
บ้านและสวน PETS
- Home
- บ้านและสวน PETS
แมวอ้วก เกิดจากสาเหตุอะไร และเราจะช่วยได้อย่างไร
แมวอ้วก แมวสำรอก และแมวไอ เป็นกลุ่มความผิดปกตที่แสดงอาการใกล้เคียงกัน แต่อาการเหล่านี้เกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกัน ดังนั้น เจ้าของควรสังเกตความแตกต่างของอาการเหล่านี้ได้ในเบื้องต้น แมวอ้วก มักเกิดจากปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพหลายประการ ถ้าเจ้าของพบว่า แมวอ้วกโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรบันทึก หรือถ่ายภาพ อาการของแมว ลักษณะของก้อนอาเจียน ก่อนนำแมวไปพบสัตวแพทย์ ทำไม แมวอ้วก หรืออาเจียน เมื่อเรานำแมวไปคลินิก หรือโรงพยาบาลสัตว์ สัตวแพทย์จะถามคำถามต่าง ๆ กับเจ้าของ เพื่อหาสาเหตุของอาการอาเจียน ซึ่งอาจเป็นคำถามเหล่านี้ เหล่านี้คือแนวทางคำถาม ที่เจ้าของต้องให้ข้อมูลอย่างชัดเจนแก่สัตวแพทย์ เพื่อช่วยให้การวินิจฉัยหาสาเหตุมีความแม่นยำ โดยหลัก ๆ แล้ว แมวอาเจียนแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ สาเหตุที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร และสาเหตุที่ไมเเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ความแตกต่างระหว่างการสำรอก และอาเจียน การสำรอก หรือขย้อน (Regurgitation) เป็นการไหลย้อนกลับเพื่อขับเอาสิ่งที่กินเข้าไปออกจากส่วนหลอดอาหาร ก่อนที่จะผ่านกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารลงไปสู่กระเพาะอาหาร โดยการสำรอกไม่ได้ใช้กำลังของกล้ามเนื้อหน้าท้อง และกระบังลม ในการขับสิ่งกินเข้าไปออกมา แมวที่แสดงอาการสำรอก มักเกิดขึ้นแทบจะทันทีที่กินอาหาร หรือกินบางสิ่งบางเข้าไป ลักษณะของที่กินเข้าไปจะยังมีสภาพไม่เปลี่ยนไปมาก กล่าวคือ กินอะไรเข้าไปก็จะออกมาเป็นอย่างนั้น เนื่องจากยังไม่ได้สัมผัสกับน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร […]
อ่านต่อการสร้าง อาณาเขตของแมว เรื่องสำคัญที่ต้องเข้าใจ
ทราบหรือไม่ครับว่า หนึ่งในปัจจัยที่มักทำให้แมวเกิดความเครียด คือ การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมใน อาณาเขตของแมว การเปลี่ยนแปลงใน อาณาเขตของแมว อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพ เช่น มีเสียงก่อสร้างดังจากนอกบ้านเข้ามาในตัวบ้าน มีเฟอร์นิเจอร์ใหม่เข้ามาในบ้าน หรือแม้แต่การย้ายข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ก็สามารถทำให้แมวเกิดความเครียดได้เช่นกัน นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เช่น มีคนแปลกหน้าเข้ามาในบ้าน หรือมีแมวที่ไม่คุ้นเคยเข้ามาในบริเวณบ้าน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถทำให้เกิดความเครียดได้ โดยระดับความรุนแรงของความเครียดที่เกิดขึ้นจะขึ้นอยู่กับแมวแต่ละตัว รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย จะเห็นได้ว่า แมวเป็นสัตว์ที่ให้ความสำคัญกับอาณาเขตเป็นอย่างมาก ดังนั้น การทำความเข้าใจกับอาณาเขตของแมว จะช่วยให้เราเข้าใจความต้องการตามธรรมชาติ และจัดการสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของแมว อาณาเขตทั่วไปของแมว แบ่งออกเป็น 3 บริเวณ ได้แก่ Core territory, Territory, และ Home หรือ Hunting Range (รูปที่ 1) โดยพื้นที่แต่ละส่วนก็จะมีลักษณะ และความสำคัญที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1. […]
อ่านต่อกทม. เร่งสร้างแรงจูงใจจดทะเบียนสัตว์เลี้ยง ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ
การป้องกัน ปัญหาสัตว์จรจัด ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย กรุงเทพมหานครฯ (กทม.) จึงเร่งสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจ และสร้างแรงจูงใจ ในการจดทะเบียนสัตว์เลี้ยง ร่างข้อบัญญัติ กทม. เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. … ที่จะมีการประกาศใชในอนาคตอันใกล้นี้ ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครฯ ต่างเกิดความกังวลว่า การจดทะเบียนสัตว์เลี้ยง และการจำกัดจำนวนสัตว์เลี้ยงต่อขนาดพื้นที่อาศัย อาจไม่ได้แก้ ปัญหาสัตว์จรจัด ได้ตามวัตถุประสงค์ นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กรุงเทพมหานครฯ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักอนามัย กล่าวถึง แนวทางการควบคุมและแก้ไขปัญหาสุนัขและแมวจรจัดในพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า สนอ. ได้ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจดทะเบียนสุนัข ตามข้อบัญญัติ กทม. เรื่อง การควบคุมการเลี้ยง หรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2550 อย่างต่อเนื่อง โดยประสานความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เพื่อขอความร่วมมือสถานพยาบาลสัตว์เอกชนช่วยประชาสัมพันธ์การจดทะเบียนสัตว์เลี้ยง รวมถึงประสานภาคเอกชน เพื่อสนับสนุนและสร้างแรงจูงใจให้แก่เจ้าของสัตว์เลี้ยงในการจดทะเบียนสัตว์เลี้ยงและการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ โดยร่างข้อบัญญัติ กทม. เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. […]
อ่านต่อสุนัขดุร้าย เพราะสายพันธุ์ จริงหรือ ?
