
Cat Zone
- Home
- Cat Zone
แมวไทย โบราณ 5 สายพันธุ์ ที่ยังคงอยู่
แมวไทย โบราณเป็นที่รักทั้งในและต่างประเทศ ด้วยลักษณะและมีนิสัยที่เป็นเอกลักษณ์ แต่ในปัจจุบันมีเพียง ๕ สายพันธุ์จากแมวให้คุณทั้งสิ้น ๑๗ สายพันธุ์ เท่านั้น
อ่านต่อที่สุดของอาหารและขนมแมวเกรดพรีเมียมเพื่อน้องเหมียวที่รัก
ปัจจุบันเทรนด์คนเลี้ยงแมวสูงขึ้นมากกว่าเมื่อก่อนมากซึ่งคนเลี้ยงต่างรักและดูแลน้องเหมียวเหมือนลูก หรือคนในครอบครัว ดังนั้นการเลือกโภชนาการอาหาร รวมถึงขนมต่างๆสำหรับคนรักแมวจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เหล่าทาสต่างมีความใส่ใจในคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ ส่วนผสมต่างๆ เพื่อสุขภาพเจ้าเหมียวที่แข็งแรงอยู่กับเราไปนานๆ และยังต้องอร่อยถูกใจลูกรักอีกด้วย บ้านและสวน Pets มีอาหารและขนมแมวเกรดพรีเมียม “Atlas Cat” ที่รับรองว่าจะอร่อยถูกใจ มีประโยชน์ตามหลักโภชนาการ คุณภาพสูงและเป็น Human Grade พอดีและลงตัว ทำให้เจ้าเหมียวมีสุขภาพที่ดี เพื่อกลุ่มคนรักเหมียวอย่างแท้จริง “เริ่มด้วยสิ่งที่ดีที่สุด… เริ่มด้วย Atlas Cat” อาหารแมว Atlas Cat กับ 5 สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเจ้าเหมียว 📍 อุดมด้วยวิตามินและโอเมก้า 3 📍 ไม่เติมแต่งสี ไม่ใส่สารกันบูด และสารปรุงแต่ง 📍 ไม่เติมเกลือ โซเดียมต่ำ 📍 ผ่านกระบวนการผลิตด้วยความใส่ใจ ตามมาตรฐานสากล 📍 มีประสบการณ์การผลิตอาหารแมวมากว่า 35 ปี ซึ่ง Atlas Cat มีให้เลือกทั้งอาหารเปียก แบบซอง และแบบกระป๋อง รวมถึงขนมแมวเลีย […]
อ่านต่อโรคไตวายในแมว กับ 6 คำถามยอดฮิต
โรคไตวายในแมว หลายคนคงเคยได้ยิน และอาจมีความกังวลว่าจะเกิดขึ้นกับเจ้าเหมียวสุดรักของตนหรือไม่ จะต้องระวัง หรือ มีวิธีป้องกันอย่างไร วันนี้ บ้านและสวน Pets มี 6 คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับโรคไตวายในเจ้าเหมียวมาฝากกัน คำถามที่ 1 : โรคไตวายในแมวส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุใด และ สถิติการเกิดโรค โรคไตวายในแมว หมายถึง ความผิดปกติของการทำหน้าที่ของไต ซึ่งโรคไตวายในแมว สามารถแบ่งได้ตามระยะการเกิดโรคเป็น 2 ประเภท คือ ไตวายเฉียบพลัน ซึ่งเกิดจากการทำหน้าที่ของไตลดลงอย่างทันทีทันใด เกิดได้หลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อในร่างกาย การได้รับสารพิษ การอุดตันในระบบทางเดินปัสสาวะ การขาดเลือดไปเลี้ยงไตอย่างเฉียบพลัน เป็นต้น ส่วนไตวายเรื้อรัง คือพบการทำหน้าที่ของไตลดลงทีละน้อย เป็นระยะเวลานาน สาเหตุเกิดได้จาก โรคทางกรรมพันธุ์ , ความเสื่อมของไตตามอายุ , การได้รับโภชนาการที่ไม่เหมาะสม , ความดันโลหิตสูง เป็นต้น โรคไตวายเป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในแมวสูงอายุ ที่อายุมากกว่า 10 ปี อุบัติการณ์ของโรคสูงถึง 7.5% จากในบางรายงานภาวะไตวายในสัตว์เลี้ยง (Kidney […]
