บ้านและสวน PETS

ทำไม แมวฉี่ไม่ออก : ปัญหาเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะในแมว

ทำไม แมวฉี่ไม่ออก หนึ่งในปัญหาความกังวลใจ ที่คุณพ่อคุณแม่แมวไม่อยากพบเจอ เมื่อ แมวฉี่ไม่ออก สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากปัญหาในระบบทางเดินปัสสาวะ โดยแมวมักจะแสดงออกถึงสัญญาณบางอย่างที่บอกให้เรารู้ว่า พวกเขากำลังต้องการความช่วยเหลือจากเรา ต้นตอของปัญหาในระบบทางเดินปัสสาวะในแมว เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น โดยสาเหตุเหล่านี้ทำให้แมวแสดงการขับปัสสาวะผิดปกติ จากเดิมที่เคยเข้าออกกระบะทรายเป็นประจำ หรือฉี่เสร็จแล้วกลบทราย แมวอาจจะเริ่มขับปัสสาวะไม่เป็นที่ ใช้เวลาในกระบะทรายนานกว่าปกติ หรือกลบทรายทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ฉี่ออกมา อาการต่าง ๆ ที่แสดงสัญญาณว่า แมวของเรากำลังมีปัญหาในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งแมวอาจจะแสดงออกมากกว่าหนึ่งอาการ ในบางครั้ง การสังเกตอาการที่กล่าวมาข้างต้นอาจทำได้ยาก เนื่องจากแมวมักไม่แสดงความเจ็บปวดจนกระทั่งอาการรุนแรงมากขึ้น ถ้าเจ้าของไม่มั่นใจว่าแมวกำลังมีปัญหาในระบบทางเดินปัสสาวะ หรือไม่ ลองนำแมวเข้าไปในห้องน้ำ ประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง พร้อมกับกระบะทราบ แล้วตรวจสอบดูว่า แมวฉี่ออกมาหรือไม่ ในกรณีที่เจ้าของสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนว่า แมวกำลังเผชิญกับปัญหาในระบบทางเดินปัสสาวะ ให้พาแมวไปพบสัตวแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคทันที เนื่องจากผลกระทบของการฉี่ไม่ออกค่อนข้างเป็นปัญหาสุขภาพที่น่ากังวล และเกี่ยวข้องกับสุขภาพโดยรวมของแมว การวินิจฉัยโดยสัตวแพทย์เมื่อ แมวฉี่ไม่ออก สัตวแพทย์จะเริ่มต้นด้วยการซักประวัติกับเจ้าของเกี่ยวกับอาการของแมวก่อนจะมาถึงโรงพยาบาลสัตว์ เบื้องต้นสัตวแพทย์จะเริ่มจากการคลำเบา ๆ ไปที่หน้าท้องของแมว จากนั้น จำเป็นจะต้องตรวจเลือด เพื่อดูค่าเคมีของเลือดประกอบด้วย นอกจากนี้ การวินัจฉัยอาจจำเป็นต้องเอกซ์เรย์ […]

อ่านต่อ

อาการชักในสุนัข

เมื่อเราต้องเผชิญ อาการชักในสุนัข อย่าเพียงแค่ตกใจ แต่ต้องเข้าใจและพร้อมช่วยเหลือ ลองจินตนาการว่าคุณกำลังนั่งเล่นกับน้องหมาตัวโปรดอยู่ดี ๆ แล้วเขาก็ล้มลงกับพื้น ตัวเกร็ง กระตุก น้ำลายฟูมปาก ดวงตาเหลือกขึ้น เชื่อว่าวินาทีนั้น … หัวใจของคุณแทบหยุดเต้นเช่นกัน อาการชักในสุนัข ไม่ใช่เรื่องเล็ก แต่ก็ไม่ใช่จุดจบ หากเรารู้เท่าทัน และตั้งสติได้ถูกต้อง อาการชักในสุนัข คืออะไร? “อาการชัก” คือภาวะที่สมองส่งสัญญาณไฟฟ้าผิดปกติอย่างฉับพลัน ทำให้ร่างกายของสุนัขตอบสนองแบบไม่ควบคุม เช่น ตัวเกร็ง กระตุก หรือล้มลงโดยไม่มีสติชั่วคราว รูปแบบของอาการชัก สาเหตุของ อาการชักในสุนัข อาการชักอาจมีสาเหตุหลากหลาย ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 1. สาเหตุทางสมอง (Intracranial) 2. สาเหตุจากภายนอกสมอง (Extracranial) วิธีสังเกตอาการชัก วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อมีอาการชัก สิ่งสำคัญที่สุดคือ “ตั้งสติให้ได้ก่อนหมาหยุดชัก” ✅ สิ่งที่ควรทำ ❌ สิ่งที่ห้ามทำเด็ดขาด หลังชัก ควรพาไปหาสัตวแพทย์เมื่อไหร่? 💊 แนวทางการรักษา 1. หาสาเหตุและวินิจฉัย 2. การรักษาเฉพาะทาง […]