ปัญหา สุนัขดุร้าย และความก้าวร้าว ถือเป็นปัญหาที่สามารถพบได้บ่อย และเรามักจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับสุนัขกัด หรือทำร้ายผู้คนอยู่อย่างต่อเนื่อง วันนี้ เราจามาคุยกันถึงเรื่องปัจจัยความดุร้ายในสุนัข และไขข้อสงสัยเรื่องนี้ ไปพร้อมกันครับ ในเนื้อหาข่าวส่วนใหญ่ที่นำเสนอผ่านสื่อต่าง ๆ เรามักจะพบการเสนอคำว่า สุนัขดุร้าย โดยพุ่งเป้าไปยังสายพันธุ์ที่สังคมมีความเข้าใจว่าเป็นสุนัขดุร้าย เช่น ร็อตไวเลอร์ หรือสุนัขในกลุ่มพิทบูล ซึ่งรวมถึง อเมริกันพิทบูลเทอร์เรีย อเมริกันสแตฟฟอร์ดเชียร์เทอร์เรีย และอเมริกันบูลลี่ เป็นต้น ในความเป็นจริงแล้ว สายพันธุ์ของสุนัขเป็นเพียงหนึ่งในหลาย ๆ ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความก้าวร้าวได้ แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่สามารถกระตุ้นให้สุนัขดุร้าย และแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวออกมา โดยแบ่งปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของสุนัข ได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ 1. ปัจจัยทางชีววิทยาของสุนัข ซึ่งรวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่มาจากตัวของสุนัขเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพันธุกรรม สายพันธุ์ พื้นอารมณ์ (temperament) บุคลิกภาพ ระดับของสารเคมีในสมอง ตลอดจนการทำงานของฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย เป็นต้น 2. ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม โดยสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบตัวสัตว์ ณ ช่วงเวลาใด เวลาหนึ่ง […]
อ่านต่อแมวนอนวันละกี่ชั่วโมง เช็คพฤติกรรมการนอนของเจ้าเหมียวกัน
แมวนอนวันละกี่ชั่วโมง ? แมวก็เหมือนกับสัตว์ชนิดอื่น ๆ ที่ต้องการการพักผ่อน เพื่อให้ร่างกายยังคงความแข็งแรงและสุขภาพดี แต่บางครั้งเราก็พบว่า เจ้านายตัวขนโปรดปรานการนอนหลับมากเป็นพิเศษ จนบางครั้ง เราก็สงสัยว่า ทำไมแมวของเราจึงนอนได้นานขนาดนี้ แมวนอนวันละกี่ชั่วโมง ? แมวใช้เวลานอนปกติประมาณ 12 – 16 ชั่วโมงต่อวัน ซมากกว่ามนุษย์ผู้ใหญ่โตเต็มวัยที่ใช้เวลานอนเฉลี่ยประมาณ 7 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งจากความจริงข้อนี้ ในมุมมองของมนุษย์อาจรู้สึกว่า แมวใช้เวลาไปกับนอนหลับพักผ่อนมากเหลือ เหตุผลเบื้องหลังที่แมวใช้เวลานอนมากกว่ามนุษย์ เนื่องจาก ธรรมชาติความเป็นสัตว์นักล่า และนักสำรวจ ซึ่งทั้งสองพฤติกรรมจำเป็นต้องใช้พลังงานสูง ดังนั้น แมวจึงต้องใช้เวลาพักผ่อนมากกว่ามนุษย์ เพื่อให้มีพลังงานเพียงพอต่อความตื่นตัว และทำกิจกรรมต่าง ๆ ในยามตื่นนอน จำนวนช้่วโมงการนอนของแมวยังขึ้นอยู่กับช่วงอายุของแมวด้วย ในช่วงวัยลูกแมว ที่กำลังเจริญเติบโต และกำลังพัฒนาระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เป็นช่วงวัยที่ต้องการการนอนหลับประมาณ 20 ชั่วโมงต่อวัน ในขณะที่ แมวโตเต็มวัยใช้เวลานอนเฉลี่ย 15 ชั่วโมงต่อวัน หรือน้อยกว่านั้น และช่วงแมวสูงวัย อายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไป จะใช้เวลานอนมากขึ้น ซึ่งทำกิจกรรมต่าง […]
อ่านต่อสภา กทม. ผ่านข้อบัญญัติคุมการเลี้ยงสัตว์ เจ้าของต้องแจ้งจำนวน และฝังไมโครชิป
