Cat Zone

แมวมีกลิ่นปาก, กลิ่นปากแมว,

น้องแมวมีกลิ่นปาก เกิดจากอะไร

แมวมีกลิ่นปาก เป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม เพราะอาจเป็นสัญญาณของปัญหาด้านสุขภาพของน้องแมวได้ แมวมีกลิ่นปาก เกิดจากอะไร กลิ่นปากของแมวมีสาเหตุหลักอยู่ 2 ประเด็น คือ ปัญหาจากโรคในช่องปาก เหงือก และฟัน เช่น มีหินปูน โรคเหงือกและปริทันต์ เป็นต้น ปัญหาความผิดปกติจากโรคระบบอื่น ๆ เช่น โรคไต โรคตับ โรคระบบทางเดินอาหาร การติดเชื้อ โรคเบาหวาน และโรคระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น มาเริ่มต้นที่สาเหตุแรกกันค่ะ กับปัญหาโรคในช่องปาก เหงือกและฟัน กลิ่นปากของน้องแมวที่เกิดจากคราบหินปูนสะสมตามร่องเหงือกและฟัน ทำให้เชื้อแบคมีเรียในช่องปากเจริญเติบโตมากกว่าปกติ ซึ่งคราบหินปูนเหล่านี้มีสาเหตุจาก แมวกินอาหารตามปกติ และมีเศษอาหารตกค้างอยู่ในช่องปาก โรคในช่องปากและฟันของแมวที่พบได้บ่อย ได้แก่ หินปูนสะสมตามร่องฟัน และภาวะเหงือกอักเสบ นอกจากนี้ยังมีโรคเหงือกและช่องปากอักเสบเรื้อรัง ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังที่พบได้บ่อยในแมว ที่ต้องได้รับการตรวจวินิจฉัย และวางแผนการรักษาอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงโรคเนื้องอก และมะเร็งในช่องปาก ที่มักพบในแมวที่สูงวัย หรือในแมวที่มีการติดเชื้อไวรัสร่วมด้วย โรคที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเกิดกลิ่นปากเหม็นในแมวได้ สาเหตุต่อมาคือ ปัญหาปัญหาความผิดปกติจากโรคระบบอื่น ๆ ในร่างกาย ความผิดปกติจากโรคในระบบทางกาย ซึ่งส่งผลทำให้น้องแมวมีกลิ่นปากเหม็น เกิดจากหลายสาเหตุ โดยตัวอย่างโรคที่พบได้บ่อยในแมวบ้าน […]

อ่านต่อ

แมวน้ำตาไหลเยอะ และตาแฉะ เกิดจากอะไร?

แมวน้ำตาไหลเยอะ กว่าปกติ อาจเป็นอาการที่สร้างความกังวลใจให้กับเจ้าของได้ และอาการนี้ก็สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ วันนี้ คุณหมอก้อย – สพ.ญ.ปิยวรรณ ภู่ระหงษ์ สัตวแพทย์ ประจำโรงพยาบาลแมว PURRfect Cat Hospital จะมาอธิบายให้เราฟังค่ะ แมวน้ำตาไหลเยอะ หรือตาแฉะตลอดเวลา เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง น้องแมวที่มีน้ำตาไหลเยอะตลอดเวลา หรือตาแฉะ มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า Epiphora คือ อารการที่ ต่อมน้ำตาของน้องแมวขับน้ำตาออกมามากกว่าปกติ โดยมักจะแสดงออกร่วมกับอาการต่าง ๆ ที่เราอาจสังเกตได้ เช่น อาการหรี่ตา ตาแดง ผิวหนังตารอบ ๆ ดวงตามีสีแดง มีคราบน้ำตาลที่ร่องตา มีอาการเกาตา หรือเอาหน้าถูบ่อย และการกระพริบตาบ่อย ๆ ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดได้จากหลายเหตุ ประกอบด้วย โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนต้น หรือโรคหวัดแมว น้องแมวทุกตัวสามารถเป็นหวัดได้ค่ะ สาเหตุหลักเกิดจากเชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรีย หรือทั้งสองอย่างร่วมกัน และจากการติดเชื้อนี้ ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุตาขาว จึงมีน้ำตาไหลออกมาตลอดเวลา โดยน้ำตาที่ไหลออกมาจะมีสรใสจนถึงสีขาวขขุ่น และมักจะแสดงอาการระบบทางเดินหายใจร่วมด้วย เช่น มีน้ำมูก จาม […]