อ่านต่อ

สายพันธุ์แมวที่อายุยืนยาวที่สุด ในอังกฤษ

การศึกษาแมวกว่า 8,000 ตัว ในอังกฤษ ได้เปิดเผยข้อมูลให้เราเห็นว่า แมวพันธุ์ใดอายุยืนยาวที่สุด แมวสายพันธุ์ใดอายุยืนยาวที่สุด เป็นหนึ่งในประเด็นการศึกษาวิจัย ที่นักวิทยาศาสตร์ผู้หลงใหลในแมว ต่างถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน เมื่อปี 2024 การศึกษาในสหราชอาณาจักร ที่รวบรวมข้อมูลของแมวกว่า 8,000 ตัว พบว่า แมวสายพันธุ์เบอร์แมน และเบอร์มิส มีอายุยืนยาวที่สุด ในขณะที่ แมวสฟิงซ์ มีอายุขัยเฉลี่ยน้อยที่สุด การศึกษาวิจัย ที่เผยแพร่ในวารสาร Feline Medicine and Surgery ได้ศึกษาแมวที่เสียชีวิตในช่วง เดือนมกราคม ปี 2019 ถึงเดือนมีนาคม 2021 จำนวน 8,000 ตัวในสหราชอาณาจักร โดยมีเป้าหมายเพื่อเก็บข้อมูลของแมว และเผยแพร่ให้เจ้าของแมวได้เข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพของแมวมากขึ้น แดน โอเนล หนึ่งในทีมวิจัย และนักระบาดวิทยาในสัตว์เลี้ยง วิทยาลัยสัตวแพทย์โรยัล ในกรุงลอนดอน กล่าว ค่าเฉลี่ยอายุของแมวเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่บ่งบอกถึงสุขภาพโดยรวมทั้งหมด ในการสำรวจครั้งนี้ ทีมนักวิจัยมีเป้าหมายเพื่อให้เจ้าของแมวเข้าใจถึงภาพรวมของอายุขัยของแมวได้ดีขึ้น โดยได้พัฒนาชุดข้อมูลที่เรียกว่า “ตารางชีวิต” ซึ่งเป็นการประมาณค่าเฉลี่ยอายุของแมวที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยไม่รวมเอาข้อมูลของแมวที่ตายไปก่อนหน้าอายุนั้นมาใช้ในการสร้างข้อมูลชุดนี้ […]

อ่านต่อ

กรงสุนัข – พื้นที่ปลอดภัยสำหรับสุนัข ไม่ใช่สถานที่ทำโทษ

กรงสุนัข หรือ คอก ควรเป็นที่ที่หมารู้สึกปลอดภัยที่สุด ไม่ใช่ที่กักขัง เพื่อทำโทษ ลองนึกถึง “ห้องนอนของคุณ” ดูสิครับ มันคือพื้นที่ส่วนตัว พื้นที่ที่คุณรู้ว่าตัวเองจะได้พัก ได้อยู่กับตัวเอง ได้ฟื้นฟูจากวันที่เหนื่อยล้า สำหรับ กรงสุนัข หรือคอก ก็ควรเป็นแบบนั้น แต่ในความเป็นจริง หลายบ้านกลับใช้กรงหรือคอกเป็น “ที่ขังเพื่อสั่งสอน” ทำให้หมาไม่อยากเข้าไป ไม่รู้สึกปลอดภัย และบางครั้งถึงขั้น “กลัว” พื้นที่นี้ไปเลย ทั้งที่จริงแล้ว คอก กรง หรือบ้านเล็กๆ ของเขา ควรเป็น “ที่พักใจ” ไม่ใช่ “ที่ตัดสินใจลงโทษ” เปลี่ยนความหมายของ กรงสุนัข … ให้กลายเป็น “บ้าน” หมาไม่ได้เกลียดกรงหรือคอกตั้งแต่เกิด แต่พวกเขา “เรียนรู้” จากประสบการณ์ ถ้าทุกครั้งที่เขาถูกไล่เข้าไป เพราะทำผิด หรือถูกดุ เขาก็จะจดจำว่าคอก = โดนทิ้ง หรือ โดนลงโทษ แต่ถ้าทุกครั้งที่เขาเข้าไปนอนในนั้น เขาได้ของเล่น ได้ขนม ได้เสียงชมเบา […]

อ่านต่อ

อเมริกัน พิตบูล เทอร์เรีย — สุนัขที่คนเข้าใจผิดมากที่สุดในโลก

ลองนึกถึงใครสักคนที่มีโครงสร้าง แข็งแกร่ง เต็มไปด้วยพลัง แต่มีหัวใจอ่อนโยน ชอบเล่นกับเด็ก และซื่อสัตย์กับคนที่ไว้ใจ แต่เพราะโครงสร้างภายนอกเขาจึงมักถูกมองว่า “น่ากลัว” และ “อันตราย” ไปก่อนเสมอ นั่นคือชีวิตของ อเมริกัน พิตบูล เทอร์เรีย (American Pit Bull Terrier) สุนัขที่ไม่ได้ขอให้เกิดมาดุ แต่คนต่างหากที่ “เลือกเลี้ยงเขาให้ดุ” อเมริกัน พิตบูล เทอร์เรีย (American Pit Bull Terrie) สุนัขนักสู้ในอดีต ที่ต้องการ “เจ้าของนักวางแผน” มากกว่า “เจ้าของนักโชว์พลัง” ประวัติความเป็นมาของ อเมริกัน พิตบูล เทอร์เรีย — จากสนามสู้…สู่บทบาทที่ต้องมีคนเข้าใจ American Pit Bull Terrier ไม่ใช่สุนัขที่เกิดมาเพื่อกัด และก็ไม่ใช่สุนัขที่เกิดมาเพื่อทุกคน ต้นสายเลือดของเขาย้อนกลับไปถึงศตวรรษที่ 19 ในประเทศอังกฤษ ช่วงเวลานั้น กีฬาโหดร้ายอย่าง bull baiting และ dog […]