สภา กทม. ผ่าน ขอบัญญัติควบคุมการเลี้ยงสัตว์ เพื่อแก้ไขปัญหาสัตว์เลี้ยง สัตว์จรจัด โดยกำหนดจำนวนการเลี้ยงตามขนาดพื้นที่ และเจ้าของต้องฝังไมโครชิปสุนัขและแมวทุกตัว ความรับผิดชอบต่สัตว์เลี้ยงเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายได้ให้ความสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันที่จำนวนสัตว์เลี้ยงได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเกิดปัญหาสัตว์เลี้ยง สัตว์จรจัด ตามมา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนตั้งแต่ตัวเจ้าของ ไปจนถึงระดับนโนบาย จึงต้องหามาตรการร่วมกันในเรื่องการเลี้ยงสัตว์ เพื่อให้เกิดสวัสดิภาพต่อทุกฝ่าย ทั้งสัตว์เลี้ยง เจ้าของ และผู้อื่นในสังคม ในการประชุมสภากรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2567 นายนภาพล จีระกุล สมาชิกสภากรุงเทพ เขตบางกอกน้อย ในฐานะประธานกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. … ได้รายงานผลการพิจารณาร่างข้อบัญญัติฯ ของคณะกรรมการวิสามัญฯ เพื่อให้ที่ประชุมพิจารณา โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ประกาศใช้เป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ก่อนจะมาถึงการลงมติเห็นชอบในประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทางสภากรุงเทพมหานคร ได้เปิดรับฟังความเห็นจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย หน่วนงานภาครัฐ มหาวิทยาลัย และมูลนิธิที่ทำงานด้านสวัสดิภาพสัตว์เลี้ยง โดยความเห็นส่วนใหญ่เป็นไปในทิศทางที่ว่า สมควรกำหนดเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ และเหตุเดือดร้อนรำคาญในกรุงเทพมหานครฯ หนึ่งในเนื้อหาสำคัญที่หลายฝ่ายให้ความสนใจคือ การกำหนดจำนวนสัตว์เลี้ยงต่อขนาดพื้นที่ โดยมีรายละเอียด […]
อ่านต่อทำไม แมวไม่ชอบให้ปิดประตูห้องต่าง ๆ
เจ้าของแมวทุกคนต่างทราบดีว่า แมวไม่ชอบให้ปิดประตู เป็นหนึ่งในปัญหาของการใช้ชีวิตร่วมกันในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเวลาส่วนตัวในการเข้าห้องน้ำ หรือยามที่เราต้องการพักผ่อนในห้องนอน แต่ทำไมล่ะ แมวไม่ชอบให้ปิดประตู เมื่อเราต้องการความเป็นส่วนตัว คำตอบที่อยู่เบื้องหลังพฤติกรรมนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า การอยู่อาศัยของเราในที่พักแบบทันสมัยช่างขัดกับสัญชาตญาณดั้งเดิมของแมว เหล่านี้คือ ข้อมูลการคค้นพบเกี่ยวกับพฤติกรรม ที่แมวเกลียดการปิดประตูกั้นระหว่างเราและพวกเขา ทำไมแมวเกลียดการปิดประตู เมื่อคุณเดินเข้าไปทำธุระส่วนตัวในห้องน้ำ และประตูถูกปิดลง แทบจะเป็นเวลาในฉับพลัน ที่คุณได้ยินเสียงเจ้านายตัวขนร้องดังขั้นจากอีกฝั่งของประตู นี่ไม่ใช่เพียงเพราะแมวอยากอยู่ใกล้ชิดเราตลอดเวลา แต่แมวมีวิธีการสร้างอาณาเขตที่เป็นเอกลักษณ์ และพวกเขาต้องการควบคุมทุก ๆ พื้นที่ ซึ่งทุกพื้นที่ในบ้านของคุณ ก็คืออาณาเขตของพวกเขาด้วย อย่างแรก ดร.คาเรน ซูดา สัตวแพทย์ด้านพฤติกรรม กล่าวกับ LiveScience ว่า “แมวมีความรู้สึกไม่อยากพลาด และต้องการเห็นว่าภายหลังประตูที่ถูกปิดลงนั้นเกิดอะไรขึ้น” เราทุกคนต่างรู้ว่า แมวเป็นสัตว์ที่มีความอยากรู้อยากเห็น และพฤติกรรมที่ลุกล้ำความเป็นส่วนตัวของมนุษย์นี้ ก็เป็นแรงขับจากความอยากค้นพบของแมวเช่นกัน เช่นเดียวกับมนุษย์ในยุคปัจจุบัน เมื่อเราอยู่ในสังคมใดสังคมหนึ่ง เราก็อยากทราบความเป็นไปในชีวิตของเพื่อน ๆ ในสังคมเดียวกัน เราก็แสดงออกด้วยการนั่งสำรวจชีวิตของคนใกล้ตัวผ่านการใช้สังคมสื่อออนไลน์ แต่การแสดงออกของแมวกับเรื่องนี้ คือ อย่าปล่อยให้ฉันพลาดนะไม่ว่าเธอจะทำอะไรอยู่หลังประตูบานนั้น นอกจากนี้ แมวยังรู้สึกว่าต้องรู้จัก และมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวด้วย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ แมวเป็นสัตว์ที่เป็นทั้งผู้ล่าและเหยื่อ เมื่อพวกเขาอยู่ในธรรมชาติ สัญชาตญาณนี้จึงติดอยู่ในตัวของแมวบ้าน […]
อ่านต่อเลี้ยงแมวระบบเปิด เสี่ยงติดเชื้อราตัวร้าย