อ่านต่อ

สุนัขถ่ายเหลว บ่งบอกสัญญาณ อะไรบ้าง

สุนัขถ่ายเหลว เป็นหนึ่งในการขับถ่าย ที่คุณผู้ปกครองอาจพบเจอได้ระหว่างการดูแลน้องหมา แล้วการขับถ่ายลักษณะนี้ บอกอะไรเราได้บ้าง วันนี้ ไปติดตามกันเลยค่ะ “อุจจาระ” ของสัตว์เลี้ยงทุกชนิดเป็นของเสียที่ถูกขับออกจากร่างกาย หรือการที่อาหารหลงเหลือจากการถูกย่อย หรือถูกดูดซึมจะผ่านเข้ามาเก็บกักไว้ที่ลำไส้ใหญ่ก่อนจะถูกขับออกมาจากร่างกาย ดังนั้น สาเหตุแรก ๆ ที่ สุนัขถ่ายเหลว ให้เราตั้งสมมติฐานไว้ก่อนเลยว่า อาจเกิดจากเรื่องการกินอาหาร ความเหลว รูปร่างและความเป็นก้อน ปริมาณ กลิ่น สี ความถี่ ก่อนอื่นเรามาเรียนรู้เกี่ยวกับ “อึน้องหมา” ไปทีละเรื่องนะคะ เพราะ อึสามารถบอกเราเกี่ยวกับสุขภาพของน้องหมาได้มากมาย โดยเฉพาะอาการหรือโรคที่มีสาเหตุมาจากระบบทางเดินอาหาร ซึ่งโดยลักษณะของอึที่ดีสามารถสังเกตได้จากหลายส่วน ทั้งความเหลว รูปร่าง ปริมาณ กลิ่น และสี ดังนั้น เรามาเช็คสัญญาณง่าย ๆ จากอึน้องหมากันดีกว่า 1. ความเหลว ปริมาณน้ำหรือความเหลวของอึน้องหมา ขึ้นอยู่กับสมดุลของการดูดซึมน้ำของลำไส้ และความสามารถในการกักเก็บน้ำในลำไส้ ดังนั้น ส่วนประกอบของอาหารและความสามารถในการย่อยและดูดซึมของน้องหมาแต่ละตัวจึงมีผลต่อสมดุลนี้ โดยปกติอึของน้องหมาควรมีความชื้นระหว่าง 58% ถึง 72% หรือพูดง่าย ๆ คือมีลักษณะเป็นก้อนดี และต้องไม่แข็งเกินไป […]

อ่านต่อ

แมวร้องไห้ ได้หรือไม่ ถ้าน้องรู้สึกเศร้า

แมวร้องไห้ ได้หรือไม่ แมวมีความรู้สึกเศร้า ไหมนะ เป็นคำถามที่เหล่าบรรดาผู้ปกครองน้องแมวต่างสงสัยใคร่รู้ บางครั้ง เราสังเกตพบว่า มีน้ำไหลออกจากตาน้องแมว นั่นคือ แมวร้องไห้ ได้จริง ๆ หรือ ในความเป็นจริงคือ น้องแมวสามารถมีน้ำไหลออกตาได้ แต่ไม่ได้เกิดจากอารมณ์ หรือความรู้สึกเศร้าเสียใจ แมวมีความรู้สึกทางอารมณ์ได้จริง งานวิจัยที่ผ่านมาหลายฉบับได้รายงานผลการศึกษาอย่างสอดคล้องกันว่า แมวมีอารมณ์และความรู้สึก พวกเขาสามารถอ่านการแสดงออกทางสีหน้าของมนุษย์ได้ และพวกเขาก็ยังแสดงออกทางความรู้สึกได้อย่างหลากหลาย ต่อทั้งมนุษย์ และสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น ๆ ที่กำลังมีปฏิสัมพันธ์ด้วย ยกตัวอย่างเช่น แมวที่มีความสุขมักส่งเสียงเพอร์ (purring) เอาตัวเข้ามาถูไถ วิ่งเล่น และพยายามเขามามีส่วนร่วมกับเรา และสัตว์เลี้ยงตัวอื่น ๆ แมวที่รู้สึกเศร้า อาจจะแยกตัวออกจากทุกอย่าง ซึม ไม่กินอาหาร และไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย แมวที่กำลังโกรธ หรือรู้สึกกลัว อาจจะส่งเสียงขู่ โก่งตัว หรือกางเล็บและข่วน แมวที่กำลังร้องเหมียว ๆ อาจกำลังรู้สึกเหงา เยื่อ หิว และต้องการความสนใจ ส่วนแมวที่วิตกกังวล โกรธ หรือไม่พอใจ อาจส่งเสียงที่คล้ายกับเสียงสะอื้นของมนุษย์ หรือเสียงครวญคราง […]

