พฤติกรรมสุนัข

เมื่อเจ้าของเครียด สุนัขก็เครียดตามไปด้วย

การศึกษาของมหาวิทยาลัยควีนส์ เบลฟาสต์ ประเทศไอร์แลนด์ พบว่า ระกับความเครียดในเจ้าของ ส่งผลต่อระดับ ความเครียดในสุนัข ได้ ก่อนหน้านี้ การศึกษาเกี่ยวกับการรับรู้ความเครียดของมนุษย์ พบว่า สุนัขสามารถรับรู้ความเครียดของมนุษย์ ผ่านการดมกลิ่นได้ แต่ยังไม่มีการศึกษาว่า ความเครียดของเจ้าของส่งผลกระทบต่อ ความเครียดในสุนัข หรือไม่ ทีมวิจัยจึงต้องการทราบว่า การเปลี่ยนแปลงระดับความเครียดของเจ้าของสุนัข ส่งผลต่อความเครียดที่เกิดขึ้นในสุนัข หรือไม่ เช่น เมื่อพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์ หรือเมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย เป็นต้น อย่างที่เราทราบกันโดยทั่วไปว่า การไปพบสัตวแพทย์เป็นส่วนสำคัญในการดูแลสุขภาพของสุนัข แต่จากผลการศึกษาก่อนหน้านี้ ได้รายงานว่า การพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์อาจทำให้สุนัขเกิดความเครียดแบบเฉียบพลันได้ เนื่องจากสาเหตุที่ถูกจำกัดพื้นที่ ความไม่แน่นอน ความเจ้ฐปวด และการสูญเสียความเป็นอิสระของสุนัข ทีมนักวิจัยได้รวบรวมเจ้าของและสุนัข จำนวน 28 ตัว เพื่อเข้าร่วมการศึกษาในครั้งนี้ โดยดำเนินการศึกษาที่คลิกนิกสัตวแพทย์แห่งหนึ่งในเมืองดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ ในจำนวนสุนัขทั้งหมดที่เข้าร่วมการศึกษา แบ่งเป็นสุนัขเพศผู้ 10 ตัว และตัวเมีย 18 ตัว โดยมีช่วงอายุตั้งแต่ 1 ถึง 17 ปี การทดสอบความเครียดของเจ้าของต่อ ความเครียดในสุนัข […]

อ่านต่อ

ทำไมสุนัขชอบให้ลูบท้อง คำตอบอาจทำให้เรารักพวกเขายิ่งขึ้น

ทำไม สุนัขชอบให้ลูบท้อง และเมื่อเราเอามือลูบไปลูบมา พวกเขาก็จะทำตาพริ้ม เคลิ้มสบาย และกระดิกขา ตามไปด้วย พฤติกรรมที่ สุนัขชอบให้ลูบท้อง เป็นหนึ่งในพฤติกรรมแสนน่ารัก ที่สุนัขแสดงออกมาระหว่างเจ้าของ และดูเหมือนว่าจะเป็นหนึ่งในกิจกรรมสุดโปรดของสุนัขหลายตัว โดยเฉพาะช่วงเวลาที่เรากลับมาถึงบ้าน เพื่อนสี่ขาของเราก็จะวิ่งมานอนหงายท้องพร้อมให้เราเริ่มต้นกิจกรรมลูบท้องทันที การสื่อสารด้วยท่าทางการนอนหงาย ก็เหมือนเป็นภาษาสากลที่สุนัขไม่จำเป็นต้องเอ่ยออกมาเป็นคำพูด แต่มนุษย์และเจ้าของทุกคนต่างก็เข้าใจตรงกันว่า ที่สุนัขนอนหงายท้องลักษณะนี้ พวกเขาต้องการอะไร แต่ทำไมสุนัขชอบนอนให้เราลูบท้องล่ะ มาดูเหตุผลเบื้องหลังพฤติกรรมนี้ไปพร้อมกันนะคะ ทำไม สุนัขชอบให้ลูบท้อง พฤติกรรมนี้เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน สัตวแพทย์ และนักพฤิตกรรมสัตว์เลี้ยง จึงได้พยายามหาคำตอบมาอย่างต่อเนื่อง จึงเกิดเป็นงานศึกษาวิจัยหลายชิ้นที่เป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ว่า สุนัขชื่นชอบการลูบท้องอย่างมาก หนึ่งในนั้น คืองานวิจัยในปี 2011 ที่พบว่า การสัมผัสด้วยมือของมนุษย์บนร่างกายของสุนัข ไม่ว่าจะเป็นการลูบท้อง การเกาบริเวณโคนหู หรือการลูบไปตามลำตัว ช่วยให้ฮอร์โมนความเครียด (คอร์ติซอล) ในสุนัขลดลง และในขณะเดียวกัน ระดับฮอร์โมนแห่งความผูกพัน (ออกซิโทซิน) ก็เพิ่มขึ้นด้วย สิ่งที่น่าสนใจสำหรับกิจกรรมการลูบท้อง ไม่เพียงแต่ส่งผลเชิงบวกต่อตัวสุนัขเท่านั้น ในงานศึกษาวิจัยชิ้นเดียวกันยังพบว่า เจ้าของที่กำลังลูบท้องให้สุนัขมีอัตราการเต้นของหัวใจลดลง และมีอารมณ์ดีขึ้นในช่วงของการสัมผัสตัวสุนัขตือเนื่องเป็นเวลา 3 นาที จากผลการศึกษาดังกล่าว เหล่านักวิทยาศาสตร์จึงขยายผลการศึกษาต่อไปในกลุ่มสุนัขที่อยู่ในศูนย์พักพิง ซึ่งมักเกิดความเครียดได้ง่าย พบว่า […]

