แมว
- Home
- แมว
แมวกินข้าวโพด ได้หรือไม่
คุณผู้ปกครองหลายท่านคงเคยอ่านสูตรอาหารน้องแมว และพบว่าอาหารแมวบางถุงเขียนส่วนผสม “ข้าวโพด” อยู่บนฉลาก และก็เกิดคำถามขึ้นว่า แมวกินข้าวโพด ได้หรือไม่ แมวกินข้าวโพด ได้หรือไม่ อย่างไร ข้าวโพดเป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่มนุษย์ใช้ประกอบอาหารในหลากหลายเมนู เช่น ซุปข้าวโพด สลัดผักรวม และเมนูของหวาน อย่างพายข้าวโพด เป็นต้น แต่ข้าวโพดที่ผสมอยู่ในอาหารสัตว์เป็นคนละสายพันธุ์กับที่มนุษย์รับประทาน คำตอบคือ แมวกินข้าวโพด อย่างที่เรากินได้ โดยไม่เป็นอันตราย แต่ระบบทางเดินอาหารของน้องแมว อาจย่อยข้าวโพดได้ไม่ดีเท่าที่ควร เพราะธรรมชาติของแมวกินเนื้อสัตว์เป็นหลัก สำหรับข้าวโพด ที่เราพบว่าเป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์ ได้ผ่านกระบวนการทางการผลิตในโรงงาน เพื่อให้ได้สารอาหารที่จำเป็น และเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของน้องแมว ซึ่งได้ผ่านการคำนวนมาอย่างดีแล้วว่า มีปริมาณที่เหมาะสมกับระบบทางเดินอาหารของน้องแมว นั่นหมายความว่า ถึงแม้เราจะเพลิดเพลินรสหวานจากข้าวโพดมากเพียงใดก็ตาม ก็ไม่ควรแบ่งข้าวโพดให้น้องแมวกินมากจนเกินไป เพราะอาจไปรบกวนการทำงานของระบบทางเดินอาหารได้ ข้าวโพดสามารถส่งผลต่อสุขภาพของน้องแมวได้อย่างไรบ้าง ในข้าวโพดประกอบไปด้วยสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเป็นหลัก ซึ่งถ้าน้องแมวได้รับคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป บวกกับไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกายระหว่างวัน อาจนำไปสู่ภาวะโรคอ้วน และในระยะยาวอาจก่อให้เกิดโรคเบาหวานได้ นอกจากนี้ยังพบว่า ข้าวโพดยังกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้อาหารในสัตว์เลี้ยงบางชนิด สัตว์แพทย์แนะนำว่า เมล็ดข้าวโพดไม่ใช่อาหารที่เหมาะสมสำหรับแมว เมื่อพิจารณาถึงโครงสร้างของฟัน เนื่องจาก เมล็ดข้าวโพดที่มีขนาดใหญ่อาจทำให้น้องแมวสำลักได้ และอาจจะไปอุดตันทางเดินอาหารของแมว ดังนั้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงในเรื่องนี้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรให้น้องแมวกินเมล็ดข้าวโพดที่แกะออกจากซังขเวโพด แต่ควรบดให้ละเอียดในปริมาณเล็กน้อย แล้วผสมหรือโรยหน้าเป็นท็อปปิ้งในอาหารมื้อหลักแทน […]
อ่านต่อสุนัขถ่ายเหลว บ่งบอกสัญญาณ อะไรบ้าง
สุนัขถ่ายเหลว เป็นหนึ่งในการขับถ่าย ที่คุณผู้ปกครองอาจพบเจอได้ระหว่างการดูแลน้องหมา แล้วการขับถ่ายลักษณะนี้ บอกอะไรเราได้บ้าง วันนี้ ไปติดตามกันเลยค่ะ “อุจจาระ” ของสัตว์เลี้ยงทุกชนิดเป็นของเสียที่ถูกขับออกจากร่างกาย หรือการที่อาหารหลงเหลือจากการถูกย่อย หรือถูกดูดซึมจะผ่านเข้ามาเก็บกักไว้ที่ลำไส้ใหญ่ก่อนจะถูกขับออกมาจากร่างกาย ดังนั้น สาเหตุแรก ๆ ที่ สุนัขถ่ายเหลว ให้เราตั้งสมมติฐานไว้ก่อนเลยว่า อาจเกิดจากเรื่องการกินอาหาร ความเหลว รูปร่างและความเป็นก้อน ปริมาณ กลิ่น สี ความถี่ ก่อนอื่นเรามาเรียนรู้เกี่ยวกับ “อึน้องหมา” ไปทีละเรื่องนะคะ เพราะ อึสามารถบอกเราเกี่ยวกับสุขภาพของน้องหมาได้มากมาย โดยเฉพาะอาการหรือโรคที่มีสาเหตุมาจากระบบทางเดินอาหาร ซึ่งโดยลักษณะของอึที่ดีสามารถสังเกตได้จากหลายส่วน ทั้งความเหลว รูปร่าง ปริมาณ กลิ่น และสี ดังนั้น เรามาเช็คสัญญาณง่าย ๆ จากอึน้องหมากันดีกว่า 1. ความเหลว ปริมาณน้ำหรือความเหลวของอึน้องหมา ขึ้นอยู่กับสมดุลของการดูดซึมน้ำของลำไส้ และความสามารถในการกักเก็บน้ำในลำไส้ ดังนั้น ส่วนประกอบของอาหารและความสามารถในการย่อยและดูดซึมของน้องหมาแต่ละตัวจึงมีผลต่อสมดุลนี้ โดยปกติอึของน้องหมาควรมีความชื้นระหว่าง 58% ถึง 72% หรือพูดง่าย ๆ คือมีลักษณะเป็นก้อนดี และต้องไม่แข็งเกินไป […]