แมวเป็นสัตว์นักล่าตามสัญชาตญาณ บวกกับความอยากรู้อยากเห็น ที่ชอบออกไปสำรวจสิ่งต่าง ๆ นอกบ้าน เจ้าของบางท่านจึง เลี้ยงแมวระบบเปิด เพราะคิดว่า แมวอาจรู้สึกเบื่อเมื่ออยู่ในบ้านตลอดเวลา การ เลี้ยงแมวระบบเปิด หรือการยอมให้แมวออกไปเที่ยวเตร่นอกบ้านได้อย่างอิสระ เป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่เจ้าของแมวต้องแบกรับ เพราะจากการสำรวจพฤติกรรมแมวที่เลี้ยงระบบเปิด พบว่า แมวส่วนใหญ่มีโอกาสได้รับบาดเจ็บจากสัตว์เลี้ยงของผู้อื่น หรือสัตว์จรจัด อุบัติเหตุบนท้องถนน และการสัมผัสเชื้อโรค ในประเทศไทย เราจะพบว่า แมวจรได้อาศัยอยู่ในแทบทุกชุมชนของมนุษย์ ซึ่งประชากรแมวจรเหล่านี้มักไม่ได้รับวัคซีน และการเลี้ยงดูอย่างถูกสุขอนามัย จึงมีความเสี่ยงสูงมากที่จะเป็นพาหะของโรคระบาดในแมว ซึ่งถ้าแมวของเราไปสัมผัสสารคัดหลั่งของแมวที่มีโรค ก็อาจทำให้แมวของเราติดเชื้อโรคเหล่านั้นได้ นอกจากนี้ พฤติกรรมนักล่าของแมว ซึ่งชอบล่าเหยื่อที่มีขนาดเล็กกว่า เช่น นก หนู กิ้งก่า และสัตว์อื่น ๆ ก็เป็นความเสี่ยงที่แมวมีโอกาสจะสัมผัสเชื้อโรคจากสัตว์เหล่านั้นเช่นกัน โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่มีประชากรนกพิราบอยู่เป็นจำนวนมาก โดยในมูลของนกพิราบมีเชื้อราก่อโรค ที่เป็นอันตรายต่อแมว หากแมวไปสัมผัสก็อาจส่งผลต่อสุขภาพขั้นรุนแรงได้ เชื้อราตัวร้ายจากมูลนกพิราบ เชื้อราก่อโรคในแมวที่พบในมูลนกพิราบ คือเชื้อราชนิด Cryptococcus neoformans และ Cryptococcus bacillisporus เป็นชนิดของเชื้อราที่พบได้ทั้งในพืช และสัตว์ที่อาศัยอยู่ในเขตร้อนชื้น และเป็นเชื้อรากลุ่มที่ทนความร้อนได้ดี ทำให้เกิดโรคคริปโตคอกโคซิส (Cryptococcosis) […]
อ่านต่อเริ่มขึ้นแล้วกับงาน PET FAIR SOUTH EAST ASIA 2024
งาน “PET FAIR SOUTH EAST ASIA” เป็นการยกระดับประสบการณ์จากงานแสดงสินค้าเพื่อการค้าปลีกสู่การเป็นเวทีระดับสากลในการเจรจาธุรกิจ PET FAIR SOUTH EAST ASIA ในปี 2024 นี้มีพาวิลเลี่ยนนานาชาติจาก 12 ประเทศ และมีบริษัทชั้นนำกว่า 400 แห่ง จาก 40 ประเทศ และพร้อมต้อนรับผู้เข้าชมงานจาก 80 ประเทศทั่วโลก ที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ รวมไปถึงงานสัมมนาเชิงวิชาการที่น่าสนใจกว่า 40 วิทยากรชั้นนำ ภายในงานยังมีโซนพิเศษ Thai Pet Avenue ซึ่งเป็นการรวบรวม SMEs ไทยในอุตสาหกรรมสัตว์เลี้ยงมาแสดงสินค้าที่เน้นความคิดสร้างสรรค์และคุณภาพ ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมี “Pet Trade Service Consultants Zone” เพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการนำเข้า ส่งออก การจดทะเบียนการค้า และมาตรฐานสินค้าที่เกี่ยวข้อง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการในการขยายธุรกิจไปยังตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพและขยายฐานการตลาดได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งงานนี้ถือเป็นเวทีสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และยกระดับมาตรฐานของอุตสาหกรรมสัตว์เลี้ยงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผู้จัดพร้อมรองรับผู้เข้าชมงานกว่าหมื่นรายจากนานาชาติ และคาดการณ์ว่า การจัดงานครั้งนี้จะสร้างมูลค่าการค้าสูงถึง […]
อ่านต่ออาหารที่เหมาะสมกับ ขนาดของสุนัข
การให้อาหารสุนัขที่เหมาะสมกับ ขนาดของสุนัข เป็นหนึ่งในปัจจัยที่จะส่งเสริมให้สุขภาพโดยรวมของพวกเขาสมบูรณ์แข็งแรง สุนัขก็คือสุนัข เมื่อเราพูดถึงเรื่องความต้องการทางด้านโภชนาการแล้ว ไม่ว่าจะสายพันธุ์ไหน อายุ และขนาดตัวเท่าไร ต่างก็ต้องการสารอาหารพื้นฐานที่ครบถ้วนและสมดุล อย่างไรก็ตาม การเลือกอาหารให้กับสุนัขก็มีรายละเอียดเล็กน้อยแต่สำคัญ ที่เจ้าของต้องพิจารณาร่วมด้วย เนื่องจากสารอาหารที่สุนัขได้รับเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้สุนัขมีสุขภาพแข็งแรง ดังนั้น