บ้านและสวน PETS

สุนัขพันธุ์บอร์ซอย: ลักษณะสายพันธุ์ และการดูแล

สุนัขพันธุ์บอร์ซอย เป็นสุนัขที่เคยจำกัดอยู่เฉพาะชนชั้นสูงของรัสเซีย สง่างาม รักเจ้าของ และกระตือรือร้น ก่อนจะหายไปเกือบหมดจากเหตุการณ์ทางการเมือง และกลับมาเพิ่มจำนวนได้อีกครั้ง ประวัติ สุนัขพันธุ์บอร์ซอย (Borzoi) สุนัขพันธุ์บอร์ซอยเป็นที่รู้จักในชื่อ Russian wolfhound มีถิ่นกําเนิดที่ประเทศรัสเซีย สุนัขพันธุ์นี้ถูกเลี้ยงโดยผู้ที่เป็นชนชั้นสูงของประเทศรัสเซียเพื่อใช้ล่าหมาป่า และสัตว์อื่น ๆ โดยเป็นที่รู้จักตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 สุนัขพันธุ์นี้ถูกนำมาเป็นของขวัญแก่พวกขุนนางท่านอื่น ๆ ในทวีปยุโรป และแทบไม่มีการซื้อขายเลย เนื่องจากสุนัขพันธุ์ถูกมองว่า เป็นสัญลักษณ์ของชนชั้นสูง และเกือบหายไปจนหมดเนื่องจากเหตุการณ์ปฏิวัติ Bolshevik หลังจากนั้น ผู้เพาะพันธุ์เพียงไม่กี่คนที่ยอมอุทิศตนเพื่อรักษาสุนัขสายพันธุ์นี้ไว้ ทำให้จำนวนบอร์ซอยเพิ่มขึ้นจนกระทั่งสามารถส่งออกไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ของโลกได้ โดยเฉพาะสหราชอาณาจักร แคนาดา และสหรัฐอเมริกา สุนัขบอร์ซอยได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมากในช่วงนั้น และในปี 1914 สมาคม United Kennel Club ได้รับรองมาตรฐานสายพันธุ์ โดยใช้ชื่อ Russian wolfhound จากนั้นในปี 1936 หลังจากเกิดการถกเถียงกันอย่างยาวนานของสมาชิกในสมาคมสายพันธุ์สุนัขในสหรัฐฯ ก็ข้อสรุปชื่อใหม่ว่า บอร์ซอย ซึ่งมาจากภาษารัสเซีย แปลว่า ว่องไว ลักษณะทางกายภาพ […]

อ่านต่อ

PETSTOPIA @Bravo BKK ศูนย์การค้าสำหรับสัตว์เลี้ยง

PETSTOPIA @Bravo BKK ศูนย์การค้าสำหรับสัตว์เลี้ยง ที่ดูแลสัตว์แบบครบวงจร “ตั้งแต่เกิด จนกลับดาว” Bravo BKK จับมือ PETSTOPIA เนรมิตพื้นที่กว่า 40,000 ตารางเมตร ของศูนย์การค้า Bravo BKK ใจกลางพระราม 9 เพื่อสร้าง ศูนย์การค้าสำหรับสัตว์เลี้ยง (Pet Friendly Mall) ที่ดูแลสัตว์แบบครบวงจร “ตั้งแต่เกิด จนกลับดาว” ตอบโจทย์ทุกความต้องการของเจ้าของและสัตว์เลี้ยง ผสานความแข็งแกร่งของการเป็น Entertainment Complex ด้วยการสร้าง Hall เพิ่ม เพื่อรองรับคอนเสิร์ตระดับโลก และการจัด Event ทุกรูปแบบ คุณโกห์ ซู ซิง CEO Bravo BKK กล่าวว่า Bravo BKK กำลังเข้าสู่จุดเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญอีกครั้ง ด้วยการจับมือกับ เพ็ทส์โทเปีย อัลไลแอนซ์ เนรมิตศูนย์การค้าสำหรับสัตว์เลี้ยงแบบครบวงจรแห่งแรก และแห่งเดียวของไทย ภายใต้ชื่อ PETSTOPIA […]