อ่านต่อแมวร้องไห้ ได้หรือไม่ ถ้าน้องรู้สึกเศร้า
แมวร้องไห้ ได้หรือไม่ แมวมีความรู้สึกเศร้า ไหมนะ เป็นคำถามที่เหล่าบรรดาผู้ปกครองน้องแมวต่างสงสัยใคร่รู้ บางครั้ง เราสังเกตพบว่า มีน้ำไหลออกจากตาน้องแมว นั่นคือ แมวร้องไห้ ได้จริง ๆ หรือ ในความเป็นจริงคือ น้องแมวสามารถมีน้ำไหลออกตาได้ แต่ไม่ได้เกิดจากอารมณ์ หรือความรู้สึกเศร้าเสียใจ แมวมีความรู้สึกทางอารมณ์ได้จริง งานวิจัยที่ผ่านมาหลายฉบับได้รายงานผลการศึกษาอย่างสอดคล้องกันว่า แมวมีอารมณ์และความรู้สึก พวกเขาสามารถอ่านการแสดงออกทางสีหน้าของมนุษย์ได้ และพวกเขาก็ยังแสดงออกทางความรู้สึกได้อย่างหลากหลาย ต่อทั้งมนุษย์ และสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น ๆ ที่กำลังมีปฏิสัมพันธ์ด้วย ยกตัวอย่างเช่น แมวที่มีความสุขมักส่งเสียงเพอร์ (purring) เอาตัวเข้ามาถูไถ วิ่งเล่น และพยายามเขามามีส่วนร่วมกับเรา และสัตว์เลี้ยงตัวอื่น ๆ แมวที่รู้สึกเศร้า อาจจะแยกตัวออกจากทุกอย่าง ซึม ไม่กินอาหาร และไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย แมวที่กำลังโกรธ หรือรู้สึกกลัว อาจจะส่งเสียงขู่ โก่งตัว หรือกางเล็บและข่วน แมวที่กำลังร้องเหมียว ๆ อาจกำลังรู้สึกเหงา เยื่อ หิว และต้องการความสนใจ ส่วนแมวที่วิตกกังวล โกรธ หรือไม่พอใจ อาจส่งเสียงที่คล้ายกับเสียงสะอื้นของมนุษย์ หรือเสียงครวญคราง […]
อ่านต่อแมวพันธุ์วิเชียรมาศ: ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติ แมวพันธุ์วิเชียรมาศ แมวพันธุ์วิเชียรมาศ หมายถึง เพชรแห่งดวงจันทร์ (Moon Diamond) เป็นแมวขนาดกลางที่ได้รับความนิยมทั่วโลก มีต้นกำเนิดจากประเทศไทย (Thailand หรือชื่อดั้งเดิม Siam) และถูกบันทึกไว้ในสมุดข่อยโบราณ โดยในสมัยก่อนแมวพันธุ์วิเชียรมาศจะมีแต้มสีน้ำตาลเข้ม หรือดำเข้ม แต่ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ทำให้มีสี และรูปแบบของแต้มที่แตกต่างออกไป ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ปี ค.ศ. 1877 ประธานาธิบดีรัทเทอร์ฟอร์ด บี. เฮส์ (President Rutherford B. Hayes) ได้รับของขวัญเป็นแมวพันธุ์วิเชียรมาศมาเลี้ยงที่สหรัฐอเมริกา จากการให้ของกษัตริย์แห่งประเทศไทย ผ่านทางเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา David B. Sickels ประจำประเทศไทยที่สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ในปี ค.ศ. 1934 สมาคม The Cat Fanciers Association (CFA) ได้มีการขึ้นทะเบียนแมวพันธุ์วิเชียรมาศ รวมถึงได้กำหนดสีแต้มและสีขนลำตัวที่พบได้ โดยเฉพาะบริเวณขา หาง ใบหน้า และหู ซึ่งหากพบแต้มสีน้ำตาล (Brown), สีดำ […]
อ่านต่อเชื้อราแมวติดคน ได้หรือไม่ อย่างไร