อ่านต่อ

เสียงสุนัขหอน – เข้าใจ 5 เหตุผลเบื้องเสียงเห่าหอนของสุนัข

เสียงสุนัขหอน เป็นเสียงที่ไม่ใช่เฉพาะเจ้าของสุนัขเท่านั้นที่คุ้นเคยกับเสียงอันเป็นเอกลักษณ์นี้ แต่คนทั่วไปต่างก็เคยได้ยินเช่นกัน และยังเชื่อมโยงกับความเชื่อในสิ่งลี้ลับของสังคมไทยอีกด้วย สุนัขได้เข้ามาเป็นสัตว์เลี้ยงในสังคมมนุษย์มาอย่างยาวนาน พวกเขาปรับตัวและอยู่ร่วมกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในแทบทุกพื้นที่บนโลก ในฐานะมนุษย์เราต่างคุ้นเคยกับพฤติกรรมต่าง ๆ ของเพื่อนรักสี่ขา และหนึ่งในสิ่งที่เราคุ้นเคยจนกลายเป็นเรื่องเล่าต่าง ๆ ตามพื้นที่ทางวัฒนธรรม คือ เสียงสุนัขหอน สัตวแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมสุนัข กล่าวว่า สุนัขส่งเสียงหอนด้วยเหตุผลหลายประการ การทำความเข้าใจว่า ทำไมสุนัขจึงเห่าหอน อาจให้เจ้าของเข้าใจของสิ่งที่สุนัขกำลังอยากจะสื่อสารกับเราได้ดีขึ้น และเราอาจจะจำเป็นต้องเข้าไปช่วยดูแลพวกเขาด้วยในบางกรณี จุดกำเนิดของ เสียงสุนัขหอน สุน้ขบ้านในปัจจุบันสืบเชื้อสายมาจากหมาป่าเมื่อ 15,000 ปีก่อน แม้ว่าในยุคปัจจุบันพฤติกรรมของสุนัขบ้านจะแตกต่างจากสุนัขป่าอย่างชัดเจนแล้ว แต่พฤติกรรมตามธรรมชาติ อย่างการหอน ก็ยังคงหลงเหลืออยู่ในพฤติกรรมของสุนัขบ้าน หากย้อนกลับไปถึงเหตุผลที่สุนัขป่าหอน อาจเป็นไปได้ทั้ง สื่อสารกับหมาป่าตัวอื่น ใช้รวมฝูง กิจกรรมการล่าของฝูง สร้างอาณาเขต หรือเตือนสุนัขฝูงอื่นให้ถอยออกจากอาณาเขต กลับมาที่สุนัขบ้าน เหล่านี้คือเหตุผลที่สุนัขบ้านส่งเสียงหอน 5 เหตุผล สุนัขหอน เพราะอะไร 1. เพื่อการสื่อสารข้อความบางอย่าง สุนัขบ้านก็ยังคงพฤติกรรมบางอย่างเหมือนบรรพบุรุษที่เป็นสุนัขป่า ดังนั้น การเห่าหอนจึงเป็นหนึ่งในวิธีการสื่อสารระหว่างสุนัขด้วยกันเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อต้องการสื่อสารกับสุนัข ที่อยู่ห่างไกลออกไป ในเสียงหอนของสุนัข อาจหมายถึง สันัขกำลังบอกสมาชิกตัวอื่น […]

อ่านต่อ

สุนัขดุร้าย เพราะสายพันธุ์ จริงหรือ ?