อ่านต่อ

อาหารสัตว์เลี้ยง แต่ละประเภท แตกต่างกันอย่างไร 

ประเภทของ อาหารสัตว์เลี้ยง ในประเทศไทยมีหลากหลายรูปแบบเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภครวมถึงให้สัตว์เลี้ยงมีมีความต้องการอาหารที่หลากหลาย ตามหลักการโภชนาการสามารถจำแนก ประเภทของ อาหารสัตว์เลี้ยง เป็นสามรูปแบบ ประกอบด้วย  ตามหลักโภชนาการ สัตวแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารสัตว์ ไม่สามารถกำหนดได้ว่า อาหารประเภทใดดีที่สุด เพราะอาหารสัตว์แต่ละประเภทมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ดังนั้น เจ้าของสัตว์เลี้ยงควรศึกษาข้อดีและข้อควรระวังของอาหารประเภทต่าง ๆ เพื่อการเลือกใช้อาหารสัตว์ได้เหมาะสมมากที่สุด  รายละเอียดของอาหารสัตว์เลี้ยงแต่ละประเภท 1. อาหารเปียก มีความชื้นมากกว่าร้อยละ 60 โดยปกติแล้วจะมีค่าอยู่ระหว่างร้อยละ 70 ถึง 80  อาหารเปียกถือว่าเป็นอาหารที่มีความน่ากินมากที่สุดเมื่อเทียบกับอาหารชนิดอื่น ดังนั้น เมื่อสัตว์เลี้ยงอยู่ในภาวะเจ็บป่วย เบื่ออาหาร กินอาหารยาก หรือต้องป้อนอาหารผ่านสายยาง สัตวแพทย์มักจะเลือกใช้ และแนะนำเจ้าของ ให้อาหารเปียกแก่สัตว์เลี้ยง ข้อดีของอาหารรูปแบบเปียกคือ การส่งเสริมให้สัตว์กินน้ำได้มากขึ้น ถ้าเทียบกันระหว่างน้ำสะอาดกับอาหารเปียก สัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่จะเลือกกินอาหารเปียก ดังนั้น ในกรณีที่ต้องการให้สัตว์เลี้ยงกินน้ำเพิ่มขึ้นเช่น กรณีเป็นโรคไต โรคนิ่ว หรือป้องกันการเกิดนิ่ว เป็นต้น การให้กินอาหารเปียกจะส่งเสริมให้สัตว์เลี้ยงได้รับอาหารเพิ่มขึ้น  ข้อควรระวังเมื่อให้สัตว์เลี้ยงกินอาหารเปียกคือ ถ้าสัตว์เลี้ยงกินอาหารไม่หมดภายใน 30 นาที แนะนำให้ทิ้งอาหารที่เหลือ และล้างภาชนะให้สะอาดทันที เพราะอาหารที่มีความชื้นสูงร่วมกับอากาศร้อนของเมืองไทย ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว […]

อ่านต่อ

ความผูกพันระหว่างสุนัขและเจ้าของ มีรูปแบบใดบ้าง

ความผูกพันระหว่างสุนัขและเจ้าของ เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากสุนัขถือเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีวิวัฒนาการร่วมกับมนุษย์มาอย่างใกล้ชิด เป็นระยะเวลาอันยาวนาน ทุกวันนี้ นักวิทยาศาสตร์เริ่มศึกษาถึงรูปแบบ ความผูกพันระหว่างสุนัขและเจ้าของ ในลักษณะต่าง ๆ ตลอดจนผลที่เกิดขึ้นจากลักษณะความผูกพันเหล่านั้น ในเชิงของความสัมพันธ์กับปัญหาพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับน้องหมาเพิ่มมากขึ้น การศึกษาเรื่องความผูกพันธ์ระหว่างคนและสัตว์เลี้ยง เป็นการประยุกต์มาจากการศึกษาความผูกพันระหว่างเด็กและพ่อแม่ โดยความผูกพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างสุนัขและมนุษย์ มีทั้งหมด 4 รูปแบบหลัก ๆ ได้แก่ ความผูกพันที่มั่นคง ความผูกพันแบบหลีกเลี่ยง ความผูกพันแบบสับสน ความผูกพันแบบไม่เป็นระเบียบ และความผูกพันที่ไม่สามารถระบุลักษณะได้ เราสามารถสังเกตจากพฤติกรรมของน้องหมาที่แสดงออกก่อนการแยกจากเจ้าของ ขณะแยกจากเจ้าของ และหลังจากกลับมาเจอกับเจ้าของ เป็นตัวที่บ่งบอกถึงรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างเรากับสุนัขของเรา มาดูรายละเอียดกันครับ 1. ความผูกพันที่มั่นคง (Secure attachment) สุนัขที่มีรูปแบบความผูกพันในลักษณะนี้จะแสดงความต้องการเข้าหา และอยู่ใกล้ชิดกับเจ้าของ โดยจะเข้าหาและอยู่ใกล้ชิดกับเจ้าของเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 10 วินาที หลังจากที่เจ้าของกลับมาบ้าน สุนัขแทบจะไม่หลบสายตาไปทางอื่น หรือพยายามหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับเจ้าของเลย และไม่มีการต่อต้านต่อปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นกับเจ้าของในช่วงเวลาดังกล่าว สุนัขที่มีรูปแบบความสัมพันธ์ที่มั่นคง ก่อนจะแยกจากเจ้าของ สุนัขอาจจะมีการเล่นหรือสำรวจสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง และเมื่อทักทายกับเจ้าของเสร็จแล้ว สุนัขอาจจะไปนอนพักผ่อน ส่วนช่วงที่แยกจากเจ้าของ สามารถพบพฤติกรรมการเดินตามหาเจ้าของได้ แต่เป็นการตามหาที่ไม่ได้มีภาษากายของความเครียดแสดงให้เห็น 2. ความผูกพันแบบหลีกเลี่ยง […]