อ่านต่อสิวใต้คางแมว และโคนหางเหนียว เกิดจากอะไร (Feline chin acne and stud tail)
สิวใต้คางแมว และ โคนหางเหนียว ๆ เป็นปัญหาผิวหนังที่พบได้บ่อยในน้องแมว ซึ่งเกิดจากการทำงานมากไปของต่อมไขมัน ทำให้ที่บริเวณนั้นมีคราบมันเยิ้ม หรือมีเศษสีดำเยิ้มออกมา สิวใต้คางแมว จะทำให้บริเวณคางของแมวมีคราบมันเยิ้ม หรืออาจจะเป็นเศษสีดำเยิ้ม ๆ ซึ่งจะมักจะถูกเรียกว่าสิวใต้คาง (Chin acne) ส่วนบริเวณโคนหางนั้น ก็เกิดจากการทำงานมากไปของต่อมไขมันบริเวณหางเช่นกัน จึงเกิดเป็นคราบเยิ้ม ๆ สีน้ำตาล ไปจนถึงสีดำ มีชื่อเรียกว่า Stud tail (หางสตั๊ด หรือ หางเหนียว) ในแมวเพศผู้ที่ยังไม่ได้ทำหมัน จะพบปัญหานี้ค่อนข้างมาก เนื่องจากการผลิตสารของต่อมไขมัน มีความสัมพันธ์กับอิทธิพลของฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรนในแมวเพศผู้ แต่ในส่วนของแมวเพศผู้ที่ทำหมันแล้ว และแมวเพศเมียก็สามารถพบ Stud tail ได้เช่นกัน ข้อดีและข้อเสียของ การทำหมันสุนัขและแมว มาทำความรู้จักกับต่อมไขมันในผิวหนังของแมว (Sebaceous glands) ในชั้นผิวหนังของแมว จะมีต่อมอยู่ 2 ชนิด คือ ต่อมไขมัน และ ต่อมเหงื่อ ต่อมไขมันมีความเกี่ยวข้องกับบริเวณรูขุมขน จะผลิตสารคัดหลั่งที่สำคัญ คือ ซีบัม (Sebum) ซึ่งช่วยกันน้ำให้กับเส้นขน และ […]
อ่านต่อก้อนขน (Hairball) เกิดจากอะไร ปัญหาที่ทาสแมวต้องรู้
พฤติกรรมการเลียขนของแมวทำให้แมวกลืนกินขนเข้าไปในทางเดินอาหาร และเกิดการสะสมของขนในกระเพาะ และลำไส้ เนื่องจากขนไม่สามารถย่อยได้ ในแมวจึงจะพบการอาเจียน หรือ ขย้อน ก้อนขน ออกมา และขนยังสามารถถูกขับออกมากับอุจจาระได้อีกด้วย แมวเป็นสัตว์ที่มีพฤติกรรมการเลียขนเพื่อการแต่งตัว ทำความสะอาดขนของตัวเอง รวมถึงกำจัดขนที่หลุดอยู่บนตัวออก และหากบ้านไหนเลี้ยงน้องแมวมากกว่า 1 ตัว นอกจากจะเลียแต่งตัวเองแล้ว ยังมีการเลียขนให้แมวตัวอื่น ๆ ในบ้านด้วย ซึ่งเป็นพฤติกรรมการสื่อสารแสดงความรัก และความผูกพันระหว่างแมวด้วยกัน ซึ่งการอาเจียนหรือขย้อนเป็นการขับ ก้อนขน ที่สามารถพบได้เป็นครั้งคราวได้ แต่ถ้าหากอาเจียนเป็นก้อนขน บ่อยขึ้น เช่น ทุกวัน หรือวันละหลายครั้ง หรือทำท่าพยายามจะขย้อนแต่ไม่มีอะไรออกมา ร่วมกับแมวมีอาการซึม เบื่ออาหาร อาจเป็นสัญญาณที่บ่งความผิดปกติ และถ้าก้อนขนนั้นไม่สามารถถูกกำจัดโดยการอาเจียน หรือออกมากับอุจจาระ มันจะสามารถทำให้เกิดการอุดตันทั้งแบบสมบูรณ์ และไม่สมบูรณ์ในลำไส้ได้ สามารถติดอยู่ในหลอดอาหาร หรืออาจจะเข้าสู่บริเวณคอหอยร่วมจมูกได้ด้วย ในแมวบางรายอาจจะมีสาเหตุอื่นร่วมที่ทำให้เกิดการเลียขนที่มากเกินกว่าปกติ เช่น มีปัญหาโรคผิวหนัง มีความเครียดวิตกกังวล มีปัญหาเกี่ยวกับสภาวะทางจิตใจทำให้เกิดการเลียขนมากกว่าปกติ มีปัญหาการเลียขนที่มากเกินไปจากภาวะความเจ็บปวด เป็นต้น หรือในแมวบางตัวการเลียขนอยู่ในระดับปกติแต่มีความผิดปกติของการบีบตัวการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร โรคอักเสบเรื้อรังของกระเพาะและลำไส้ เช่น Inflammatory bowel disease อาจจะมีผลต่อการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารที่ผิดปกติ และเกิดการสะสมของขนในระบบทางเดินอาหารได้ […]
อ่านต่อ“เตรียมพร้อมรับมือปัญหาที่พบบ่อยในลูกแมว”
การเลี้ยงลูกแมวตั้งแต่วัยเบบี๋เป็นช่วงเวลาสำคัญที่เจ้าของต้องดูแลลูกแมวเป็นพิเศษ นอกจากการดูแลด้านพัฒนาการให้เจริญเติบโตสมวัยแล้ว ยังต้องเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะในช่วงปีแรกลูกแมวมีโอกาสที่จะเกิดภาวะผิดปกติต่างๆ อาการเจ็บป่วย หรือได้รับบาดเจ็บได้มากกว่าแมวโต เจ้าของควรเตรียมพร้อมไว้ เมื่อลูกแมวเกิดปัญหาเหล่านี้จะได้พร้อมรับมือและแก้ไขได้ทันที 1. ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ โดยปกติแล้วลูกแมวแรกเกิดอุณหภูมิร่างกายจะอยู่ที่ประมาณ 33-36 องศาเซลเซียส และเมื่ออายุประมาณ 1 เดือนอุณหภูมิร่างกายจะอยู่ที่ 33.5-37.5 องศาเซลเซียส ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติจะเกิดขึ้นกับลูกแมวช่วงหลังคลอด เพราะร่างกายจะยังปรับอุณหภูมิเองไม่ได้ ซึ่งอาจจะพบได้ในลูกแมวแรกเกิดที่มีขนาดตัวที่เล็กมากและไวต่อสภาพอากาศแม้จะอยู่ในอุณหภูมิปกติ เมื่อร่างกายไม่สามารถควบคุมให้อุณหภูมิอยู่ในเกณฑ์ปกติ อุณหภูมิร่างกายจะเริ่มลดลง ซึ่งความรุนแรงของอาการจะแบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้ ระดับอ่อน อุณหภูมิร่างกายจะอยู่ที่ประมาณ 32 – 35 องศาเซลเซียส อาการ ที่พบคือร่างกายจะอ่อนแรง หนาวสั่น และไม่ค่อยเคลื่อนไหวขยับตัว เซื่องซึม ระดับปานกลาง อุณหภูมิร่างกายจะอยู่ที่ประมาณ 28 – 32 องศาเซลเซียส อาการที่พบคือจะมีอาการกล้ามเนื้อชักกระตุก หัวใจเริ่มเต้นผิดจังหวะ หายใจลึกและช้า ความดันเลือดต่ำ ระดับรุนแรง จะมีอุณหภูมิต่ำกว่า 28 องศาเซลเซียส อาการที่พบคือลูกแมวอ่อนแรง […]
อ่านต่อวิธีดูแลให้แมวอยู่กับเราไปได้ยาวนาน