เชื้อราแมวติดคน ได้หรือไม่ เป็นหนึ่งในปัญหาที่ทาสแมวส่วนใหญ่ มีความกังวล วันนี้ เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้กันค่ะ เชื้อราแมวติดคน ได้หรือไม่ ก่อนจะไปตอบคำถามนี้ เรามารู้จักโรคเชื้อราในแมวกันก่อนค่ะ เชื้อราแมวในแมว เป็นโรคผิวหนังที่เกิดขึ้นกับแมวได้ทุกสายพันธุ์ โดยเชื้อราก่อโรคจะอาศัยอยู่บนผิวหนังชั้นนอกของแมว รวมถึงบริเวณเล็บ และเส้นขน โดยใช้เคอราตินของผิวหนัง เล็บ และ เส้นขน เป็นอาหารในการเจริญเติบโต ในแมวปกติบางตัวสามารถพบเชื้อราได้บนตัวแมวโดยไม่ก่อให้เกิดรอยโรค ส่วนมากแมวที่อายุยังน้อย แมวแก่ แมวป่วย แมวเครียด มักจะพบความผิดปกติ ทั้งนี้เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ไม่แข็งแรง เชื้อราที่ผิวหนังของแมว จัดเป็นความผิดปกติที่สำคัญ ดังนั้น ควรควบคุมโรคโดยการรักษา ทั้งบนตัวแมว และทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมที่แมวอยู่อาศัย เนื่องจากสปอร์เชื้อรา สามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อม ได้เป็นระยะเวลานาน และที่สำคัญเชื้อราผิวหนังของแมวกลุ่มนี้ ยังสามารถติดต่อสู่คนเลี้ยง โดยทำให้คนเลี้ยงสามารถแสดงอาการรอยโรคทางผิวหนังได้ ปกติแมวทั่วไป สามารถติดเชื้อราก่อโรคได้จากการสัมผัสกับแมวป่วยโดยตรง หรือสัมผัสกับสปอร์ของเชื้อรา ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งสปอร์ของเชื้อรา สามารถอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้เป็นเวลานาน รอยโรคหลักๆที่สามารถพบได้คือ ขนร่วงแหว่งเป็นวงกลม ขอบเรียบ บางรายอาจจะเป็นสะเก็ด หรือมีอาการคันร่วมด้วย การตรวจวินิจฉัย การตรวจวินิจฉัยแยกแยะของโรคเชื้อรา สามารถวินิจฉัยเบื้องต้นจาก ลักษณะรอยโรคบนผิวหนัง การตรวจวินิจฉัยตัวอย่างเส้นขนหรือเนื้อเยื่อใต้กล้องจุลทรรศน์ […]
อ่านต่อแมวฉีดวัคซีนได้ตอนกี่เดือน รวมถึงน้องหมาด้วย
โปรแกรมวัคซีนในสุนัขและแมว สามารถเริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุน้อยกว่า 4 เดือน เพื่อช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานโรครุนแรงและโรคที่สามารถติดต่อสู่คน
อ่านต่อแมวสีสวาด หรือแมวโคราช: ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
แมวสีสวาด หรือแมวโคราช ในอดีตผู้คนนิยมให้เป็นของขวัญแก่กัน เพราะเชื่อกันว่า จะนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรือง เงินทองไหลมาเทมา ประวัติสายพันธุ์ แมวสีสวาด แมวสีสวาด หรือแมวโคราช ถือเป็นแมวอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่มีมายาวนาน มีต้นกำเนิดมาจากประเทศไทย โดยชื่อของ “แมวโคราช” มาจากชื่อจังหวัดที่เป็นสถานที่กำเนิดของแมว ซึ่งในประเทศไทยยังรู้จักแมวโคราชในชื่ออื่น ๆ อย่าง แมวสีสวาด แมวมาเลศ หรือแมวดอกเลา ที่มีหมายถึง “ความรัก” และความโชคดี อีกทั้งยังเชื่อว่า แมวโคราชเป็นหนึ่งในแมวมงคลโบราณให้คุณ หากเลี้ยงไว้จะนำมาซึ่งความสุขสวัสดิ์ เป็นมงคลแก่เจ้าของ แมวโคราชได้รับการยกย่องชื่นชมจากผู้คนทั้งในและต่างประเทศ โดยแมวโคราชถูกนำไปโชว์ในงานแสดงแมวที่ประเทศอังกฤษในช่วงศตวรรษที่ 19 ในชื่อ Blue Siamese และนำเข้าไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาครั้งแรกในปี 1950 ซึ่งแมวโคราชถือเป็นแมวไม่กี่สายพันธุ์ ที่มีสีขนเดียวตลอดทั่งตัว คือ สีเทาน้ำเงิน (silvery blue) ลักษณะทางกายภาพ แมวโคราชจัดอยู่ในกลุ่มแมวขนาดกลาง เป็นแมวที่มีกล้ามเนื้อแน่นและแข็งแรง ลักษณะภายนอกคล้ายกับแมวสายพันธุ์จากประเทศรัสเซีย (Russian Blue) แต่มีขนชั้นเดียวมากกว่าขน 2 ชั้น และเพศเมียมักมีความสง่างามมากกว่าเพศผู้ แมวโคราชเป็นแมวที่มีขนสั้น มีความมันวาว และละเอียด […]
อ่านต่อแมวชอบกินสิ่งแปลกปลอม ที่ไม่ใช่อาหาร หรือ PICA
