวในระบบปิดมากกว่าหนึ่งตัว และบางครั้งก็ต้องพบเจอกับเหตุการณ์ที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นคือ แมวกัดกัน หรือทะเลาะกันจนต่างฝ่ายต่างก็มีบาดแผล ในฐานะเจ้าของเราควรทำอย่างไรเมื่อแมวกัดกันจนเกิดบาดแผล แมวกัดกัน เพราะอะไร แมวบ้านเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีพฤติกรรมอย่างหนึ่งคล้ายกับญาติที่เป็นแมวป่า คือ การสร้างอาณาเขต ดังนั้น เมื่อเราเลี้ยงแมวมากกว่าหนึ่งตัวภายในบ้านหลังเดียวกัน จึงมีความเป็นไปได้ที่จะพบเจอกับเหตุการณ์ แมวกัดกัน หรือทะเลาะข่วนกัน จนเกิดบาดแผล พฤติกรรมการหวงแหนอาณาเขตของแมว ทำให้เกิดการแบ่งพื้นที่ภายในบ้านอย่างชัดเจน โดยเฉพาะแมวที่เคยอยู่ตัวเดียวมาก่อน แล้วมีแมวตัวใหม่เพิ่มขึ้นภายหลัง แมวบางตัวจึงต้องการป้องกันอาณาเขตด้วยการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว เช่น การขู่ กัด หรือข่วน เพื่อให้แมวอีกตัวออกไปจากพื้นที่ของตนเอง ในธรรมชาติ แมวป่าจะสร้างเขตแดนของตนเองด้วยการทิ้งกลิ่นไว้ เมื่อแมวตัวอื่นผ่านเข้ามา หรือได้กลิ่น ก็มักจะเลี่ยงออกไป และไม่พยายามเผชิญหน้ากัน แต่แมวบ้านที่อยู่ในระบบปิดอาจจะหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าได้ยากกว่าในธรรมชาติ ดังนั้น เมื่อเกิดการเผชิญหน้ากัน การแสดงออกของพฤติกรรมการป้องกันอาณาเขตจึงเกิดขึ้น กลายเป็นสงครามย่อม ๆ ภายในบ้าน ผลที่ตามมาคือ แมวได้รับบาดแผลทางร่างกาย ซึ่งอาจนำไปสู่การติดเชื้อจนแผลอักเสบ และกลายเป็นหนอง นอกจากนี้ ความเสี่ยงต่อการติดโรคร้ายแรงจะเพิ่มขึ้น ถ้าแมวของเราไปกัดกับแมวจรที่ไม่ได้รับวัคซีน อาจจะนำไปสู่การติดโรคเอดส์แมว และลิวคีเมีย โดยส่วนใหญ่ เมื่อแมวได้รับบาดเจ็บจากการถูกกัดหรือข่วน บาดแผลมักจะเกิดขึ้นที่บริเวณใบหน้า ลำคอ บริเวณขา โคนหาง […]

อ่านต่อ

แมวป่า VS. แมวบ้าน

แมวป่ากับแมวบ้าน แตกต่างกันอย่างไร เรื่องราวของแมวที่เข้ามาครองหัวใจ และบ้าน ของพวกเรา เมื่อหลายพันปีก่อน สัตว์เลี้ยงในบ้านส่วนใหญ่มีหน้าตาแตกต่างจากญาติในป่าที่มีบรรพบุรุษร่วมกัน ลองนึกภาพสุน้ขบ้านและสุนัขป่า แต่ในทางกลับกัน แมวบ้าน ที่นั่งอยู่ในห้องนั่งเล่นของเรา หน้าตาของพวกเขาอาจไม่ได้ดูแตกต่างจากแมวป่าในปัจจุบันสักเท่าไร และหลายครั้ง เราก็ยังเข้าใจผิดว่า แมวป่ากับแมวบ้าน เป็นสายพันธุ์เดียวกัน ความจริงข้อหนึ่งที่เจ้าของแมวมีความเห็นตรงกันคือ ไม่ใช่แมวบ้านทุกตัวจะมีลักษณะเหมือนกับแมวป่า แมวบางสายพันธุ์มีสีสัน ลวดลาย และเส้นขนที่มีความหลากหลาย และไม่พบในแมวป่า แมวบ้านบางตัวมีลักษณะของร่างกายที่โดดเด่น เช่น แมวมันช์กินขาสั้น แมวไทยที่ใบหน้ายาว และแมวเปอร์เซียหน้าสั้น อย่างไรก็ตาม แมวบ้านบางสายพันธุ์ก็มีรูปร่างหน้าตาคล้ายแมวป่ามาก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้วิเคราะห์ความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างแมวบ้านและแมวป่า พบว่า มีความแตกต่างกันเพียงร้อยละ 13 เท่านั้น ในกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ในทางกลับกัน สุนัขบ้านและสุนัขป่ามีความแตกต่างกันทางพันธุกรรมถึง 3 เท่า แล้ว แมวป่ากับแมวบ้าน แตกต่างกันอย่างไร นักวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า ในเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้สำหรับจำแนกแมวบ้านและแมวป่า มีเพียงสองวิธีเท่านั้นที่จะสามารถระบุได้อย่างชัดเจน วิธีที่หนึ่ง คือ การวัดขนาดของสมอง โดยสมองของแมวบ้านจะมีขนาดเล็กกว่าแมวป่า โดยเฉพาะสมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความก้าวร้าว ความกลัว และการตอบสนองโดยรวม วิธีที่สอง คือ […]