อ่านต่อ

ทำไม สุนัขชอบเลียเท้า เหตุผลเบื้องหลังที่จะให้เรารักพวกเขามากยิ่งขึ้น

เมื่อสุนัขรวมฝูงกัน หรือเมื่อเราเลี้ยงพวกเขารวมกันไว้หลายตัว หนึ่งในพฤติกรรมที่มักสังเกตได้บ่อย ๆ คือสุนัขชอบเลียใบหน้าของกันและกัน เพื่อแสดงการทักทาย หรือสื่อสารบางอย่าง แล้วถ้า สุนัขชอบเลียเท้า ของเราล่ะ เป็นเพราะอะไรกันนะ นักพฤติกรรมสัตว์กล่าวว่า เมื่อสุนัขเลียส่วนต่าง ๆ บนร่างกายของกันและกัน เช่น หู ตา อุ้งเท้า และใบหน้า นั่นหมายความว่า พวกเขากำลังแสดงบทบาทที่สำคัญต่อการสร้างปฏิสัมพันธ์ รวมไปถึงมนุษย์ สุนัขชอบเลียเท้า เจ้าของ นั่นก็เป็นการแสดงปฏิสัมพันธ์ระหว่างสุนัขและเจ้าของเช่นกัน การแสดงออกลักษณะนี้เป็นหนึ่งในเครื่องมือการสื่อสารทางร่างกายของสุนัข ที่บ่งบอกถึงการแสดงความรัก ความไว้ใจ และการยอมรับภายในฝูง ในทำนองเดียวกัน เมื่อสุนัขอยู่ร่วมในสังคมมนุษย์ คำว่า “ฝูง” ของสุนัขบ้านจึงรวมมนุษย์เข้าไปด้วย ในกรณีนี้ เจ้าของสุนัขบางรายอาจแสดงพฤติกรรมต่อต้านเมื่อสุนัขมาเลียเท้า เนื่องจากรู้สึกจั๊กจี้ ในทางกลับกัน เจ้าของควรรู้สึกดีใจที่สุนัขเข้ามาเลียเท้า เพราะว่านั่นเป็นการแสดงว่า พวกเขาเคารพ และยอมรับให้เรามีบทบาทในฝูง สัตวแพทย์ เอลิซาเบธ สเตโลว์ จากโรงเรียนสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเดวิส กว่าวในบทความโดโดเดลี ว่า สุนัขอาจเลียเท้าเจ้าของ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในพฤติกรรมทางสังคม และเสริมว่า “เหมือนเพื่อนที่มอบสิ่งของ หรือถักเปียให้คุณ […]

อ่านต่อ

i-Cattery ได้รับการรับรอง AAALAC International ในระดับสูงสุด

ศูนย์วิจัยอาหารแมว i-Cattery ได้รับการรับรอง AAALAC International ในระดับสูงสุด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการดูแลสวัสดิภาพที่ดีของสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ด้วยความรับผิดชอบและถูกต้องตามหลักจรรยาบรรณ ศูนย์วิจัยอาหารแมว i-Cattery ได้พัฒนานวัตกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง ที่มุ่งเน้นการศึกษาวิจัยด้านโภชนาการและวัดผลความชอบในรสชาติอาหารของน้องแมว ตอกย้ำจุดยืนในเรื่องการให้สัตว์เลี้ยงเป็นศูนย์กลาง (Pet Centric) ด้วยความร่วมมือเชิงวิชาการกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อคิดค้นและพัฒนาสูตรอาหาร ที่สามารถช่วยเสริมให้น้องแมวได้เจริญเติบโตด้วยสุขภาพที่แข็งแรง สมวัยได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่พันธมิตรทางธุรกิจว่า อาหารแมวของ ITC ผ่านการยอมรับจากนักชิมสี่ขาตัวจริง และวันนี้ศูนย์วิจัยอาหารแมว i-Cattery ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท ไอ-เทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้ผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงชั้นนำระดับโลก ได้ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งสำคัญในการเป็นบริษัทเอกชนรายแรกในประเทศไทย และผู้ผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงเพียงรายเดียวของโลกที่ได้รับการรับรองจาก Association for Assessment and Accreditation of Laboratory Animal Care หรือ AAALAC International ในระดับสูงสุด ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ประเมินและรับรองการวิจัยที่ยึดหลักปฏิบัติด้านการดูแลสวัสดิภาพที่ดีของสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ด้วยความรับผิดชอบและถูกต้องตามหลักจรรยาบรรณ นายพิชิตชัย วงศ์ปิยะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไอ-เทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) […]

อ่านต่อ

สุนัขพันธุ์ออสเตรเลียนเชพเพิร์ด ลักษณะสายพันธุ์ และการเลี้ยงดู

สุนัขพันธุ์ออสเตรเลียนเชพเพิร์ด สุนัขพันธุ์พื้นเมืองของสหรัฐอเมริกา เป็นสุนัขขี้เล่น กระตือรือร้น กล้าหาญ ร่าเริง คล่องแคล่ว เป็นมิตร ไม่ก้าวร้าว และมีนิสัยคล้ายคน ประวัติ สุนัขพันธุ์ออสเตรเลียนเชพเพิร์ด (Australian Shepherd) สุนัขพันธุ์ออสเตรเลียนเชพเพิร์ดมีถิ่นกำเนิดมาจากสหรัฐอเมริกา เป็นสุนัขพันธุ์พื้นเมือง ที่ในอดีตถูกนำเข้ามาใช้เป็นสุนัขต้อนฝูงแกะเมริโนที่เมืองบาสก์ ในประเทศสเปน โดยต้นกำเนิดของสุนัขพันธุ์นี้มีความเกี่ยวข้องกับสุนัขพันธุ์บาสก์เชพเพิร์ด (Basque Shepherd) ที่อยู่ในประเทศออสเตรเลีย และถูกนำเข้ามาในสหรัฐอเมริกา จากบันทึกคาดว่าในระหว่างนั้นได้มีการผสมพันธุ์กับสุนัขพันธุ์หนึ่ง (ที่คาดว่ามีสายพันธุ์คอลลี่ผสมอยู่) ในสหรัฐอเมริกา จึงเป็นเหตุผลที่สุนัขสายพันธุ์นี้ถูกตั้งชื่อเป็น ออสเตรเลียน เชพเพิร์ด ในปี 1950 สุนัขพันธุ์นี้ได้เป็นที่รู้จักและเริ่มเป็นที่นิยมเลี้ยงมากขึ้นในสหรัฐอเมริกา ทำให้สุนัขสายพันธุ์นี้แพร่กระจายไปอย่างกว้างขวางจนถึงปัจจุบัน ต่อมาในปี ค.ศ. 1977 ได้มีการจัดตั้งองค์กร The Australian Shepherd Club of America (ASCA) เป็นองค์กรหลักในการจดทะเบียนสายพันธุ์สุนัขพันธุ์นี้ ก่อนที่จะมีการจดทะเบียนของสมาคม The American Kennel Club (AKC) ในเวลาต่อมา ในปี 1979 สมาคม […]