การได้รับอาหารที่มีส่วนผสมที่ถูกต้องและเหมาะสม จึงเป็นหนึ่งในความรับผิดชอบของเจ้าของที่ต้องจัดการให้กับสุนัขที่เรารัก เช่น สุนัขในวัยเด็กควรได้รับอาหารสูตรสุนัขวัยเด็ก หรือสุนัขโตเต็มวัย ก็ควรได้รับอาหารสูตรโตเต็มวัย นอกจากนี้ สุนัขแต่ละสายพันธุ์ก็มีขนาดและน้ำหนักตัวที่ไม่เท่ากัน ซึ่งส่งผลต่อความต้องการพลังงานขั้นต่ำต่างกัน เจ้าของจึงควรพิจารณาการให้อาหารสุนัขที่สัมพันธ์กับ ขนาดของสุนัข สายพันธุ์ต่าง ๆ ด้วย เริ่มจากวัยลูกสุนัขสายพันธุ์เล็กที่ต้องการพลังงานมาก เนื่องจากมีอัตราการเผาผลาญพลังงานสูง ทำให้ต้องการสารอาหารที่ให้พลังงานมากกว่าช่วงวัยอื่น ๆ ถ้าลูกสุนัขสายพันธุ์เล็กได้รับพลังงานจากอาหารไม่เพียงพอ อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายของลูกสุนัขโดยตรง ในวัยนี้ เจ้าของจึงควรจัดเตรียมอาหารที่ให้พลังงานสูง และแบ่งให้ 3 – 4 มื้อต่อวัน ในขณะที่ลูกสุนัขสายพันธุ์ใหญ่ ที่มีโอกาสเกิดโรคข้อเสื่อมได้ในอนาคต การให้อาหารในลูกสุนัขกลุ่มนี้จึงต้องเป็นอาหารที่ให้พลังงานอย่างเหมาะสม ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป และมีปริมาณแร่ธาตุที่สมดุล โดยเฉพาะแร่ธาตุฟอสฟอรัสและแคลเซียม ที่อาจนำไปสู่การเกิดโรคเกี่ยวกับกระดูกของสุนัขสายพันธุ์ใหญ่เมื่อโตเต็มวัยได้ โดยหลักใหญ่ใจความแล้ว ความต้องการสารอาหารของสุนัขแต่ละตัว ต่างเชื่อมโยงกับความต้องการพลังงานต่อวัน ซึ่งสัตวแพทย์ส่วนใหญ่ใช้เป็นเกณฑ์สำหรับการพิจารณาเรื่องการให้อาหารต่อเนื่องไปจนสุนัขโตเต็มวัย ช่วงโตเต็มวัย คือ ช่วงระหว่างการสิ้นสุดการเจริญเติบโตจนถึงช่วงก่อนสัญญาณแรกของวัยสูงอายุปรากฏขึ้น […]
อ่านต่อทำไมสุนัขชอบนอนตากแดด แม้จะเป็นวันที่ร้อนอบอ้าว
เราอาจเคยสงสัยว่า ทำไมสุนัขชอบนอนตากแดด ทั้ง ๆ ที่อากาศก็ร้อนเหลือเกิน แต่ดูเหมือนว่า สุนัขของเราก็เพลิดเพลินกับแสงแดดที่ส่องลงบนลำตัวเหลือเกิน เหตุผลเบื้องหลัง ทำไมสุนัขชอบนอนตากแดด สุนัขบางส่วนใหญ่ แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด ที่ชอบนอนตากแดด แน่นอนว่า เหตุผลของการนอนตากแดดของพวกเขาแตกต่างจากมนุษย์ เนื่องจาก ตามธรรมชาติแล้ว อุณภูมิร่างกายเฉลี่ยของสุนัขสูงกว่ามนุษย์ ดังนั้น การนอนตากแดดจึงช่วยเพิ่มอุณหภูมิของร่างกายสุนัขให้สูงขึ้น และช่วยให้ร่างกายอบอุ่นขึ้นด้วย แม้ว่าสุนัขส่วยใหญ่จะนอนอาบแดดได้อย่างปลอดภัย แต่เจ้าของก็ควรระวังปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่น สภาพร่างกายของสุนัข ต้องไม่เจ็บป่วย สีขนของสุนัข และอุณภูมิของอากาศในฤดูร้อน วันนี้ เราจึงมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุที่สุนัขชอบนอนอาบแดด รวมถึงความเสี่ยงและขอควรระวัง ที่เราสามารถจัดการได้ เพื่อลดความเสี่ยงเหล่านั้น ให้กับสุนัขที่เรารัก ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการนอนของสุนัข คือฮอร์โมนเมลาโทนิน ซึ่งพบได้ในมนุษย์เช่นกัน โดยเมลาโทนินทำหน้าที่ควบคุมวงจรการนอนหลับ เมื่อร่างกายหลังเมลาโทนินออกมาน้อย จะทำให้คุณภาพการนอนหลับลดลง ฮอร์โมนเมลาโทนินถูกผลิตจากต่อมไพเนียล ที่อยู่ภายในสมอง และหนึ่งในปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการหลั่ง หรือระงับเมลาโทนิน คือแสงแดด ดังนั้น เมื่อร่างกายของสุนัขได้รับแสงแดด ก็จะทำให้สมองรับรู้ช่วงเวลากลางวันและกลางคืนที่ชัดเจน ซึ่งเมลาโทนินจะผลิตออกมาเฉพาะในช่วงที่ไม่มีแสงแดด หรือช่วงที่สุนัขนอนหลับในเวลากลางคืน ความอบอุ่นจากแสงแดดช่วยบรรเทาอาการปวดตามข้อ และอาการอักเสบในบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายสุนัขได้ […]
อ่านต่อคาเฟ่สัตว์เลี้ยง ในจีน จ้างสัตว์เลี้ยงด้วยขนมและอาหารเปียก