แมวชอบกินสิ่งแปลกปลอม ที่ไม่ใช่อาหาร หรือที่เรียกว่า PICA เป็นข้อควรระวังอย่างหนึ่งสำหรับการเลี้ยงแมว ที่ผู้ปกครองควรคอยสังเกต และเฝ้าระวังไม่ให้น้องกินสิ่งแปลกปลอมเข้าไป เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตของน้องได้ แมวชอบกินสิ่งแปลกปลอม ที่ไม่ใช่อาหาร เป็นพฤติกรรมที่พบได้บ่อยในแมวบางสายพันธุ์ เช่น แมวไทย แมวเบอร์มีส และแมวตองกีนีส เป็นต้น ซึ่งสันนิษฐานว่า สาเหตุอาจเกิดจากความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมในแมว อย่างไรก็ตาม แมวสายพันธุ์อื่น ๆ นอกเหนือจากที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น ก็อาจแสดงพฤติกรรม PICA หรือชอบกินสิ่งของที่ไม่ใช่อาหารได้เช่นกัน สิ่งแปลกปลอมอะไรบ้าง ที่น้องแมวชอบกิน จากกรณีน้องแมวส่วนใหญ่ที่กินสิ่งแปลกปลอม แล้วคุณพ่อคุณแม่นำน้องมาหาสัตวแพทย์ พบว่า วัสดุแปลกปลอมส่วนใหญ่ที่ตรวจพบ ได้แก่ พลาสติก เศษผ้า วัตถุที่ผลิตจากยางหรือไม้ กระดาษแก้ว กระดาษแข็ง ทรายแมว โลหะ และก้อนขนของตัวเอง โดย ช่วงอายุที่พบได้บ่อย คือ ลูกแมวที่อายุน้อยกว่า 3 เดือน จากการสังเกตพฤติกรรมพบว่า ลูกแมวจะเริ่มกัดแทะสิ่งของใกล้ตัว อย่างที่นอนของตัวเอง และพฤติกรรมนี้จะหายไปเมื่อโตขึ้นสู่ช่วงโตเต็มวัย แต่ในแมวบางตัว จะยังคงพฤติกรรมนี้จนกลายเป็นปัญหาทางพฤติกรรม แล้วเราจะสังเกตได้อย่างไรว่า แมวของเรามีพฤติกรรมกินสิ่งของที่ไม่ใช่อาหาร ปกติแล้วแมวจะมีการล่าเหยื่อ […]
อ่านต่อพี่เลี้ยงแมวยุคใหม่ รู้ใจทาสแมว
ทาสแมวทั้งหลาย เคยสงสัยกันมั้ยเอ่ย ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างระหว่างที่พวกเราไม่อยู่บ้าน? เจ้าเหมียวจะกินข้าวตอนไหน จะกินน้ำบ้างหรือเปล่า หรือจะมีปัญหาเรื่องขับถ่ายบ้างมั้ยน้า แมวเหมียว สัตว์เลี้ยงที่มักถูกมองว่า มีความอินดี้ และ มีความเป็นตัวของตัวเองสูง เวลาที่ทาสบอกซ้าย แมวมักจะไปขวา ทาสเรียกให้มาหา แมวก็ทำหน้าตึง แล้วอยู่เฉย ๆ หรือ จะเปรียบเทียบให้เห็นภาพง่าย ๆ ก็อาจคล้ายกับคนที่เป็น Introvert ทำให้ทาสแมวหลายคนถึงกับต้องกุมขมับ เพราะ คาดเดาจิตใจของเจ้าเหมียวได้ยากเหลือเกิน โดยกิจวัตรประจำวันของเจ้าเหมียวนั้น หลัก ๆ ก็คงหมดไปกับการงีบหลับ นั่งส่องนก หรือ วิ่งเล่นปล่อยพลัง ซึ่งคงเป็นเรื่องที่ยากเย็นนัก ที่เราจะรู้ได้ว่า น้องกินอาหารตอนไหน ดื่มน้ำเยอะหรือเปล่า และ ขับถ่ายกี่ครั้งต่อวัน แต่ก็คงดีไม่น้อย หากเรามีพี่เลี้ยงที่รู้ใจ ที่สามารถช่วยทาสสอดส่อง และ ประหยัดแรงได้ วันนี้บ้านและสวน Pets จะมาแนะนำให้ทุกคนรู้จักกับพี่เลี้ยงแมวเหมียวยุคใหม่ ที่ชื่อว่า NOTTY Trio อุปกรณ์อัจฉริยะสำหรับน้องแมว ที่ประกอบไปด้วย น้ำพุแมว เครื่องให้อาหารอัตโนมัติ และ ห้องน้ำอัตโนมัติ […]
อ่านต่อโรคกระเพาะอาหาร และลำไส้อักเสบเรื้อรังในแมว
อาเจียน ท้องเสีย น้ำหนักลด ติดต่อกันนานกว่า 3 สัปดาห์ น้องแมวอาจกำลังเผชิญกับ โรคกระเพาะอาหาร และลำไส้อักเสบในแมว โรคกระเพาะอาหาร และลำไส้อักเสบในแมว หรือ Inflammatory Bowel Disease มีชื่อย่อว่า IBD เป็นโรคระบบทางเดินอาหารเรื้อรังที่พบได้ในแมวโตเต็มวัย จนถึงแมวสูงอายุ โดยค่าเฉลี่ยอายุที่พบประมาณ 6 ปี บางกรณีสามารถพบได้ในแมวอายุน้อยได้เช่นกัน แต่พบได้น้อย (มีรายงานพบว่า แมวป่วยด้วยโรคนี้ ตั้งแต่อายุ 6 เดือน) อาการส่วนใหญ่ของแมวที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร และลำไส้อักเสบเรื้อรัง คือ อาเจียน หรือท้องเสีย น้ำหนักลด อาจจะมีอุจจาระปนมูก