อ่านต่อ
เชื้อราในแมว

เชื้อราแมวติดคน ได้หรือไม่ อย่างไร

เชื้อราแมวติดคน ได้หรือไม่ เป็นหนึ่งในปัญหาที่ทาสแมวส่วนใหญ่ มีความกังวล วันนี้ เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้กันค่ะ เชื้อราแมวติดคน ได้หรือไม่ ก่อนจะไปตอบคำถามนี้ เรามารู้จักโรคเชื้อราในแมวกันก่อนค่ะ เชื้อราแมวในแมว เป็นโรคผิวหนังที่เกิดขึ้นกับแมวได้ทุกสายพันธุ์ โดยเชื้อราก่อโรคจะอาศัยอยู่บนผิวหนังชั้นนอกของแมว รวมถึงบริเวณเล็บ และเส้นขน โดยใช้เคอราตินของผิวหนัง เล็บ และ เส้นขน เป็นอาหารในการเจริญเติบโต ในแมวปกติบางตัวสามารถพบเชื้อราได้บนตัวแมวโดยไม่ก่อให้เกิดรอยโรค ส่วนมากแมวที่อายุยังน้อย แมวแก่ แมวป่วย แมวเครียด มักจะพบความผิดปกติ ทั้งนี้เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ไม่แข็งแรง เชื้อราที่ผิวหนังของแมว จัดเป็นความผิดปกติที่สำคัญ ดังนั้น ควรควบคุมโรคโดยการรักษา ทั้งบนตัวแมว และทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมที่แมวอยู่อาศัย เนื่องจากสปอร์เชื้อรา สามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อม ได้เป็นระยะเวลานาน และที่สำคัญเชื้อราผิวหนังของแมวกลุ่มนี้ ยังสามารถติดต่อสู่คนเลี้ยง โดยทำให้คนเลี้ยงสามารถแสดงอาการรอยโรคทางผิวหนังได้ ปกติแมวทั่วไป สามารถติดเชื้อราก่อโรคได้จากการสัมผัสกับแมวป่วยโดยตรง หรือสัมผัสกับสปอร์ของเชื้อรา ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งสปอร์ของเชื้อรา สามารถอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้เป็นเวลานาน รอยโรคหลักๆที่สามารถพบได้คือ ขนร่วงแหว่งเป็นวงกลม ขอบเรียบ บางรายอาจจะเป็นสะเก็ด หรือมีอาการคันร่วมด้วย การตรวจวินิจฉัย การตรวจวินิจฉัยแยกแยะของโรคเชื้อรา สามารถวินิจฉัยเบื้องต้นจาก ลักษณะรอยโรคบนผิวหนัง การตรวจวินิจฉัยตัวอย่างเส้นขนหรือเนื้อเยื่อใต้กล้องจุลทรรศน์ […]

อ่านต่อ

แมวฉีดวัคซีนได้ตอนกี่เดือน รวมถึงน้องหมาด้วย

โปรแกรมวัคซีนในสุนัขและแมว สามารถเริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุน้อยกว่า 4 เดือน เพื่อช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานโรครุนแรงและโรคที่สามารถติดต่อสู่คน

