บ้านและสวน PETS

เมื่อเจ้าของเครียด สุนัขก็เครียดตามไปด้วย

การศึกษาของมหาวิทยาลัยควีนส์ เบลฟาสต์ ประเทศไอร์แลนด์ พบว่า ระกับความเครียดในเจ้าของ ส่งผลต่อระดับ ความเครียดในสุนัข ได้ ก่อนหน้านี้ การศึกษาเกี่ยวกับการรับรู้ความเครียดของมนุษย์ พบว่า สุนัขสามารถรับรู้ความเครียดของมนุษย์ ผ่านการดมกลิ่นได้ แต่ยังไม่มีการศึกษาว่า ความเครียดของเจ้าของส่งผลกระทบต่อ ความเครียดในสุนัข หรือไม่ ทีมวิจัยจึงต้องการทราบว่า การเปลี่ยนแปลงระดับความเครียดของเจ้าของสุนัข ส่งผลต่อความเครียดที่เกิดขึ้นในสุนัข หรือไม่ เช่น เมื่อพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์ หรือเมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย เป็นต้น อย่างที่เราทราบกันโดยทั่วไปว่า การไปพบสัตวแพทย์เป็นส่วนสำคัญในการดูแลสุขภาพของสุนัข แต่จากผลการศึกษาก่อนหน้านี้ ได้รายงานว่า การพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์อาจทำให้สุนัขเกิดความเครียดแบบเฉียบพลันได้ เนื่องจากสาเหตุที่ถูกจำกัดพื้นที่ ความไม่แน่นอน ความเจ้ฐปวด และการสูญเสียความเป็นอิสระของสุนัข ทีมนักวิจัยได้รวบรวมเจ้าของและสุนัข จำนวน 28 ตัว เพื่อเข้าร่วมการศึกษาในครั้งนี้ โดยดำเนินการศึกษาที่คลิกนิกสัตวแพทย์แห่งหนึ่งในเมืองดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ ในจำนวนสุนัขทั้งหมดที่เข้าร่วมการศึกษา แบ่งเป็นสุนัขเพศผู้ 10 ตัว และตัวเมีย 18 ตัว โดยมีช่วงอายุตั้งแต่ 1 ถึง 17 ปี การทดสอบความเครียดของเจ้าของต่อ ความเครียดในสุนัข […]

อ่านต่อ

ทำไมสุนัขชอบให้ลูบท้อง คำตอบอาจทำให้เรารักพวกเขายิ่งขึ้น

ทำไม สุนัขชอบให้ลูบท้อง และเมื่อเราเอามือลูบไปลูบมา พวกเขาก็จะทำตาพริ้ม เคลิ้มสบาย และกระดิกขา ตามไปด้วย พฤติกรรมที่ สุนัขชอบให้ลูบท้อง เป็นหนึ่งในพฤติกรรมแสนน่ารัก ที่สุนัขแสดงออกมาระหว่างเจ้าของ และดูเหมือนว่าจะเป็นหนึ่งในกิจกรรมสุดโปรดของสุนัขหลายตัว โดยเฉพาะช่วงเวลาที่เรากลับมาถึงบ้าน เพื่อนสี่ขาของเราก็จะวิ่งมานอนหงายท้องพร้อมให้เราเริ่มต้นกิจกรรมลูบท้องทันที การสื่อสารด้วยท่าทางการนอนหงาย ก็เหมือนเป็นภาษาสากลที่สุนัขไม่จำเป็นต้องเอ่ยออกมาเป็นคำพูด แต่มนุษย์และเจ้าของทุกคนต่างก็เข้าใจตรงกันว่า ที่สุนัขนอนหงายท้องลักษณะนี้ พวกเขาต้องการอะไร แต่ทำไมสุนัขชอบนอนให้เราลูบท้องล่ะ มาดูเหตุผลเบื้องหลังพฤติกรรมนี้ไปพร้อมกันนะคะ ทำไม สุนัขชอบให้ลูบท้อง พฤติกรรมนี้เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน สัตวแพทย์ และนักพฤิตกรรมสัตว์เลี้ยง จึงได้พยายามหาคำตอบมาอย่างต่อเนื่อง จึงเกิดเป็นงานศึกษาวิจัยหลายชิ้นที่เป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ว่า สุนัขชื่นชอบการลูบท้องอย่างมาก หนึ่งในนั้น คืองานวิจัยในปี 2011 ที่พบว่า การสัมผัสด้วยมือของมนุษย์บนร่างกายของสุนัข ไม่ว่าจะเป็นการลูบท้อง การเกาบริเวณโคนหู หรือการลูบไปตามลำตัว ช่วยให้ฮอร์โมนความเครียด (คอร์ติซอล) ในสุนัขลดลง และในขณะเดียวกัน ระดับฮอร์โมนแห่งความผูกพัน (ออกซิโทซิน) ก็เพิ่มขึ้นด้วย สิ่งที่น่าสนใจสำหรับกิจกรรมการลูบท้อง ไม่เพียงแต่ส่งผลเชิงบวกต่อตัวสุนัขเท่านั้น ในงานศึกษาวิจัยชิ้นเดียวกันยังพบว่า เจ้าของที่กำลังลูบท้องให้สุนัขมีอัตราการเต้นของหัวใจลดลง และมีอารมณ์ดีขึ้นในช่วงของการสัมผัสตัวสุนัขตือเนื่องเป็นเวลา 3 นาที จากผลการศึกษาดังกล่าว เหล่านักวิทยาศาสตร์จึงขยายผลการศึกษาต่อไปในกลุ่มสุนัขที่อยู่ในศูนย์พักพิง ซึ่งมักเกิดความเครียดได้ง่าย พบว่า […]