ธุรกิจ คาเฟ่สัตว์เลี้ยง ในจีน เติบโตและได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน จึงเกิดเป็นกระแส “จ่ายค่าจ้างด้วยอาหาร” ที่เหล่าบรรดาเจ้าของสัตว์เลี้ยงส่งน้อง ๆ สัตว์เลี้ยงสัตว์เลี้ยงของตนเอง ไปทำงานในคาเฟ่สัตว์เลี้ยง เจน เซวีย ได้ส่งน้องหมาของเธอ ชื่อ “โอเค” สุนัขซามอยด์ อายุ 2 ปี ไปทำงานที่ คาเฟ่สัตว์เลี้ยง ในเมืองฝูโจว ทางตะวันออกเฉียใต้ของจีน เธอบอกกับ CNN ว่า “ฉันแค่รู้สึกว่าเหมือนผู้ปกรองส่งลูกไปโรงเรียน” เซวียต้องการให้สุนัขของเธอได้รับประสบการณ์แปลกใหม่ในชีวิต ในขณะที่เธอและคู่ชีวิตของเธอมักจะออกเดินทางนอกเมืองทุกวันหยุดสุดสัปดาห์ “การฝากสุนัขไว้ที่คาเฟ่เป็นการได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย และน้อง ๆ ก็ได้ใช้เวลากับตัวอื่น ๆ” เธอกล่าว คาเฟ่สัตว์เลี้ยงเป็นธุรกิจที่มีรายได้สูงมากในประเทศจีน ที่เปิดให้ลูกค้าสามารถเข้ามาเล่นกับสัตว์เลี้ยงในร้าน โดยเจ้าของคาเฟ่สามารถเพิ่มมูลค่าของการใช้บริการจากลูกค้าได้ ผ่านการเก็บค่าเข้าร้าน ประมาณ 140 – 280 บาทต่อคน และค่าเครื่องดื่มที่จัดเตรียมไว้ภายในร้าน นอกจากสุนัขของเธอจะได้ใช้เวลาเล่นสนุกกับเพื่อนสุนัขตัวอื่นแล้ว เธอบอกว่า เธอยังสามารถประหยัดค่าไฟที่ต้องคอยเปิดแอร์ให้สุนัขตลอดทั้งวัน เมื่อเธอและคู่ชีวิตของเธอออกไปเที่ยวค้างคืนในวันหยุดสุดสัปดาห์อีกด้วย “โดยเฉพาะฤดูร้อนของฟู่โจวที่อุณหภูมิสูงมาก ๆ” เธอกล่าวเสริม แนวคิดของเซวียอาจฟังดูแปลก แต่การส่งสัตว์เลี้ยงไปทำงานในคาเฟ่ กำลังเป็นกระแสที่กำลังเติบโตในประเทศจีน […]
อ่านต่อรู้หรือไม่… แมวเดินกะเผลก อาจเป็นสัญญานของ “โรคหวัดแมว” ได้
หากอยู่ดี ๆ แมวเดินกะเผลก ดูเหมือนจะเจ็บขา โดยไม่ได้รับอุบัติเหตุ หรือตกจากที่สูง ร่วมกับอาการเซื่องซึม มีไข้ หรือจาม นั่นอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ Feline Calicivirus ซึ่งเป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดโรคหวัดแมวได้ โรคหวัดแมว หรือไข้หวัดแมว (cat flu) ทำให้ แมวเดินกะเผลก ได้ด้วยหรือ ? ในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย นอกจากมนุษย์อย่างเราจะมีแนวโน้มป่วยเป็นไข้หวัดได้แล้ว แมวที่เรารักก็สามารถป่วยได้เช่นกัน โดยเชื้อไวรัสที่ทำให้แมวป่วย ได้แก่ Feline Herpesvirus (FHV) และ Feline Calicivirus (FCV) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่จำเพาะเจาะจงกับแมว นอกจากนี้ น้องแมวก็สามารถเป็นไข้หวัดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิด Bordetella bronchiseptica , Chlamydia spp. , Mycoplasma spp. ได้ด้วย ที่น่าสนใจ คือ เมื่อแมวติดเชื้อ Feline Calicivirus โดยเฉพาะการติดเชื้อในแมวเด็ก จะเกิดอาการเฉียบพลันที่เรียกว่า Feline limping syndrome […]
อ่านต่อแมวไอ อาจเป็นหนึ่งในอาการของโรคเหล่านี้
แมวไอ หรือแสดงอาการไออย่างต่อเนื่อง ย่อมแสดงถึงความผิดปกติบางอย่าง ที่เราไม่ควรมองข้าม แมวไอ เกิดจากสาเหตุอะไร แมวไอเป็นอาการตอบสนองของร่างกายแมวต่อสิ่งกระตุ้น เช่น ฝุ่น สิ่งแปลกปลอมขนาดเล็ก สิ่งคัดหลั่ง หรือการติดเชื้อ ที่เข้าสู่ทางเดินหายใจ และทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ จากนั้น ร่างกายจะตอบสนองด้วยกลไกลการกำจัดสิ่งกระตุ้นออกจากร่างกายด้วยการแสดงอาการไอ โดยถ้าเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวอาจจะไม่น่ากังวล ในทางกลับกัน ถ้าอาการไอเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจเป็นสัญญาณเตือนของความผิดปกติในร่างกายที่ต้องจัดการ สาเหตุของอาการไอในแมวที่พบได้บ่อยทางคลินิกมีดังนี้ 1. โรคหอบหืดในแมว (Feline asthma) เป็นโรคการอักเสบเรื้อรังของระบบทางเดินหายใจส่วนล่างในแมว มีรายงานพบอัตราการการเกิดโรคประมาณร้อยละ 