อ่านต่อ

สุนัขยอดนิยม 50 สายพันธุ์ แบ่งตามลักษณะการเลี้ยง

เมื่อเราหันมามอง สุนัขยอดนิยม 50 สายพันธุ์ ของโลก… อย่าถามว่าสายพันธุ์ไหนน่ารักที่สุด แต่จงถามว่า… สายพันธุ์ไหนเหมาะที่จะอยู่กับเราได้ดีที่สุด บนโลกใบนี้ มีสุนัขอยู่มากมายหลายร้อยสายพันธุ์ แต่มีอยู่เพียงไม่กี่สิบสายพันธุ์ ที่ผู้คนทั่วโลกนิยมและเลือกเลี้ยงมากที่สุด พวกเขาคือ “สุนัขยอดนิยม 50 สายพันธุ์ของโลก” แต่ละตัวล้วนมีเสน่ห์เฉพาะ มีนิสัย มีจังหวะชีวิตที่แตกต่างกัน บางตัวซน บางตัวสุขุม บางตัวติดบ้าน บางตัวต้องออกไปวิ่งทุกวัน บางตัวเข้าใจง่าย แต่บางตัวต้องใช้เวลา ถึงจะเข้าใจกัน บทความนี้ เราไม่ได้มาไล่อันดับว่าสุนัขพันธุ์ไหนดีที่สุด แต่เราจะพาคุณไปรู้จักกับลักษณะนิสัยของสุนัขแต่ละตัว โดยแบ่งพวกเขาออกเป็นหมวดหมู่เพื่อให้คุณได้มองเห็นว่าสุนัขพันธุ์ไหน “เหมาะกับชีวิตคุณจริง ๆ” มากที่สุด “เพราะสุนัขไม่ได้เลือกเรา แต่เมื่อเราเป็นฝ่ายเลือก ก็ขอให้เลือกด้วยความเข้าใจ ไม่ใช่เลือกตามกระแส” สุนัขที่เหมาะกับมือใหม่ (นิสัยดี เข้าใจง่าย ปรับตัวเก่ง) สุนัขสายฝึก สายกิจกรรม เหมาะกับคนที่ชอบทำอะไร “ร่วมกัน” กับสุนัข สุนัขอยู่คอนโดได้ : ตัวเล็ก เงียบ ไม่รบกวนเพื่อนบ้าน สุนัขสำหรับบ้านที่มีสนาม : ต้องขยับร่างกายบ่อย ไม่งั้นจะเครียด […]

อ่านต่อ

พี่ไปรฯ ส่งยา สัตวแพทย์ จุฬาฯ ส่งรัก

จุฬาฯ ร่วมมือกับ ไปรษณีย์ไทย เปิดมิติใหม่แห่งการดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยง ในชื่อ “พี่ไปรฯ ส่งยา สัตวแพทย์ จุฬาฯ ส่งรัก” เพื่อเพิ่มความสะดวกในการรับ ยาสำหรับสัตว์เลี้ยง ให้คนรักสัตว์ทั่วประเทศ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะสัตวแพทยศาสตร์ และโรงพยาบาลสัตว์ กรุงเทพฯ เปิดแคมเปญ “พี่ไปรฯ ส่งยา สัตวแพทย์ จุฬาฯ ส่งรัก” ชูระบบส่งด่วน EMS ส่งต่อ ยาสำหรับสัตว์เลี้ยง และเวชภัณฑ์ของสัตว์ ให้กลุ่มผู้ปกครองสัตว์เลี้ยง (Pet Parents) โดยให้บริการผ่าน 2 ช่องทาง คือ บริการส่งยาถึงบ้านสำหรับผู้ที่มาใช้บริการที่โรงพยาบาลสัตว์ กรุงเทพฯ และบริการส่งยาถึงบ้านสำหรับผู้ใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์ (Televet) เพื่อลดระยะเวลารอคอยในการรอรับยา และลดความแออัดในโรงพยาบาลที่มีผู้เข้ามาใช้บริการเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่า ในปี 2568 จำนวนสัตว์เลี้ยงของไทยมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมาราวร้อยละ 6 สะท้อนถึงโอกาสเติบโตการขนส่ง ระบบการรักษา และโลจิสติกส์ในกลุ่มเจ้าของสัตว์เลี้ยง บริการส่ง […]