หรือปนเลือดสดออกมา แสดงอาการเรื้อรัง ต่อเนื่องเป็นระยะเวลามากกว่า 3 สัปดาห์ แต่ตรวจหาสาเหตุอื่น ๆ ไม่พบ รวมไปถึง บางรายอาจจะมีอาการเบื่ออาหารร่วมด้วย สาเหตุของการเกิดโรค IBD โรคกระเพาะอาหาร และลำไส้อักเสบเรื้อรังในแมว เกิดจากเซลล์อักเสบแทรกเข้าไปในชั้นผนังของระบบทางเดินอาหาร ทำให้ผนังของกระเพาะอาหาร และลำไส้หนาตัวขึ้น ซึ่งรบกวนการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ส่งผลให้เกิดความผิดปกติในกระบวนการย่อย […]
อ่านต่อพยาธิในทางเดินอาหารของแมว รู้ไว้เพื่อป้องกัน
พยาธิในทางเดินอาหารของแมว เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อย และมักเป็นสาเหตุทำให้ระบบทางเดินอาการทำงานผิดปกติ พยาธิในทางเดินอาหารของแมว ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ที่สังเกตได้ ดังนี้ น้องแมวส่วนใหญ่ที่มีพยาธิในทางเดินอาหารจะแสดงอาการ ท้องเสีย อาเจียน น้ำหนักลด เบื่ออาหาร มีอาการระคายเคืองบริเวณทวารหนัก โลหิตจาง และถ่ายปนมูกเลือด ถ้าแมวที่มีอายุน้อย อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตช้า และอ่อนแอไม่แข็งแรง ในบางกรณีที่มีพยาธิในร่างกาย อาจจะไม่แสดงอาการผิดปกติให้เห็นอย่างชัดเจนก็ได้ แต่จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นพาหะนำพยาธิไปสู่แมวตัวอื่น ๆ นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือ พยาธิบางชนิดในแมวสามารถติดต่อสู่คนได้อีกด้วย กลุ่มของพยาธิที่พบได้บ่อยในแมว ได้แก่ กลุ่มพยาธิตัวกลม (Roundworms) 1.พยาธิไส้เดือน ชนิดที่พบบ่อยในแมวชื่อว่า Toxocara cati และ Toxascaris leonine โดยพยาธิที่โตเต็มวัยจะปล่อยไข่ในทางเดินอาหารของแมว และปะปนออกมากับอุจจาระออกมานอกตัวสัตว์ ไข่พยาธิที่ออกมากับอุจจาระของแมวสามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานเกือบหนึ่งปี การติดต่อสู่แมวตัวอื่นสามารถเกิดได้ 2 ทาง คือ แมวได้รับไข่พยาธิผ่านทางการกินที่ปนเปื้อนไข่พยาธิเข้าไป หรือแมวไปกินสัตว์ที่เป็นพาหะตัวกลาง เช่น หนูที่มีพยาธิตัวอ่อนอยู่ในร่างกาย เป็นต้น สำหรับลูกแมว สามารถติดพยาธิไส้เดือน Toxocara cati จากการได้รับตัวอ่อนพยาธิผ่านทางน้ำนมจากแม่ โดยแมวตัวเมียที่ตั้งครรภ์และมีพยาธิ […]
อ่านต่อแมวอ้วน ไม่ได้น่ารักอย่างที่คิด กับปัญหาสุขภาพที่ตามมา
คุณพ่อคุณแม่หลงใหลน้องแมวด้วยเหตุผลหลายประการ หนึ่งในเหตุผลเหล่านั้น คือ รูปร่างกลมฟูของน้องแมว และด้วยเหตุผลนี้ คุณพ่อคุณแม่หลายท่านจึงอยากให้น้องตัวแน่น และขนฟู แต่สุดท้ายทำให้ แมวอ้วน มากกว่าที่ควร อย่างไรก็ตาม แมวอ้วน หรือที่สัตวแพทย์มักเรียกว่า แมวที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน เป็นแมวที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ในอนาคต รวมถึงมีอายุขัยเฉลี่ยสั้นลง เมื่อเทียบกับแมวที่มีน้ำหนักตัวตามมาตรฐาน ดังนั้น การดูแลน้องแมวให้มีรูปร่างที่สมส่วน และมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม จึงเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ซึ่งจะส่งผลให้น้องแมวมีสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ แมวที่มีสุขภาพดีย่อมส่งผลให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ และเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วตามธรรมชาติของแมว ที่สำคัญ เมื่อน้องแมวได้แสดงออกตามสัญชาติญาณ และมีความเสี่ยงต่ำต่อการเกิดโรค น้องแมวจะเกิดภาวะแห่งความสุขตามมาด้วย น้องแมวของเราอ้วน หรือไม่ ตรวจสอบได้อย่างไร สำหรับการประเมินว่า น้องแมวของเรามีรูปร่างที่สมส่วนหรือไม่ คุณพ่อคุณแม่สามารถทำเองได้ง่าย ๆ โดยการสังเกตด้วยตา และใช้มือคลำร่างกายของแมว โดยอ้างอิงจากเกณฑ์การให้คะแนนความสมบูรณ์ของร่างกาย (Body condition score : BCS) ของสัตว์เลี้ยง แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้ ระดับที่ 1 ภาวะผอมแห้งขาดอาหาร […]