อ่านต่อ

แมวตาสองสี เกิดจากสาเหตุอะไร

แมวทุกตัวต่างมีความพิเศษเฉพาะของตัวเอง โดยสิ่งที่กำหนดให้เกิดความแตกต่างทางด้านร่างกายภายนอกของแมว คือพันธุกรรม ที่ถ่ายทอดมาจากรุ่นพ่อรุ่นแม่ และ แมวตาสองสี ก็เป็นหนึ่งในความพิเศษ ที่กำหนดโดยพันธุกรรมเช่นกัน แมวตาสองสี ที่เราพบกันโดยทั่วไป ส่วนใหญ่ตาข้างหนึ่งจะมีสีฟ้า และอีกข้างหนึ่งมีสีเหลืองอำพัน แต่โดยธรรมชาติ ลูกแมวในวัยแรกเกิดทุกตัวจะมีดวงตาสีฟ้าก่อน จากนั้นเมื่อเติบโตเข้าสู่ช่วง 7-12 สัปดาห์ เม็ดสีก็จะเคลื่อนที่ไปยังม่านตา จากตาสีฟ้าก็จะเปลี่ยนเป็นสีตาที่แท้จริงของแมวแต่ละตัว ลักษณะดวงตาสองสีของแมว ภาวะการแสดงออกของดวงาสองข้างคนละสีเรียกว่า Heterochromia ซึ่งเป็นภาวะที่ไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการมองเห็นของแมว รวมไปถึงไม่ได้ส่งผลต่อเรื่องสัญชาตญาณการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งเรื่องการกิน และการนอนหลับ ในทางเทคนิดแล้ว การเกิดดวงตาสองสีของแมวมีสาเหตุมาจากการแสดงออกยีนที่ควบคุมการทำงานของเม็ดสีในดวงตา รวมไปถึงสีขนของแมว โดยส่วนใหญ่แมวที่มีดวงตาสองสี มักมีขนสีขาว ดังนั้น เมื่อยีนที่ควบคุมการแสดงออกขนสีขาวเด่นกว่ายีนอื่น แมวจึงมีขนสีขาวตลอดทั้งตัว หรือยีสีขาวแสดงออกร่วมกัยสีอื่น ๆ เราก็จะพบแมวสีขาว หรือแมวสามสีได้ เป็นต้น ส่วนเรื่องการแสดงออกของสีตาก็มีหลักการคล้ายกับเรื่องการแสดงออกของสีขน คือยีนที่ควบคุมการแสดงออกสีขาวไปยับยั้งการแสดงสีของดวงตาในตาอีกข้างหนึ่ง ทำให้ดวงตาหนึ่งข้างยังสีฟ้าเหมือนตอนแรกเกิด ในขณะที่ดวงตาอีหนึ่งข้างพัฒนาเม็ดสีขึ้นมาตามปกติ ซึ่งอาจจะเป็นสีเขียว น้ำตาล หรือเหลืองอำพันก็ได้ โดยสรุปสาเหตุของเรื่องนี้ก็คือ ถ้าแมวสีขนสีขาว หรือมีขนสีขาวปรากฏร่วมกับขนสีอื่น ๆ ก็มีแมวโน้มที่จะพบดวงตาสองสีได้มากกว่าแมวที่มีขนสีอื่น ๆ ซึ่งในปัจจุบัน ลักษณะดวงตาสองข้างคนละสี พบได้ […]

อ่านต่อ

กรูมมิ่งสุนัข และเลือกของแต่งบ้านที่ AMBER HOME & PET BOUTIQUE

AMBER HOME & PET BOUTIQUE ไอเดียของแต่งบ้านมีสไตล์ พร้อม ไอเทมสัตว์เลี้ยง และบริการ กรูมมิ่งสุนัข โดยช่างชื่อดัง AMBER HOME & PET BOUTIQUE สวรรค์ของคนรักบ้าน ที่ชื่นชอบการเลือกสรรข้าวของเครื่องใช้ที่มีคุณภาพ พร้อมพาสุนัขเข้ารับการ กรูมมิ่งสุนัข กับช่างฝีมือระดับนานาชาติ โชว์รูม AMBER HOME & PET BOUTIQUE ตั้งอยู่ที่ชั้น G โครงการ Eight Thonglor สุขุมวิท 55 เป็นร้านที่มีความตั้งใจให้ตอบโจทย์ทุกความต้องการเพื่อคนรักบ้าน รวมไปถึงบ้านที่มีสัตว์เลี้ยง ซึ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้นในปัจจุบัน ที่นี่ ทีมงานได้เลือกสรรสินค้ามาเป็นอย่างดี มีสินค้าหลากหลายหมวดหมู่ และเน้นไปที่สินค้าแบรนด์ดังจากทั่วโลก ที่มีคุณภาพสูง รวมไปถึงร้านอาบน้ำตัดขนสุนัขที่เปิดให้บริการอยู่ภายในพื้นที่ร้าน โดยเจ้าของสามาถนำน้อง ๆ มาใช้บริการระหว่างเลือกซื้อของใช้ภายในบ้านได้ ‘คุณติ๊ก’ บังอรสิริ วีระพงษ์ หนึ่งในผู้ก่อตั้งร้าน ที่เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มเพื่อนสนิท เล่าว่า “ร้านนี้เริ่มต้นจากกลุ่มเพื่อน ๆ ที่ชอบในการแต่งบ้านเหมือนกัน […]