อายุขัยโดยเฉลี่ยของแมวจะอยู่ระหว่าง 12-17 ปี หรือบางตัวอาจจะอายุยืนยาวกว่านั้น ซึ่งเจ้าของทุกคนก็คงหวังให้แมวอยู่กับเราไปได้ยาวนานที่สุด คงไม่มีใครอยากให้แมวของเราเจ็บป่วย หรือจากไปก่อนวัยอันควร หัวใจสำคัญในการเลี้ยงแมวให้มีอายุยืนยาวคือแมวต้องมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย มาเรียนรู้วิธีง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ทำได้ ที่มีส่วนช่วยให้แมวมีอายุยืนยาวกัน 1. มีพื้นที่เหมาะกับการเลี้ยงแมวในบ้านแมวที่เลี้ยงในบ้านมีแนวโน้วอายุยืนยาวมากกว่า แมวที่เลี้ยงแบบปล่อยออกนอกบ้าน แต่ก่อนเริ่มเลี้ยงแมวในบ้าน เจ้าของควรเตรียมพื้นที่ให้เหมาะสมกับน้องแมว มีบริเวณที่กินอาหาร บริเวณใช้ขับถ่ายวางกระบะทราย และบริเวณพักผ่อน ในแต่ละบริเวณควรอยู่ห่างกัน สะอาดไม่อับชื้น และอากาศถ่ายเทสะดวก เพราะแมวเป็นสัตว์ที่รักความสะอาด หากวางถ้วยอาหารถ้วยน้ำ ติดกับกระบะสำหรับขับถ่าย อาจทำให้แมวกินอาหารหรือน้ำน้อยลง นอกจากนั้นแมวยังชอบและสนใจสิ่งที่เคลื่อนไหวไปมาได้ ดังนั้นควรมีบริเวณให้แมวสามารถมองเห็นภายนอกได้ ในขณะเดียวกันจะต้องมีมุมสงบ เป็นพื้นที่ปลอดภัยไว้ให้แมวได้ใช้พักผ่อนนอนหลับ 2. มีของใช้จำเป็นและของเล่นสำหรับเลี้ยงแมวอุปกรณ์ทั่วไป เช่น ที่ใส่อาหาร ใส่น้ำ กระบะทราย ทรายแมว ที่ตักทราย ถุงขยะสำหรับใส่มูลสัตว์แยกทิ้ง ที่นอน ปลอกคอควรมีป้ายชื่อเบอร์ติดต่อเจ้าของในกรณีที่แมวหลุดออกนอกบ้านหากมีคนเจอจะได้ติดต่อกลับหาเจ้าของได้ และควรเป็นปลอกคอแบบนิรภัย เพราะถ้าแมวกระโดดเกี่ยวกับอะไรปลอกคอนิรภัยจะหลุดออกไม่ดึงรั้งคอแมวให้ห้อยติด กระเป๋าหรือตะกร้า เพื่อใช้ใส่แมวเวลาพาออกนอกบ้าน หรือพาไปโรงพยาบาลสัตว์ ควรเป็นกระเป๋าหรือตะกร้าที่มีฝาปิดแน่นไม่หลุดออกง่าย เพราะเวลาแมวตกใจจะดีดตัวออกแรง อุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น แชมพูอาบน้ำ ที่เช็ดหู เช็ดตา […]
อ่านต่อโรคเชื้อราสปอโรทริโคซิส ในแมว(Sporothricosis)
ในช่วงนี้เราอาจจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับโรคเชื้อราผิวหนังชนิดหนึ่งในแมว ที่สามารถติดต่อสู่คนได้ นั่นก็คือ โรคเชื้อราสปอโรทริโคซิส เกิดจากเชื้อราที่ชื่อว่า Sporothrix schenkii Sporothrix schenkii เป็นเชื้อราที่พบอาศัยในตามธรรมชาติ เช่น ดิน พืช เปลือกไม้ ซึ่งพบการกระจายอยู่ในทั่วโลก เชื้อราชนิดนี้หากติดเชื้อเข้าสู่ผิวหนังของแมวจะติดสู่ผิวหนังชั้นลึก ลักษณะรอยโรคของ โรคเชื้อราสปอโรทริโคซิส มีก้อนตามผิวหนัง และปะทุแตกออกเป็นแผลหลุม ความสำคัญในด้านระบาดวิทยา เชื้อรากลุ่มนี้เป็นเชื้อราที่สามารถติดต่อจากแมวสู่แมว และติดต่อจากแมวสู่คนได้ ซึ่งมีรายงานการพบการระบาดในต่างประเทศมาก่อน เช่น มาเลเซียมีรายงานพบการระบาดจากแมวสู่คน