อ่านต่อ

ทำไมสุนัขยืดเหยียดตัว เมื่อเจอเจ้าของ หรือคนแปลกหน้า

ทันทีเราเดินผ่านประตูเข้าบ้าน และได้พบเจอกับลูกรักสี่ขา เราจะพบว่า พวกเขาแสดงออกด้วยท่าทางต่าง ๆ ที่บ่งบอกถึงความดีใจ หนึ่งในนั้นคือ สุนัขยืดเหยียดตัว เมื่อเจอเจ้าของ เพราะอะไร ทำไมสุนัขแสดงออกเช่นนี้ ทำไมสุนัขยืดเหยียดตัว เมื่อเจอเจ้าของ เมื่อ สุนัขยืดเหยียดตัว เมื่อเจอเจ้าของ อาจมีแรงจูใจเบื้องหลังอยู่หลายสาเหตุ โดยลักษณะท่าทางส่วนใหญ่จะเป็นในท่วงท่า ยกก้นขึ้นสูง และเหยียดขาหน้าออกไปด้านหน้า พร้อมกดส่วนหัวและออกให้ต่ำลงแนบพื้น ซึ่งเป็นภาษากายที่แฝงไปด้วยหลากหลายความหมาย เช่น การยืดเหยียดตัวเพราะสุนัขเรียนรู้บางอย่างจากเจ้าของ การเรียนรู้จากเจ้าของเป็นหนึ่งในปัจจัยการแสดงออกด้านพฤติกรรมของสุนัขได้ เช่น เมื่อเราเคยชื่นชม หรือให้รางวัล หลังจากที่สุนัขยืดเหยียดตัว พวกเขาก็จะเรียนรู้ว่า การแสดงแบบนี้จะทำให้เราตอบสนองในเชิงบวกกับพวกเขา พวกเขาก็จะแสดงออกซ้ำๆ บางสถานการณ์ เจ้าของอาจจะใช้คำพูด หรือสัญญาณมือบางอย่าง โดยไม่ตั้งงใจ ซึ่งสุนัขนำไปเชื่อมโยงกับการยืดตัว เช่น เมื่อเจ้าของพบเจอสุนัข และคุณมักจะวางมือบนเขา พร้อมกับก้มตัวลง และพูดคุยกับสุนัขในระหว่างที่พวกเขาลุกขึ้นมายืดตัว เมื่อเจ้าของทำเช่นนี้เป็นประจำ จนเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่ง ทุกครั้งที่คุณนำมือวางบนเข่า และก้มตัวลง สุนัขก็จะยืดเหยียดตัวทุกครั้ง เป็นต้น การยืดเหยียดตัวเพื่อชวนมาเล่นด้วยกัน หากสำรวจพฤติกรรมของสุนัขป่าในธรรมชาติ การยืดเหยียดขาหน้าออกไปทางด้านหน้า และย่อตัวให้ส่วนหัวและอกลดต่ำลง เป็นหนึ่งในพฤติกรรมที่บ่งบอกว่า เวลาแห่งการเล่นได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว เปรียบเหมือนการเชื้อเชิญของอีกฝ่ายว่า […]

อ่านต่อ

สุนัขสายพันธุ์บอกเซอร์ (Boxer)

สุนัขสายพันธุ์บอกเซอร์ (Boxer) – นักมวยขี้เล่น ผู้ซื่อสัตย์ ถ้าคุณเคยเห็นหมาตัวใหญ่ที่กระโดดดีดเด้ง เหมือนกำลังซ้อมชกกับอากาศ ยืนสองขาหลัง ยื่นขาหน้ามาต่อยคุณเบา ๆ อย่างทะเล้น แล้วพอคุณหัวเราะออกมา เขาก็ยิ่งดีด ยิ่งเต้นนั่นแหละ… คุณได้เจอกับ สุนัขสายพันธุ์บอกเซอร์ (Boxer) เข้าแล้ว เขาไม่ใช่หมาอ้อนติดตัก ไม่ใช่หมาเงียบสงบ แต่เขาคือหมาที่ “เต็มไปด้วยพลังชีวิต” เหมือนเด็กผู้ชายที่โตแล้วแต่ยังวิ่งไล่เตะบอลทุกเย็น พวกเขาคือหมาที่เหมือนจะพูดได้ว่า “มาเล่นกันเถอะ!” ทุกครั้งที่คุณสบตาพวกเขา 🥊 สุนัขสายพันธุ์บอกเซอร์ ทำไมถึงชื่อ Boxer? เพราะเขาชอบ “ชก”… ไม่ใช่เพื่อสู้ แต่เพื่อ “เล่น” บอกเซอร์ยืนสองขาหลัง แล้วยื่นขาหน้ามาแตะ ๆ แบบนักมวยบนเวที ท่านี้จะโผล่มาเวลาที่เขาดีใจ อยากชวนคุณเล่น หรือกำลังคึกสุดขีด ใครเคยโดนชกเบา ๆ พร้อมกระดิกหางรัว ๆ จะรู้ทันทีว่า “เขาแค่อยากให้คุณสนใจ” เท่านั้นเอง 🧠 เขาฉลาดไหม? ฝึกง่ายหรือเปล่า? Boxer ไม่ใช่หมาโง่… แต่เขาไม่ใช่หมา […]