อ่านต่อ

ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย สก็อตทิชเทอร์เรีย (Scottish Terrier)

สุนัขพันธุ์สก็อตทิชเทอร์เรีย จากประเทศสกอตแลนด์ เป็นสุนัขพันธุ์เล็ก มีลักษณะที่เฉพาะ คือหัวยาว ตาสีดำ หูยาว ปลายหูแหลม ขนปกคลุมมีลักษณะเรียบสลับกับขนหยาบ ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์สก็อตทิชเทอร์เรีย สุนัขพันธุ์สก็อตทิชเทอร์เรีย (Scottish Terrier) หรือมีชื่อที่รู้จักกันว่า สก็อตตี้ (Scottie) มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศสกอตแลนด์ (Scotland) เป็นสุนัขพันธุ์หนึ่งที่อยู่มาอย่างยาวนาน และเป็นต้นกำเนิดของสุนัขพันธุ์เทอร์เรียทั้งหมด ในอดีตถูกนำมาใช้เป็นสุนัขล่าสัตว์ เนื่องจากมีความสามารถในการไล่จับสัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์ขนาดเล็ก ในปี 1430 ได้มีการจัดทำนวนิยายเกี่ยวข้องกับสุนัขพันธุ์สก็อตทิชเทอร์เรีย จึงทำให้เป็นสุนัขที่รู้จักกันมากขึ้น ในช่วงศตวรรษที่ 17 (อยู่ระหว่างปี 1601 – 1700) มีพระเจ้าเจมส์ที่หนึ่ง (กษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ที่หนึ่ง) ได้ส่งสุนัขพันธุ์นี้ไปให้กษัตริย์ของประเทศฝรั่งเศส หลังจากนั้นกษัตริย์ทรงโปรดสุนัขพันธุ์นี้ จึงเป็นสาเหตุทำให้มีการเริ่มเลี้ยงกันอย่างกว้างขวางมากขึ้นจนถึงศตวรรษที่ 20 ในประเทศฝรั่งเศส จากนั้นในปี 1800 สุนัขพันธุ์เทอเรีย ถูกจำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ แดนดีดินมอนต์ (Dandie Dinmont) และ สกายเทอร์เรีย (Skye Terriers) […]

อ่านต่อ

วิธีเลี้ยงหนูฮิปโปแคระ ให้มีสุขภาพดี และมีความสุข

หนูฮิปโปแคระ หรือ หนูตะเภาไร้ขน มีลักษณะที่โดดเด่นแตกต่างตรงที่มีขนปกคลุมร่างกายน้อยมาก หรือแทบไม่มีเลย หนูฮิปโปแคระ เป็นชื่อเรียกหนูตะเภา หรือหนูแกสบี้สายพันธุ์หนึ่งที่มีขนปกคลุมน้อย หรือแทบไม่มีขนเลย โดยชื่อหนูฮิปโปแคระ อาจจะเป็นชื่อทางการค้าที่เรียกกันในกลุ่มผู้เพาะพันธุ์หนูตะเภาใปนระเทศไทย ในระดับนานาชาติ American Cavy Breeders Association องค์กรภาคเอกชนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดมาตฐานสายพันธุ์ของหนูตะเภา ได้กำหนดมาตรฐานของหนูตะเภาทั่วโลกไว้ทั้งหมด 13 สายพันธุ์ ซึ่งหนูฮิปโปแคระสายพันธุ์ Baldwin เป็นหนึ่งในสายพันธุ์มาตรฐาน แต่ในทางกลับกัน สายพันธุ์ skinny ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ของหนูตะเภาไร้ขน ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานสายพันธุ์ ลักษณะสายพันธุ์ของหนูฮิปโปแคระ ภาวะไม่มีขนของหนูฮิปโปแคระทั้งสองสายพันธุ์เกิดขึ้นเนื่องจากการควบคุมลักษณะโดยยีนด้อย ซึ่งหมายความว่า ถ้าผสมพ่อแม่พันธุ์ที่ไร้ขนเหมือนกัน ลูกที่ออกมาควรจะไม่มีขนเสมอ การเลี้ยงดูหนูฮิปโปแคระ ให้มีสุขภาพแข็งแรง การดูแลหนูฮิปโปแคระแทบไม่แตกต่างจากการเลี้ยงหนูตะเภาสายพันธุ์อื่น ๆ ที่มีขน ตั้งแต่ความต้องการพื้นฐานทางโภชนาการที่เหมาะสม ไปจนถึงการดูแลเรื่องสุขอนามัย และความสะอาด อาหารทั่วไปที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพของหนูฮิปโปแคระ ประกอบด้วย หญ้าแห้ง อาหารเม็ด ผักและผลไม้สดบางชนิด (สำหรับเป็นขนมเท่านั้น) และอาหารเสริมวิตามินซี รวมไปการเตรียมน้ำสะอาดให้เพียงพอตลอดเวลา ข้อควรระวังอย่างหนึ่งในการดูแลสัตว์เลี้ยงชนิดนี้คือ หนูฮิปโปแคระมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศมาก ดังนั้น เจ้าของควรเลี้ยงพวกเขาไว้ในบ้านที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 25 องศาเซลเซียส […]