อ่านต่อ

เสียงสุนัขหอน – เข้าใจ 5 เหตุผลเบื้องเสียงเห่าหอนของสุนัข

เสียงสุนัขหอน เป็นเสียงที่ไม่ใช่เฉพาะเจ้าของสุนัขเท่านั้นที่คุ้นเคยกับเสียงอันเป็นเอกลักษณ์นี้ แต่คนทั่วไปต่างก็เคยได้ยินเช่นกัน และยังเชื่อมโยงกับความเชื่อในสิ่งลี้ลับของสังคมไทยอีกด้วย สุนัขได้เข้ามาเป็นสัตว์เลี้ยงในสังคมมนุษย์มาอย่างยาวนาน พวกเขาปรับตัวและอยู่ร่วมกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในแทบทุกพื้นที่บนโลก ในฐานะมนุษย์เราต่างคุ้นเคยกับพฤติกรรมต่าง ๆ ของเพื่อนรักสี่ขา และหนึ่งในสิ่งที่เราคุ้นเคยจนกลายเป็นเรื่องเล่าต่าง ๆ ตามพื้นที่ทางวัฒนธรรม คือ เสียงสุนัขหอน สัตวแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมสุนัข กล่าวว่า สุนัขส่งเสียงหอนด้วยเหตุผลหลายประการ การทำความเข้าใจว่า ทำไมสุนัขจึงเห่าหอน อาจให้เจ้าของเข้าใจของสิ่งที่สุนัขกำลังอยากจะสื่อสารกับเราได้ดีขึ้น และเราอาจจะจำเป็นต้องเข้าไปช่วยดูแลพวกเขาด้วยในบางกรณี จุดกำเนิดของ เสียงสุนัขหอน สุน้ขบ้านในปัจจุบันสืบเชื้อสายมาจากหมาป่าเมื่อ 15,000 ปีก่อน แม้ว่าในยุคปัจจุบันพฤติกรรมของสุนัขบ้านจะแตกต่างจากสุนัขป่าอย่างชัดเจนแล้ว แต่พฤติกรรมตามธรรมชาติ อย่างการหอน ก็ยังคงหลงเหลืออยู่ในพฤติกรรมของสุนัขบ้าน หากย้อนกลับไปถึงเหตุผลที่สุนัขป่าหอน อาจเป็นไปได้ทั้ง สื่อสารกับหมาป่าตัวอื่น ใช้รวมฝูง กิจกรรมการล่าของฝูง สร้างอาณาเขต หรือเตือนสุนัขฝูงอื่นให้ถอยออกจากอาณาเขต กลับมาที่สุนัขบ้าน เหล่านี้คือเหตุผลที่สุนัขบ้านส่งเสียงหอน 5 เหตุผล สุนัขหอน เพราะอะไร 1. เพื่อการสื่อสารข้อความบางอย่าง สุนัขบ้านก็ยังคงพฤติกรรมบางอย่างเหมือนบรรพบุรุษที่เป็นสุนัขป่า ดังนั้น การเห่าหอนจึงเป็นหนึ่งในวิธีการสื่อสารระหว่างสุนัขด้วยกันเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อต้องการสื่อสารกับสุนัข ที่อยู่ห่างไกลออกไป ในเสียงหอนของสุนัข อาจหมายถึง สันัขกำลังบอกสมาชิกตัวอื่น […]

อ่านต่อ

แมวขนสาก และหยาบ น้ำหนักลด อาจเป็นโรคตับอ่อนทำงานบกพร่อง

แมวขนสาก และหยาบ พร้อมกับอาเจียนเรื้อรัง แม้ว่ากินอาหารมากแต่น้ำหนักลด น้องอาจกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับตับอ่อน ขนแมวที่นุ่มสลวยเงางาม เป็นหนึ่งในลักษณะภายนอกที่บ่งบอกว่าแมวมีสุขภาพดี ในทางกลับกัน ถ้า แมวขนสาก เมื่อสัมผัสแล้วรู้สึกหยาบกระด้าง ร่วมกับมีอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ เช่น อาเจียนเรื้อรัง และน้ำหนักลดทั้ง ๆ ที่กินอาหารมากกว่าปกติ ความผิดปกติทางด้านสุขภาพเหล่านี้ อาจนำไปสู่โรคบางอย่างได้ หนึ่งในโรคที่ทำให้แมวขนสาก หยาบ และมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร คือ โรคตับอ่อนทำงานบกพร่องในแมว หรือ Exocrine Pancreatic Insufficiency (EPI) ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้ระบบการย่อย และดูดซึมอาหาร มีประสิทธิภาพลดลง เป็นสาเหตุให้ร่างกายของแมวได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ สาเหตุการเกิด EPI ที่พบได้บ่อยในแมว โรคนี้มีรายงานพบได้ในแมวที่อายุน้อย ประมาณ 6 เดือน แต่ก็พบในแมวโตเต็มวัยได้เช่นกัน และพบแมววัยโตเต็มวัย อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบรายงานความสัมพันธ์ของสายพันธุ์แมวที่มีแนวโน้มของโรคนี้ อาการของแมวที่มีภาวะ EPI การตรวจวินิจฉัย เมื่อเจ้าของสังเกตพบอาการที่กล่าวมาข้างต้น และนำแมวมาพบสัตวแพทย์ สัตวแพทย์จะเริ่มต้นการสอบถามประวัติอาการที่แสดง จากนั้นจะส่งตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด และการตรวจค่าเคมีพื้นฐาน เพื่อวินิจฉัยแยกแยะจากโรคในระบบอื่นๆ สำหรับการตรวจที่เฉพาะเจาะจงต่อโรคนี้ […]