อ่านต่อ

How to การฝึกให้ลูกแมวใช้กระบะทราย

หนึ่งในเรื่องพื้นฐาน ที่พ่อแม่แมวมือใหม่ต้องฝึกฝนให้ลูกแมวทำให้ได้คือ การฝึกให้ลูกแมวใช้กระบะทราย เพราะเป็นพัฒนาการที่สำคัญของแมวที่จะเติบโตอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี การขับถ่ายของลูกแมวในวัยแรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 3 – 4 สัปดาห์ จะได้รับการกระตุ้นโดยแม่แมว จากนั้น เมื่อเริ่มขับถ่ายเองได้แล้ว พวกเขาจะเรียนรู้และจดจำจากแม่ และพี่น้องในครอกเดียวกัน อย่างไรก็ตาม แมวบ้านในปัจจุบันได้เข้ามาอยู่ร่วมกับมนุษย์หลังจากหย่านมแล้ว ดังนั้น การฝึกให้ลูกแมวใช้กระบะทราย จึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่อย่างเรา หากลูกแมวไม่ได้รับการฝึกฝนให้ใช้กระบะทรายอย่างถูกต้องเหมาะสม อาจเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น การปัสสาวะ และขับถ่ายไม่เป็นที่ การอั้นปัสสาวะจนเกิดปัญหาสุขภาพ และการเกิดความเครียดสะสมในลูกแมว จนเกิดเป็นปัญหาด้านพฤติกรรม ดังนั้น พ่อแม่น้องแมวต้องคอยดูแลเรื่องการขับถ่ายของลูกแมวให้เป็นไปอย่างปกติ ขั้นตอนการฝึกให้ลูกแมวใช้กระบะทราย 1. การเตรียมกระบะทราย ควรเลือกใช้กระบะทรายที่ขอบเตี้ยเพื่อให้ลูกแมวสามารถก้าวเข้ากระบะได้ง่าย ขนาดความยาวของกระบะที่แนะนำคือมีความยาว 1.5 เท่าของความยาวตัวลูกแมว ซึ่งลูกแมวสามารถหมุนกลับตัวได้อย่างสะดวก และเมื่อลูกแมวโตขึ้นจะต้องเปลี่ยนขนาดกระบะให้เหมาะสม 2. ใส่ทรายแมวในกระบะให้มีความสูงที่เหมาะสม เมื่อได้ขนาดกระบะทรายที่เหมาะสมแล้ว ควรใส่ทรายลงไปในกระบะให้มีความสูงอย่างน้อย 3 – 4 เซนติเมตร จากก้นกระบะ ซึ่งเป็นความสูงที่เหมาะสมสำหรับอุ้งเท้าแมว ที่มีความไวต่อการสัมผัส และเหมาะกับพฤติกรรมการกลบอุจจาระ และปัสสาวะของตนเอง ในปัจจุบัน ในท้องตลอดมีทรายแมวหลายชนิดให้เลือกใช้ตามความ้องการ […]

อ่านต่อ

สุนัขสายพันธุ์บูลเทอร์เรีย (Bull Terrier)