อ่านต่อ
ต่อมเหม็นของแมว, ต่อมเหม็น, ต่อมข้างก้น

ต่อมเหม็นของแมว หรือต่อมข้างก้น คืออะไร

ต่อมเหม็นของแมว หรือต่อมข้างก้น มีบทบาทในเรื่องการสร้างกลิ่นเพื่อสร้างอาณาเขตของแมว แต่ต่อมข้างก้นก็สามารถเกิดความผิดปกติกลายเป็นโรคในแมวได้เช่นกัน วันนี้ เรามาทำความรู้จัก และเรียนรู้เกี่ยวอาการผิดปกติของ ต่อมเหม็นของแมว กันค่ะ ต่อมข้างก้น (Anal sac) หรือต่อมเหม็น คืออะไร ต่อมข้างก้นมีโครงสร้างลักษณะเป็นถุงขนาดเล็กตั้งอยู่บริเวณข้างรูก้นของแมว (anus) โดยวางอยู่ทางด้านซ้ายและด้านขวาของรูก้น ตำแหน่งประมาณ 4 นาฬิกา กับ 8 นาฬิกา หรือ 3 นาฬิกา กับ 9 นาฬิกา บริเวณผนังของต่อมนี้ จะสร้างสารคัดหลั่งที่มีลักษณะเป็นของเหลว มีกลิ่นเฉพาะตัวของแมวแต่ละตัว ซึ่งจะมีกลิ่นเหม็นคล้าย ๆ กับน้ำคาวปลา หรือกลิ่นเหมือนปลาเค็ม เมื่อสารคัดหลั่งผลิตออกมา จะถูกเก็บอยู่ในต่อมข้างก้นนี้ และถูกปล่อยออกมาทางท่อเปิดขนาดเล็กที่อยู่บริเวณด้านในของรูก้น โดยต่อมข้างก้นนี้พบได้ทั้งในแมวเพศผู้ และเพศเมีย ต่อมข้างก้นมีหน้าที่อย่างไร สารคัดหลั่งที่ถูกผลิตออกมาเป็นสารเคมีที่มีกลิ่นเฉพาะตัว มีบทบาทช่วยแสดงกลิ่นของแมวตัวนั้น ๆ และกลิ่นนี้ยังช่วยเป็นเครื่องหมายแสดงตัวตน และการวางอาณาเขตของแมวได้ด้วย หลายครั้งที่เราพบว่า แมวมีพฤติกรรมดมก้นของแมวที่เพิ่งเคยเจอกัน นั่นเป็นหนึ่งในพฤติกรรมการทักทาย และทำความรู้จักของแมว โดยการใช้กลิ่นสื่อสาร นอกจากนี้ แมวป่าที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ สารคัดหลั่งจากต่อมข้างก้นจะถูกขับออกมา […]

อ่านต่อ

อารมณ์ของแมว จากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

พวกเราส่วนใหญ่อาจมีความคิดเห็นว่า สุนัขเป็นสัตว์เลี้ยงที่อ่อนไหว และตอบสนองต่อเจ้าของได้ดีกว่าแมว ซึ่งเราสังเกตเห็นได้ผ่านทางการกระโดด การเห่า การกระดิกหาง และท่าทางตื่นเต้นเมื่อสุนัขได้พบกับเจ้าของ ในขณะเดียวกัน การอ่าน อารมณ์ของแมว หรือคาดเดาว่า แมวกำลังคิดอะไรอยู่ อาจเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก รายงานการศึกษาวิจัยหลายฉบับระบุว่า เจ้าของแมวส่วนหนึ่งเชื่อว่า แมวสามารถรับรู้ได้ถึงอารมณ์ และความรู้สึกได้เช่นเดียวกับมนุษย์ แมวเป็นสัตว์ที่มีความอยากรู้อยากเห็น และมีนิสัยซุกซนตามธรรมชาติ แต่ อารมณ์ของแมว เป็นอย่างไร และแมวมีความรู้สึกผูกพันกับเจ้าของ หรือไม่ 6 อารมณ์พื้นฐานที่พบได้ในแมวทุกตัว นักพฤติกรรมสัตว์เลี้ยง และสัตวแพทย์ พบว่า แมวมีอารมณ์พื้นฐาน 6 แบบ แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลการศึกษาวิจัยมากเท่ากับการศึกษาในสุนัข แต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า สัตว์เลี้ยงสองชนิดนี้มีอารมณ์พื้นฐานที่คล้ายกัน 6 รูปแบบ ประกอบด้วย หากเจ้าของลองสังเกตพฤติกรรมแมวอย่างตั้งใจ อาจจะเคยเห็นแมวแสดงพฤติกรรมเหล่านี้บ้างผ่านภาษากาย นักวิจัยในประเทศเนเธอร์แลนด์ได้สำรวจเจ้าของสัตว์เลี้ยง ทั้งสุนัข และเแมว รวมจำนวนทั้งหมด 1,023 คน พบว่า เจ้าของสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่ เคยสังเกตเห็นแมวแสดงออกทางอารมณ์พื้นฐานทั้ง 6 รูปแบบ แต่อารมณ์ที่ซับซ้อนกว่านั้น เช่น ความอับอาย ความผิดหวัง […]