อ่านต่อ
การฝังไมโครชิปในสัตว์เลี้ยง

การฝังไมโครชิปในสัตว์เลี้ยง คืออะไร อันตรายหรือไม่

การฝังไมโครชิปในสัตว์เลี้ยง เป็นหนึ่งในข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานครฯ ที่กำลังประกาศบังคับใช้ ให้เจ้าของที่ครอบครองสัตว์เลี้ยงทุกตัวต้องขึ้นทะเบียน และฝังไมโครชิป การฝังไมโครชิปในสัตว์เลี้ยง คือขั้นตอนที่ใช้เวลาเพียงสั้น ๆ ที่สัตวแพทย์จะใช้เครื่องมือฝังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเท่าเม็ดข้าวสาร หรือไมโครชิป ซึ่งถูกออกแบบมาโดยใช้วัสดุพิเศษ ให้สามารถฝังอยู่ในร่างกายของสัตว์เลี้ยงได้ตลอดชีวิต และไม่เกิดอันตรายต่อร่างกาย ตำแหน่งที่นิยมใช้ฝังไมโครชิปในสัตว์เลี้ยงคือ บริเวณด้านหลังของสัตว์เลี้ยง ระหว่างไหล่ทั้ง 2 ข้าง (ยกเว้นนก ที่ฝังบริเวณช่วงอก) สัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่สามารถฝังไมโครชิปเกือบทั้งหมด ในต่างประเทศที่บังคับใช้กฎหมายสัตว์เลี้ยงแล้ว เจ้าของมักจะฝังไมโครชิปให้สัตว์เลี้ยงพร้อมกับการทำหมัน การฝังไมโครชิปในสัตว์เลี้ยง เปรียบเสมือน บัตรประจำตัวของสัตว์เลี้ยง สัตว์เลี้ยงตั้งแต่อายุ ภายในไมโครชิปประกอบด้วยเลขประจำตัวของสัตว์เลี้ยง จำนวน 15 หลัก ซึ่งไมโครชิปแต่ละตัวจะมีตัวเลขที่ไม่ซ้ำกัน เพื่อระบุข้อมูลประจำตัวของสัตว์เลี้ยงตัวนั้น ๆ และเพื่อการตรวจสอบย้อนกลับในอนาคต โดยข้อมูลที่ระบุในไมโครชิป ประกอบด้วย การอ่านข้อมูลในไมโคชิปทำได้โดยการสแกนด้วยเครื่องอ่านไมโครชิป จากนั้นข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในไมโครชิปก็จะไปปรากฎบนเครื่องอ่าน ทำให้ทราบข้อมูลสำคัญของสัตว์เลี้ยงตัวนั้น ๆ ดังนั้น ในแง่ของ ประโยชน์จากการฝังไมโครชิปในสัตว์เลี้ยง จึงทำให้เกิดการระบุอัตลักษณ์ที่ชัดเจนให้กับตัวสัตว์มากขึ้น และยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีก เช่น ขั้นตอนในการฝังไมโครชิพ ไมโครชิปแตกหักเสียหายได้ หรือไม่ เนื่องจากไมโครชิปที่ฝังอยู่ใต้ผิวหนังของสัตว์เลี้ยงมีขนาดเล็กมาก จึงยากต่อการแตกหักเสียหาย และเมื่อฝังลงไปแล้ว […]

อ่านต่อ

10 ที่พักเขาใหญ่สัตว์เลี้ยงพักได้ ที่จะกลายเป็นช่วงเวลาอันน่าจดจำ

มาร่วมกันสร้างบรรยากาศที่น่าจดจำระหว่างเจ้าของและสัตว์เลี้ยง ด้วยการเดินทาง และทำกิจกรรมร่วมกัน ใน 10 ที่พักเขาใหญ่สัตว์เลี้ยงพักได้ เหล่านี้คือรายชื่อ 10 ที่พักเขาใหญ่สัตว์เลี้ยงพักได้ ที่คัดมาแล้วโดยกองบรรณาธิการบ้านและสวน PETS 1. โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล เขาใหญ่ รีสอร์ต (Intercontinental Khaoyai Resort) ออกเดินทางสู่การพักผ่อนอันน่าจดจำกับสมาชิกสี่ขาขนฟูที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล เขาใหญ่ รีสอร์ต ที่ที่สัตว์เลี้ยงจะได้เพลิดเพลินกับที่พักสุดหรูท่ามกลางความงดงามอันเงียบสงบของเขาใหญ่ ให้ทั้งเจ้าของและสัตว์เลี้ยงได้ใช้เวลาที่ทรงคุณค่าร่วมกัน โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล เขาใหญ่ รีสอร์ต ได้จัดเตรียมห้องพักสำหรับสัตว์เลี้ยงไว้หลายรูปแบบทั้งห้องคลาสสิก วิวสวน และห้องเฮอริเทจ เรลล์คาร์ หนึ่งห้องนอน สวีท สำหรับผู้ใหญ่ 2 ท่าน และสัตว์เลี้ยงสูงสุด 2 ตัว พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับสัตว์เลี้ยง เช่น เบาะนอนแสนสบาย ชามสำหรับสัตว์เลี้ยง ถุงเก็บมูล และของเล่นแสนสนุก สำหรับเจ้าของสัตว์เลี้ยงยังสามารถไปอิ่มอร่อยกับอาหารเช้าคุณภาพได้ที่ครัวสมหญิง ภายในพื้นที่ของโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล เขาใหญ่ รีสอร์ต เจ้าของสามารถปล่อยให้เพื่อนขนปุยเดินเล่นอย่างอิสระ และปลอดภัย กับพื้นที่ในสวน ทั้งยังมีจุดเติมน้ำ ม้านั่ง และหัวดับเพลิงที่ตกแต่งอย่างสวยงาม ที่อินเตอร์คอนติเนนตัล […]