ปัญหา สุนัขดุร้าย และความก้าวร้าว ถือเป็นปัญหาที่สามารถพบได้บ่อย และเรามักจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับสุนัขกัด หรือทำร้ายผู้คนอยู่อย่างต่อเนื่อง วันนี้ เราจามาคุยกันถึงเรื่องปัจจัยความดุร้ายในสุนัข และไขข้อสงสัยเรื่องนี้ ไปพร้อมกันครับ ในเนื้อหาข่าวส่วนใหญ่ที่นำเสนอผ่านสื่อต่าง ๆ เรามักจะพบการเสนอคำว่า สุนัขดุร้าย โดยพุ่งเป้าไปยังสายพันธุ์ที่สังคมมีความเข้าใจว่าเป็นสุนัขดุร้าย เช่น ร็อตไวเลอร์ หรือสุนัขในกลุ่มพิทบูล ซึ่งรวมถึง อเมริกันพิทบูลเทอร์เรีย อเมริกันสแตฟฟอร์ดเชียร์เทอร์เรีย และอเมริกันบูลลี่ เป็นต้น ในความเป็นจริงแล้ว สายพันธุ์ของสุนัขเป็นเพียงหนึ่งในหลาย ๆ ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความก้าวร้าวได้ แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่สามารถกระตุ้นให้สุนัขดุร้าย และแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวออกมา โดยแบ่งปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของสุนัข ได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ 1. ปัจจัยทางชีววิทยาของสุนัข ซึ่งรวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่มาจากตัวของสุนัขเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพันธุกรรม สายพันธุ์ พื้นอารมณ์ (temperament) บุคลิกภาพ ระดับของสารเคมีในสมอง ตลอดจนการทำงานของฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย เป็นต้น 2. ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม โดยสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบตัวสัตว์ ณ ช่วงเวลาใด เวลาหนึ่ง […]

อ่านต่อ

ทำไมสุนัขชอบนอนตากแดด แม้จะเป็นวันที่ร้อนอบอ้าว

เราอาจเคยสงสัยว่า ทำไมสุนัขชอบนอนตากแดด ทั้ง ๆ ที่อากาศก็ร้อนเหลือเกิน แต่ดูเหมือนว่า สุนัขของเราก็เพลิดเพลินกับแสงแดดที่ส่องลงบนลำตัวเหลือเกิน เหตุผลเบื้องหลัง ทำไมสุนัขชอบนอนตากแดด สุนัขบางส่วนใหญ่ แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด ที่ชอบนอนตากแดด แน่นอนว่า เหตุผลของการนอนตากแดดของพวกเขาแตกต่างจากมนุษย์ เนื่องจาก ตามธรรมชาติแล้ว อุณภูมิร่างกายเฉลี่ยของสุนัขสูงกว่ามนุษย์ ดังนั้น การนอนตากแดดจึงช่วยเพิ่มอุณหภูมิของร่างกายสุนัขให้สูงขึ้น และช่วยให้ร่างกายอบอุ่นขึ้นด้วย แม้ว่าสุนัขส่วยใหญ่จะนอนอาบแดดได้อย่างปลอดภัย แต่เจ้าของก็ควรระวังปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่น สภาพร่างกายของสุนัข ต้องไม่เจ็บป่วย สีขนของสุนัข และอุณภูมิของอากาศในฤดูร้อน วันนี้ เราจึงมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุที่สุนัขชอบนอนอาบแดด รวมถึงความเสี่ยงและขอควรระวัง ที่เราสามารถจัดการได้ เพื่อลดความเสี่ยงเหล่านั้น ให้กับสุนัขที่เรารัก ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการนอนของสุนัข คือฮอร์โมนเมลาโทนิน ซึ่งพบได้ในมนุษย์เช่นกัน โดยเมลาโทนินทำหน้าที่ควบคุมวงจรการนอนหลับ เมื่อร่างกายหลังเมลาโทนินออกมาน้อย จะทำให้คุณภาพการนอนหลับลดลง ฮอร์โมนเมลาโทนินถูกผลิตจากต่อมไพเนียล ที่อยู่ภายในสมอง และหนึ่งในปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการหลั่ง หรือระงับเมลาโทนิน คือแสงแดด ดังนั้น เมื่อร่างกายของสุนัขได้รับแสงแดด ก็จะทำให้สมองรับรู้ช่วงเวลากลางวันและกลางคืนที่ชัดเจน ซึ่งเมลาโทนินจะผลิตออกมาเฉพาะในช่วงที่ไม่มีแสงแดด หรือช่วงที่สุนัขนอนหลับในเวลากลางคืน ความอบอุ่นจากแสงแดดช่วยบรรเทาอาการปวดตามข้อ และอาการอักเสบในบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายสุนัขได้ […]