อ่านต่อ

โพรไบโอติกส์สำหรับแมว จำเป็นหรือไม่

โพรไบโอติกส์สำหรับแมว เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่กำลังได้รับความสนใจจากเจ้าของ สัตวแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ เจ้าของแมวหลายทานจึงอาจสงสัยว่า โพรไบโอติกส์ดีต่อสุขภาพจองแมวจริงหรือไม่ ในปัจจุบัน โพรไบโอติกส์สำหรับแมว จำเป็นหรือไม่ โพรไบโอติกส์สำหรับแมว คือ จุลินทรีย์ หรือสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ที่อาศัยอยู่ในทางเดินอาหารของแมว ซึ่งนอกจากจะมีน้ำย่อยและเอนไซม์ในการทำหน้าที่ย่อยอาหารที่แมวกินเข้าไปแล้ว ยังมีจุลินทรีย์จำนวนล้านล้านตัวเหล่านี้ ที่มีบทบาทต่อการย่อยและดูดซึมอาหารด้วย ดังนั้น เมื่อจุลินทรีย์ในทางเดินอาหารเหล่านี้ขาดความสมดุล เช่น มีจุลินทรยบ์บางชนิดน้อยเกินไป หรือมีจุลินทรีย์ก่อโรคมากเกินไป ก็อาจทำให้แมวเกิดปัญหาด้านสุขภาพตามมาได้ โพรไบโอติกส์ช่วยส่งเสริมสุขภาพของแมว ได้อย่างไร การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโพรไบโอติกส์ในทางเดินอาหารของแมวยังมีข้อมูลไม่มากเท่ากับการศึกษาในสุนัข อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลที่ผ่านมา พบว่า โพรไบโอติกส์ในทางเดินอาหารของแมว มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพที่ดีของแมว เช่น ช่วยเรื่องการจัดการน้ำหนักตัวได้อย่างเหมาะสม ระบบภูมิคุ้มกันมีประสิทธิภาพ และฮอร์โมนต่าง ๆ ทำงานได้อย่างปกติ เป็นต้น ในทางกลับกัน ถ้าในสถานการณ์ที่ลำไส้ของแมวมีจุลินทรีย์ก่อโรคจำนวนมาก ก็จะให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ โดยปัจจัยที่ทำให้จุลินทรีย์ในทางเดินอาหารแมวเสียสมดุล ได้แก่ ความผิดปกติที่มักเกิดขึ้น เมื่อเสียสมดุลของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร โพรไบโอติกส์ที่มีประโยชน์สำหรับแมว จากการศึกษาวิจัย นักวิทยาศาสตร์พบว่า จุลินทรีย์ส่วนใหญ่ที่พบในทางเดินอาหารจของแมว ได้แก่ BifidobacteriumEnterococcusLactobacillus sppStreptococcus โพรไบโอติกส์เหล่านี้จะอยู่ในส่วนต่าง […]

อ่านต่อ

10 ข้อควรทำ หลังรับหมามาเลี้ยง

สำหรับคนที่อยากสร้างความสัมพันธ์กับหมาอย่างเข้าใจ ไม่ใช่แค่เลี้ยงให้รอด แล้วเราควรปฏิบัติอย่างไร หลังรับหมามาเลี้ยง หลังรับหมามาเลี้ยง หรือวันที่หมาก้าวเข้าบ้านของเราวันแรก คือวันที่โลกของเขาเปลี่ยนไปทั้งหมด และโลกของเราก็จะเปลี่ยนไป… ถ้าเรายอมเปิดใจรับใครบางตัวอย่างแท้จริง 1. กำหนด “จังหวะชีวิต” ให้มั่นคงและปลอดภัย หมาทุกตัวต้องการ “ความแน่นอน” ในชีวิตมากกว่าที่เราคิด อาหารควรกินเวลาเดิม วันละ 2 มื้อ มีเวลาพักกลางวัน มีเวลานอนกลางคืนชัดเจน มีช่วงเดินเล่น และช่วงสงบเงียบ ไม่ใช่แค่เล่นกันตลอด ยิ่งหมาเดาทางได้ เขายิ่งกล้าไว้ใจ โดยเฉพาะลูกหมา หรือหมาที่เคยผ่านประสบการณ์แย่ ๆ มาก่อน — การมี “จังหวะ” ที่พยุงใจได้ทุกวัน คือเครื่องยืนยันว่า “บ้านนี้ปลอดภัย” 2. สังเกตแทนการรีบฝึก และฟังแทนการรีบบอก เจ้าของมือใหม่มักโฟกัสที่ “ทำยังไงให้หมาเชื่อฟัง” แต่จริง ๆ แล้ว สิ่งที่ควรทำก่อนคือ… เรียนรู้ให้ได้ว่าเขาเป็นหมาแบบไหน เขาเดินอย่างไรเวลาหวาดระแวง? เขามองหาเราตลอดไหม หรือแค่หามุมหลบ? เสียงอะไรทำให้เขาหยุดกินข้าว? หมาเล่าเรื่องตัวเองทุกวันผ่านภาษากาย — ถ้าเราฟังเป็น 3. […]