อ่านต่อ

แมวอ้วก เกิดจากสาเหตุอะไร และเราจะช่วยได้อย่างไร

แมวอ้วก แมวสำรอก และแมวไอ เป็นกลุ่มความผิดปกตที่แสดงอาการใกล้เคียงกัน แต่อาการเหล่านี้เกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกัน ดังนั้น เจ้าของควรสังเกตความแตกต่างของอาการเหล่านี้ได้ในเบื้องต้น แมวอ้วก มักเกิดจากปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพหลายประการ ถ้าเจ้าของพบว่า แมวอ้วกโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรบันทึก หรือถ่ายภาพ อาการของแมว ลักษณะของก้อนอาเจียน ก่อนนำแมวไปพบสัตวแพทย์ ทำไม แมวอ้วก หรืออาเจียน เมื่อเรานำแมวไปคลินิก หรือโรงพยาบาลสัตว์ สัตวแพทย์จะถามคำถามต่าง ๆ กับเจ้าของ เพื่อหาสาเหตุของอาการอาเจียน ซึ่งอาจเป็นคำถามเหล่านี้ เหล่านี้คือแนวทางคำถาม ที่เจ้าของต้องให้ข้อมูลอย่างชัดเจนแก่สัตวแพทย์ เพื่อช่วยให้การวินิจฉัยหาสาเหตุมีความแม่นยำ โดยหลัก ๆ แล้ว แมวอาเจียนแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ สาเหตุที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร และสาเหตุที่ไมเเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ความแตกต่างระหว่างการสำรอก และอาเจียน การสำรอก หรือขย้อน (Regurgitation) เป็นการไหลย้อนกลับเพื่อขับเอาสิ่งที่กินเข้าไปออกจากส่วนหลอดอาหาร ก่อนที่จะผ่านกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารลงไปสู่กระเพาะอาหาร โดยการสำรอกไม่ได้ใช้กำลังของกล้ามเนื้อหน้าท้อง และกระบังลม ในการขับสิ่งกินเข้าไปออกมา แมวที่แสดงอาการสำรอก มักเกิดขึ้นแทบจะทันทีที่กินอาหาร หรือกินบางสิ่งบางเข้าไป ลักษณะของที่กินเข้าไปจะยังมีสภาพไม่เปลี่ยนไปมาก กล่าวคือ กินอะไรเข้าไปก็จะออกมาเป็นอย่างนั้น เนื่องจากยังไม่ได้สัมผัสกับน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร […]

อ่านต่อ

การสร้าง อาณาเขตของแมว เรื่องสำคัญที่ต้องเข้าใจ

ทราบหรือไม่ครับว่า หนึ่งในปัจจัยที่มักทำให้แมวเกิดความเครียด คือ การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมใน อาณาเขตของแมว การเปลี่ยนแปลงใน อาณาเขตของแมว อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพ เช่น มีเสียงก่อสร้างดังจากนอกบ้านเข้ามาในตัวบ้าน มีเฟอร์นิเจอร์ใหม่เข้ามาในบ้าน หรือแม้แต่การย้ายข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ก็สามารถทำให้แมวเกิดความเครียดได้เช่นกัน นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เช่น มีคนแปลกหน้าเข้ามาในบ้าน หรือมีแมวที่ไม่คุ้นเคยเข้ามาในบริเวณบ้าน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถทำให้เกิดความเครียดได้ โดยระดับความรุนแรงของความเครียดที่เกิดขึ้นจะขึ้นอยู่กับแมวแต่ละตัว รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย จะเห็นได้ว่า แมวเป็นสัตว์ที่ให้ความสำคัญกับอาณาเขตเป็นอย่างมาก ดังนั้น การทำความเข้าใจกับอาณาเขตของแมว จะช่วยให้เราเข้าใจความต้องการตามธรรมชาติ และจัดการสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของแมว อาณาเขตทั่วไปของแมว แบ่งออกเป็น 3 บริเวณ ได้แก่ Core territory, Territory, และ Home หรือ Hunting Range (รูปที่ 1) โดยพื้นที่แต่ละส่วนก็จะมีลักษณะ และความสำคัญที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1. […]

อ่านต่อ

กทม. เร่งสร้างแรงจูงใจจดทะเบียนสัตว์เลี้ยง ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ

การป้องกัน ปัญหาสัตว์จรจัด ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย กรุงเทพมหานครฯ (กทม.) จึงเร่งสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจ และสร้างแรงจูงใจ ในการจดทะเบียนสัตว์เลี้ยง ร่างข้อบัญญัติ กทม. เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. … ที่จะมีการประกาศใชในอนาคตอันใกล้นี้ ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครฯ ต่างเกิดความกังวลว่า การจดทะเบียนสัตว์เลี้ยง และการจำกัดจำนวนสัตว์เลี้ยงต่อขนาดพื้นที่อาศัย อาจไม่ได้แก้ ปัญหาสัตว์จรจัด ได้ตามวัตถุประสงค์ นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กรุงเทพมหานครฯ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักอนามัย กล่าวถึง แนวทางการควบคุมและแก้ไขปัญหาสุนัขและแมวจรจัดในพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า สนอ. ได้ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจดทะเบียนสุนัข ตามข้อบัญญัติ กทม. เรื่อง การควบคุมการเลี้ยง หรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2550 อย่างต่อเนื่อง โดยประสานความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เพื่อขอความร่วมมือสถานพยาบาลสัตว์เอกชนช่วยประชาสัมพันธ์การจดทะเบียนสัตว์เลี้ยง รวมถึงประสานภาคเอกชน เพื่อสนับสนุนและสร้างแรงจูงใจให้แก่เจ้าของสัตว์เลี้ยงในการจดทะเบียนสัตว์เลี้ยงและการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ โดยร่างข้อบัญญัติ กทม. เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. […]

อ่านต่อ

สุนัขดุร้าย เพราะสายพันธุ์ จริงหรือ ?