สำหรับข้อมูลการระบาดของเชื้อรานี้ในสัตว์ในประเทศไทยยังมีข้อมูลรายงานไม่มาก โดยในปี พศ.2561 มีงานวิจัยรายงานการพบโรคเชื้อราสปอโรทริโคซิสในแมวที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย แมวติดเชื้อราสปอโรทริโคซิสจากที่ไหนและอาการที่พบจะเป็นอย่างไร? การติดเชื้อเกิดจากแมวได้รับเชื้อรา Sporothrix ผ่านทางผิวหนังที่มีบาดแผล จากในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติที่มีเชื้อรานี้อาศัยอยู่ เช่น ในดิน หรือ หนามไม้ ทิ่มแทงที่ผิวหนังจนเกิดบาดแผล การติดเชื้อราเข้าสู่ชั้นผิวหนังก่อให้เกิดลักษณะรอยโรคเป็นตุ่ม หรือ ก้อนกระจายตามผิวหนัง สามารถพบได้ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า หัว และขาของแมว มักจะเป็นตำแหน่งที่พบบ่อยสุด รอยโรคที่เป็นก้อนจะพบการอักเสบและเกิดการประทุแตกออกเป็นแผลหลุมและอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยได้ เชื้อราชนิดนี้สามารถพบการติดเชื้อไปยังระบบอื่น ๆ ในร่างกาย เช่น ต่อมน้ำเหลือง ระบบทางเดินหายใจ […]
อ่านต่อโรคไฮเปอร์ไทรอยด์ หรือ โรคไทรอยด์ฮอร์โมนสูงในแมว (Feline Hyperthyroidism)
โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ ในแมว (Feline Hyperthyroidism) เป็นความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อในแมว โดยต่อมไทรอยด์จะหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากกว่าปกติ โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ เกิดมาจาก ต่อมไทรอยด์ที่เป็นอวัยวะที่อยู่บริเวณลำคอ มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ที่มีบทบาทสำคัญ ต่อการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย รวมไปถึงมีหน้าที่ในการควบคุมพลังงาน และ มีผลต่อการทำงานในอวัยวะต่าง ๆ ที่สำคัญในร่างกายของแมว เช่น หัวใจ สมอง ระบบทางเดินอาหาร ระบบกล้ามเนื้อ เป็นต้น โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ มักพบในแมววัยกลางจนถึงแมวสูงอายุ ช่วงอายุที่มีรายงานในการตรวจพบคือ ตั้งแต่ 4 -22 ปี แต่โดยส่วนมากค่าเฉลี่ยมักจะพบที่อายุมากกว่า 10 ปี โดยโรคนี้สามารถเกิดได้กับแมวทุกเพศ และ ทุกสายพันธุ์ อาการของโรคไฮเปอร์ไทรอยด์ อาการที่เราสามารถสังเกตได้จากภายนอก เช่น น้ำหนักลดลง ถึงแม้จะมีความอยากอาหารอยู่ หรือ สามารถยังกินอาหารได้ปกติ มีการกินจุมากขึ้น ปัสสาวะบ่อย กินน้ำบ่อย ขนหยาบกร้าน มีการเคลื่อนไหวมาก (Hyperactivity) อาเจียน ถ่ายเหลว เป็นต้น ส่วนอาการอื่น ๆ ที่พบตามมาได้ เช่น เบื่ออาหาร […]
อ่านต่อนิสัยความเป็นนักล่า ที่คนรักแมวต้องรู้ไว้!