อ่านต่อ

ภาวะ ความดันโลหิตสูงในแมว

ภาวะ ความดันโลหิตสูงในแมว (Feline hypertension) ภาวะความเสี่ยง ที่ป้องกันได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ด้วยความเข้าใจ และความใส่ใจในสุขภาพของแมวตั้งแต่วัยเด็ก ภาวะ ความดันโลหิตสูงในแมว (Hypertension) เป็นภาวะที่ค่าความดันโลหิตในหลอดเลือดแดงเพิ่มขึ้นสูงกว่าปกติอย่างต่อเนื่อง โดยพบได้บ่อยในแมวสูงอายุ ในช่วงระยะแรก ภาวะความดันโลหิตสูงในแมวจะไม่แสดงอาการผิดปกติ แต่เมื่อปล่อยให้เกิดความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ตาบอดเฉียบพลัน ไตวาย มีความผิดปกติในระบบประสาท และเป็นโรคหัวใจ เป็นต้น นอกจากนี้ ภาวะความดันโลหิตสูงในแมวมักเป็นภาวะแทรกซ้อน หรือเกิดขึ้นภายหลัง (Secondary hypertension) โดยก่อนหน้านี้ แมวอาจจมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว ได้แก่ โรคไตวายเรื้อรัง และโรคไฮเปอร์ไทรอยด์ รู้จักค่าความดันโลหิตของแมว ค่าความดันโลหิตของแมว มีหน่วยเป็น มิลลิเมตรปรอท (mmHg) โดยค่าความดันซิสโตลิก (Systolic Blood Pressure) คือ ค่าแรงดันภายในหลอดเลือดในขณะที่หัวใจกำลังสูบฉีดเลือดออกจากห้องล่างซ้าย ไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยแมวที่มีสุขภาพแข็งแรงปกติ จะมีค่าอยู่ที่ 110 – 160 mmHg และถ้าค่าความดัน […]

อ่านต่อ

แมวจดจำกลิ่นเจ้าของได้

นักวิจัยพบว่า แมวจะดมกลิ่นคนแปลกหน้านานกว่ากลิ่นของเจ้าของ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า แมวสามารถแยกแยะระหว่างคนที่คุ้นเคย และไม่คุ้นเคยด้วย การดมกลิ่นของแมว เพียงอย่างเดียวได้ โดยทั่วไป แมวบ้าน (Felis catus) จะใช้กลิ่นในการสื่อสารระหว่างแมวด้วยกัน รวมไปถึงสื่อสารกับเพื่อนสมาชิกสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น ๆ ภายในบ้าน ดังนั้น การดมกลิ่นของแมว จึงเป็นประสาทสัมผัสที่สำคัญในการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม การศึกษาวิจัยที่เผยแพร่เรื่องพฤติกรรมของแมว โดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยด้านการเกษตร เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเผยแพร่ในวารสาร PLOS One และถือเป็นครั้งแรกที่เป็นการทดลองเกี่ยวกับพฤติกรรมของแมว ว่าสามารถแยกแยะ และจดจำกลิ่นของเจ้าของ ได้หรือไม่ จาการสำรวจและสังเกตพฤติกรรมแมวครั้งนี้ นักวิจัยพบว่า แมวใช้เวลาดมกลิ่นที่ไม่คุ้นเคย ซึ่งเป็นกลิ่นตัวของคนแปลกหน้า ‘นานกว่า’ กลิ่นของเจ้าของ ซึ่งบ่งบอกได้ว่า แมวของเราสามารถจดจำเจ้าของ ที่พวกเขาคุ้นเคยได้ และจะใช้เวลาไปกับการเรียนรู้กลิ่นแปลก ๆ จากคนที่พวกเขาไม่เคยพบมาก่อน “เมื่อแมวได้กลิ่นตัวเจ้าของที่คุ้นเคยอยู่แล้ว พวกเขาจะใช้เวลาจดจำไม่นาน เหมือนกับที่มนุษย์คุ้นเคยกับกลิ่นบางกลิ่นแล้ว ก็จะรับรู้ได้ทันทีว่า นั่นคือกลิ่นของอะไร” จูเลีย เฮนนิง นักศึกษาปริญญาเอก ผู้ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการศึกษาครั้งนี้ แต่กำลังศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของแมว ที่มหาวิทยาลัยแอดิเลด ประเทศออสเตรเลีย แสดงความเห็นไว้ในเว็บไซต์ […]

อ่านต่อ

10 คำแนะนำสำหรับ ผู้เลี้ยงสุนัขมือใหม่

10 คำแนะนำสำหรับ ผู้เลี้ยงสุนัขมือใหม่ ที่ไม่ได้แค่อยาก “มีสุนัข” แต่ตั้งใจจะ “ใช้ชีวิตร่วมกันกับสุนัข” สำหรับ ผู้เลี้ยงสุนัขมือใหม่ หรือผู้ที่กำลังตัดสินใจจะรับสุนัขเข้ามาเป็นหนึ่งในสมาชิกของครอบครัว การพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ อย่างรอบด้าน จะช่วยให้เรามอบชีวิตที่มีคุณภาพให้กับพวกเขาได้ตลอดชีวิต เรามาลองพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ไปพร้อมกันนะครับ 1. ผู้เลี้ยงสุนัขมือใหม่ ควรเริ่มต้นด้วย “ความพร้อมของใจ” ไม่ใช่แค่ “ความพร้อมของบ้าน” ก่อนจะเลี้ยงหมา ลองถามตัวเองด้วยคำถามเหล่านี้อย่างตรงไปตรงมา เพราะหมาไม่ใช่ของเล่นที่คืนให้ฟาร์มได้ ถ้าเลี้ยงแล้ว “ไม่เวิร์ก” เขาคือชีวิตที่ผูกพันกับเราในแบบที่เขาไม่มีทางเลือก 2. เลือกหมาที่ “เข้ากับเรา” ไม่ใช่แค่ “เราชอบ” อย่าเลือกหมาจากแค่รูปร่างหน้าตา หรือเพราะเขากำลังดัง หรืออยู่ในกระแส แต่สิ่งที่ควรพิจารณาร่วมด้วย คือ คำแนะนำ : ถ้าคุณยังไม่แน่ใจ ลองไปเดินเล่นที่ศูนย์พักพิงสัตว์ หรือลองเจอหมาหลายพันธุ์ตัวจริงก่อนตัดสินใจ 3. วันแรกของหมา ไม่ใช่วันแห่งความน่ารัก แต่คือวันของความกลัว หมาเปลี่ยนที่นอน เปลี่ยนคนดูแล เปลี่ยนเสียงรอบตัว ทั้งหมดนี้คือ “ความเครียด” ที่เขาไม่มีทางเข้าใจได้ในวันเดียว สิ่งที่ควรทำ […]