ปัญหา สุนัขดุร้าย และความก้าวร้าว ถือเป็นปัญหาที่สามารถพบได้บ่อย และเรามักจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับสุนัขกัด หรือทำร้ายผู้คนอยู่อย่างต่อเนื่อง วันนี้ เราจามาคุยกันถึงเรื่องปัจจัยความดุร้ายในสุนัข และไขข้อสงสัยเรื่องนี้ ไปพร้อมกันครับ ในเนื้อหาข่าวส่วนใหญ่ที่นำเสนอผ่านสื่อต่าง ๆ เรามักจะพบการเสนอคำว่า สุนัขดุร้าย โดยพุ่งเป้าไปยังสายพันธุ์ที่สังคมมีความเข้าใจว่าเป็นสุนัขดุร้าย เช่น ร็อตไวเลอร์ หรือสุนัขในกลุ่มพิทบูล ซึ่งรวมถึง อเมริกันพิทบูลเทอร์เรีย อเมริกันสแตฟฟอร์ดเชียร์เทอร์เรีย และอเมริกันบูลลี่ เป็นต้น ในความเป็นจริงแล้ว สายพันธุ์ของสุนัขเป็นเพียงหนึ่งในหลาย ๆ ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความก้าวร้าวได้ แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่สามารถกระตุ้นให้สุนัขดุร้าย และแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวออกมา โดยแบ่งปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของสุนัข ได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ 1. ปัจจัยทางชีววิทยาของสุนัข ซึ่งรวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่มาจากตัวของสุนัขเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพันธุกรรม สายพันธุ์ พื้นอารมณ์ (temperament) บุคลิกภาพ ระดับของสารเคมีในสมอง ตลอดจนการทำงานของฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย เป็นต้น 2. ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม โดยสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบตัวสัตว์ ณ ช่วงเวลาใด เวลาหนึ่ง […]

อ่านต่อ

แมวนอนวันละกี่ชั่วโมง เช็คพฤติกรรมการนอนของเจ้าเหมียวกัน

แมวนอนวันละกี่ชั่วโมง ? แมวก็เหมือนกับสัตว์ชนิดอื่น ๆ ที่ต้องการการพักผ่อน เพื่อให้ร่างกายยังคงความแข็งแรงและสุขภาพดี แต่บางครั้งเราก็พบว่า เจ้านายตัวขนโปรดปรานการนอนหลับมากเป็นพิเศษ จนบางครั้ง เราก็สงสัยว่า ทำไมแมวของเราจึงนอนได้นานขนาดนี้ แมวนอนวันละกี่ชั่วโมง ? แมวใช้เวลานอนปกติประมาณ 12 – 16 ชั่วโมงต่อวัน ซมากกว่ามนุษย์ผู้ใหญ่โตเต็มวัยที่ใช้เวลานอนเฉลี่ยประมาณ 7 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งจากความจริงข้อนี้ ในมุมมองของมนุษย์อาจรู้สึกว่า แมวใช้เวลาไปกับนอนหลับพักผ่อนมากเหลือ เหตุผลเบื้องหลังที่แมวใช้เวลานอนมากกว่ามนุษย์ เนื่องจาก ธรรมชาติความเป็นสัตว์นักล่า และนักสำรวจ ซึ่งทั้งสองพฤติกรรมจำเป็นต้องใช้พลังงานสูง ดังนั้น แมวจึงต้องใช้เวลาพักผ่อนมากกว่ามนุษย์ เพื่อให้มีพลังงานเพียงพอต่อความตื่นตัว และทำกิจกรรมต่าง ๆ ในยามตื่นนอน จำนวนช้่วโมงการนอนของแมวยังขึ้นอยู่กับช่วงอายุของแมวด้วย ในช่วงวัยลูกแมว ที่กำลังเจริญเติบโต และกำลังพัฒนาระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เป็นช่วงวัยที่ต้องการการนอนหลับประมาณ 20 ชั่วโมงต่อวัน ในขณะที่ แมวโตเต็มวัยใช้เวลานอนเฉลี่ย 15 ชั่วโมงต่อวัน หรือน้อยกว่านั้น และช่วงแมวสูงวัย อายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไป จะใช้เวลานอนมากขึ้น ซึ่งทำกิจกรรมต่าง […]

อ่านต่อ

สภา กทม. ผ่านข้อบัญญัติคุมการเลี้ยงสัตว์ เจ้าของต้องแจ้งจำนวน และฝังไมโครชิป

สภา กทม. ผ่าน ขอบัญญัติควบคุมการเลี้ยงสัตว์ เพื่อแก้ไขปัญหาสัตว์เลี้ยง สัตว์จรจัด โดยกำหนดจำนวนการเลี้ยงตามขนาดพื้นที่ และเจ้าของต้องฝังไมโครชิปสุนัขและแมวทุกตัว ความรับผิดชอบต่สัตว์เลี้ยงเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายได้ให้ความสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันที่จำนวนสัตว์เลี้ยงได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเกิดปัญหาสัตว์เลี้ยง สัตว์จรจัด ตามมา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนตั้งแต่ตัวเจ้าของ ไปจนถึงระดับนโนบาย จึงต้องหามาตรการร่วมกันในเรื่องการเลี้ยงสัตว์ เพื่อให้เกิดสวัสดิภาพต่อทุกฝ่าย ทั้งสัตว์เลี้ยง เจ้าของ และผู้อื่นในสังคม ในการประชุมสภากรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2567 นายนภาพล จีระกุล สมาชิกสภากรุงเทพ เขตบางกอกน้อย ในฐานะประธานกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. … ได้รายงานผลการพิจารณาร่างข้อบัญญัติฯ ของคณะกรรมการวิสามัญฯ เพื่อให้ที่ประชุมพิจารณา โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ประกาศใช้เป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ก่อนจะมาถึงการลงมติเห็นชอบในประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทางสภากรุงเทพมหานคร ได้เปิดรับฟังความเห็นจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย หน่วนงานภาครัฐ มหาวิทยาลัย และมูลนิธิที่ทำงานด้านสวัสดิภาพสัตว์เลี้ยง โดยความเห็นส่วนใหญ่เป็นไปในทิศทางที่ว่า สมควรกำหนดเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ และเหตุเดือดร้อนรำคาญในกรุงเทพมหานครฯ หนึ่งในเนื้อหาสำคัญที่หลายฝ่ายให้ความสนใจคือ การกำหนดจำนวนสัตว์เลี้ยงต่อขนาดพื้นที่ โดยมีรายละเอียด […]