“แมว” ถือเป็นสัตว์เลี้ยงที่อยู่คู่กับมนุษย์มายาวนานนับพันปี ด้วยลักษณะนิสัยที่ความหลายหลายไม่เหมือนสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ บางคนเลยคิดว่าแมวเป็นสัตว์ที่เข้าใจยาก แต่ความจริงแล้วธรรมชาติของแมวไม่ใช่สัตว์เลี้ยงที่มีนิสัยแสนเชื่อง นิสัยแมว ในบรรดาสัตว์เลี้ยงทั้งหลายที่มนุษย์นำมาเลี้ยง แมวเป็นสัตว์เลี้ยงที่ยังคงมีสัญชาตญาณของนักล่าอยู่มาก เพราะบรรพบุรุษของแมวมาจากสัตว์ป่าที่เป็นนักล่าเช่นเดียวกันกับสิงโตและเสือ ซึ่งอยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร แม้ปัจจุบันแมวจะพัฒนาจากสัตว์ป่ามาเป็นแมวบ้าน มีเจ้าของเลี้ยงดูแต่สัญชาตญาณของความเป็นนักล่าก็ยังหลงเหลืออยู่ให้เราได้เห็น แมวแต่ละตัวก็จะมีความเป็นนักล่ามากน้อยแตกต่างจะมีอะไรบ้างนั้นวันนี้เรามาทำความเข้าใจกันค่ะ นิสัยแมว ชอบปีนป่ายกระโดดขึ้นที่สูง การขึ้นที่สูงเป็นหนึ่งในนิสัยนักล่าเวลาที่แมวจะจับเหยื่อจะขึ้นที่สูงเพื่อคอยเฝ้าดูไม่ให้เหยื่อรู้ตัวหรือเวลาที่หนีจากสัตว์อื่นแมวจะกระโดดขึ้นที่สูงเพื่อความปลอดภัย ด้วยโครงสร้างทางร่างกายของแมวที่มีความคล่องตัวสูง มีกระดูกที่เบา กล้ามเนื้อขาที่แข็งแรงและยืดหยุ่นได้มากกว่าสัตว์อื่น ๆ แมวสามารถกระโดดสปริงตัวขึ้นที่สูงมาก ๆ ได้ และถ้าตกจากที่สูงกระดูกชิ้นเล็ก ๆ อยู่บริเวณหูชั้นใน ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัวของร่างกาย จะควบคุมให้ร่างกายค่อย ๆ พลิกตัวทีละส่วน โดยเริ่มบิดตัวจากส่วนหัวไปหาง เพื่อให้สมองคำนวณหาพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการทิ้งตัวหมุนกลับเพื่อเอาเท้าลงพื้นได้อย่างปลอดภัย สัญชาตญาณแมว แมวไม่ชอบเสียงดังหรือที่จอแจวุ่นวาย เพราะแมวเป็นสัตว์ที่หูไวมากสามารถได้ยินเสียงที่มีคลื่นความถี่เสียงสูงมากและได้ยินเสียงในระยะไกลได้ดี แมวหูดีกว่ามนุษย์สามารถได้ยินเสียงดังมากกว่ามนุษย์ถึง 10 เท่า รูปทรงหูของแมวจะมีลักษณะคล้ายจานดาวเทียมภายในมีความโค้งและหยักไว้สำหรับรับสัญญาณเสียงต่าง ๆ และที่สำคัญแมวใช้ประสาทสัมผัสการฟังในการล่าเหยื่อ หูของแมวสามารถหมุนได้รอบทิศทางเพื่อคอยดักฟังเสียงทำให้ได้ยินเสียงร้องจากเหยื่ออย่างนก หนู จิ้งจก กระรอกหรือกระต่าย แม้ว่าเหยื่อจะหลบซ่อนอยู่ก็ตาม และความหูดีของแมวก็ทำให้แมวบางตัวขี้กลัวหรือหวาดระแวงเวลาได้ยินเสียงดัง ๆ ดังนั้นเจ้าของควรมีพื้นที่สงบที่เงียบ ๆ ให้แมวได้พักผ่อน และหลีกเลี่ยงการพาแมวออกไปที่มีความวุ่นวายเสียงดังเพราะอาจจะทำให้แมวตื่นตระหนกและเกิดความเครียดได้ กลางคืนไม่นอนปลุกเจ้าของตอนดึกชวนวิ่งเล่น ในอดีตแมวล่าเหยื่อตอนกลางคืนเพราะแมวมองเห็นได้ในที่มืดรูม่านตาของแมวสามารถขยายได้กว้างเลยทำให้มีความไวต่อสัตว์หรือสิ่งของที่เคลื่อนไหวผ่านหน้าในสภาวะที่มีแสงน้อยหรือตอนกลางคืน […]
อ่านต่อโรคขี้แมว หรือ โรคท็อกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis)