อ่านต่อFIP แมว คือ โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบในแมว
FIP แมว คือ โรคติดต่อในแมวชนิดหนึ่ง ย่อมาจาก Feline infectious peritonitis หรือเรียกว่า โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ FIP แมว หรือโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ รู้ไว้และป้องกัน เพื่อให้น้องแมวที่รักของเราห่างไกลจากโรคติดต่อ วันนี้ คุณหมอได้อธิบายเกี่ยวกับโรคนี้ไว้อย่างไร มาติดตามกันเลยค่ะ โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบเกิดจาก “การติดเชื้อในกลุ่มโคโรนาไวรัส” ที่กลายพันธุ์มาจากเชื้อ Feline enteric coronavirus (FCov) และก่อให้เกิดโรคติดเชื้อรุนแรงในแมว โดยทั่วไป เชื้อไวรัสเยื่อบุช่องท้องมักติดเชื้อในแมว ที่ระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง เช่น แมวอายุน้อยกว่า 2 ปี และแมวที่มีอายุมาก แมวที่รวมกันเป็นกลุ่มอย่างแน่น และแมวที่เกิดความเครียดเรื้อรัง นอกจานี้ โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบยังสามารถพบได้ในแมว ที่ป่วยด้วยโรคภูมิคุ้มกันยกพร่อง เช่น โรคลิวคีเมีย และโรคเอดส์แมว เป็นต้น โดยโรคติดต่อชนิดนี้สามารถพบได้ในแมวทุกเพศ และทุกสายพันธุ์ การติดเชื้อโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบในแมว เชื้อ FCoV ที่ยังไม่ได้กลายพันธุ์และไม่ได้อยู่ในขั้นก่อโรครุนแรง สามารถติดต่อแมวตัวอื่นได้ง่าย โดยแพร่ผ่านการสัมผัสทางร่างกายระหว่างแมว หรือการสัมผัสอุจจาระของแมวที่เป็นพาหะ จากการใช้กระบะทรายร่วมกัน หรือการติดเชื้อไวรัสผ่านวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกัน อย่างไรก็ตาม […]
อ่านต่อดูแลน้องแมว อย่างไร ในแต่ละวัน
คุณพ่อคุณแม่ทาสแมวหลายท่านอาจเคยสงสัยว่า ในแต่ละวันเราควร ดูแลน้องแมว อย่างไร และควรดูแลในเรื่องใดบ้าง ความรักและความเอาใจใส่ของคุณพ่อคุณแม่ที่มีต่อน้องแมว เป็นสายสัมพันธ์ที่สวยงาม และมีคุณค่าต่อจิตใจ วันนี้ คุณหมอก้อย สพ.ญ. ปิยวรรณ ภู่ระหงษ์ สัตวแพทย์ประจำ PURRfect Cat Hospital จึงได้มาเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในการปรนนิบัติน้องแมวในหนึ่งวันให้ฟังว่า ในหนึ่งวันเราควร ดูแลน้องแมว อย่างไร และทำอย่างไรให้แลดูสุขภาพดีตลอดช่วงชีวิตที่เขาอยู่กับเรา หมอก้อยได้แนะนำวิธีการดูแลพื้นฐาน 4 ข้อ สำหรับน้องแมวทุกตัว ดังนี้ ค่ะ 1. การดูแลเส้นขนและผิวหนัง ระบบปกคลุมร่างกายของน้องแมวทุกตัวประกอบด้วย เส้นขน และผิวหนัง ซึ่งแต่ละสายพันธุ์จะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม น้องแมวจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากคุณพ่อคุณแม่ เรื่องการดูแลเส้นขนและผิวหนังเหมือนกันทุกตัว เส้นขนของน้องแมวที่มีสุขภาพดีจะมีลักษณะนุ่มสลวย เงางาม ไม่แห้งกระด้าง และขนไม่หลุดเป็นหย่อมๆ เมื่อเราใช้มือลูบ หรือใช้แปรงหวีสางเส้นขน การดูแลเส้นขนของน้องแมว หมอก้อยได้แนะนำไว้แบบนี้ค่ะ สำหรับน้องแมวสายพันธุ์ขนยาว คุณพ่อคุณแม่ควรแปรงขนเป็นประจำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 5 – 15 นาที […]