อ่านต่อ

ทำไม แมวไม่ชอบให้ปิดประตูห้องต่าง ๆ

เจ้าของแมวทุกคนต่างทราบดีว่า แมวไม่ชอบให้ปิดประตู เป็นหนึ่งในปัญหาของการใช้ชีวิตร่วมกันในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเวลาส่วนตัวในการเข้าห้องน้ำ หรือยามที่เราต้องการพักผ่อนในห้องนอน แต่ทำไมล่ะ แมวไม่ชอบให้ปิดประตู เมื่อเราต้องการความเป็นส่วนตัว คำตอบที่อยู่เบื้องหลังพฤติกรรมนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า การอยู่อาศัยของเราในที่พักแบบทันสมัยช่างขัดกับสัญชาตญาณดั้งเดิมของแมว เหล่านี้คือ ข้อมูลการคค้นพบเกี่ยวกับพฤติกรรม ที่แมวเกลียดการปิดประตูกั้นระหว่างเราและพวกเขา ทำไมแมวเกลียดการปิดประตู เมื่อคุณเดินเข้าไปทำธุระส่วนตัวในห้องน้ำ และประตูถูกปิดลง แทบจะเป็นเวลาในฉับพลัน ที่คุณได้ยินเสียงเจ้านายตัวขนร้องดังขั้นจากอีกฝั่งของประตู นี่ไม่ใช่เพียงเพราะแมวอยากอยู่ใกล้ชิดเราตลอดเวลา แต่แมวมีวิธีการสร้างอาณาเขตที่เป็นเอกลักษณ์ และพวกเขาต้องการควบคุมทุก ๆ พื้นที่ ซึ่งทุกพื้นที่ในบ้านของคุณ ก็คืออาณาเขตของพวกเขาด้วย อย่างแรก ดร.คาเรน ซูดา สัตวแพทย์ด้านพฤติกรรม กล่าวกับ LiveScience ว่า “แมวมีความรู้สึกไม่อยากพลาด และต้องการเห็นว่าภายหลังประตูที่ถูกปิดลงนั้นเกิดอะไรขึ้น” เราทุกคนต่างรู้ว่า แมวเป็นสัตว์ที่มีความอยากรู้อยากเห็น และพฤติกรรมที่ลุกล้ำความเป็นส่วนตัวของมนุษย์นี้ ก็เป็นแรงขับจากความอยากค้นพบของแมวเช่นกัน เช่นเดียวกับมนุษย์ในยุคปัจจุบัน เมื่อเราอยู่ในสังคมใดสังคมหนึ่ง เราก็อยากทราบความเป็นไปในชีวิตของเพื่อน ๆ ในสังคมเดียวกัน เราก็แสดงออกด้วยการนั่งสำรวจชีวิตของคนใกล้ตัวผ่านการใช้สังคมสื่อออนไลน์ แต่การแสดงออกของแมวกับเรื่องนี้ คือ อย่าปล่อยให้ฉันพลาดนะไม่ว่าเธอจะทำอะไรอยู่หลังประตูบานนั้น นอกจากนี้ แมวยังรู้สึกว่าต้องรู้จัก และมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวด้วย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ แมวเป็นสัตว์ที่เป็นทั้งผู้ล่าและเหยื่อ เมื่อพวกเขาอยู่ในธรรมชาติ สัญชาตญาณนี้จึงติดอยู่ในตัวของแมวบ้าน […]

อ่านต่อ

เลี้ยงแมวระบบเปิด เสี่ยงติดเชื้อราตัวร้าย

แมวเป็นสัตว์นักล่าตามสัญชาตญาณ บวกกับความอยากรู้อยากเห็น ที่ชอบออกไปสำรวจสิ่งต่าง ๆ นอกบ้าน เจ้าของบางท่านจึง เลี้ยงแมวระบบเปิด เพราะคิดว่า แมวอาจรู้สึกเบื่อเมื่ออยู่ในบ้านตลอดเวลา การ เลี้ยงแมวระบบเปิด หรือการยอมให้แมวออกไปเที่ยวเตร่นอกบ้านได้อย่างอิสระ เป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่เจ้าของแมวต้องแบกรับ เพราะจากการสำรวจพฤติกรรมแมวที่เลี้ยงระบบเปิด พบว่า แมวส่วนใหญ่มีโอกาสได้รับบาดเจ็บจากสัตว์เลี้ยงของผู้อื่น หรือสัตว์จรจัด อุบัติเหตุบนท้องถนน และการสัมผัสเชื้อโรค ในประเทศไทย เราจะพบว่า แมวจรได้อาศัยอยู่ในแทบทุกชุมชนของมนุษย์ ซึ่งประชากรแมวจรเหล่านี้มักไม่ได้รับวัคซีน และการเลี้ยงดูอย่างถูกสุขอนามัย จึงมีความเสี่ยงสูงมากที่จะเป็นพาหะของโรคระบาดในแมว ซึ่งถ้าแมวของเราไปสัมผัสสารคัดหลั่งของแมวที่มีโรค ก็อาจทำให้แมวของเราติดเชื้อโรคเหล่านั้นได้ นอกจากนี้ พฤติกรรมนักล่าของแมว ซึ่งชอบล่าเหยื่อที่มีขนาดเล็กกว่า เช่น นก หนู กิ้งก่า และสัตว์อื่น ๆ ก็เป็นความเสี่ยงที่แมวมีโอกาสจะสัมผัสเชื้อโรคจากสัตว์เหล่านั้นเช่นกัน โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่มีประชากรนกพิราบอยู่เป็นจำนวนมาก โดยในมูลของนกพิราบมีเชื้อราก่อโรค ที่เป็นอันตรายต่อแมว หากแมวไปสัมผัสก็อาจส่งผลต่อสุขภาพขั้นรุนแรงได้ เชื้อราตัวร้ายจากมูลนกพิราบ เชื้อราก่อโรคในแมวที่พบในมูลนกพิราบ คือเชื้อราชนิด Cryptococcus neoformans และ Cryptococcus bacillisporus เป็นชนิดของเชื้อราที่พบได้ทั้งในพืช และสัตว์ที่อาศัยอยู่ในเขตร้อนชื้น และเป็นเชื้อรากลุ่มที่ทนความร้อนได้ดี ทำให้เกิดโรคคริปโตคอกโคซิส (Cryptococcosis) […]