อ่านต่อ

แมวชอบกินสิ่งแปลกปลอม ที่ไม่ใช่อาหาร หรือ PICA

แมวชอบกินสิ่งแปลกปลอม ที่ไม่ใช่อาหาร หรือที่เรียกว่า PICA เป็นข้อควรระวังอย่างหนึ่งสำหรับการเลี้ยงแมว ที่ผู้ปกครองควรคอยสังเกต และเฝ้าระวังไม่ให้น้องกินสิ่งแปลกปลอมเข้าไป เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตของน้องได้ แมวชอบกินสิ่งแปลกปลอม ที่ไม่ใช่อาหาร เป็นพฤติกรรมที่พบได้บ่อยในแมวบางสายพันธุ์ เช่น แมวไทย แมวเบอร์มีส และแมวตองกีนีส เป็นต้น ซึ่งสันนิษฐานว่า สาเหตุอาจเกิดจากความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมในแมว อย่างไรก็ตาม แมวสายพันธุ์อื่น ๆ นอกเหนือจากที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น ก็อาจแสดงพฤติกรรม PICA หรือชอบกินสิ่งของที่ไม่ใช่อาหารได้เช่นกัน สิ่งแปลกปลอมอะไรบ้าง ที่น้องแมวชอบกิน จากกรณีน้องแมวส่วนใหญ่ที่กินสิ่งแปลกปลอม แล้วคุณพ่อคุณแม่นำน้องมาหาสัตวแพทย์ พบว่า วัสดุแปลกปลอมส่วนใหญ่ที่ตรวจพบ ได้แก่ พลาสติก เศษผ้า วัตถุที่ผลิตจากยางหรือไม้ กระดาษแก้ว กระดาษแข็ง ทรายแมว โลหะ และก้อนขนของตัวเอง โดย ช่วงอายุที่พบได้บ่อย คือ ลูกแมวที่อายุน้อยกว่า 3 เดือน จากการสังเกตพฤติกรรมพบว่า ลูกแมวจะเริ่มกัดแทะสิ่งของใกล้ตัว อย่างที่นอนของตัวเอง และพฤติกรรมนี้จะหายไปเมื่อโตขึ้นสู่ช่วงโตเต็มวัย แต่ในแมวบางตัว จะยังคงพฤติกรรมนี้จนกลายเป็นปัญหาทางพฤติกรรม แล้วเราจะสังเกตได้อย่างไรว่า แมวของเรามีพฤติกรรมกินสิ่งของที่ไม่ใช่อาหาร ปกติแล้วแมวจะมีการล่าเหยื่อ […]

อ่านต่อ

โรคกระเพาะอาหาร และลำไส้อักเสบเรื้อรังในแมว

อาเจียน ท้องเสีย น้ำหนักลด ติดต่อกันนานกว่า 3 สัปดาห์ น้องแมวอาจกำลังเผชิญกับ โรคกระเพาะอาหาร และลำไส้อักเสบในแมว โรคกระเพาะอาหาร และลำไส้อักเสบในแมว หรือ Inflammatory Bowel Disease มีชื่อย่อว่า IBD เป็นโรคระบบทางเดินอาหารเรื้อรังที่พบได้ในแมวโตเต็มวัย จนถึงแมวสูงอายุ โดยค่าเฉลี่ยอายุที่พบประมาณ 6 ปี บางกรณีสามารถพบได้ในแมวอายุน้อยได้เช่นกัน แต่พบได้น้อย (มีรายงานพบว่า แมวป่วยด้วยโรคนี้ ตั้งแต่อายุ 6 เดือน) อาการส่วนใหญ่ของแมวที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร และลำไส้อักเสบเรื้อรัง คือ อาเจียน หรือท้องเสีย น้ำหนักลด อาจจะมีอุจจาระปนมูก หรือปนเลือดสดออกมา แสดงอาการเรื้อรัง ต่อเนื่องเป็นระยะเวลามากกว่า 3 สัปดาห์ แต่ตรวจหาสาเหตุอื่น ๆ ไม่พบ รวมไปถึง บางรายอาจจะมีอาการเบื่ออาหารร่วมด้วย สาเหตุของการเกิดโรค IBD โรคกระเพาะอาหาร และลำไส้อักเสบเรื้อรังในแมว เกิดจากเซลล์อักเสบแทรกเข้าไปในชั้นผนังของระบบทางเดินอาหาร ทำให้ผนังของกระเพาะอาหาร และลำไส้หนาตัวขึ้น ซึ่งรบกวนการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ส่งผลให้เกิดความผิดปกติในกระบวนการย่อย […]