อ่านต่อ

สุนัขตัวผู้มีฤดูผสมพันธุ์ หรือไม่ อย่างไร

เราอาจจะเคยได้ยินมาว่า สุนัขตัวเมียมีวงรอบการผสมพันธุ์ หรือติดสัด แล้วสุนัขตัวผู้ล่ะ พวกเขามีช่วงติดสัด หรือไม่ ถ้ามี ฤดูผสมพันธุ์สุนัขตัวผู้ คือช่วงไหน ใช้ระยะเวลายาวนานแค่ไหน เรามาหาคำตอบไปพร้อมกันค่ะ ฤดูผสมพันธุ์สุนัขตัวผู้ คือช่วงไหน คำตอบคือ “สุนัขตัวผู้ไม่มีช่วงเวลาติดสัด” ที่ชัดเจนเหมือนสุนัขตัวเมีย ดังนั้น วงจรการสืบพันธุ์ที่เป็นรอบอย่างชัดเจน จะเกิดขึ้นในสุนัขตัวเมีย และข้อมูลจาก American Kennel Club รายงานว่า สุนัขตัวผู้จะไม่เข้าสู่ช่วงเป็นสัด แต่สามารถผสมพันธุ์กับตัวเมียได้ตลอดทั้งปี เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ซึ่งโดยเฉลี่ยสุนัขตัวผู้จะพร้อมผสมพันธุ์เมื่ออายุประมาณ 6 เดือนขึ้นไป โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้สุนัขตัวผู้เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ไม่พร้อมกันคือ ขนาดตัว และสายพันธุ์ กล่าวคือ สุนัขพันธุ์เล็กจะเข้าสู่ช่วงเจริญพันธุ์เร็วกว่าสุนัขสายพันธุ์ใหญ่ สำหรับสุนัขคตัวเมียก็จะเข้าสู่ช่วงติดสัดครั้งแรก เมื่ออายุประมาณ 6 – 8 เดือน และกินเวลาประมาณ 3 สัปดาห์ ในช่วงเป็นสัด สุนัขตัวเมียจะดึงดูดสุนัขตัวผู้เป็นพิเศษ เนื่องจากในช่วงนี้ สุนัขตัวเมียจะมีฟีโรโมนที่ไปกระตุ้นพฤติกรรมการผสมพันธุ์ของสุนัขตจัวผู้ ร่วมกับอาการช่องคลอดบวม มีเลือดออกทางช่องคลอด และปัสสาวะบ่อยขึ้น การดูแลสุนัขตัวผู้ เมื่ออยู่ใกล้สุนัขตัวเมียที่กำลังเป็นสัด แม้ว่าสุนัขตัวผู้จะไม่เป็นสัด แต่เมื่อได้อยู่ใกล้สุนัขตัวเมียที่เป็นสัด […]

อ่านต่อ
แมวเป็นโรคซึมเศร้า, โรคซึมเศร้าในแมว, แมวซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าในแมว รู้ก่อน ป้องกันได้

แมวซึมเศร้า หรือภาวะซึมเศร้าในแมว อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม และอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตโดยรวมของแมว แมวซึมเศร้า หรือภาวะซึมเศร้าในแมวเกิดจากความผิดปกติของหลั่งสารสื่อประสาทในสมองคล้าย ๆ กับในมนุษย์ อาจมีสาเหตุโน้มนำมาจากความเครียดสะสมของแมวจนนำไปสู่การเกิดภาวะซึมเศร้าตามมา สาเหตุของการเกิดภาวะซึมเศร้าในแมวเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น สัญญาณอาการความผิดปกติของภาวะซึมเศร้าในแมวจะแสดงออกมาในรูปแบบของพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เหล่านี้ คือ 8 สัญญาณอาการเตือนของแมวที่มีภาวะซึมเศร้า 1. มีเสียงร้องที่เปลี่ยนแปลงไป ปกติแล้วแมวจะสื่อสารด้วยการร้องเสียงเหมียว แมวที่มีภาวะซึมเศร้าจะส่งเสียงร้องที่ผิดปกติไปจากเดิม เช่น การร้องน้อยลงหรือไม่ร้องเลย มีการร้องเสียงแปลก ๆ เสียงโทนต่ำ หรือสูงกว่าปกติไปจากเดิม ร่วมกับมีอาการซึมนิ่งกว่าปกติ แมวบางตัวอาจจะทำเสียง purring บ่อยกว่าปกติ หรือในทางกลับกัน แมวที่มีนิสัยไม่ค่อยส่งเสียงร้อง แต่กลับมีการร้องเสียงดังมากกว่าปกติ การส่งเสียงร้องเช่นนี้อาจเกิดขึ้น เนื่องความเจ็บปวดทางจิตใจและความวิตกกังวล 2. มีภาษากายและท่าทางแปลกไปจากเดิม มีความผิดปกติแสดงออกมาทางภาษาท่าทาง เช่น การพับหูลู่ไปข้างหลัง การเก็บหางจุกก้น การหมอบต่ำตลอด มีท่าทางที่ระแวงต่อสิ่งแวดล้อม ขนตั้งชันตลอดเมื่อรู้สึกไม่สบายใจ หรือแมวมีการเลียขน กัด หรือดึงขนมากกว่าปกติ จนเกิดขนร่วงบาง รวมถึงบางตัวอาจมีอาการเคี้ยวปากบ่อยขึ้น 3. มีความก้าวร้าวมากขึ้น หรือมีความกลัว แมวจะมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ […]