อ่านต่อดูแลน้องแมว อย่างไร ให้ห่างไกลจากโรคไต
โรคไตในแมว เป็นหนึ่งในโรคที่พบได้มากที่สุดในบรรดาอาการเจ็บป่วยของแมว โดยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้น เพื่อให้น้องแมวของเรามีสุขภาพที่ดี และห่างไกลจากโรคไต เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไต สาเหตุของโรค รวมไปถึงวิธีการดูแลรักษา และวิธีป้องกัน โรคไตในแมว เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของไต ซึ่งทำหน้าที่กำจัดของเสียในร่างกายของแมว ควบคุมความเป็นกรดด่างในกระแสเลือด ควบคุมความสมดุลของเกลือแร่ รวมไปถึงควบคุมปริมาณน้ำในร่างกาย โรคไตในแมวสามารถแบ่งได้ตามระยะการเกิดโรคแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. โรคไตแบบเฉียบพลัน เกิดจากการทำหน้าที่ของไตลดลงอย่างเฉียบพลัน อาการจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แมวมักจะแสดงอาการป่วยภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์หรือไม่เกิน 1 เดือน โรคไตแบบเฉียบพลันเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากขาดน้ำอย่างรวดเร็ว เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในร่างกาย เช่น FIV FeLV FIP และ Feline Morbillivirus และการได้รับสารพิษต่างๆ ที่มีผลต่อไต เช่น ยาฆ่าแมลงต่าง ๆ น้ำยาทำความสะอาด หรือผลข้างเคียงจากยาบางชนิด โดยส่วนใหญ่พบว่า แมวที่เลี้ยงแบบปล่อยให้ออกนอกบ้านได้อย่างอิสระ มักมีความเสี่ยงไปสัมผัสกับสารพิษมากกว่าแมวที่เลี้ยงระบบปิด 2. โรคไตแบบเรื้อรัง ที่ทำให้การทำหน้าที่ของไตค่อย ๆ ลดลงทีละน้อย […]
อ่านต่อโรคถุงน้ำในไตแมว โรคที่ยังรักษาไม่ได้
ลองสังเกตน้องแมวที่บ้านว่า น้ำหนักลดลง กินน้ำเยอะ ปัสสาวะเยอะ หรือไม่ นี่อาจเป็นสัญญาณของโรคไตเรื้อรังที่เรียกว่า โรคถุงน้ำในไตแมว โรคเกี่ยวกับระบบกำจัดของเสียในแมวมักเกิดขึ้นเนื่องจากไตทำงานผิดปกติ ซึ่งโดยทั่วไปมักเรียกรวม ๆ ว่า โรคไต โดยแบ่งเป็น การเกิดแบบเฉียบพลัน อย่างโรคไตวายเฉียบพลัน และการเกิดแบบเรื้อรัง ที่อาจมีสาเหตุมาจากพันธุกรรมอย่าง โรคถุงน้ำในไตแมว วันนี้ เรามาเจาะลึกรายละเอียดเกี่ยวกับ โรคถุงน้ำในไตแมว กันนะคะว่า ลักษณะของโรคเป็นอย่างไร และจะดูแลน้องที่ป่วยเป็นโรคนี้ อย่างไร โรคถุงน้ำในไตแมว มีชื่อเรียกในทางสัตวแพทย์ว่า Polycystic Kidney Disease หรือ PKD เป็นโรคที่เกิดความผิดปกติขึ้นในไตของแมว โดยมีถุงน้ำ หรือถุงซีสต์ หลายถุงแทรกอยู่ในเนื้อไต โรคนี้เป็นโรคทางพันธุกรรมที่สามารถถ่ายทอดจากรุ่นพ่อแม่สู่รุ่นลูกได้ โดยลักษณะของโรคมักจะไม่แสดงอาการในช่วงแรกเกิด แต่แมวจะมีภาวะแฝง จนกระทั่งเมื่อน้องแมวเจริญเติบโตมีอายุมากขึ้น ถุงน้ำที่อยู่ในไตของน้องก็จะขยายขนาดตามไปด้วย ทำให้เกิดอาการของโรคเมื่อน้องมีอายุมากแล้ว ความผิดปกติที่มีถุงน้ำขนาดใหญ่จำนวนมากอยู่ภายในไตแมวจะส่งผลให้เกิดการทำงานของไตผิดปกติ และนำไปสู่ภาวะไตวายเรื้อรัง จนเสียชีวิตในที่สุด โดยจำนวนและระยะเวลาการขยายของถุงน้ำยังไม่มีสามารถวินิจฉัยได้อย่างชัดเจน จะมากหรือน้อย หรือเกิดขึ้นเร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับแมวแต่ละตัว ที่ผ่านมา การศึกษาและวิจัยทางสัตวแพทย์พบว่า น้องแมวส่วนใหญ่จะเริ่มแสดงอาการของไตวายเรื้อรังในช่วงอายุประมาณ 7 ปี มีเพียงส่วนน้อยที่พบว่า […]