อ่านต่อ

ความผูกพันระหว่างสุนัขและเจ้าของ มีรูปแบบใดบ้าง

ความผูกพันระหว่างสุนัขและเจ้าของ เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากสุนัขถือเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีวิวัฒนาการร่วมกับมนุษย์มาอย่างใกล้ชิด เป็นระยะเวลาอันยาวนาน ทุกวันนี้ นักวิทยาศาสตร์เริ่มศึกษาถึงรูปแบบ ความผูกพันระหว่างสุนัขและเจ้าของ ในลักษณะต่าง ๆ ตลอดจนผลที่เกิดขึ้นจากลักษณะความผูกพันเหล่านั้น ในเชิงของความสัมพันธ์กับปัญหาพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับน้องหมาเพิ่มมากขึ้น การศึกษาเรื่องความผูกพันธ์ระหว่างคนและสัตว์เลี้ยง เป็นการประยุกต์มาจากการศึกษาความผูกพันระหว่างเด็กและพ่อแม่ โดยความผูกพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างสุนัขและมนุษย์ มีทั้งหมด 4 รูปแบบหลัก ๆ ได้แก่ ความผูกพันที่มั่นคง ความผูกพันแบบหลีกเลี่ยง ความผูกพันแบบสับสน ความผูกพันแบบไม่เป็นระเบียบ และความผูกพันที่ไม่สามารถระบุลักษณะได้ เราสามารถสังเกตจากพฤติกรรมของน้องหมาที่แสดงออกก่อนการแยกจากเจ้าของ ขณะแยกจากเจ้าของ และหลังจากกลับมาเจอกับเจ้าของ เป็นตัวที่บ่งบอกถึงรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างเรากับสุนัขของเรา มาดูรายละเอียดกันครับ 1. ความผูกพันที่มั่นคง (Secure attachment) สุนัขที่มีรูปแบบความผูกพันในลักษณะนี้จะแสดงความต้องการเข้าหา และอยู่ใกล้ชิดกับเจ้าของ โดยจะเข้าหาและอยู่ใกล้ชิดกับเจ้าของเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 10 วินาที หลังจากที่เจ้าของกลับมาบ้าน สุนัขแทบจะไม่หลบสายตาไปทางอื่น หรือพยายามหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับเจ้าของเลย และไม่มีการต่อต้านต่อปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นกับเจ้าของในช่วงเวลาดังกล่าว สุนัขที่มีรูปแบบความสัมพันธ์ที่มั่นคง ก่อนจะแยกจากเจ้าของ สุนัขอาจจะมีการเล่นหรือสำรวจสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง และเมื่อทักทายกับเจ้าของเสร็จแล้ว สุนัขอาจจะไปนอนพักผ่อน ส่วนช่วงที่แยกจากเจ้าของ สามารถพบพฤติกรรมการเดินตามหาเจ้าของได้ แต่เป็นการตามหาที่ไม่ได้มีภาษากายของความเครียดแสดงให้เห็น 2. ความผูกพันแบบหลีกเลี่ยง […]

อ่านต่อ

ทำไม สุนัขชอบเลียเท้า เหตุผลเบื้องหลังที่จะให้เรารักพวกเขามากยิ่งขึ้น

เมื่อสุนัขรวมฝูงกัน หรือเมื่อเราเลี้ยงพวกเขารวมกันไว้หลายตัว หนึ่งในพฤติกรรมที่มักสังเกตได้บ่อย ๆ คือสุนัขชอบเลียใบหน้าของกันและกัน เพื่อแสดงการทักทาย หรือสื่อสารบางอย่าง แล้วถ้า สุนัขชอบเลียเท้า ของเราล่ะ เป็นเพราะอะไรกันนะ นักพฤติกรรมสัตว์กล่าวว่า เมื่อสุนัขเลียส่วนต่าง ๆ บนร่างกายของกันและกัน เช่น หู ตา อุ้งเท้า และใบหน้า นั่นหมายความว่า พวกเขากำลังแสดงบทบาทที่สำคัญต่อการสร้างปฏิสัมพันธ์ รวมไปถึงมนุษย์ สุนัขชอบเลียเท้า เจ้าของ นั่นก็เป็นการแสดงปฏิสัมพันธ์ระหว่างสุนัขและเจ้าของเช่นกัน การแสดงออกลักษณะนี้เป็นหนึ่งในเครื่องมือการสื่อสารทางร่างกายของสุนัข ที่บ่งบอกถึงการแสดงความรัก ความไว้ใจ และการยอมรับภายในฝูง ในทำนองเดียวกัน เมื่อสุนัขอยู่ร่วมในสังคมมนุษย์ คำว่า “ฝูง” ของสุนัขบ้านจึงรวมมนุษย์เข้าไปด้วย ในกรณีนี้ เจ้าของสุนัขบางรายอาจแสดงพฤติกรรมต่อต้านเมื่อสุนัขมาเลียเท้า เนื่องจากรู้สึกจั๊กจี้ ในทางกลับกัน เจ้าของควรรู้สึกดีใจที่สุนัขเข้ามาเลียเท้า เพราะว่านั่นเป็นการแสดงว่า พวกเขาเคารพ และยอมรับให้เรามีบทบาทในฝูง สัตวแพทย์ เอลิซาเบธ สเตโลว์ จากโรงเรียนสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเดวิส กว่าวในบทความโดโดเดลี ว่า สุนัขอาจเลียเท้าเจ้าของ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในพฤติกรรมทางสังคม และเสริมว่า “เหมือนเพื่อนที่มอบสิ่งของ หรือถักเปียให้คุณ […]