อ่านต่อ

พยาธิเม็ดเลือด ในสุนัข

“พยาธิเม็ดเลือด” ศัตรูเงียบที่หมาไม่ได้กัด… แต่มันกัดหมา บางครั้ง หมาที่คุณรัก อาจดูแค่ “ซึมลงนิดหน่อย” หรือ “ไม่ค่อยกินข้าว” แบบที่เจ้าของหลายคนเคยเห็น… แต่รู้ไหมว่า อาการน้อยนิดเหล่านั้น อาจเกิดจาก “สิ่งเล็กจิ๋วที่แฝงตัวอยู่ในเลือด” และมันชื่อว่า “พยาธิเม็ดเลือด” พยาธิเม็ดเลือด คืออะไร พยาธิเม็ดเลือด คือ ปรสิตที่เข้าไปทำลายเม็ดเลือดของหมา โดยมีเห็บเป็นพาหะ พูดง่าย ๆ คือ เห็บกัด เท่ากับพยาธิเข้าสู่ร่างกายหมา ส่งผลให้เม็ดเลือดถูกทำลาย และน้องหมาอ่อนแรง และหากไม่ได้รับการรักษา อาจถึงขั้นทำให้น้องหมาเสียชีวิตได้เลย มาทำความรู้จักศัตรูให้ชัด : พยาธิเม็ดเลือดตัวหลัก ๆ ที่เจอบ่อยในไทย ผลกระทบต่อสุขภาพ : แม้ว่าพยาธิจะตัวเล็กแค่ไหน ก็อันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้น อย่าคิดว่าเป็นเรื่องเล็ก เพราะพยาธิเม็ดเลือดสามารถทำให้หมาคุณ … ถ้าคุณชอบพาหมาไปเที่ยวบ่อย ต้องใส่ใจอะไรเพิ่มบ้าง? 1. ต้องใช้ “ยากันเห็บหมัด” อย่างสม่ำเสมอ และมีประสิทธิภาพ เลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ เช่น แบบกิน (เช่น […]

อ่านต่อ

ทำไม แมวไม่ชอบกินอาหารร่วมกับตัวอื่น

แมวไม่ชอบกินอาหารร่วมกับตัวอื่น แม้ว่าจะโตมาด้วยกัน หรือเลี้ยงมาด้วยกันเป็นเวลานาน เบื้องหลังของเรื่องนี้ อาจต้องย้อนกลับไปดูที่บรรพบุรุษแมวบ้านที่เคยอยู่ในป่ามาก่อน โดยส่วนใหญ่ เรามักจะพบว่า แมวไม่ชอบกินอาหารร่วมกับตัวอื่น โดยเฉพาะในบ้านที่เลี้ยงแมวรวมกันหลายตัว ที่ต้องแยกอาหารใส่ภาชนะให้แมวต่อหนึ่งตัว โดยพวกเขาจะไม่กินอาหารร่วมภาชนะเดียวกัน หรือแม้แต่การเดินไปดื่มน้ำพร้อมกัน ในธรรมชาติ ญาติพี่น้องของแมวบ้าน อย่างสัตว์ตระกูลแมวทั้งหลาย เราก็จะพบว่า พฤติกรรมการหาอาหาร และกินเหยื่อ จะไม่ทำกันเป็นฝูง ยกเว้น สิงโตตัวเมีย เมื่อแมวป่าล่าอาหารตามธรรมชาติได้ พวกเขาจะลากเหยื่อไปยังบริเวณที่ปลอดภัย หรือในที่หลบซ่อน และกินเหยื่อเพียงลำพัง ดังนั้น เหตุผลที่ แมวไม่ชอบกินอาหารร่วมกับตัวอื่น อาจเป็นเพราะว่า แมวบ้านที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นแมวป่า ยังหลงเหลือพฤติกรรมการกินอาหารเพียงลำพังอยู่ในสายเลือด แม้ว่าพวกเขาไม่จำเป็นต้องล่าเหยื่อเองแล้ว แต่พวกเขาก็ยังไม่คุ้นเคยกับการกินอาหารร่วมกับแมวตัวอื่นในบ้าน นอกจากนี้ แมวบ้านส่วนใหญ่จะชอบกินอาหารในภาชนะที่วางอยู่ในมุมสงบ ปลอดภัย และไม่มีคนเดินไปมาพลุกพล่าน แมวบางตัวชอบกินอาหารในเวลาที่คนไม่อยู่บ้าน หรือตอนกลางคืน ที่สมาชิกในบ้านเข้านอนกันแล้ว เพราะรู้สึกปลอดภัยมากกว่าการกินอาหารตอนที่มีคนอยู่ด้วย อีกหนึ่งเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังพฤติกรรมนี้ คือ แมวเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีอาณาเขตชัดเจน โดยเราจะเห็นได้ว่า บ้านที่มีแมวอยู่รวมกันตั้งแต่สองตัวขึ้นไป แมวแต่ละตัวจะมีมุมประจำเป็นของตัวเอง และมีการใช้พื้นที่ในบ้านร่วมกันบางส่วนเท่านั้น ถ้าเราพยายามบังคับให้แมวกินอาหารด้วยกันจะเกิดอะไรขึ้น แมวจะเกิดความเครียด และอาจรุนแรงไปถึงขั้นไม่ยอมกินอาหาร ถ้าเจ้าของละเลยปัญหานี้นานจนเกินไป อาจจะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของแมวได้ แมวจะกินอาหารร่วมกันเฉพาะในช่วงวัยเด็กเท่านั้น แต่เมื่อโตเต็มวัย […]