1-5 ของประชากรแมวทั้งหมด พบได้ตั้งแต่แมวอายุน้อยจนถึงแมววัยกลาง ค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ช่วงประมาณอายุ 4-5ปี และอาจพบในแมวสูงอายุได้เช่นกัน แมวส่วนใหญ่ที่เป็นโรคหอบหืด เนื่องจากได้รับสารก่อภูมิแพ้ในอากาศแบบซ้ำ ๆ และเกิดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันมากกว่าปกติ ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง และแมวจะแสดงอาการไอ ไอเรื้อรัง ในบางรายอาจจะมีอาการหายใจลำบาก และหอบเหนื่อยง่าย เป็นต้น 2. โรคพยาธิหนอนหัวใจในแมว โรคพยาธิหนอนหัวใจเกิดจากการติดเชื้อพยาธิหนอนหัวใจ ชนิด Dirofilaria immitis ซึ่งมียุงเป็นพาหะ โดยการติดเชื้อในแมวมักพบพยาธิตัวเต็มวัยจำนวนไม่มาก โดยพบตัวเต็มวัยเพียง 1-2 ตัว แต่สามารถก่อความรุนแรงในแมวได้มา […]
อ่านต่อสิริเพลส Fully-Furnished ออกแบบเพื่อสัตว์เลี้ยง
แสนสิริ เปิดตัวทาวน์โฮม Fully-Furnished ออกแบบเพื่อสัตว์เลี้ยง กับแคมเปญ “Fur Fulfilled แต่งครบจัดให้ ถูกใจโฮ่งเหมียว” ร่วมมือกับพันธมิตร SB Design Square ที่ทาวน์โฮม สิริเพลส จากความสำเร็จในแคมเปญ Sansiri Proud of Pawrents ที่เปิดตัวไปช่วงต้นปีที่ผ่านมา แสนสิริจึงได้ขยายความสำเร็จจาก โครงการสราญสิริ ศรีนครินทร์ – แพรกษา บ้านเดี่ยวดีไซน์ Modern Farmhouse ที่ปิดการขายเฟสแรกไปอย่างรวดเร็ว สู่การเปิดตัว สิริเพลส ทาวน์โฮมพร้อมอยู่ แบบ Fully-Furnished และเป็นมิตรกับสัตว์เลี้ยง ภัคพริ้ง การุญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดโครงการแนวราบ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แสนสิริ ให้ความสำคัญกับการอยู่อาศัยของทุกสมาชิก ซึ่งรวมถึงน้อง ๆ สัตว์เลี้ยง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสมาชิกสำคัญของครอบครัวแสนสิริด้วยเช่นกัน จากแคมเปญ Sansiri Proud of Pawrents […]
อ่านต่อแมวสีขาวดำ หรือแมวทักซีโด
แมวสีขาวดำ กับเรื่องราวที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังความน่ารักของลวดลายที่ชวนให้ยิ้ม ในช่วงแรกที่เราเลือกรับแมวสักตัวเข้าบ้าน นอกจากจะตัดสินใจเลือกจากสายพันธุ์แล้ว เราส่วนใหญ่ยังเลือกแมวจากสีขนที่เราโปรดปรานอย่าง แมวสีขาวดำ เพราะว่า สีขนของแมวก็เหมือนเสื้อผ้าอาภรณ์ที่จะติดตัวน้องแมวไปตลอดชีวิต แต่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า เราไม่ควรเลือกแมวจากสีขนเพียงอย่างเดียว เพราะอาจทำให้เราพลาดโอกาสเจอแมวที่เรากำลังมองหาอยู่ก็ได้ แมวบางสายพันธุ์มีรูปแบบและสีขนเฉพาะ แต่ในขณะเดียวกัน แมวอีกหลายสายพันธุ์ก็มีสีขนได้หลากหลายรูปแบบ รวมไปถึงแมวทักซิโด หรือ แมวสีขาวดำ ซึ่งพบได้ในแมวหลายสายพันธุ์ และเราจึงพบเห็นลวดลายขาวดำแบบต่าง ๆ มากมาย ในต่างประเทศแมวสีขาวดำ ถูกเรียกว่า แมวทักซิโด ทักซิโด เป็นชื่อที่เรียกตามเครื่องแต่งกายแบบสุภาพของผู้ชายที่เน้นสีขาวและดำ แมวทักซิโดจึงหมายรวมถึงแมวสายพันธุ์ก็ได้ ที่มีขนสีขาวและดำ ตลอดทั้งตัว บางตัวอาจมีขนสีดำมากกว่าสีขาว หรือบางตัวก็กลับกัน โดยไม่มีลวดลายเฉพาะเจาะจง เพียงแค่มีสีขาวและดำ แมวสีขาวดำมักแสดงสีขนอย่างชัดเจนตั้งแต่แรกเกิด และแทบไม่เปลี่ยนสีขนเลยตลอดช่วงชีวิต ดังนั้น ถ้าเรากำลังมองหาแมวสีขาวดำ เราสามารถตัดสินใจเลือกลูกแมวได้เลยว่า เราอยากได้ลวดลายแบบไหน โดยแมวขาวดำที่ผู้คนในวงการเลี้ยงแมวมองหามากที่สุดคือ แมวที่มีลายแต้มสีดำบริเวณหน้าอก ซึ่งสื่อถึงการผูกหูกระต่ายในชุดทักซิโด เท้าขาวที่เหมือนใส่รองเท้ากีฬา และหน้าขาวดำที่มองดูเหมือนสวมหน้ากาก แม้ว่าแมวสีขาวดำพบได้ในแมวเกือบทุกสายพันธุ์ แต่สมาคม Cat Fanciers’ Association (CFA) ก็ไม่ได้กำหนดให้ลายขาวดำเป็นลักษษณะมาตรฐานในบางสายพันธุ์ ได้แก่ อเมริกันชอร์ตแฮร์ เดวอนเร็กซ์ และเมนคูน […]