ถ้าคุณกำลังมองหา “หัวใจที่ดื้อแต่ซื่อสัตย์” สุนัขสายพันธุ์ บูลเทอร์เรีย กำลังรอคุณอยู่ที่ปลายทางของความอดทนและความเข้าใจ ประวัติความเป็นมา สุนัขสายพันธุ์ บูลเทอร์เรีย สุนัขสายพันธุ์ บูลเทอร์เรีย มีต้นกำเนิดจากประเทศอังกฤษในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่าง Old English Bulldog และ Old English Terrier (2 สายพันธุ์เก่าแก่ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว) โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างสุนัขที่แข็งแรง ว่องไว และมีพลัง ซึ่งในยุคแรก ๆ ถูกใช้ในกีฬาสู้วัวกระทิงและการกัดสุนัข อย่างไรก็ตาม เมื่อกีฬาดังกล่าวถูกห้ามไป บูลเทอร์เรียได้ถูกพัฒนาให้เป็นสุนัขเลี้ยงและแสดงสุนัข บูลเทอร์เรียสมัยใหม่ได้รับการปรับปรุงโดย James Hinks ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ซึ่งพยายามทำให้ สุนัขดูสง่างามขึ้น หัวเป็นทรงโค้ง (egg-shaped head) และปรับบุคลิกภาพให้เป็นมิตรขึ้น ส่งผลให้บูลเทอร์เรียกลายเป็นสุนัขที่ได้รับความนิยมในกลุ่มคนชั้นสูง ความสำคัญในอดีต ชื่อเล่นของบูลเทอร์เรีย ลักษณะทางกายภาพ บูลเทอร์เรีย มีลักษณะที่เด่นมากที่สุดคือ หัวมีลักษณะคล้ายรูปไข่ (Egg shaped) และตามีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม (Triangle shaped eyes) […]

อ่านต่อ
สัตว์เลี้ยง, กทม, การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์, หมาจร, แมวจร,

ข้อบัญญัติฯ การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ปี 2567

ปีที่ผ่านมา สภากรุงเทพมหานคร ได้เสนอ (ร่าง) ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ปี… ปัจจุบัน ข้อบัญญัติฉบับนี้ ไดผ่านความเห็นชอบ และออกประกาศบังคับใช้ โดยจะเริ่มบังคับใช้ ในวันที่ 10 มกราคม 2569 กทม. เห็นว่า ข้อบัญญัติ การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ จะสามารถสร้างความปลอดภัยของทั้งคนและสัตว์เลี้ยง สวัสดิภาพของสัตว์เลี้ยงที่ดีขึ้น และป้องกันการเกิดสัตว์จรในอนาคต ดังนั้น หลังจากที่ข้อบัญญัติ ฯ บังคับใช้แล้ว เจ้าของสัตว์เลี้ยงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขต กทม. จำเป็นต้องปฏิบัติตาม โดยในข้อบัญญัติ ฯ ประกอบไปด้วยสาระสำคัญ ดังนี้ 1. จำนวนสัตว์เลี้ยงต่อขนาดพื้นที่อยู่อาศัย เจ้าของสัตว์ที่เลี้ยงสัตว์เกินกว่าจํานวนที่กําหนดไว้ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนี้ ก่อนวันที่ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนี้ใช้บังคับ หรือก่อนวันที่ 15 มกราคม 2568 ให้แจ้งต่อสํานักงานเขต หรือแจ้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกสN ภายใน 90 วันนับแตjวันที่ขhอบัญญัติกรุงเทพมหานครนี้ใชhบังคับ หรือภายในวันที่ 14 เมษายน 2568 2. ต้องจดทะเบียนสัตว์เลี้ยง และฝังไมโครชิป […]