อ่านต่อ
โรงพยาบาลสัตว์อารักษ์, โรงพยาบาลสัตว์, ย่านทองหล่อ,

โรงพยาบาลสัตว์อารักษ์ สาขา Flagship ทองหล่อ

โรงพยาบาลสัตว์อารักษ์ ศูนย์บริการ Pet Care ด้านสุขภาพ และไลฟ์สไตล์ครบวงจร ตั้งเป้าขึ้นเป็นผู้นำของธุรกิจการดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยงแบบครบวงจร ทั้งในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โรงพยาบาลสัตว์อารักษ์ สาขา Flagship ทองหล่อ เป็นหนึ่งในธุรกิจของบริษัท อารักษ์ แอนิมัล เฮลท์แคร์ จำกัด ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 4,000 ตารางเมตร พร้อมแล้วที่จะให้บริการ ทั้งแบบ Medical และ Non-Medical ตอบโจทย์สุขภาพ ไลฟ์สไตล์ และเทรนด์ของ Pet Parents ซึ่งกำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดดในไทย โรงพยาบาลสัตว์อารักษ์ยังให้บริการด้านสุขภาพแก่สัตว์เลี้ยงด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ใกล้เคียงกับการรักษาคนและการบริการที่ดีที่สุด ที่ทุ่มงบลงทุนกว่า 60 ล้านบาท พร้อมตั้งพร้อมตั้งสาขาทองหล่อเป็นต้นแบบศูนย์การตรวจสุขภาพ (Hub Model) และศูนย์ส่งต่อ (Referral Center) สัตว์เลี้ยงทั่วไป นอกจากนี้ อารักษ์ แอนิมัล เฮลท์แคร์ ยังตั้งเป้าขึ้นเป็นผู้นำของธุรกิจการดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยงแบบครบวงจร ทั้งในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย สพ.ญ.ทัศวรินทร์ กาญจนฉายา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อารักษ์ […]

อ่านต่อ

โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ ครบรอบ 30 ปี พร้อมดูแลสัตว์เลี้ยงทุกตัวในทุกด้าน

โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ ครบรอบ 30 ปี ตอกย้ำผู้นำการดูแลคุณภาพชีวิตสัตว์เลี้ยง พร้อมยกระดับวิชาชีพสัตวแพทย์ วางเป้าสู่ Hub ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคต ในปัจจุบัน จำนวนผู้เลี้ยวสัตว์ยังคงเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ตลาดสัตว์เลี้ยง และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องมีแนวโน้มการขยายตัวที่มากขึ้นตามไปด้วย และจากกระแสที่เติบโตขึ้นนี้ โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ ผู้ให้บริการทั้งด้าน Pet hospital และ Pet well being พร้อมให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์ความรู้ของสัตวแพทย์ ยกระดับวงการวิชาชีพสัตวแพทย์ วางเป้าสู่การเป็น Hub ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (south east Asia) ในอนาคต สัตวแพทย์หญิง กฤติกา ชัยสุพัฒนากุล ประธานกรรมการบริหาร โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ เปิดเผยว่า ในวันนี้โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อครบรอบ 30 ปีแล้ว เรามีวิสัยทัศน์มุ่งขยายธุรกิจในเชิง portfolio management ที่มีทั้ง Pet hospital และ Pet well being ด้วยการขยายธุรกิจไปถึงกลุ่มสินค้าสัตว์เลี้ยง อาหารสัตว์ บริการเสริมสำหรับสัตว์เลี้ยง ควบคู่ไปกับการจับมือกับพันธมิตรต่าง ๆ […]

อ่านต่อ

การเตรียมความพร้อมเพื่อ เลี้ยงกระต่ายในบ้าน

กระต่ายเป็นสัตว์เลี้ยงทางเลือกที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง และปัจจุบันผู้เพาะพันธุ์กระต่ายก็ได้พัฒนาสายพันธุ์กระต่ายให้หลากหลายมากขึ้น ความน่ารักของสัตว์เลี้ยงหูยาวชนิดนี้ จึงทำให้หลาย ๆ ท่านอยาก เลี้ยงกระต่ายในบ้าน วันนี้ บ้านและสวน Pets ขอแนะนำขั้นตอนการเตรียมตัวเพื่อ เลี้ยงกระต่ายในบ้าน ค่ะ เลี้ยงกระต่ายในบ้านต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง 1. เลือกพื้นที่ที่เหมาะสม พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับกระต่าย ควรเป็นพื้นที่ที่เงียบสงบภายในบ้าน และมีสภาพแวดล้อมโดยรอบที่ดูสงบ ไม่มีคนเดินผ่านพลุกพล่าน และไม่มีเสียงดังรบกวนจากถนน หรือสัตว์เลี้ยงนอกบ้าน และเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยจากสัตว์ผู้ล่า เช่น สุนัข แมว และตัวเงินตัวทอง การเลี้ยงกระต่ายในบ้าน ต้องคำนึงถึงอุณหภูมิที่เหมาะสมด้วยค่ะ โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับกระต่ายอยู่ระหว่าง 18 ถึง 25 องศาเซลเซียส หรือไม่เกิน 29 องศาเซลเซียส กระต่ายเป็นสัตว์ไวต่อความร้อนค่ะ ถ้ามีความร้อนสะสมบริเวณรอบ ๆ กรงเป็นเวลานาน อาจะทำใหกระต่ายเกิดภาวะช็อกได้ค่ะ เนื่องจากเมืองไทยเป็นประเทศที่มีอุณหภูมิค่อนข้างสูงตลอดปี การเลี้ยงกระต่ายในบ้านจึงต้องวางกรงกระต่ายให้ห่างจากแสงแดด หรือหลีกเลี่ยงแสงแดดส่องกระทบที่กรงโดยตรง และกรงควรอยู่ในพื้นที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อช่วยเรื่องการระบายความร้อนค่ะ อย่างไรก็ตาม พื้นที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่ได้หมายความว่าเป็นที่ที่เป็นทางผ่านของลมโดยตรงนะคะ เนื่องจาก ถ้าน้องกระต่ายอยู่ในจุดที่ลมพัดผ่านเป็นประจำ อาจทำให้กระต่ายเกิดปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจได้ค่ะ 2. เลือกกรงให้เหมาะสม […]