อ่านต่อ

พยาธิในทางเดินอาหารของแมว รู้ไว้เพื่อป้องกัน

พยาธิในทางเดินอาหารของแมว เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อย และมักเป็นสาเหตุทำให้ระบบทางเดินอาการทำงานผิดปกติ พยาธิในทางเดินอาหารของแมว ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ที่สังเกตได้ ดังนี้ น้องแมวส่วนใหญ่ที่มีพยาธิในทางเดินอาหารจะแสดงอาการ ท้องเสีย อาเจียน น้ำหนักลด เบื่ออาหาร มีอาการระคายเคืองบริเวณทวารหนัก โลหิตจาง และถ่ายปนมูกเลือด ถ้าแมวที่มีอายุน้อย อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตช้า และอ่อนแอไม่แข็งแรง ในบางกรณีที่มีพยาธิในร่างกาย อาจจะไม่แสดงอาการผิดปกติให้เห็นอย่างชัดเจนก็ได้ แต่จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นพาหะนำพยาธิไปสู่แมวตัวอื่น ๆ นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือ พยาธิบางชนิดในแมวสามารถติดต่อสู่คนได้อีกด้วย กลุ่มของพยาธิที่พบได้บ่อยในแมว ได้แก่ กลุ่มพยาธิตัวกลม (Roundworms) 1.พยาธิไส้เดือน ชนิดที่พบบ่อยในแมวชื่อว่า Toxocara cati และ Toxascaris leonine โดยพยาธิที่โตเต็มวัยจะปล่อยไข่ในทางเดินอาหารของแมว และปะปนออกมากับอุจจาระออกมานอกตัวสัตว์ ไข่พยาธิที่ออกมากับอุจจาระของแมวสามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานเกือบหนึ่งปี การติดต่อสู่แมวตัวอื่นสามารถเกิดได้ 2 ทาง คือ แมวได้รับไข่พยาธิผ่านทางการกินที่ปนเปื้อนไข่พยาธิเข้าไป หรือแมวไปกินสัตว์ที่เป็นพาหะตัวกลาง เช่น หนูที่มีพยาธิตัวอ่อนอยู่ในร่างกาย เป็นต้น สำหรับลูกแมว สามารถติดพยาธิไส้เดือน Toxocara cati จากการได้รับตัวอ่อนพยาธิผ่านทางน้ำนมจากแม่ โดยแมวตัวเมียที่ตั้งครรภ์และมีพยาธิ […]

อ่านต่อ

FIP แมว คือ โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบในแมว

FIP แมว คือ โรคติดต่อในแมวชนิดหนึ่ง ย่อมาจาก Feline infectious peritonitis หรือเรียกว่า โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ FIP แมว หรือโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ รู้ไว้และป้องกัน เพื่อให้น้องแมวที่รักของเราห่างไกลจากโรคติดต่อ วันนี้ คุณหมอได้อธิบายเกี่ยวกับโรคนี้ไว้อย่างไร มาติดตามกันเลยค่ะ โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบเกิดจาก “การติดเชื้อในกลุ่มโคโรนาไวรัส” ที่กลายพันธุ์มาจากเชื้อ Feline enteric coronavirus (FCov) และก่อให้เกิดโรคติดเชื้อรุนแรงในแมว โดยทั่วไป เชื้อไวรัสเยื่อบุช่องท้องมักติดเชื้อในแมว ที่ระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง เช่น แมวอายุน้อยกว่า 2 ปี และแมวที่มีอายุมาก แมวที่รวมกันเป็นกลุ่มอย่างแน่น และแมวที่เกิดความเครียดเรื้อรัง นอกจานี้ โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบยังสามารถพบได้ในแมว ที่ป่วยด้วยโรคภูมิคุ้มกันยกพร่อง เช่น โรคลิวคีเมีย และโรคเอดส์แมว เป็นต้น โดยโรคติดต่อชนิดนี้สามารถพบได้ในแมวทุกเพศ และทุกสายพันธุ์ การติดเชื้อโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบในแมว เชื้อ FCoV ที่ยังไม่ได้กลายพันธุ์และไม่ได้อยู่ในขั้นก่อโรครุนแรง สามารถติดต่อแมวตัวอื่นได้ง่าย โดยแพร่ผ่านการสัมผัสทางร่างกายระหว่างแมว หรือการสัมผัสอุจจาระของแมวที่เป็นพาหะ จากการใช้กระบะทรายร่วมกัน หรือการติดเชื้อไวรัสผ่านวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกัน อย่างไรก็ตาม […]