อ่านต่อการใช้อาหารเสริมที่ช่วยเรื่อง ความเครียดในสัตว์เลี้ยง
ทุกวันนี้ ความเครียดในสัตว์เลี้ยง ถือเป็นสภาวะหนึ่งที่สามารถพบเจอได้ในสัตว์เลี้ยงที่อยู่ในความดูแลของเรา ความเครียดในสัตว์เลี้ยง สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายเหตุปัจจัย โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมรอบตัวสัตว์ ทั้งเชิงกายภาพ เช่น เสียงก่อสร้าง ความร้อน การเปลี่ยนแปลงที่อยู่ การมีเฟอร์นิเจอร์ใหม่ในบ้าน หรือย้ายข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ไปจากตำแหน่งเดิม ไม่ใช่เพียงปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ประสบการณ์ของสัตว์เลี้ยง ก็มีผลต่อการเกิดความเครียดได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีที่สัตว์เลี้ยงบางตัวมีประสบการณ์ที่ดีกับเด็ก เมื่อเจอเด็กก็จะเกิดความเครียดน้อยกว่า สัตว์เลี้ยงที่มีประสบการณ์ไม่ดีกับเด็ก เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความเครียดในสัตว์เลี้ยงคือ ปัจจัยที่เกี่ยวกับตัวสัตว์เลี้ยงเอง โดยสัตว์แต่ละตัวก็จะมีความสามารถในการรับมือกับความเครียดที่แตกต่างกัน อย่างในกรณีที่สัตว์เลี้ยงคนแต่ละตัวไปอยู่ในสถานที่เดียวกัน ก็อาจจะตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อสัตว์เลี้ยงของเรามีความเครียดเกิดขึ้น เราสามารถช่วยเหลือสัตว์เลี้ยงของเราโดยใช้แนวทางต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการปรับสิ่งแวดล้อม การทำพฤติกรรมบำบัด รวมไปถึงการใช้ยา นอกเหนือจากแนวทางในการจัดการกับความเครียดที่ได้กล่าวไปในข้างต้นแล้ว ในปัจจุบัน ผู้เลี้ยงสามารถใช้อาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของสารบางประเภท เพื่อช่วยจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นได้ โดยสารที่มักนิยมนำมาผลิตเป็นอาหารเสริม เพื่อจัดการกับความเครียด และปัญหาพฤติกรรมในสัตว์เลี้ยง ได้แก่ 1. แอล – ทริปโตแฟน (L-Tryptophan)แอล – ทริปโตแฟน (L-Tryptophan) เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นองค์ประกอบของโปรตีนทริปโตแฟน […]
อ่านต่อค้นหาคำตอบพฤติกรรม แมวล่าเหยื่อ โดยการวิเคราะห์หนวดแมว
แมวล่าเหยื่อ เพราะอะไร นักวิทยาศาสตร์ได้พยายาามค้นคำตอบพฤติกรรมแมวบ้านที่ชอบไปคาบนกกลับมาที่บ้าน ด้วยการวิเคราะห์ทางรังสีวิทยาจากหนวดของแมว ในสายตาของทาสแมว เราอาจมองเห็นเพียงความน่ารักของเจ้านายตัวขน ในขณะเดียวกัน เราต่างก็รับรู้ว่า แมวยังไม่ทิ้งลายสัตว์นักล่าโดยกำเนิดเช่นกัน โดยเรายังพบพฤติกรรม แมวล่าเหยื่อ ได้ในเหล่าบรรดาแมวจร หรือแม้กระทั่งแมวที่เราเลี้ยงดูเป็นอย่างดี จากการสำรวจในปี 2013 นักวิทยาศาสตร์ได้จัดให้แมวบ้านเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (invasive specie) ที่รุกรานชนิดพันธุ์ท้องถิ่น กลายเป็นประเด็น ที่สร้างความกระอักกระอ่วนให้แก่เจ้าของแมวทั่วโลก ด้วยการรายงานจำนวนที่แสดงให้เห็นว่า แมวทั่วโลกได้คร่าชีวิตของสัตว์ปีก ประมาณ 1.4 – 3.7 ล้านตัวต่อปี ในรายงานอีกหลายฉบับเกี่ยวกับการรุกรานของแมวบ้าน ยังพบว่า แมวได้ล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่น หนู กระรอก และกระต่าย รวมกันประมาณ 20,000 ล้านตัวทุกปี ข้อมูลเหล่านี้ อาจสร้างคำถามในใจของเจ้าของแมวอย่างเราว่า แมวที่แสนน่ารักของเราทำอย่างนั้น จริงหรือ ทั้ง ๆ ที่พวกเขาก็นอนครางอย่างมีความสุขอยู่ใกล้ ๆ เรา การศึกษาเกี่ยวกับหนวดแมวในปี 2021 ได้ไขข้อสงสัยของเราเกี่ยวกับพฤติกรรมล่าสัตว์ขนาดเล็กของแมวบ้าน ข้อมูลที่นักวิจัยค้นพบอาจทำให้เราประหลาดใจ งานวิจัยครั้งนี้ทำการทดลองอย่างไร ดร. มาร์ตินา เซคคิติ […]
อ่านต่อ