โรคขี้แมว (Toxoplasmosis) เป็นโรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน(Zoonosis) ที่สำคัญ เกิดจากติดเชื้อโปรโตซัวที่ชื่อว่า Toxoplasma gondii เชื้อมีวงจรชีวิตที่สามารถเจริญเติบโตได้ในสัตว์เลือดอุ่นทุกชนิด แต่แมวนั้นจัดเป็นโฮสต์แท้ เชื้อจะอาศัยทางเดินอาหารของแมวในการเจริญเติบโตจนสมบูรณ์และปล่อยไข่ (Oocyst) ปนออกมากับอุจจาระของแมว แมวที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการพบเชื้อ โรคขี้แมว นี้ คือ แมวเลี้ยงระบบเปิด มีพฤติกรรมล่ากินเหยื่อ เช่น หนู นก หรือแมว กินเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก แต่ถ้าหากเป็นแมวที่เลี้ยงระบบปิด และไม่กินเนื้อดิบ หรือกินหนู นกต่างๆ โอกาสพบเชื้อจะค่อนข้างน้อยมาก หรือไม่มีเลย การติดต่อสู่คนของเชื้อนี้มีได้ 3 ทาง1.การรับประทานอาหาร หรือ ดื่มน้ำที่มีไข่ ที่เจริญเต็มที่แล้วปนเปื้อนอยู่2.การรับประทานถุงซีสต์ของพยาธิ ที่อยู่ในเนื้อสัตว์ดิบ ปรุงไม่สุก ที่มีเชื้อโรคขี้แมวนี้อยู่3.ผ่านทางรกไปยังทารก หากแม่ติดเชื้อขณะตั้งครรภ์ โดยที่จริงแล้ว รายงานคนที่เลี้ยงแมวติด โรคขี้แมว นี้จากแมวโดยตรงนั้นอุบัติการณ์น้อย การติดต่อทางหลักของโรคนี้ในแมวมักเกิดจากการที่กินเนื้อสัตว์เช่นเนื้อหมู เนื้อวัว ที่มีเชื้อปนเปื้อนและปรุงไม่สุก หรือปรุงสุกๆดิบๆ เป็นต้น ข้อควรเข้าใจคือโรคนี้ไม่ได้เกิดกับคนที่ตั้งครรภ์ทุกคน สำหรับคนตั้งครรภ์ ถ้าหากติดเชื้อ โรคขี้แมว เชื้อโรคจะผ่านรกไปยังทารก และทำให้เกิดโรคขี้แมวแต่กำเนิดได้ […]
อ่านต่อโรคหวัดแมว หรือ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนต้นในแมว (Cat flu)
โรคหวัดแมว เมื่อได้ยินแล้วหลายคนอาจคิดว่า เป็นโรคธรรมดาที่ไม่น่ากลัว คล้ายกับคนที่เป็นหวัด ไม่นานก็หาย แต่!! จริงๆแล้ว โรคหวัดแมวนั้นมีความอันตรายต่อชีวิตของน้องแมวมากกว่าที่ทุกคนคิด โรคหวัดแมว เป็นโรคที่พบได้บ่อยในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นไวรัสจำเพาะในแมว ได้แก่ Feline Herpesvirus (FHV) , Feline Calicivirus (FCV) นอกจากนั้นยังมีเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย เช่น Bordetella bronchiseptica , Chlamydia spp. , Mycoplasma spp. เป็นต้น การติดต่อ เกิดจากแมวที่ติดเชื้อ จะแพร่เชื้อผ่านทางสิ่งคัดหลั่งจากตา จมูก และปาก การแพร่กระจายของเชื้อเกิดได้จากการสัมผัสสิ่งคัดหลั่งของแมวที่ป่วยโดยตรง ซึ่งมักจะเป็นทางหลักในการติดต่อของโรค ส่วนการหายใจเอาเชื้อไวรัสจากสิ่งคัดหลั่ง หรือละอองหายใจเข้าไป ก็สามารถพบได้ โรคหวัดแมวพบได้บ่อยในบริเวณที่มีการเลี้ยงแมวจำนวนมาก หรืออยู่กันอย่างหนาแน่น ในกรณีที่แมวป่วย และหายจากโรคแล้วนั้น ยังสามารถเป็นพาหะนำโรคได้ต่อไป อาการของโรคหวัดแมว ระยะฟักตัวของโรคหวัดแมว จะประมาณ 2 – 10 วัน แต่อาจจะนานได้ถึง 14 […]
อ่านต่อ