อ่านต่อ

แมวมีอาการคัน ความผิดปกติบนผิวหนัง ที่ไม่ควรมองข้าม

แมวมีอาการคัน เป็นอาการทางผิวหนังที่พบได้บ่อยในแมว โดยแมวมักจะเกา และเลียขนมากกว่าปกติ จนขนบาง หรือในบางรายอาจพบว่า แมวกัดแทะบริเวณผิวหนัง และร่างกายบ่อยครั้ง เมื่อ แมวมีอาการคัน สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการคันในแมวเช่น การติดปรสิตภายนอกที่ผิวหนัง ภาวะภูมิแพ้ การติดเชื้อที่ผิวหนัง รวมไปถึงความผิดปกติทางจิตใจ และปัญหาทางพฤติกรรม เป็นต้น ลักษณะความผิดปกติทางผิวหนังที่พบในแมวและทำให้มีอาการคันคือ ขนบาง และขนร่วงมากกว่าปกติ ขนบางเป็นหย่อม ขนร่วงแบบสมมาตร มีสะเก็ดรังแค พบรอยแดงที่บริเวณผิวหนัง และบางครั้งอาจพบผื่นรอยแดงนูนได้ สาเหตุของโรคผิวหนังที่ทำให้ แมวมีอาการคัน 1. ปรสิตภายนอก ปรสิตภายนอก เป็นสาเหตุที่พบบ่อยในแมว โดยเฉพาะแมวที่เลี้ยงในระบบเปิด ปรสิตที่ก่อโรคทางผิวหนัวในแมวคือ หมัด (Ctenocephalides felis) เมื่อหมัดกัดบนผิวหนังของแมว จะทำให้เกิดตุ่มผื่น อักเสบ และสามารถกระตุ้นให้เกิดภาวะแพ้น้ำลายหมัด (flea allergy dermatitis; FAD) ได้ ปรสิตที่พบได้บ่อยอีกหนึ่งชนิด คือ ไรขี้เรื้อนแห้ง(Notoedres cati) ทำให้แมวเกิดอาการคัน มีตุ่มแดง สะเก็ดปกคลุม โดยมักพบบริเวณใบหูส่วนปลาย ใบหน้า รอบตา […]

อ่านต่อ

โรยัล คานิน ประกาศเป้าหมายเจาะกลุ่ม Gen Z

ไปต่อไม่หยุด โรยัล คานิน เดินหน้าประกาศเป้าหมายเจาะกลุ่ม Gen Z เพื่อก้าวเข้าสู่อนาคตของการดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยงอย่างยั่งยืน โรยัล คานิน (Royal Canin) ผู้นำระดับโลกด้านโภชนาการ เพื่อสุขภาพที่ดีของน้องแมว และน้องหมา ได้ประกาศเป้าหมาย ในการขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังกลุ่มเจเนอเรชันซี (Gen Z) เพื่อต่อยอดกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เนื่องจากกลุ่ม Gen Z เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีความสนใจเรื่องสัตว์เลี้ยง บริษัทฯ จึงต้องการสร้างความรู้ความเข้าใจอย่างเป็นวงกว้างเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพน้องแมวน้องหมาอย่างถูกวิธี โดยการเริ่มต้นเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงที่มีคุณภาพ ต้องเริ่มต้นที่โภชนาการที่เหมาะสมกับความต้องการ เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืนให้กับน้อง ๆ สัตว์เลี้ยง เพราะโรยัล คานิน เชื่อว่า “สุขภาพที่ดี คุ้มค่าที่สุด” จึงได้จัดงาน “Healthy District แฮปปี้ทุกพันธุ์ เฮลท์ตี้ทุกวัย” เมื่อวันที่ 22 – 23 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ทางโรยัล คานิน ได้เนรมิตลานหน้าเซ็นทรัลเวิลด์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ให้เป็นพื้นที่ต้อนรับเหล่าเจ้าของสัตว์เลี้ยง พร้อมชวน Friend of Royal […]

อ่านต่อ