อ่านต่อ

ดูแลน้องแมว อย่างไร ในแต่ละวัน

คุณพ่อคุณแม่ทาสแมวหลายท่านอาจเคยสงสัยว่า ในแต่ละวันเราควร ดูแลน้องแมว อย่างไร และควรดูแลในเรื่องใดบ้าง ความรักและความเอาใจใส่ของคุณพ่อคุณแม่ที่มีต่อน้องแมว เป็นสายสัมพันธ์ที่สวยงาม และมีคุณค่าต่อจิตใจ วันนี้ คุณหมอก้อย  สพ.ญ. ปิยวรรณ ภู่ระหงษ์ สัตวแพทย์ประจำ PURRfect Cat Hospital จึงได้มาเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในการปรนนิบัติน้องแมวในหนึ่งวันให้ฟังว่า ในหนึ่งวันเราควร ดูแลน้องแมว อย่างไร และทำอย่างไรให้แลดูสุขภาพดีตลอดช่วงชีวิตที่เขาอยู่กับเรา  หมอก้อยได้แนะนำวิธีการดูแลพื้นฐาน 4 ข้อ สำหรับน้องแมวทุกตัว ดังนี้ ค่ะ 1. การดูแลเส้นขนและผิวหนัง ระบบปกคลุมร่างกายของน้องแมวทุกตัวประกอบด้วย เส้นขน และผิวหนัง ซึ่งแต่ละสายพันธุ์จะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม น้องแมวจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากคุณพ่อคุณแม่ เรื่องการดูแลเส้นขนและผิวหนังเหมือนกันทุกตัว เส้นขนของน้องแมวที่มีสุขภาพดีจะมีลักษณะนุ่มสลวย เงางาม ไม่แห้งกระด้าง และขนไม่หลุดเป็นหย่อมๆ เมื่อเราใช้มือลูบ หรือใช้แปรงหวีสางเส้นขน การดูแลเส้นขนของน้องแมว หมอก้อยได้แนะนำไว้แบบนี้ค่ะ  สำหรับน้องแมวสายพันธุ์ขนยาว คุณพ่อคุณแม่ควรแปรงขนเป็นประจำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 5 – 15 นาที […]

อ่านต่อ

ดูแลน้องแมว อย่างไร ให้ห่างไกลจากโรคไต

โรคไตในแมว เป็นหนึ่งในโรคที่พบได้มากที่สุดในบรรดาอาการเจ็บป่วยของแมว โดยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้น เพื่อให้น้องแมวของเรามีสุขภาพที่ดี และห่างไกลจากโรคไต เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไต สาเหตุของโรค รวมไปถึงวิธีการดูแลรักษา และวิธีป้องกัน โรคไตในแมว เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของไต ซึ่งทำหน้าที่กำจัดของเสียในร่างกายของแมว ควบคุมความเป็นกรดด่างในกระแสเลือด ควบคุมความสมดุลของเกลือแร่ รวมไปถึงควบคุมปริมาณน้ำในร่างกาย โรคไตในแมวสามารถแบ่งได้ตามระยะการเกิดโรคแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ  1. โรคไตแบบเฉียบพลัน เกิดจากการทำหน้าที่ของไตลดลงอย่างเฉียบพลัน อาการจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แมวมักจะแสดงอาการป่วยภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์หรือไม่เกิน 1 เดือน  โรคไตแบบเฉียบพลันเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากขาดน้ำอย่างรวดเร็ว เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในร่างกาย เช่น FIV FeLV FIP และ Feline Morbillivirus และการได้รับสารพิษต่างๆ ที่มีผลต่อไต เช่น ยาฆ่าแมลงต่าง ๆ น้ำยาทำความสะอาด หรือผลข้างเคียงจากยาบางชนิด โดยส่วนใหญ่พบว่า แมวที่เลี้ยงแบบปล่อยให้ออกนอกบ้านได้อย่างอิสระ มักมีความเสี่ยงไปสัมผัสกับสารพิษมากกว่าแมวที่เลี้ยงระบบปิด 2. โรคไตแบบเรื้อรัง ที่ทำให้การทำหน้าที่ของไตค่อย ๆ ลดลงทีละน้อย […]

อ่านต่อ