อ่านต่อ

สุนัขตัวผู้มีฤดูผสมพันธุ์ หรือไม่ อย่างไร

เราอาจจะเคยได้ยินมาว่า สุนัขตัวเมียมีวงรอบการผสมพันธุ์ หรือติดสัด แล้วสุนัขตัวผู้ล่ะ พวกเขามีช่วงติดสัด หรือไม่ ถ้ามี ฤดูผสมพันธุ์สุนัขตัวผู้ คือช่วงไหน ใช้ระยะเวลายาวนานแค่ไหน เรามาหาคำตอบไปพร้อมกันค่ะ ฤดูผสมพันธุ์สุนัขตัวผู้ คือช่วงไหน คำตอบคือ “สุนัขตัวผู้ไม่มีช่วงเวลาติดสัด” ที่ชัดเจนเหมือนสุนัขตัวเมีย ดังนั้น วงจรการสืบพันธุ์ที่เป็นรอบอย่างชัดเจน จะเกิดขึ้นในสุนัขตัวเมีย และข้อมูลจาก American Kennel Club รายงานว่า สุนัขตัวผู้จะไม่เข้าสู่ช่วงเป็นสัด แต่สามารถผสมพันธุ์กับตัวเมียได้ตลอดทั้งปี เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ซึ่งโดยเฉลี่ยสุนัขตัวผู้จะพร้อมผสมพันธุ์เมื่ออายุประมาณ 6 เดือนขึ้นไป โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้สุนัขตัวผู้เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ไม่พร้อมกันคือ ขนาดตัว และสายพันธุ์ กล่าวคือ สุนัขพันธุ์เล็กจะเข้าสู่ช่วงเจริญพันธุ์เร็วกว่าสุนัขสายพันธุ์ใหญ่ สำหรับสุนัขคตัวเมียก็จะเข้าสู่ช่วงติดสัดครั้งแรก เมื่ออายุประมาณ 6 – 8 เดือน และกินเวลาประมาณ 3 สัปดาห์ ในช่วงเป็นสัด สุนัขตัวเมียจะดึงดูดสุนัขตัวผู้เป็นพิเศษ เนื่องจากในช่วงนี้ สุนัขตัวเมียจะมีฟีโรโมนที่ไปกระตุ้นพฤติกรรมการผสมพันธุ์ของสุนัขตจัวผู้ ร่วมกับอาการช่องคลอดบวม มีเลือดออกทางช่องคลอด และปัสสาวะบ่อยขึ้น การดูแลสุนัขตัวผู้ เมื่ออยู่ใกล้สุนัขตัวเมียที่กำลังเป็นสัด แม้ว่าสุนัขตัวผู้จะไม่เป็นสัด แต่เมื่อได้อยู่ใกล้สุนัขตัวเมียที่เป็นสัด […]

อ่านต่อ

การให้ขนมแก่สัตว์เลี้ยง เพื่อประโยชน์ทางด้านพฤติกรรม

การให้ขนมแก่สัตว์เลี้ยง เป็นกิจกรรมที่คุณพ่อคุณแม่ทำกันจนเป็นเรื่องปกติ เพราะขนมเป็นสิ่งที่สัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่ต้องการและอยากได้ นอกจากนี้ เราสามารถนำขนมมาใช้ในการฝึกพฤติกรรม หรือปรับพฤติกรรมได้อย่างหลากหลาย การให้ขนมแก่สัตว์เลี้ยง หากใช้ขนมที่ไม่ได้ผลิตมาเพื่อสัตว์เลี้ยงโดยตรง หรือไม่ได้มีการควบคุมมาตรฐานคุณภาพ หรือให้ในปริมาณที่มากจนเกินไป ก็อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของสัตว์เลี้ยงได้ ดังนั้น เรามาดูกันครับว่า ควรให้ขนมแก่สัตว์เลี้ยงของเรา อย่างไร เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุนัขมากที่สุด แน่นอนว่า ขนมที่เราเลือกใช้ควรเป็นขนมที่มีขบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน มีข้อมูลที่สำคัญต่าง ๆ ระบุไว้อย่างชัดเจน เช่น ข้อมูลทางโภชนศาสตร์ มีรายละเอียดของส่วนประกอบต่าง ๆ มีรายละเอียดของผู้ผลิต หรือผู้นำเข้า สถานที่ติดต่อ และปริมาณที่สามารถรับประทานได้ต่อวัน เป็นต้น ควรหลีกเลี่ยงขนม และอาหารเป็นของมนุษย์ เนื่องจากอาจมีส่วนผสมที่เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงของเราได้ ข้อควรคำนึงในการให้ขนมแก่สัตว์เลี้ยงของเรา เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เลี้ยงควรให้ความใส่ใจ โดยเราควรหลีกเลี่ยงการให้ขนมตามใจเจ้าของ เช่น หลังจากตื่นนอนตอนเช้าก็ให้ขนมหนึ่งชิ้นกับสุนัขทันที โดยไม่ได้มีเหตุผลใด ๆ ในทางกลับกัน ควรให้ขนมแก่สัตว์เลี้ยง เมื่อพวกเขาแสดงพฤติกรรมที่เราต้องการ ตัวอย่างเช่น สุนัขนั่งคอยเมื่ออยากกินขนมที่อยู่ในมือเรา หรือสุนัขของเราเดินผ่านสุนัขตัวอื่นแล้วไม่เห่าใส่ เป็นต้น รวมไปถึง เมื่อสุนัขออกไปอยู่ในสถานที่ที่มีสิ่งเร้าที่สุนัขไม่ชอบ เราก็สามารถให้ขนมได้เช่นกัน โดยในกรณีหลังนี้ นอกจากการให้ขนมจะเป็นการช่วยปรับสภาวะอารมณ์ให้ดีขึ้นแล้วนั้น ยังเป็นวิธีในการตรวจสอบระดับความเครียดของสุนัขได้อีกด้วย โดยเจ้าสามารถสังเกตได้ว่า ถ้าสุนัขไม่กินขนมที่ชอบมาก […]