อ่านต่อวิธีดูแลน้องแมว ให้ก้าวสู่วัยผู้ใหญ่อย่างสมบูรณ์แข็งแรง
การเจริญเติบโตของแมวแต่ละช่วงวัย จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายทั้งภายในและภายนอก ซึ่งอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนสับสนระหว่าง “ช่วงโตเต็มวัย” กับ “ช่วงเจริญพันธุ์” และอาจส่งผลต่อ วิธีดูแลน้องแมว โดยทั่วไปแล้ว ลูกแมวจะเริ่มเข้าสู่ช่วงโตเต็มวัยเมื่ออายุประมาณ 1 ปี หมายถึงร่างกายได้พัฒนาและเจริญเติบโตเต็มที่ตามลักษณะสายพันธุ์ กล้ามเนื้อแข็งแรง อวัยวะทุกส่วนทำงานได้อย่างสมบูรณ์ แต่ในบางสายพันธุ์ที่มีโครงร่างกายใหญ่ อย่างสายพันธุ์เมนคูน จะเข้าสู่ช่วงโตเต็มวัยประมาณ 15 เดือน ที่ช้ากว่าแมวสายพันธุ์อื่นๆ ส่วนวัยเจริญพันธุ์ คือ ช่วงที่น้องแมวพร้อมสืบพันธุ์ได้ โดยในแมวจะเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุประมาณ 4 – 18 เดือน หรือที่เรียกว่า “การเป็นสัดหรือฮีท” การเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งภาวะร่างกายของแมว น้ำหนักของแมว สายพันธุ์ของแมว และช่วงเวลาหรือฤดูกาลที่มีแสงอาทิตย์ยาวนานอย่าง เช่นฤดูร้อนในพื้นที่เขตหนาว หรือสภาพภูมิอากาศบ้านเรา ก็จะกระตุ้นให้แมวเป็นสัดได้เร็วขึ้น ในช่วงระหว่างการเป็นสัดหรือฮีท แมวตัวเมียจะแสดงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากปกติ เช่น ส่งเสียงร้องหาคู่ ใช้ตัวถูไถสิ่งของตามพื้นและกลิ้งไปมา แอ่นหลังลงและกระดกก้นขึ้น เบี่ยงหางไปด้านข้างและย่ำเท้าหลังไปมา ลำตัวและหางสั่น หรือเกร็งลำตัว ระยะเวลาในการเป็นสัดของแมวตัวเมียอยู่ระหว่าง 2 – 14 วัน แบ่งออกเป็น 5 ระยะ […]
อ่านต่อแมวใช้กลิ่นสื่อสาร อย่างไร
บางครั้ง คุณพ่อคุณแม่น้องแมวพบว่า แมวเอาตัวมาถูไถไปมาตามลำตัวและเสื้อผ้าของเรา การแสดงออกเช่นนั้นเป็นส่วนหนึ่งของกลไกการสื่อสารที่ แมวใช้กลิ่นสื่อสาร กับมนุษย์ การสื่อสารในสัตว์เป็นหนึ่งในกลไกตามธรรมชาติ เพื่อคงความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ และเช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงที่วิวัฒนาการเข้ามาอยู่กับสังคมมนุษย์มาอย่างยาวนาน พวกเขาก็ต้องการสื่อสารกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น แมวใช้กลิ่นสื่อสาร กับสมาชิกในบ้าน และแมวด้วยกันเอง สุนัขส่งเสียงเห่าหอน และแสดงท่าทางที่เป็นเอกลักษณ์ เป็นต้น แมวใช้กลิ่นสื่อสารในชีวิตประจำวันเพื่อวัตถุประสงค์อะไรบ้าง สพ.ญ.ปิยวรรณ ภู่ระหงษ์ สัตวแพทย์ประจำโรงพยาบาลแมว PURRfect Cat Hospital กล่าวว่า แมวเป็นสัตว์เลี้ยงที่ใช้กลิ่นสื่อสารเพื่อแสดงการทักทาย การวางอาณาเขต แสดงความเป็นเจ้าของ และความเป็นศัตรู การสื่อสารด้วยกลิ่นเป็นวิธีการสื่อสารในแมวที่มีความคงทนมากกว่าวิธีอื่น ด้วยโครงสร้างทางร่างกายของแมวที่มีต่อมกลิ่นอยู่หลายตำแหน่ง เช่น บริเวณโคนหาง บริเวณผิวหนังรอบหัวและหนวด รวมไปถึงบริเวณฝ่าเท้า เป็นต้น คุณพ่อคุณแม่จึงพบว่าน้องแมวแสดงพฤติกรรมต่างๆ ที่พยายามใช้กลิ่นสื่อสารกับแมวกับมนุษย์ และแมวด้วยกันเอง การสื่อสารโดยการใช้กลิ่น สพ.ญ.ปิยวรรณ กล่าวว่า “น้องแมวจะแสดงพฤติกรรม 3 รูปแบบ ได้แก่ การถูไถ (Rubbing) การข่วนวัตถุ (Scratching) และการใช้สิ่งขับถ่าย (Excrement marking)” เหล่านี้คือคำอธิบายพฤติกรรมการใช้กลิ่นของน้องแมว […]
อ่านต่อ