อ่านต่อ

เริ่มขึ้นแล้วกับงาน PET FAIR SOUTH EAST ASIA 2024

งาน “PET FAIR SOUTH EAST ASIA” เป็นการยกระดับประสบการณ์จากงานแสดงสินค้าเพื่อการค้าปลีกสู่การเป็นเวทีระดับสากลในการเจรจาธุรกิจ PET FAIR SOUTH EAST ASIA ในปี 2024 นี้มีพาวิลเลี่ยนนานาชาติจาก 12 ประเทศ และมีบริษัทชั้นนำกว่า 400 แห่ง จาก 40 ประเทศ และพร้อมต้อนรับผู้เข้าชมงานจาก 80 ประเทศทั่วโลก ที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ รวมไปถึงงานสัมมนาเชิงวิชาการที่น่าสนใจกว่า 40 วิทยากรชั้นนำ ภายในงานยังมีโซนพิเศษ Thai Pet Avenue ซึ่งเป็นการรวบรวม SMEs ไทยในอุตสาหกรรมสัตว์เลี้ยงมาแสดงสินค้าที่เน้นความคิดสร้างสรรค์และคุณภาพ ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมี “Pet Trade Service Consultants Zone” เพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการนำเข้า ส่งออก การจดทะเบียนการค้า และมาตรฐานสินค้าที่เกี่ยวข้อง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการในการขยายธุรกิจไปยังตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพและขยายฐานการตลาดได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งงานนี้ถือเป็นเวทีสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และยกระดับมาตรฐานของอุตสาหกรรมสัตว์เลี้ยงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผู้จัดพร้อมรองรับผู้เข้าชมงานกว่าหมื่นรายจากนานาชาติ และคาดการณ์ว่า การจัดงานครั้งนี้จะสร้างมูลค่าการค้าสูงถึง […]

อ่านต่อ

อาหารที่เหมาะสมกับ ขนาดของสุนัข

การให้อาหารสุนัขที่เหมาะสมกับ ขนาดของสุนัข เป็นหนึ่งในปัจจัยที่จะส่งเสริมให้สุขภาพโดยรวมของพวกเขาสมบูรณ์แข็งแรง สุนัขก็คือสุนัข เมื่อเราพูดถึงเรื่องความต้องการทางด้านโภชนาการแล้ว ไม่ว่าจะสายพันธุ์ไหน อายุ และขนาดตัวเท่าไร ต่างก็ต้องการสารอาหารพื้นฐานที่ครบถ้วนและสมดุล อย่างไรก็ตาม การเลือกอาหารให้กับสุนัขก็มีรายละเอียดเล็กน้อยแต่สำคัญ ที่เจ้าของต้องพิจารณาร่วมด้วย เนื่องจากสารอาหารที่สุนัขได้รับเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้สุนัขมีสุขภาพแข็งแรง ดังนั้น การได้รับอาหารที่มีส่วนผสมที่ถูกต้องและเหมาะสม จึงเป็นหนึ่งในความรับผิดชอบของเจ้าของที่ต้องจัดการให้กับสุนัขที่เรารัก เช่น สุนัขในวัยเด็กควรได้รับอาหารสูตรสุนัขวัยเด็ก หรือสุนัขโตเต็มวัย ก็ควรได้รับอาหารสูตรโตเต็มวัย นอกจากนี้ สุนัขแต่ละสายพันธุ์ก็มีขนาดและน้ำหนักตัวที่ไม่เท่ากัน ซึ่งส่งผลต่อความต้องการพลังงานขั้นต่ำต่างกัน เจ้าของจึงควรพิจารณาการให้อาหารสุนัขที่สัมพันธ์กับ ขนาดของสุนัข สายพันธุ์ต่าง ๆ ด้วย เริ่มจากวัยลูกสุนัขสายพันธุ์เล็กที่ต้องการพลังงานมาก เนื่องจากมีอัตราการเผาผลาญพลังงานสูง ทำให้ต้องการสารอาหารที่ให้พลังงานมากกว่าช่วงวัยอื่น ๆ ถ้าลูกสุนัขสายพันธุ์เล็กได้รับพลังงานจากอาหารไม่เพียงพอ อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายของลูกสุนัขโดยตรง ในวัยนี้ เจ้าของจึงควรจัดเตรียมอาหารที่ให้พลังงานสูง และแบ่งให้ 3 – 4 มื้อต่อวัน ในขณะที่ลูกสุนัขสายพันธุ์ใหญ่ ที่มีโอกาสเกิดโรคข้อเสื่อมได้ในอนาคต การให้อาหารในลูกสุนัขกลุ่มนี้จึงต้องเป็นอาหารที่ให้พลังงานอย่างเหมาะสม ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป และมีปริมาณแร่ธาตุที่สมดุล โดยเฉพาะแร่ธาตุฟอสฟอรัสและแคลเซียม ที่อาจนำไปสู่การเกิดโรคเกี่ยวกับกระดูกของสุนัขสายพันธุ์ใหญ่เมื่อโตเต็มวัยได้ โดยหลักใหญ่ใจความแล้ว ความต้องการสารอาหารของสุนัขแต่ละตัว ต่างเชื่อมโยงกับความต้องการพลังงานต่อวัน ซึ่งสัตวแพทย์ส่วนใหญ่ใช้เป็นเกณฑ์สำหรับการพิจารณาเรื่องการให้อาหารต่อเนื่องไปจนสุนัขโตเต็มวัย ช่วงโตเต็มวัย คือ ช่วงระหว่างการสิ้นสุดการเจริญเติบโตจนถึงช่วงก่อนสัญญาณแรกของวัยสูงอายุปรากฏขึ้น […]

อ่านต่อ