อ่านต่อ

ห้ามสุนัขกัดกัน อย่างไร ให้ปลอดภัย

เชื่อว่าเจ้าของน้องหมาหลายท่านอาจเคยตกอยู่ในสถานการณ์สุนัข 2 ตัวกัดกัน หรือตั้งท่ากำลังจะกัดกัน หลาย ๆ ครั้งที่เราพยายามเข้าไป “ห้ามสุนัขกัดกัน” แต่กลับทำให้สุนัขกัดกันมากขึ้น หรือหันกลับมากัดเจ้าของเสียเอง สถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดความเครียดต่อทั้งสุนัขและเจ้าของ แล้วเราจะ ห้ามสุนัขกัดกัน อย่างไร และเราจะแยกสุนัขที่กัดกัน หรือมีแนวโน้มจะกัดกันอย่างไร ก่อนจะกลายเป็นเหตุการณ์ที่เกินความควบคุม มาดูกันเลยครับ เริ่มแรกเลย ในกรณีที่สุนัขยังไม่มีการกัดทำร้ายกัน ช่วงเวลาตรงนี้เป็นช่วงเวลาที่สำคัญมาก ๆ ที่ผู้เลี้ยงอย่างเรา ๆ จะสามารถช่วยปัองกันไม่ให้สถานการณ์บานปลายต่อไป โดยเมื่อเราสังเกตเห็นสัญญาณบางอย่าง ที่สุนัขแสดงออกต่อสุนัขอีกตัวหนึ่ง เช่น ยืน นั่ง หรือนอนขวางทางสุนัขตัวอื่น มีลักษณะตัวนิ่ง ๆ ไม่ค่อยขยับร่างกาย ตามองจ้องไปที่สุนัขอีกตัว และขนบริเวณหลังตั้งขึ้น หากสถานการณ์รุนแรงขึ้น เราอาจได้ยินเสียงขู่ในลำคอของสุนัขตัวใดตัวหนึ่ง หรือเริ่มเห็นการแยกเขี้ยว การแสดงภาษากายในลักษณะดังกล่าว เป็นสัญญาณที่เจ้าของไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้นต่อไป เพราะอาจจะนำไปสู่ความก้าวร้าวที่ยากจะควบคุมได้ สำหรับการจัดการในเบื้องต้นเมื่อเราสังเกตเห็นภาษากายดังกล่าว เจ้าของควรทำการดึงความสนใจของสุนัขให้กลับมาที่เจ้าของให้ได้ โดยอาจจะใช้การเรียกให้สุนัขกลับมาหา หรืออาจใช้ขนม หรือของเล่น ล่อสุนัขตัวที่เป็นตัวเริ่มก้าวร้าวออกมาก่อนหลังจากนั้นพยายามกันไมให้สุนัขทั้งสองตัวได้กลับเจอกันอีก ในสถานการณ์ดังกล่าว สำหรับในกรณีที่มีเกิดการกัดกันแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดคือเจ้าของไม่ควรส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เข้าไปขวางระหว่างสุนัข […]