อ่านต่อ
สุนัขพันธุ์เบอร์นี เมาน์เทนด็อก

สุนัขพันธุ์เบอร์นีส เมาน์เทนด็อก: ลักษณะประจำสายพันธุ์ นิสัย และการดูแล

สุนัขพันธุ์เบอร์นีส เมาน์เทนด็อก จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีความฉลาด สง่างาม และมีความเป็นสุนัขกีฬาของสุนัขกลุ่มภูเขา ประวัติ สุนัขพันธุ์เบอร์นีส เมาน์เทนด็อก เบอร์นีส เมาน์เทนด็อก (Bernese Mountain Dog) มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จัดเป็นสุนัขหนึ่งในสี่ของสุนัขภูเขาสวิต (Swiss Sennenhund) ซึ่งถูกพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นโดยมีชาวโรมันนำสุนัขกลุ่มโมลอสเซอร์ (Molosser) ผสมกับสุนัขที่นำมาใช้ในสงครามบนเทือกเขาแอลป์สวิต (Swiss Alps) หลังจากนั้นนำลูกที่ได้ไปผสมกับสุนัขพันธุ์พื้นเมือง (swiss landrace dog) ทำให้ได้สุนัขพันธุ์ภูเขาสวิตที่เป็นบรรพบุรุษของสายพันธุ์เบอร์นีส เมาท์เทนด็อก หลังจากนั้นได้มีการนำสุนัขพันธุ์นี้มาใช้งานหลากหลายรูปแบบ เช่น การนำไปต้อนวัว การเป็นผู้นำฝูง และการดูแลพื้นที่ภายในฟาร์ม เป็นต้น ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 ได้มีการจัดแสดงโชว์ Swiss Dog Club เพื่อให้เห็นถึงนิสัย ความฉลาด ความสง่างาม และความเป็นสุนัขกีฬาของสุนัขกลุ่มภูเขา หลังจากนั้นได้มีการนำสุนัขไปแสดงโชว์ที่กรุงเบิร์นในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และทำให้เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับมากขึ้นในกลุ่มคนเลี้ยงสุนัข ในขณะเดียวกันสภา Southland District Council (SDC) ได้ตั้งชื่อให้สุนัขอย่างเป็นทางการคือ “สุนัขพันธุ์เบอร์นีส เมาท์เทนด็อก” […]

อ่านต่อ

เลี้ยงแมวตัวเดียว หรือควรหาเพื่อนให้น้องอีกสักตัว

หลาย ๆ ท่านที่เป็นทาสแมว ที่กำลัง เลี้ยงแมวตัวเดียว อยู่ในตอนนี้ ก็อาจจะมีความสงสัยว่า น้องแมวที่เราเลี้ยงอยู่จะเหงา หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเราออกไปทำงานนอกบ้านระหว่างวัน แล้วจำเป็นต้องทิ้งน้องไว้ที่บ้านตัวเดียว ก็ยิ่งเป็นแรงกระตุ้นให้เราถามตัวเองอยู่ซ้ำ ๆ ว่า เราควรหาแมวอีกสักตัวมาอยู่เป็นเพื่อนน้อง ดีไหมนะ ก่อนที่จะเราจะตัดสินว่า เราจะ เลี้ยงแมวตัวเดียว หรือเพิ่มสมาชิกแมวเข้ามาในบ้าน เราลองเรียนรู้รายละเอียดเกี่ยวกับธรรมชาติความต้องการด้านสังคมของแมว กันดูก่อนครับ ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า แมวบ้านที่เราเลี้ยงกันอยู่ทุกวันนี้ มีลักษณะนิสัย และพฤติกรรม ที่คล้ายคลึงกับบรรพบุรุษที่เป็นแมวป่า เนื่องจากระยะเวลาที่มนุษย์นำแมวเข้ามาเป็นสัตว์เลี้ยง ไม่ได้ยาวนานมาก เมื่อเทียบกับสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น อย่างสุนัข นอกจากนี้ ในการเพาะพันธุ์แมวออกมาเป็นสายพันธุ์ต่าง ๆ ผู้เพาะพันธุ์แมวส่วนใหญ่คัดเลือกลักษณะของสายพันธุ์ โดยเน้นที่รูปร่างและหน้าตาของแมวเป็นหลัก โดยที่ไม่ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการแสดงออกทางพฤติกรรมของแมว แมวแต่ละสายพันธุ์ที่มีปรากฏอยู่ทุกวันนี้นั้น จึงมีลักษณะของพฤติกรรมโดยทั่วไปที่คล้ายคลึงกับแมวป่าในธรรมชาติค่อนข้างสูง ดังนั้น ในการทำความเข้าใจกับพฤติกรรมของแมวบ้านที่เราเลี้ยงกันอยู่ทุวันนี้ จึงสามารถศึกษาความต้องการตามธรรมชาติของแมวป่า แล้วนำมาประยุกต์ใช้กับแมวบ้านได้เลย สังคมแบบแมวแมว ที่ผ่านมา การศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างทางสังคมของแมว พบว่า แมวเป็นสัตว์ที่มีโครงสร้างทางสังคมที่แบบ “ยืดหยุ่น” สูง หมายความว่า โดยส่วนใหญ่ตามธรรมชาติ แมวเป็นสัตว์ที่อยู่เพียงลำพัง ใช้ชีวิตเพียงตัวเดียว […]

อ่านต่อ