อ่านต่อ

New-Pet Blue อารมณ์เชิงลบ หลังจากรับสัตว์เลี้ยงตัวใหม่เข้าบ้าน

ช่วงเวลาที่เราได้รับสัตว์เลี้ยงตัวใหม่เข้าบ้านนำมาซึ่งหลากหลายอารมณ์ ทั้งตื่นเต้น ดีใจ และรู้สึกเติมเต็ม อย่างไรก็ตาม เจ้าของมือใหม่บางท่านอาจเกิดความรู้สึกในเชิงลบขึ้นมาได้ อย่างอาการ New-Pet Blue หรือภาวะวิตกกังวลหลังจากรับสัตว์เลี้ยงตัวใหม่เข้าบ้าน สัตวแพทย์และนักจิตวิทยา กล่าวว่า ความรู้สึกดีหรือไม่ดีที่เกิดขึ้นหลังรับสัตว์เลี้ยงตัวใหม่เข้าบ้าน มีปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวข้องคือ ฮอร์โมนที่ชื่อว่า ออกซิโทซิน (Oxytocin) จะหลั่งออกมาเมื่อเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิต เพื่อทำให้เราเกิดความรู้สึกดีและผูกพัน ในทางกลับกัน เจ้าของสัตว์เลี้ยงมือใหม่ อาจเกิดอารมรณ์ในเชิงลบ หรือที่เรียกว่า New-Pet Blue หรือภาวะซึมเศร้าหลังจากรับสัตว์เลี้ยงตัวใหม่เข้าบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อรับสัตว์เลี้ยงในวัยเด็กที่สุขภาพยังไม่แข็งแรงเต็มที่ หรือรับอุปการะสัตว์เลี้ยงที่ร่างกายอ่อนแอ หรือเคยถูกทำร้ายมาก่อน ภาวะ New-Pet Blue หรืออาการซึมเศร้าหลังจากได้รับสัตว์เลี้ยงตัวใหม่ คืออะไร อาการซึมเศร้าหลังจากได้รับสัตว์เลี้ยงตัวใหม่ ยังไม่มีชื่อเรียกในภาษาไทยอย่างเป็นทางการ เป็นคำที่ใช้เรียกปฏิกิริยาทางอารมณ์ต่าง ๆ เช่น รู้สึกเครียด วิตกกังวล เศร้า และบางครั้งรู้สึกเสียใจที่ได้รับสัตว์เลี้ยงตัวใหม่ ซึ่งเป็นภาวะทีเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวและกินเวลาไม่นาน แม้ว่าก่อนหน้านี้ เราได้ตั้งตารอที่จะดูแลสัตว์เลี้ยงตัวใหม่อย่างใจจดใจจ่อก็ตาม นายแพทย์ไมเคิล เคน หัวหน้าฝ่ายการแพทย์และจิตแพทย์ ศูนย์ฟื้นฟูอินเดียนา สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า พ่อแม่สัตว์เลี้ยงมือใหม่จะเกิดความรู้ไม่ต่างจากการนั่งรถไฟเหาะ บางครั้งอาจเกิดความรู้สึกเศร้าอย่างมาก […]

อ่านต่อ

สุนัขชอบฉี่ใส่ที่นอน ของเรา เพราะอะไรกันนะ

ปัญหา สุนัขชอบฉี่ใส่ที่นอน เป็นปัญหาที่สร้างความหงุดหงิดแก่ผู้ปกครองเป็นอย่างมากแน่ ๆ เพราะเราจะต้องหมดแรงไปกับการทำความสะอาดที่เครื่องนอนทั้งชุด และต้องกำจัดกลิ่นฉี่ของสุนัขให้หมดไปจากฟูก ซึ่งไม่ใช่เรื่องสนุกอย่างแน่นอน ทำไม สุนัขชอบฉี่ใส่ที่นอน ของเรา ผู้ปกครองบางท่านเล่าให้เราฟังว่า แม้ว่าสุนัขจะถูกฝึกให้ฉี่ในที่ที่จัดไว้โดยเฉพาะแล้ว แต่บางครั้งคุณพ่อคุณแม่ก็พบว่า สุนัขชอบฉี่ใส่ที่นอน และจากข้อมูลที่หลายท่านเคยรับรู้มาคือ เตียงมีลักษณะบางอย่างที่ดึงดูดสุนัขให้มาฉี่ เช่น นุ่ม ปลอดภัย และมีกลิ่นตัวเจ้าของติดอยู่ ซึ่งสุนัขต้องการใช้เวลาอยู่บนเตียงเป็นเวลานาน คำถามที่ตามมาคือ… “พวกเขาทำไปเพราะอะไร?” “โกรธเราหรือไม่?” “กำลังป่วยใช่ไหม?” “หรือเป็นเพราะเราทำอะไรผิด?” ความจริงคือ — ไม่มีคำตอบเดียวที่ใช้ได้กับทุกตัว เพราะเบื้องหลังของการปัสสาวะที่ไม่พึงประสงค์มีทั้งร่างกาย พฤติกรรม อารมณ์ และช่วงอายุ เข้ามาเกี่ยวข้อง สัตวแพทย์พบว่า สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดปัญหาพฤติกรรมสุนัขฉี่ใส่ที่นอนของเรา มีดังนี้ สาเหตุทางร่างกาย (Physical Causes) ถ้าหากเจ้าของสังเกตพบว่า สุนัขฉี่ใส่ที่นอนของเราแบบกระทันหัน หรือเกิดขึ้นซ้ำบ่อย ๆ โดยไม่มีสัญญาณเตือน อาจเกิดจากปัญหาเรื่องสุขภาพ เพราะหลายครั้ง… สิ่งที่เราคิดว่าเป็น “พฤติกรรมไม่ดี” แท้จริงแล้วคือ “สัญญาณเตือนของร่างกาย” โดยโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิกปกติในการขับปัสสาวะได้แก่ โรคระบบทางเดินปัสสาวะ โรคระบบทางเดินปัสสาวะที่พบได้บ่อยคือ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ […]

อ่านต่อ