อ่านต่อ

สุนัขไม่ชอบเข้าสังคม แก้ไขได้อย่างไร

เจ้าของหลายท่านอาจะกำลังประสบปัญหา สุนัขไม่ชอบเข้าสังคม ซึ่งเมื่อเราพาพวกเขาออกไปข้างนอกบ้านแล้ว สุนัขมักจะแสดงนิสัยก้าวร้าวกับสุนัขด้วยกัน หรือกับคนแปลกหน้า จากข้อมูลในปัจจุบันที่เผยแพร่กันบนโลกออนไลน์ ข้อมูลจากหลายแหล่งได้แนะนำว่า สุนัขไม่ชอบเข้าสังคม สามารถแก้ไขได้โดยพาพวกเขาออกไปพบปะกับหมาตัวอื่นบ่อย ๆ ก็จะสามารถช่วยแก้ไขพฤติกรรมนี้ได้ ในความเป็นจริง ตามหลักพฤติกรรมสัตว์เลี้ยงแล้ว หากเจ้าของพาสุนัขที่ไม่ชอบเข้าสังคม ออกไปพบเจอกับสุนัขตัวอื่นเยอะ ๆ บ่อย ๆ แล้วจะแก้ปัญหาพฤติกรรมนี้ได้ จริงหรือ วันนี้ เรามาหาคำตอบไปพร้อมกันครับ เจ้าของควรทำความเข้าใจพฤติกรรมของสุนัข ตามหลักการศึกษาพฤติกรรมสัตว์เลี้ยง เมื่อเราให้สุนัขเจอกับสิ่งที่พวกเขาไม่ชอบซ้ำ ๆ เพื่อหวังจะให้การตอบสนองต่อสิ่งเร้าลดลง เรียกว่า ความเคยชิน หรือ Habituation ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ สิ่งเร้านั้น ๆ ไม่ใช่ความรุนแรงในมุมมองของสุนัข และไม่ได้ทำให้เกิดอันตราย หรือบาดเจ็บต่อสุนัข รวมไปถึง สุนัขเผชิญกับสิ่งเร้านั้นบ่อยครั้ง และสม่ำเสมอ ในทางกลับกัน ถ้าสุนัขต้องพบเจอกับสิ่งเราที่มีความรุนแรงสูงมาก เป็นสิ่งเร้าที่ทำให้สุนัขรู้สึกว่าเป็นอันตรายต่อชีวิต หรือเป็นสิ่งที่ไม่มีความรุนแรง แต่สุนัขคาดเดาไม่ได้ รวมถึงสุนัขไม่ได้พบเจอกับสิ่งเร้าชนิดนั้นอย่างเพียงพอ สิ่งกระตุ้นเหล่านี้จะส่งผลให้สุนัขเกิดภาวะที่เรียกว่า Sensitization หรือไวต่อสิ่งเร้า ซึ่งแตกต่างกับพฤติกรรมความเคยชิน หรือ Habituation เมื่อสุนัขเกิดภาวะ Sensitization สุนัขจะไวต่อการกระตุ้นจากสิ่งเร้าภายนอกมากขึ้น […]

อ่านต่อ
บุคลิกภาพของสุนัข, พฤติกรรมสุนัข

บุคลิกภาพของสุนัข มีแบบใดบ้าง

บุคลิกภาพของสุนัข เป็นสิ่งที่กำหนดให้สุนัขแต่ละตัวมีนิสัยที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นสุนัขที่อยู่คนละบ้าน สุนัขที่เลี้ยงในบ้านเดียวกัน หรือแม้แต่สุนัขคอกเดียวกัน ก็มีลักษณะนิสัยที่แตกต่างกันได้ บุคลิกภาพของสุนัข มีอยู่จริงหรือไม่ อย่างไร เรามาดูรายละเอียดกันครับ  บุคลิกภาพของสุนัขเป็นเรื่องที่นักพฤติกรรมสัตว์ให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้น ซึ่งพบเห็นได้จากการศึกษาวิจัย และพยายามที่จะนำเสนอแนวคิดต่าง ๆ เพื่อมาอธิบายลักษณะนิสัย หรือบุคลิกภาพของสุนัข  อย่างไรก็ตาม การศึกษาส่วนใหญ่มักอ้างอิงต้นแบบจากการศึกษาพฤติกรรมในมนุษย์เป็นหลัก โดยในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับบุคลิกภาพในด้านต่าง ๆ ของสุนัขที่มีความหลากหลายแตกต่างกันไป  อย่างเช่นในรูปแบบนี้ ใช้การเทียบเคียงกับ 5 บุคลิกภาพหลักในมนุษย์ที่เรียกว่า Five Factor Model (FFM) หรือ Big 5 แต่สำหรับสุนัขจะใช้การเทียบเคียงได้ 4 ด้าน ประกอบด้วย Energy เทียบเคียงกับ Extraversion หรือการเปิดตัว การชอบเข้าสังคม ชอบการพบปะผู้คน ชอบอยู่ในกลุ่ม และเป็นคนเปิดเผยตนเอง Affection เทียบเคียงกับ Agreeableness หรือความเป็นมิตร หรือแนวโน้มที่จะตามผู้อื่น ชอบที่จะร่วมมือ ชอบความกลมกลืนทางสังคม และเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่น  Emotional reactivity […]

อ่านต่อ

สา- มาริสา อานิต้า กับบทบาทของ ครูฝึกสุนัข

มาริสา อนิต้า กับการเป็น ครูฝึกสุนัข ที่เกิดขึ้นจากความรับผิดชอบในฐานะ เจ้าของสุนัขหนึ่งตัว

อ่านต่อ

ความสำคัญและความจำเป็นของชั้นเรียน Puppy Class

ผมเชื่อว่าหลายท่านที่เลี้ยงสุนัข มักไม่สนใจในเรื่องของการฝึก หรือศึกษาในแนวทางการเลี้ยงดูที่ถูกต้อง เพื่อเป็นการปูพื้นฐานที่ดีให้แก่ลูกสุนัข เพื่อให้โตขึ้นไปเป็นสุนัขโตที่ดี หรือมองว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งสำคัญ มักมองแค่ว่าสุนัขก็คือสุนัข เลี้ยง ๆ ไว้ในบ้านมีอาหารให้กิน มีที่นอน มีของเล่นให้เล่น ก็เพียงพอแล้ว หรือบางท่านก็เน้นแต่การตามใจโดยไม่ได้คำนึงถึงการฝึกหรือปูพื้นฐานที่ดีให้แก่ลูกสุนัข แต่เกือบทุกท่านจะกลับมาคำนึงหรือรู้สึกถึงความสำคัญของการฝึกหรือศึกษาวิธีการเลี้ยงดู เมื่อสุนัขของตัวเองเริ่มมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นเช่น ขับถ่ายไม่เป็นที่เป็นทาง เห่าหอน ขี้กลัว ดุ ก้าวร้าว ฯลฯ บางตัวแสดงอาการตั้งแต่ยังเล็ก (ก่อน 4 เดือน) ก็ยังพอจะกลับมาปรับปรุงให้เข้ารูปเข้ารอยได้เร็ว แต่หลายตัวกว่าเจ้าของจะสังเกตเห็นก็คือตอนหลังจากเป็นวัยรุ่นแล้ว (ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป) แบบนี้ก็จะลำบากทั้งเจ้าของและคนฝึกครับ ทั้งที่เรื่องเหล่านี้สามารถป้องกันได้ถ้าเลี้ยงถูกวิธีหรือปูพื้นฐานที่ดีตั้งแต่ตอนเป็นลูกสุนัข ด้วยเหตุนี้ การฝึกและการสอนตั้งแต่ยังเป็นลูกสุนัขจึงเป็นวิ่งจำเป็นและสำคัญมากครับ ด้วยเหตุผลที่ว่า 1. ระบบการเรียนรู้ของสุนัข แม้จะเรียนรู้ไปได้เรื่อย ๆ ตลอดชีวิต แต่ช่วงสำคัญของสุนัขที่จะเปิดรับเพื่อดูดซับและปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือเพื่อการปรับตัวให้มีพื้นฐานทางนิสัยที่ดี จะอยู่ในช่วงตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึง 3 เดือนครับ ช่วงนี้ลูกสุนัขจะเปิดรับและสร้างความคุ้นเคยกับสิ่งที่เราป้อนให้เขาได้อย่างรวดเร็ว และหลังจากนั้นประตูที่เปิดบานนี้จะค่อย ๆ ปิด ซึ่งพอปิดแล้ว ปัญหาคือการภายหลังจากการปิดแล้ว การจะปูพื้นพฤติกรรมใหม่มันจะเริ่มอยู่ในเรื่องของการปรับพฤติกรรมใหม่ ซึ่งถ้ามาปรับแก้ไขหลังจากประตูปิดไม่นานเร็วก็จะยังแก้ไขได้เร็ว แต่ถ้าปล่อยไว้นาน […]

อ่านต่อ

6 ขั้นตอนการฝึก เพื่อช่วยปรับพฤติกรรมสุนัขที่มีอาการกลัวเสียงฟ้าร้อง พลุ หรือ ประทัด

สุนัขที่มีอาการกลัวเสียงฟ้าร้อง มักเป็นสุนัขที่มีอารมณ์ไม่มั่นคง ขี้ระแวง ไม่ไว้ใจ มักจะกลัวเสียงแปลกๆ ที่ไม่คุนชินและเสียงที่ดังเกินไป

อ่านต่อ
ฉี่สุนัข

ปัสสาวะของน้องหมาน้องแมว บอกอะไรเราได้บ้าง

ถ้าเราสังเกตสีของฉี่และอาการในขณะที่สัตว์เลี้ยงของเรา ไม่ว่าจะหมาหรือแมว ฉี่ก็สามารถที่จะบอกอะไรได้มากมายเกี่ยวกับสุขภาพของเขา

อ่านต่อ

เที่ยวตามใจไปกับสัตว์เลี้ยงแสนรักในโรงแรมแบบ Pets Friendly Hotel

Pets Friendly Hotel ของเมืองภูเก็ต Ibis Hotel โรงแรมไอบิส ภูเก็ต ที่เปิดบริการให้น้องหมา น้องแมว เข้าพักได้ ไปดูว่าห้องพักจะน่าอยู่ขนาดไหน

อ่านต่อ

สุนัข กับ การฝึกเพื่อปรับพฤติกรรม by jojo dog master

ทำความรู้จักกับ ครูโจอี้ จาก jojo dog master ครูฝึกสุนัขที่ใช้ความรักและจิตวิทยาในการฝึก เพื่อการ ปรับพฤติกรรมสุนัข ให้กลายเป็นที่รัก

อ่านต่อ